การดูแลไส้เดือนดินในการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

การดูแลไส้เดือน

การดูแลไส้เดือนดิน ในการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ผู้เลี้ยงควรศึกษา เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง การดูแลไส้เดือนดิน ไม่ใช่แค่เพียงควบคุมความชื้น อุณหภูมิ ป้องกันแสงแดด และฝน เท่านั้น การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ยังต้องดูแลในเรื่องของ ศัตรู และปัญหาของไส้เดือนดินด้วย ศัตรูจากธรรมชาติ การป้องกันศัตรูไส้เดือนดินขั้นต้น ป้องกันโดยใช้วัสดุ เช่น ตาข่าย ปิดให้มิดชิดเพื่อป้องกัน ตัวอย่างศัตรูไส้เดือนดิน สัตว์ปีก นก ที่กินไส้เดือนเป็นอาหาร เช่น นกสีดำ นกสตาร์ลิ่ง นกกระสา นกนางนวล นกกินหนอน นกโรบิ้น ซึ่งเป็นนกขนาดเล็ก มีขนสีแดงตรงหน้าอก เป็นต้น เป็ด และไก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เม่น ตัวตุ่น หมาจิ้งจอก และสุกร สัตว์เลื้อยคลาน อย่างเช่น งู จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งกือ ตะเข็บ สัตว์ครึ่งน้ำ ครึ่งบก เช่น กบ คางคก สัตว์พันธุ์แทะ เช่น หนู สัตว์อื่นๆ เช่น ไรแดง […]

Read more

การเพาะเห็ดถุง

การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ดถุง ทำได้กับเห็ดเกือบทุกสายพันธุ์ นอกจากจะเป็นการเพาะเพื่อจำหน่ายดอกเห็ดแล้ว ยังสามารถจำหน่ายเชื้อเห็ดถุงได้อีกด้วย วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ การเพาะเห็ดถุง 1. วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื้อยไม้ยางพารา ไม้เบญจพรรณ ชานอ้อย อาหารเสริม 2. แม่เชื้อเห็ด ชนิดที่ต้องการ 3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 1/2 x12 1/2 นิ้ว หรือ 8×12 นิ้ว 4. คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว 5. สำลี, ยางรัด, จุกสำเร็จ 6. ถังนึ่งไม่อัดความดัน 7. โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย และโรงเปิดดอกแยกกัน การผลิตเชื้อวุ้นสำหรับ การเพาะเห็ดถุง สูตรอาหารวุ้น พี.ดี.เอ. ในการเตรียมอาหารวุ้นจำนวน ๑ ลิตร จะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ – มันฝรั่ง 200-300 กรัม – น้ำตาลเด๊กโทรสหรือกูโคส 20 กรัม – วุ้น 15 […]

Read more

การทำปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมัก

เริ่มต้น การทำปุ๋ยหมัก โดยเลือกสถานที่ที่เหมาะสม : อยู่ใกล้กับแหล่งวัสดุให้มากที่สุดเพื่อความสะดวกในการขนย้าย อยู่ใกล้แหล่งน้ำใช้ แต่ไม่อยู่ใกล้แหล่งน้ำดื่ม เป็นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง เตรียมวัสดุ การทำปุ๋ยหมัก ให้พร้อม ตามรายการเหล่านี้ : ซาก เศษวัสดุที่ทำเป็นชิ้นเล็กๆ แล้ว มูลสัตว์ หรือปุ๋ยคอก ช่วยย่อยสลาย ปุ๋ยเคมี เพิ่มธาตุอาหาร และช่วยย่อยสลาย ปูนขาว ประมาณ 20 กิโลกรัม ต่อซากพืชแห้ง 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม ช่วยปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น พลั่ว, ไม้หรืออุปกรณ์ทำคอก( ในกรณีที่ กองในคอก ) ก่อนลงมือทำปุ๋ยหมัก ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ : เศษวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก ไม่ควรใช้เศษวัสดุที่สลายตัวเร็วและสลายตัวช้าปนไว้ในกองเดียวกัน ปุ๋ยหมักที่ได้ไม่สม่ำเสมอ เศษวัสดุที่สลายตัวช้า เช่น แกลบ ขี้เลื่อย รำ กากอ้อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด ปนกองเดียวกันได้ ส่วนเศษวัสดุที่สลายตัวเร็ว เช่น ฟางข้าว […]

