พุทรานมสด

พุทรานมสด

พุทรานมสด เป็นพุทราที่มีสีเปลือก และ รูปทรงคล้ายแอปเปิ้ลสีเขียว ย่อส่วนลงมา และเป็นคู่แข่งกับพุทราแอปเปิ้ล ที่นำเข้ามาจากจีนพุทรานมสดหรือ Milk Jujube (มิ้ลค์ จูจุ๊บ) เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่างพุทราสาย พันธุ์ ‘ฮันนี่ จูจุ๊บ’(Jujube Honey) จากไต้หวัน กับพุทราพันธุ์ดอกพิเศษ จากประเทศอินเดีย และใช้ต้นตอพุทราป่าของไทย ทำให้ได้พุทราพันธุ์ใหม่ ที่มีรสชาติละมุนลิ้น ฉ่ำน้ำ เนื้อหนา กลิ่นหอม เป็นที่ถูกปากถูกคอผู้บริโภค ประโยชน์ของ พุทรานมสด พุทรานมสดมีประโยชน์ และสารอาหารใกล้เคียงกับพุทราชนิดอื่นๆ แต่จะมีวิตามินซี น้อยกว่าพุทราพันธุ์อื่นอยู่สักหน่อย แช่น พันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์แอปเปิ้ล วิตามินซีในพุทรานมสด ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และต้านสารอนุมูลอิสระ เส้นใยอาหารในผลไม้ประเภทพุทรา ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว , ช่วยในการขับถ่าย เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย แคลเซียมในพุทรา ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน โพแทสเซียม ช่วยลดความดันโลหิต และ ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ฟอสฟอรัส เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก และฟัน รองจากแคลเซียม ข้อดีของ พุทรานมสด […]

Read more

การดูแลพุทรานมสดหลังการปลูก

การดูแลพุทรานมสดหลังการปลูก

การดูแลพุทรานมสดหลังการปลูก เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับการปลูกพุทรานมสด เกษตรกรจะได้ผลผลิตมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้ค่ะ โดยเฉพาะ การให้น้ำหมักนมสด และการตัดแต่งกิ่ง ขั้นตอน การดูแลพุทรานมสด การให้นํ้า รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ช่วงเช้า ในระยะ 3 เดือนแรก หลังปลูก หลังจากนั้น อาจจะรดน้ำวันเว้นวัน หรือ 3 วันครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าร้อนจัด ให้เพิ่มปริมาณการให้น้ำ หรือสังเกตจากสภาพดินหากแห้งเกินไป ควรเพิ่มการให้น้ำ เดือนที่ 6 หรือ เดือนที่ 7 ช่วงเริ่มติดดอก ต้องหมั่นให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นช่วงที่เจริญเติบโตและจะให้ผลโต การให้ปุ๋ย ในระยะเริ่มต้นต้องให้ปุ๋ยคอกเม็ด ทุก 10 วัน ต้นละครึ่งช้อนโต๊ะ โรยห่างจากโคนต้นโดยรอบ เดือนที่ 4 หลังการปลูกก ต้นพุทราจะเริ่มออกดอก ให้ปุ๋ยมูลสัตว์ที่มีธาตุฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูงทุก ๆ 10 วัน เมื่อพุทรานมสดเริ่มติดลูก ให้เปลี่ยนใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง พร้อมกับให้ปุ๋ยหมักนมสดเพื่อเพิ่มรสชาติให้พุทรามีความหวานกรอบ เมื่อต้นพุทรานมสดมีอายุขึ้นปีที่ 2 […]

Read more

การแปรรูปมะนาว

การแปรรูปมะนาว ปัจจุบันนี้เราไม่ได้ทำเพื่อการถนอมอาหารเท่านั้น แต่ การแปรรูปมะนาว ช่วยแก้ปัญหามะนาวล้นตลาด ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการ เป็นการต่อยอดธุรกิจ ได้ตรงตามโมเดล ไทยแลนด์ 4.0 ความอร่อยของรสชาติเปรี้ยวที่มีในผลมะนาว เมื่อนำมาปรุงแต่งกับส่วนผสมอื่นๆ ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ขบเคี้ยวจากมะนาวแบบไทยๆ กันหลายรูปแบบ เช่น มะนาวดองเปรี้ยวหวาน มะนาวดองอบแห้ง มะนาวแช่อิ่ม น้ำมะนาวสำเร็จรูปบรรจุขวด กิมจ้อมะนาว เปลือกมะนาวสามรส เปลือกมะนาวเส้นปรุงรส เปลือกมะนาวเชื่อม เปลือกมะนาวแช่อิ่ม เป็นต้น หรือ จะทำเป็นผลิตภัณฑ์มะนาวแบบชาวตะวันตก เช่น แยมผิวมะนาว เยลลี่มะนาว ก็อร่อยไม่แพ้กัน สำหรับภาคอุตสาหกรรม การแปรรูปมะนาว เช่น มะนาวผง น้ำมะนาวปรุงอาหาร น้ำมะนาวเข้มข้น เครื่องดื่มผสมน้ำมะนาว บทความนี้ มีสูตรการแปรรูปมะนาว ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนไม่สูง สามารถนำมาทำหรือดัดแปลงสูตรไว้บริโภคในครัวเรือน หรือ เป็นธุรกิจเสริม มาฝาก ดังต่อไปนี้ มะนาวดองเปรี้ยวหวาน ส่วนผสม มะนาวแก่ 30 ผล น้ำตาลรำ ½ กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง ½ กิโลกรัม เกลือป่น 1 […]

Read more

สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม

สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม

สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม มีทั้งสายพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศ นำเข้าจากต่างประเทศ และผสมขึ้นมาใหม่ ทำให้กล้วยไม้จากประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม ในประเทศไทย มีดังนี้ แคทลียา เรียกว่าเป็นราชินีแห่งกล้วยไม้ก็คงไม่ผิดนัก ดอกของแคทลียามีรูปทรงเฉพาะตัวขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม บางสายพันธุ์ยังมีกลิ่นหอมชวนหลงใหลอีกด้วย เจริญเติบโตได้ดีในแถบภูมิอากาศร้อน จึงเหมาะกับการนำมาปลูกในประเทศเรามากที่สุด รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต (ภาษามาเลเซีย หมายถึงรองเท้าของสตรี) กลีบดอก หรือที่เรียกว่า ‘กระเป๋า’ มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึงรองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้น หรือ ไรโซม หรือ เหง้า ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น ราก ออกเป็นกระจุกที่โคนต้น ทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่ จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า […]

Read more

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ในกลุ่มผู้บริโภค หรือชาวนามือใหม่ที่หันมาปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่กันในปัจจุบัน ด้วยความรักสุขภาพ ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคุณปประโยชน์สูง แต่มีราคาสูงตามไปด้วย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้คนสนใจ หันมาปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ไว้รับประทานกันเอง ทั้งในที่นาสำหรับคนที่มีพื้นที่ และในยางรถยนต์เก่า หรือวงบ่อซีเมนต์ สำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย ถึงแม้ว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่จะเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ ไม่เป็นที่นิยมเพาะปลูกในกลุ่มเกษตรกรมากนัก เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ข้าวที่ดูแลรักษายาก ต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต้องปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งสภาวะแวดล้อมของพื้นที่เพาะปลูกก็บีบบังคับหากที่นาข้างเคียงยังมีการใช้สารเคมีอยู่ การเกษตรแบบอินทรีย์ก็เป็นไปค่อนข้างยาก รวมไปถึงสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมในบางพื้นที่ ซึ่งลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในระบบเกษตรอินทรีย์ คือ พื้นที่ในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการรวมกลุ่มของเกษตรกรหรือสมัครเข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนการปลูกข้าวอินทรีย์ ซึ่งจะดูแลในทุกขั้นตอนตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงการตลาด ตัวอย่าง โครงการข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ http://www.riceberryvalley.org/ เกษตรกรที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลได้จากลิ้งค์ที่ให้ หรือ ติดต่อ 084-920-8758, 085-408-0178, 086-479-5603 ก่อนศึกษาข้อมูล การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขอแนะนำที่มาของไรซ์เบอร์รี่ซักนิด… ข้าวไรซ์เบอรี่ (ภาษาอังกฤษ: Rice Berry) เป็นข้าวสายพันธุ์ไทย จากผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และทีมนักวิจัยจาก ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่าง ข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 […]

Read more

ลักษณะและชนิดของดาวเรือง

ลักษณะและชนิดของดาวเรือง

ชื่อสามัญ : Marigold ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta L. คำปู้จู้ คำปู้จู้หลวง (ภาคเหนือ) บ่วงสิ่วเก็ก เฉาหู้ยัง กิมเก็ก (จีน) ดาวเรืองนิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆ อีกหลายพันธุ์ ลักษณะทั่วไป ต้นดาวเรือง เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศแม็กซิโก ดาวเรืองจัดเป็นพืชล้มลุก มีอายุได้รวมประมาณ 1 ปี ลำต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร ดาวเรืองจัดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลัก (แต่อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า) เจริญเติบโตได้เร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดแบบเต็มวัน ลำต้นดาวเรือง ลำต้นเป็นสีเขียวและเป็นร่อง แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น ทั้งต้นเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยมารบกวน ใบดาวเรือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบคี่ ออกเรียงตรงกันข้ามกัน มีใบย่อยประมาณ […]

Read more

การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ด โดยธรรมชาติแล้ว เห็ด สามารถเกิดและเจริญเติบโตได้เอง คำถามจึงเกิดขึ้นว่า ทำไมเราจึงต้องมีการเพาะเห็ด? เพราะคุณประโยชน์ของเห็ดเป็นตัวผลักดันให้ เห็ด กลายเป็นพืชผักเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผู้คนนิยมบริโภคเห็ดกันมากขึ้น ทั้งในรูปแบบอาหาร และยาสมุนไพร จึงได้มีการพัฒนาเชิงวิชาการผสมผสานกับหลักธรรมชาติของเห็ด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และมีคุณภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงสุด เริ่มต้นเพาะเห็ด อย่างไรดี? ถ้าเราสนใจเพาะเห็ดไว้บริโภคในครัวเรือน หรือ คิดไปไกลกว่านั้น คือ เพาะเห็ดเป็นธุรกิจ แต่ไม่มีประสบการณ์ ควรเริ่มต้นจาก…ซื้อก้อนเชื้อสำเร็จรูปมาทดลองดูก่อน ก้อนเชื้อเห็ดสำเร็จรูปที่ว่านี้ มีการหยอดเชื้อมาแล้ว แค่เพียงรดน้ำให้เห็ดออกดอกก็นำมาปรุงอาหารรับประทานได้เลย เมื่อมีประสบการณ์ตรงนี้แล้ว ค่อยเพิ่มจำนวนและศึกษาวิธีการเพาะ เมื่อมีความชำนาญขึ้น จึงเริ่มลงทุนผลิตก้อนเชื้อ พัฒนาคุณภาพ เพิ่มผลผลิต และขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น แต่การเพาะเห็ดนั้น นอกจากความรู้ความสนใจที่ผู้ลงทุนมีแล้ว ยังต้องมีความอดทน มีเวลาที่จะดูแลเอาใจใส่ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจาก การเพาะเห็ด ที่คุ้มค่ากับการลงทุน ขั้นตอนแรกของ การเพาะเห็ด ต้องเริ่มจาก…..ทำความรู้จักกับ เห็ด ก่อนที่จะเริ่มทำการเพาะเห็ด ผู้อ่านสามารถทำความรู้จักกับ เห็ด ว่าเห็ดที่รับประทานได้มีอะไรบ้าง เห็ดมีคุณประโยชน์อะไรบ้าง มีโทษอะไรบ้าง จากบทความเรื่อง เห็ด เห็ดเป็นยา หรือ คุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด จากนั้นก็เลือกชนิดเห็ด—ง่ายที่สุด คือ […]

Read more

แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า

แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า

แมลงศัตรูพืช ของกล้วยน้ำว้า มีอยู่หลายชนิด และนี่ก็คือสาเหตุที่ผู้เขียนได้เน้นย้ำไว้ในบทความ การดูแลกล้วยน้ำว้า, โรคของกล้วยน้ำว้า, การปลูกกล้วยน้ำว้า, การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า ไว้ว่า ไม่ควรปล่อยปละละเลยกล้วยน้ำว้า รสชาติที่แสนอร่อยของกล้วย ไม่ว่าจะเป็นปลี หรือผล ที่ถูกปากคนทั่วไป ก็คงดึงดูด แมลงศัตรูพืช ชนิดต่างๆ ได้มากเช่นกัน แต่ แมลงศัตรูพืช ไม่ได้ชอบลิ้มลองแค่ปลี และผลกล้วยเท่านั้น แต่สามารถทำลายล้างได้ทุกส่วนของกล้วยเลยทีเดียว เรามาทำความรู้จักกับเจ้าตัวเล็กฤทธิ์เยอะกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง? มีความสามารถอะไรบ้าง? และจะกำจัดกันอย่างไร? ด้วง 1. ด้วงงวงไชเหง้า ด้วงชนิดนี้ ระยะที่เป็นตัวหนอนทำความเสียหายแก่ต้นกล้วยน้ำว้ามากกว่าตัวแก่ ตัวหนอนจะเจาะกินไชเหง้ากล้วยใต้ระดับโคนต้น โดยไม่ทิ้งร่องร่อยที่ชัดเจนนัก ทำลายและหยุดระบบส่งน้ำ ส่งอาหารไปเลี้ยงลำต้น เมื่อเป็นมากๆ แม้จะมีหนอนเพียง 5 ตัวในหนึ่งเหง้า ก็สามารถไชเข้าไปทำลายกล้วยให้ตายได้ พบการทำลายได้ทุกระยะ ตั้งแต่หน่อไปถึงต้นแก่ ภายหลังตัดเครือแล้ว เมื่อตัวหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าเป็นดักแด้จนเป็นตัวแก่ออกมานอกเหง้า แถวโคนต้นในระดับชิดผิวดินหรือต่ำกว่าเล็กน้อย หรือรอผสมพันธุ์กันต่อไป การป้องกันและกำจัด ทำความสะอาดสวน กำจัดเศษชิ้นส่วนของต้นกล้วย กาบกล้วยไม่ให้เน่าเปื่อย ชื้นแฉะบริเวณโคนต้นไม่ให้เป็นที่วางไข่ ตัดต้นกล้วยเป็นท่อนๆ วางสุมเป็นจุดในสวน ล่อให้แมลงมาวางไข่ ประมาณ 7 วันต่อครั้ง เปิดตรวจดูช่วงเวลากลางวัน ถ้าพบตัวอ่อนหรือตัวแก่ให้ทำลาย […]

