ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก เป็น 1 ใน 3 ชนิด ของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากซากเศษพืช หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหมักและให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ย อ่อนนุ่ม มีสีน้ำตาลปนดำ
ปุ๋ยหมัก มีประโยชน์ 4 ด้านด้วยกัน คือ
ด้านการเกษตร
1.ช่วยปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง ในน้ำและดิน
2.ช่วยให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น
3.ช่วยให้ซากต่างๆ (อินทรียวัตถุ) ในดินย่อยสลายเป็นอาหารให้พืชดูดซึมไปใช้ได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานมาก
4.เร่งให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง
5.สร้างฮอร์โมนให้พืชได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดี
6.ผลผลิตที่ได้จากพืชที่ใส่ปุ๋ยหมักจะเก็บรักษาไว้ได้นาน
ด้านปศุสัตว์
1.ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มสัตว์ เช่น ไก่ สุกร ได้ภายใน 24 ชั่วโมง
2.ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ ภายใน 1-2 สัปดาห์
3.ป้องกันโรคอหิวาห์และโรคระบาดต่างๆ ในสัตว์ได้
4.ตัดวงจรชีวิตหนอนแมลงวัน ไม่ให้เป็นตัวแมลงวันได้
5.สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรง มีความต้านทานโรค อัตราการรอดสูง ให้ผลผลิตสูง
ด้านการประมง
1.ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
2.แก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำได้
3.รักษาโรคแผลต่างๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
4.เลนในบ่อจะไม่เน่าเหม็น นำเลนไปผสมเป็นปุ๋ยหมักได้ดี
ด้านสิ่งแวดล้อม
1.ช่วยบำบัดน้ำเสีย
2.ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น
3.เปลี่ยนของเสียให้เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร
4.ย่อยสลายให้ขยะลดลง และเป็นประโยชน์
5.ปรับอากาศเสียให้ดีขึ้น
แต่ปุ๋ยหมักก็มี ข้อเสียหรือข้อด้อย ในเรื่องของ :
1.ระยะเวลาการผลิต
2.ต้องเสริมธาตุอาหารให้สูงขึ้น
3.ราคาแพง
4.หายาก
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เรามาทดลองทำปุ๋ยหมักกันเองดีกว่า ทำเป็นแล้วก็พัฒนาให้เป็นปุ๋ยหมักที่ไม่มีข้อเสีย อย่างน้อยๆ ก็ไว้ใช้เอง แต่ถ้าชำนาญแล้วก็ขยายกิจการผลิตปุ๋ยหมักเป็นธุรกิจเสริมหรือธุรกิจหลักได้ ก่อนอื่น ลองมองหาวัสดุใกล้ๆ ตัวเรา ว่ามีวัสดุเหล่านี้บ้างมั๊ย…
ตัวอย่าง วัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปุ๋ยหมัก

วัสดุทำปุ๋ยหมัก
จากตัวอย่างของวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก บางคนอาจเกิดความสงสัย ว่าทำไมต้องใส่ปุ๋ยเคมีด้วย? เพื่อช่วยย่อยเศษพืชให้สลายตัวเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น ทั้งยังเพิ่มธาตุอาหารให้กับปุ๋ยหมัก ด้วยปุ๋ยเคมีที่มีธาตุไนโตรเจนประกอบ
และถ้าผู้อ่านมีวัสดุเหลือใช้อื่นๆ ที่ย่อยสลายได้นอกเหนือจากตัวอย่าง ก็สามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยหมักได้ แต่การทำปุ๋ยหมัก ที่ใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่ย่อยสลายยากเพราะมีองค์ประกอบของไขมัน เช่น ทะลายปาล์ม ขี้เลื่อย เปลือกถั่ว เปลือกเมล็ดกาแฟ ต้องใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นจุลินทรีย์ช่วยย่อยเซลลูโลส และย่อยไขมันที่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญช่วยลดระยะเวลาการทำปุ๋ยหมักให้ได้ผลเร็วขึ้น