Read more

การขยายพันธุ์มะม่วง

ขยายพันธุ์มะม่วง

การขยายพันธุ์มะม่วง มะม่วง—ผลไม้ฤดูร้อน—เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง พบได้ทุกพื้นที่ในทุกภาคของประเทศไทย มะม่วงเกิดมาบนโลกตั้งแต่ 25-30 ล้านปีก่อน โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และ พม่า แม้จะเกิดมานานแล้ว แต่กว่าจะแพร่พันธุ์ไปทั่วโลก กลับใช้เวลานานกว่าพืชชนิดอื่นๆ เพราะมีอุปสรรคอยู่ที่ขนาดเมล็ด และความหนาของเปลือกเมล็ดนั่นเอง ในปัจจุบัน มีการพัฒนาวิธีขยายพันธุ์มะม่วงให้ได้ผลเร็ว คุณภาพดี ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก ว่าต้องการปลูกไว้รับประทานผลในครัวเรือน หรือเป็นการค้า ซึ่งการปลูกมะม่วงแบบเป็นการค้า ก็ทำได้ทั้งการค้าพันธุ์มะม่วง และผลผลิตของมะม่วง เพราะฉะนั้น ผู้ปลูกจะต้องเลือกวิธี การขยายพันธุ์มะม่วง ให้เหมาะสม การขยายพันธุ์มะม่วง การขยายพันธุ์มะม่วง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอน การติดตา และการทาบกิ่ง เป็นต้น 1. การเพาะเมล็ด การเพาะเมล็ดเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้กันมานาน ข้อดี ของการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดคือ ทำได้ง่าย ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ต้นมะม่วงที่ได้จากการเพาะเมล็ด ต้นจะใหญ่ อายุยืนนาน เพราะมีระบบรากที่แข็งแรง ส่วน ข้อเสีย คือ ออกดอกออกผลช้ากว่าการขยายพันธุ์ด้วยการติดตา การตอน หรือการทาบกิ่ง และต้นมะม่วงที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น อาจกลายพันธุ์ ไม่ตรงตามพันธุ์เดิมก็ได้ ซึ่งอาจดีกว่าหรือเลวกว่าพันธุ์เดิม กลายเป็นพันธุ์ใหม่ไป […]

Read more

การคัดแยกคำแนะนำและเทคนิคผลผลิตไส้เดือนดิน

การคัดแยกไส้เดือน

ผลผลิตไส้เดือนดินกับการคัดแยก และเก็บผลผลิตไส้เดือนดิน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของไส้เดือนดินมาก หากไม่คัดแยก ไม่เก็บ ผลผลิตไส้เดือนดิน เมื่อปริมาณไส้เดือนดินในบ่อเลี้ยงมีเพิ่มขึ้น ก็จะแย่งอาหารและออกซิเจน นอกจากนี้ มูลไส้เดือนดินที่ถูกขับถ่ายออกมาก็เป็นอันตรายต่อไส้เดือนดินด้วยกันอีก เพราะฉะนั้น การคัดแยก และเก็บผลผลิตจึงมีส่วนช่วยควบคุมปริมาณไส้เดือนดินต่อพื้นที่ให้เหมาะสมตามระยะเวลาของการเจริญเติบโต และการวางไข่ด้วย การคัดแยกไส้เดือนดิน เป็นการนำมูลไส้เดือนดินไปทำปุ๋ย, นำตัวไส้เดือนดินไปจำหน่าย, นำตัวพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไส้เดือนดินไปขยายพันธุ์ และเป็นการนับจำนวนการรอดและตายของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และจำนวนลูกไส้เดือนดินที่เกิดขึ้นมาใหม่ ช่วยให้คำนวณการเพิ่มจำนวนของไส้เดือนที่เลี้ยง เพื่อวางแผนการตลาดต่อไปได้ วิธีการคัดแยกไส้เดือนดิน ขึ้นอยู่กับปริมาณมูลไส้เดือนดิน เช่น กรณีที่มีมูลไส้เดือนดินน้อย ใช้วิธี การใช้แสงไฟไล่, ใช้ตะแกรงร่อน หรือ ให้ไส้เดือนดินเคลื่อนย้ายตัวเอง ส่วนในกรณีที่มีมูลไส้เดือนดินปริมาณมาก ใช้วิธี การคัดแยกด้วยเครื่องร่อนขนาดใหญ่ ซึ่งทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยแยกไส้เดือนดินออกมาจากกองมูล การคัดแยกด้วยมือ การเลี้ยงไส้เดือนดินในพื้นที่เล็กๆ ที่ปริมาณมูลไส้เดือนดินไม่มากนัก สามารถทำการคัดแยกโดยการใช้มือคัดแยกตัวไส้เดือนดินออกมา หรือหยุดรดน้ำ แล้วใช้ตะแกรง หรือตะกร้าพลาสติกที่มีรูร่อนไส้เดือนออกมา การให้ไส้เดือนดินเคลื่อนที่ไปยังอาหารใหม่เริ่มต้นโดยการหยุดรดน้ำและงดอาหารที่ใช้เลี้ยงไส้เดือนดิน อย่างน้อย 5-10 วัน หลังจากนั้น ใส่ที่อยู่(หรือ พื้นเลี้ยง) ใหม่ลงไป หรือใส่อาหารลงในภาชนะเพื่อล่อไส้เดือนดินให้เคลื่อนที่เข้าหาอาหารใหม่แล้วแยกเก็บไส้เดือนดิน วิธีนี้ต้องใช้เวลา และไม่สามารถเก็บหรือคัดแยกไส้เดือนดินตัวเล็กหรือโคคูนไส้เดือนได้ การให้ไส้เดือนเคลื่อนที่หนีแสงโดยการกองวัสดุเลี้ยงเป็นทรงภูเขาเล็กๆ ไส้เดือนดินจะไม่ชอบแสง ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด หรือแสงจากหลอดไฟ แล้วมุดหนีลงไปรวมกันที่ด้านล่าง หรือใช้ภาชนะ ให้ไส้เดือนดินเคลื่อนย้ายตัวเอง […]

Read more

ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ มีไม่มากเหมือนการปลูกผักบนดิน และวิธีป้องกัน หรือกำจัดก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากจะให้ได้ผลที่สุด คือเกษตรกร หรือผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ควรปฎิบัติตามหลักการ และขั้นตอนต่างๆ อย่างเคร่งครัด และดูแลเอาใจใส่ผักไฮโดรโปนิกส์อย่างสม่ำเสมอ และถ้าผู้อ่านติดตามอ่านบทความนี้ ก็จะได้ทราบถึงปัญหาที่เป็นกระแสเกี่ยวกับผักไฮโดรโปนิกส์ในเรื่องของไนเตรท และเคล็ดลับแก้ไขปัญหานี้ง่ายๆ ให้เราได้รับประทานผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีคุณภาพกันโดยปราศจากพิษภัย เรามาเริ่มศึกษา ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ กันเลยนะคะ ว่ามีอะไรบ้าง? ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ กับระบบ NFT ผักสีไม่แดง ผักพวกที่มีสีแดง เช่น เรดโอ๊ค เรดคอรัล เมื่อปลูกแล้วสีอาจไม่แดงเข้ม ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ พันธุ์ที่ใช้ปลูก ผักบางชนิดจะมีสีอ่อน บางชนิดสีเข้ม ต้องเลือกให้เหมาะ  สภาพแวดล้อม เม็ดสีในใบผักสลัดมี 2 ชนิดคือ คลอโรฟิลล์ จะให้สีเขียวจำเป็นในการสังเคราะห์แสง และ แอนโธไซยานินส์ จะให้สีแดง ซึ่งในผักสลัดสีแดงจะมีทั้งสองตัวนี้ ถ้ามีแอนโธไซยานินส์มากก็จะเป็นสีแดงมาก ถ้ามีน้อย สีแดงก็จะจาง ซึ่งปริมาณคลอโรฟิลล์ และ แอนโธไซยานินส์ จะมีมากมีน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะปริมาณแสงและอุณหภูมิ โดยแอนโธไซยานินส์จะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อแสงมากขึ้นและอุณหภูมิต่ำลง ดังนั้นผักสลัดปลูกในหน้าหนาวจึงมีสีแดงเข้ม และถ้าปลูกผักในร่ม จะมีสีซีดลง ผักที่ปลูกในสารละลายเข้มข้นจะมีสีแดงเข้มกว่าผักในสารละลายเจือจาง นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณ K ในสารละลายอาจจะช่วยเพิ่มความเข้มของสีได้ด้วย […]

Read more

โรคของกล้วยน้ำว้า

โรคของกล้วยน้ำว้า

แทบทุกครัวเรือนที่เราจะได้พบเห็นต้นกล้วยน้ำว้าอยู่ในบริเวณบ้านทั่วๆไป ใช่ว่าจะเป็นเรื่องกล้วยๆ ในการปลูกกล้วย หากเราไม่ดูแล และถ้าเป็นการปลูกกล้วยเชิงการค้าแล้ว ยิ่งจะต้องดูแลเอาใจใส่ ไม่ให้เกิดโรค โรคของกล้วยน้ำว้า ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุเล็กๆ ของความไม่สม่ำเสมอในการดูแลกล้วย ของเกษตรกร นอกจากนี้ ยังมีปัญหาของ แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า ตามมา ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ควรปฏิบัติตามหลักการและคำแนะนำต่างๆ บทความนี้ รวบรวมเคล็ดลับง่ายในการดูแลกล้วยน้ำว้า เพื่อป้องกัน โรคของกล้วยน้ำว้า ไว้ดังนี้  : หลักการป้องกัน โรคของกล้วยน้ำว้า ในสวนแบบง่าย คือ (1) สภาพดินต้องมีความอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุอาหารที่กล้วยต้องการครบ (2) คัดเลือกพันธุ์กล้วยน้ำว้าที่มีความต้านทานโรคต่างๆ ได้สูง (3) ดูแลเอาใจใส่ต้นกล้วยอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ (4) กำจัดวัชพืชอย่างถูกวิธีและเป็นระบบ (5) มีระบบระบายน้ำที่ดี (6) ไถพลิกหน้าดิน พรวนดิน ปรับปรุงดินด้วยการใช้วิธีปลูกพืชคลุมดินแล้วไถกลบตากแดดไว้ หรือใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มคุณภาพให้กับดิน (7) ป้องกันและกำจัดโรคระบาดและแมลงศัตรูพืชในสวนกล้วยน้ำว้า โรคของกล้วยน้ำว้า เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส เป็นสาเหตุให้เกิด โรคของกล้วยน้ำว้า ซึ่งมีลักษณะอาการแตกต่างกัน ดังนี้: โรคที่เกิดจากเชื้อรา รูปจาก : ไดนามิคพันธ์พืช 1. […]

Read more

เทคนิคการเพาะเห็ด ( เห็ดถุงชนิดต่างๆ )

เทคนิคการเพาะเห็ด

เทคนิคการเพาะ เห็ดถุงชนิดต่าง ๆ                                                                        1. เทคนิคการเพาะ เห็ดนางฟ้า เป็นเห็ดในสกุลเดียวกันกับเห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ แต่เห็ดนางฟ้ามีหมวกดอกหนา เนื้อแน่นกว่าเห็ดนางรม ในปัจจุบันมีการผสมและปรับปรุงเพื่อให้ได้พันธุ์ดีอยู่ตลอดเวลา เห็ดภูฐานที่นำมาจากประเทศภูฐาน และประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ที่มีข้อดีหลายประการดังนี้ เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดีในอาหารวุ้น พี.ดี.เอ โดยเฉพาะอาหารวุ้นที่ผสมถั่วเหลืองหรือถั่วเขียว และสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในเมล็ดธัญพืชที่ทำหัวเชื้อ เห็ดนางฟ้าภูฐานเป็นพันธุ์ที่ออกดอกเร็ว หลังจากเขี่ยหัวเชื้อลงปุ๋ยหมักแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็เจริญเต็มถุงก้อนเชื้อ และสามารถเปิดถุงให้ออกดอกได้ นอกจากนี้ […]

Read more

การแปรรูปมะพร้าว

การแปรรูปมะพร้าว

จากการที่มะพร้าวมีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย การแปรรูปมะพร้าว ในปัจจุบันจึงมีเพิ่มขึ้นหลากหลายผลิตภัณฑ์ ซึ่งนอกจาก การแปรรูปมะพร้าว จะช่่วยเสริมรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการแล้ว ผู้บริโภคยังมีทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากมะพร้าวเพิ่มขึ้น การแปรรูปมะพร้าว มีทั้งในรูปแบบของอาหาร ขนม ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว-บำรุงผม โลชั่นทากันยุง ลิบบาล์ม ยาหม่อง น้ำมันนวด แผ่นมาส์คหน้าจากน้ำมะพร้าวแก่ น้ำกะทิพาสเจอร์ไรซ์ น้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหารภาคครัวเรือน หรือใช้ในภาคอุตสาหกรรม ของตกแต่งบ้าน ของที่ระลึก หมวก กระเป๋า อุปกรณ์ทำความสะอาด วัสดุปลูกต้นไม้ ปุ๋ย ในบทความนี้นำเสนอตัวอย่าง การแปรรูปมะพร้าว ซึ่งมีวิธีทำ และเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาฝากผู้อ่าน เพื่อทดลองทำตาม อาจจะเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก หรือหากท่านมีต้นมะพร้าวในบริเวณบ้าน อาจทดลองทำขึ้นมาใช้ในครัวเรือนก็เป็นการนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า เมื่อผู้อ่านได้ทดลองทำตามสูตร การแปรรูปมะพร้าว แล้วอาจจะดัดแปลงให้สอดคล้องกับความสะดวก การใช้ประโยชน์ และรสชาติตามที่ต้องการ หากได้ การแปรรูปมะพร้าว ที่แปลกใหม่ หรือคุณภาพถูกใจ ในอนาคตท่านอาจจะได้มีอาชีพที่ได้รับผลกำไรจาก การแปรรูปมะพร้าว ตัวอย่างสูตรการแปรรูปมะพร้าว มีดังนี้ : ยาหม่องนาฬิเกน้ำมันมะพร้าวสมุนไพร ส่วนผสม พาราฟินแข็ง 150 กรัม วาสลีน 300 กรัม ขี้ผึ้งขาว […]

Read more

การดูแลมะม่วงให้ติดผลดก

การดูแลมะม่วงให้ติดผลดก

เมื่อปลูกมะม่วงแล้ว เราก็ต้องมี การดูแลมะม่วง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ทำรายได้คุ้มค่ากับการลงทุนการดูแลมะม่วง ใช่ว่าแค่รดน้ำทุกวัน ก็ได้มะม่วงมารับประทานหรือส่งขายได้แล้ว การรดน้ำ ให้ปุ๋ย และหลักการอื่นๆ ที่จะต้องเรียนรู้ เพื่อให้การปลูกมะม่วงได้ผลดี ขั้นตอน การดูแลมะม่วง การให้น้ำ หลักที่ควรปฏิบัติ: 1. ช่วงปีแรกของการเพาะปลูก ควรรดน้ำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง แต่ถ้าอากาศแล้งจัดก็ควรรดน้ำเพิ่ม 2. ก่อนมะม่วงออกดอก ไม่ต้องให้น้ำ เพราะมะม่วงต้องการพัก หรือหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้น กิ่งและใบเพื่อสะสมอาหารเตรียมแทงช่อดอก โดยหยุดการรดน้ำเป็นเวลา 1 เดือน และอาจใช้วิธีรมควันโดยสุมไฟให้ควันร้อนไล่ความชื้นในดิน หรือวิธีควั่นตามกิ่งไม่ให้น้ำไปถึงยอด 3. เมื่อมะม่วงเริ่มออกดอก และดอกเริ่มบาน เริ่มให้น้ำทีละน้อย ลักษณะคือ รดเพียงแค่ให้หน้าดินเปียก ใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกจนกว่าจะผสมเกสรติดเป็นผลอ่อน จึงค่อยเพิ่มการรดน้ำขึ้นทีละน้อย หลังจากนั้น 47 วัน นับจากวันที่ดอกบาน ต้นมะม่วงต้องการน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ และสม่ำเสมอ จนกว่าผลมะม่วงจะอายุได้ 70 วัน นับตั้งแต่วันที่ดอกบาน จึงลดปริมาณการให้น้ำลงทีละน้อย เมื่อผลมะม่วงอายุได้ 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ดอกบาน ระยะเก็บเกี่ยวประมาณ      […]

Read more
1 17 18 19 20 21 23