Read more

สายพันธุ์มะพร้าว

สายพันธุ์มะพร้าว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ สายพันธุ์มะพร้าว ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามะพร้าวมีถิ่นกำเนิดมาจากที่ไหน แต่ส่วนใหญ่มะพร้าวจะเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคในประเทศเขตร้อน และกึ่งร้อน แม้ว่า ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศอันดับหนึ่งในการผลิตมะพร้าวเหมือนอย่างอินโดนีเซีย แต่มะพร้าวก็เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานและนำมาใช้ประโยชน์กันมากสำหรับคนไทย สายพันธุ์มะพร้าว มีอยู่ไม่น้อย เช่น มะพร้าวไฟ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวทะเล มะพร้าวซอ มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวกะทิ มะพร้าวพวงทอง มะพร้าวสีสุก มะพร้าวพันธุ์สวี มะพร้าวพันธุ์ชุมพร มะพร้าวพันธุ์ก้นจีบหรือพันธุ์อ่างทอง มะพร้าวน้ำหอมสามพราน มะพร้าวพันธุ์หมูสีเขียว การที่มีหลาย สายพันธุ์มะพร้าว ในประเทศไทย เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นไม่เป็นพันธุ์แท้ อาศัยหลักทางการผสมพันธุ์ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ มะพร้าว มีลักษณะคล้ายต้นปาล์ม เพราะเป็นไม้ยืนต้นในตระกูลปาล์มนั่นเอง มะพร้าวมีรากฝอยขนาดเท่าๆ กัน แผ่กระจายออกรอบต้น ลักษณะใบจะเหมือนขนนก แต่ละท้องถิ่นของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการนำมะพร้าวมาใช้เป็นสมุนไพร ด้วยสรรพคุณทางยาที่มีมากมาย (ติดตามบทความ มะพร้าว เพื่อศึกษาสรรพคุณของมะพร้าว และประโยชน์ พร้อมทั้งวิธีใช้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากมะพร้าวได้ถูกต้อง) หลายท้องถิ่นเรียกมะพร้าวต่างไป เช่น จันทบุรี เรียกมะพร้าวว่า ดุง, กาญจนบุรี เรียกมะพร้าวว่า โพล, แม่ฮ่องสอน เรียกมะพร้าวว่า คอส่า บางท้องถิ่น เรียก หมากอุ๋น, […]

Read more

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก เป็น 1 ใน 3 ชนิด ของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากซากเศษพืช หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหมักและให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ย อ่อนนุ่ม มีสีน้ำตาลปนดำ ปุ๋ยหมัก มีประโยชน์ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านการเกษตร 1.ช่วยปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง ในน้ำและดิน 2.ช่วยให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น 3.ช่วยให้ซากต่างๆ (อินทรียวัตถุ) ในดินย่อยสลายเป็นอาหารให้พืชดูดซึมไปใช้ได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานมาก 4.เร่งให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง 5.สร้างฮอร์โมนให้พืชได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดี 6.ผลผลิตที่ได้จากพืชที่ใส่ปุ๋ยหมักจะเก็บรักษาไว้ได้นาน ด้านปศุสัตว์ 1.ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มสัตว์ เช่น ไก่ สุกร ได้ภายใน 24 ชั่วโมง 2.ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ ภายใน 1-2 สัปดาห์ 3.ป้องกันโรคอหิวาห์และโรคระบาดต่างๆ ในสัตว์ได้ 4.ตัดวงจรชีวิตหนอนแมลงวัน ไม่ให้เป็นตัวแมลงวันได้ 5.สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรง มีความต้านทานโรค อัตราการรอดสูง ให้ผลผลิตสูง ด้านการประมง 1.ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 2.แก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำได้ 3.รักษาโรคแผลต่างๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้ 4.เลนในบ่อจะไม่เน่าเหม็น นำเลนไปผสมเป็นปุ๋ยหมักได้ดี ด้านสิ่งแวดล้อม […]

Read more
1 2