วัสดุที่ควรหลีกเลี่ยง ไม่นำมาทำปุ๋ยหมัก
รากของวัชพืชที่ทนทาน  มูลสุนัขและแมว พืชที่เป็นโรค เนื้อสัตว์ ไก่ ปลา ไขมันหรือน้ำมัน ผลิตภัณฑ์นม กระดูก ปุ๋ยอาหารที่มีไขมันสูง เช่น น้ำสลัด เศษกระดาษ ขี้เถ้าไม้จำนวนมาก และวัสดุมีพิษทุกชนิด เช่น น้ำยาทำความสะอาดจุลินทรีย์ที่มีบทบาทช่วยย่อยสลายวัสดุต่างๆ ประกอบด้วย แบคทีเรีย และเชื้อรา เป็นส่วนใหญ่ มาดูบทบาทของจุลินทรีย์กัน ว่าทำงานยังไงในกองปุ๋ยหมัก : เราจะพบ แบคทีเรีย ในการทำปุ๋ยหมักมากที่สุด ช่วยย่อยสลายได้ทั้งเยื่อใย และสารประกอบต่างๆ ที่ละลายจากเนื้อเยื่อพืช เวลาที่แบคทีเรียย่อยสิ่งต่างๆ นั้น ทำให้ความร้อนในกองปุ๋ยร้อนขึ้น แต่จำกัดแค่ชนิดที่เจริญได้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส และพวกที่สร้างสปอร์ ทนร้อน ทนได้ในอุณหภูมิที่สูงตั้งแต่ 40 ถึง 65 องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียว ส่วนจุลินทรีย์ที่เราจะพบได้ รอบๆ กองปุ๋ยหมักนั้นก็คือ เชื้อรา เพราะเชื้อราต้องการอากาศถ่ายเทที่ดี อุณหภูมิไม่สูง ความชื้นไม่สูง ก็จะเจริญเติบโต ปล่อยเอนไซม์มาช่วยย่อยสารประกอบที่มีโมเลกุลใหญ่กว่าที่แบคทีเรียจะย่อยได้ นอกจากจุลินทรีย์ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยให้วัสดุต่างๆ สลายตัวเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น ถ้าเราควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ : ชนิดและคุณสมบัติของวัตถุ ไม่ควรเป็นวัสดุที่แข็ง หรือชิ้นใหญ่ เพื่อให้ย่อยสลายง่าย ประหยัดพื้นที่ กลับกองง่าย และเป็นปุ๋ยหมักได้เร็ว ความชื้น ในการทำปุ๋ยหมักนั้น ความชื้นมากไป จุลินทรีย์ก็จะขาดอากาศ แต่ถ้าน้อยไปจุลินทรีย์ก็จะขาดน้ำ พูดง่ายๆ ว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ไม่ดี ความชื้นที่เหมาะสมอยู่ที่ 50 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ สังเกตดูจากลักษณะของวัสดุในกอง ถ้าความชื้นมากไป ก็จะมีลักษณะชุ่มน้ำ กองปุ๋ยหมักจะดูแน่น แต่ถ้าน้อยไป ก็จะดูแห้งร่วน อากาศ การให้อากาศหรือออกซิเจนให้ทั่วถึงทั้งกองปุ๋ย ใช้วิธีกลับกองปุ๋ยระบายอากาศ, สอดท่อที่มีรูพรุนเข้าไปในกองเป็นช่วงๆ หรือ อัดอากาศผ่านท่อเข้าไปในกองปุ๋ยหมักก็ได้ อุณหภูมิ ควรกลับกองปุ๋ยระบายความร้อน และเพิ่มออกซิเจนให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่ได้ดีในการย่อยสลาย ความเป็นกรด-เป็นด่าง ปกติกองปุ๋ยหมักจะมีค่าความเป็นกรด-เป็นด่าง ที่เป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อย ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก จึงไม่ต้องปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง ปล่อยให้วัสดุและจุลินทรีย์ปรับเองตามธรรมชาติ       ธาตุอาหาร ใช้มูลสัตว์, ดินที่อุดมสมบูรณ์, ปุ๋ยเคมี หรือน้ำหมักชีวภาพที่ทำจากปลา เพิ่มไนโตรเจนให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักย่อยสลายได้เร็วขึ้น และยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ปุ๋ยหมักด้วย ได้วัสดุแล้ว เราก็ไปเริ่มต้นทำปุ๋ยหมัก ตามสูตรจากบทความ การทำปุ๋ยหมัก และ สูตรการทำปุ๋ยหมัก จากวัสดุต่างๆ กัน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(ดัดแปลงข้อมูลจาก http://compostone.blogspot.com, web.agri.cmu.ac.th, http://www.greenpeace.org, หนังสือ ล้ำยุคกับ…นวัตกรรมปุ๋ยหมัก โดย อภิชาติ ศรีสะอาด)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *