เลือกวัสดุทำปุ๋ยหมักอย่างไร…ให้ได้ธาตุอาหารที่พืชต้องการ?

เลือกวัสดุทำปุ๋ยหมักอย่างไร

  เลือกวัสดุทำปุ๋ยหมัก อย่างไร…ให้ได้ธาตุอาหารที่พืชต้องการ? เป็นปัจจัยสำคัญในการทำปุ๋ยหมัก ธาตุอาหารที่พืชต้องการ หรือธาตุอาหารที่ดินจะได้รับจากปุ๋ยหมักนั้นมาจากวัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก และมี ธาตุอาหารที่พืชต้องการ ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ วัสดุที่ย่อยสลายง่าย และวัสดุที่ย่อยสลายยาก วัสดุที่ย่อยสลายง่าย มี ธาตุอาหารที่พืชต้องการ คือ มีสัดส่วนของคาร์บอนกับไนโตรเจน หรือ C/N ratio ต่ำกว่า 100 :1 ส่วนวัสดุที่ย่อยสลายยาก มีสัดส่วนสูงกว่า 100:1 ซึ่งวัสดุทั้ง 2 กลุ่มมีองค์ประกอบที่เป็นธาตุอาหารพืช หรือ ธาตุอาหารในวัสดุทำปุ๋ยหมัก หลักๆ ดังนี้ ตารางคุณสมบัติของวัสดุอินทรีย์บางชนิดที่สามารถนำมาผลิตปุ๋ยหมักได้ ตารางคุณสมบัติของวัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสลายง่ายชนิดต่างๆ ตารางคุณสมบัติของวัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสลายยากชนิดต่างๆ วัสดุทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันในเรื่องของ ค่าเฉลี่ยไนโตรเจน และคาร์บอน วัสดุที่ย่อยสลายง่ายมีคาร์บอนน้อยกว่าวัสดุที่ย่อยสลายยาก และมีไนโตรเจนมากกว่าวัสดุที่ย่อยสลายยาก การที่มีคาร์บอนสูง ทำให้เยื่อใยแข็งที่เป็นองค์ประกอบในเนื้อเยื่อพืชมากกว่า     โครงสร้างซํบซ้อน จุลินทรีย์จึงย่อยสลายได้ช้าลงและใช้พลังงานมาก จึงจำเป็นต้องเพิ่มไนโตรเจนให้เหมาะสมเพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น ธาตุอาหารที่พืชต้องการ อย่างที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นว่าการเลือกวัสดุทำปุ๋ยหมักต้องคำนึงถึง ธาตุอาหารที่พืชต้องการ เป็นปัจจัยหลักเพื่อให้พืชดูดซึมธาตุอาหารเหล่านั้นไปใช้ในการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ธาตุอาหารที่พืชต้องการ และมีความจำเป็นมีอยู่ด้วยกัน 16 ธาตุ คือ […]

Read more

เคล็ดลับการทำปุ๋ยหมักด้วยวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม

เคล็ดลับการทำปุ๋ยหมักด้วยวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม

ในบทความนี้ เคล็ดลับการทำปุ๋ยหมัก เป็นสูตรที่ได้จากเกษตรกรที่มีประสบการณ์โดยตรง คือ ได้ทดลองหมักวัสดุที่มีเป็นปุ๋ยหมัก และทดสอบประสิทธิภาพด้วยการนำไปใช้ด้วยตัวของเกษตรกรเอง และได้ผลที่ดีมากมานำเสนอ เพื่อแพร่หลายให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ( ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล: หนังสือ ล้ำยุคกับ…นวัตกรรมปุ๋ยหมัก โดย อภิชาติ ศรีสะอาด ) นอกจาก เคล็ดลับการทำปุ๋ยหมัก ยังมีวิธี การทำปุ๋ยหมัก, สูตรปุ๋ยหมัก, การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก และ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก และ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรกรมพัฒนาที่ดิน เคล็ดลับการทำปุ๋ยหมัก ด้วยวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม มีสูตรดังต่อไปนี้ สูตรการทำปุ๋ยหมักก้อนเชื้อเห็ดเก่า ของ คุณเฉลิมชัย อินทรชัยศรี ( เกษตรกรดีเด่น จากการทำเกษตรแบบผสมผสานฯ ) สูตรนี้เป็นสูตรการทำปุ๋ยหมักที่น้ำหนัก 100 กิโลกรัม ซึ่งสามารถหาก้อนเชื้อเห็ดเก่า จากแหล่งทำก้อนเชื้อเห็ด, ฟาร์มเพาะเห็ด หรือแหล่งที่ทิ้งขยะก้อนเชื้อเห็ดเก่า มีรายละเอียดดังนี้ ส่วนผสม 1.ก้อนเชื้อเห็ดเก่า 38 กิโลกรัม 2.มูลสัตว์ 30 กิโลกรัม เช่น มูลวัว มูลควาย มูลหมู เป็นต้น แต่ถ้าจดทะเบียนการค้าต้องใช้มูลใดมูลหนึ่งแน่นอนชัดเจน 3.กากตะกอนอ้อย 30 กิโลกรัม (หรือ […]

Read more

ธาตุอาหารที่พืชต้องการซึ่งเป็นปัจจัยในการเลือกวัสดุทำปุ๋ยหมัก

วัสดุทำปุ๋ยหมัก

ธาตุอาหารที่ดินจะได้รับจากปุ๋ยหมักนั้นมาจากวัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก ซึ่งได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ วัสดุที่ย่อยสลายง่าย และวัสดุที่ย่อยสลายยาก วัสดุที่ย่อยสลายง่าย มีสัดส่วนของคาร์บอนกับไนโตรเจน หรือ C/N ratio ต่ำกว่า 100 :1 ส่วนวัสดุที่ย่อยสลายยาก มีสัดส่วนสูงกว่า 100:1 ซึ่งวัสดุทั้ง 2 กลุ่มมีองค์ประกอบที่เป็นธาตุอาหารพืช หรือ ธาตุอาหารในวัสดุทำปุ๋ยหมัก หลักๆ ดังนี้ วัสดุทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันในเรื่องของ ค่าเฉลี่ยไนโตรเจน และคาร์บอน วัสดุที่ย่อยสลายง่ายมีคาร์บอนน้อยกว่าวัสดุที่ย่อยสลายยาก และมีไนโตรเจนมากกว่าวัสดุที่ย่อยสลายยาก การที่มีคาร์บอนสูง ทำให้เยื่อใยแข็งที่เป็นองค์ประกอบในเนื้อเยื่อพืชมากกว่า     โครงสร้างซํบซ้อน จุลินทรีย์จึงย่อยสลายได้ช้าลงและใช้พลังงานมาก จึงจำเป็นต้องเพิ่มไนโตรเจนให้เหมาะสมเพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น ธาตุอาหารที่พืชต้องการ อย่างที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นว่าการเลือกวัสดุทำปุ๋ยหมักต้องคำนึงถึง ธาตุอาหารที่พืชต้องการ เป็นปัจจัยหลักเพื่อให้พืชดูดซึมธาตุอาหารเหล่านั้นไปใช้ในการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ธาตุอาหารที่พืชต้องการ และมีความจำเป็นมีอยู่ด้วยกัน 16 ธาตุ คือ ธาตุคาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน พืชจะได้จากน้ำและอากาศ ธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ พืชจะใช้ในปริมาณที่น้อย แต่ขาดธาตุเหล่านี้ไม่ได้เช่นกัน คือ เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, […]

Read more

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก เป็น 1 ใน 3 ชนิด ของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากซากเศษพืช หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหมักและให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ย อ่อนนุ่ม มีสีน้ำตาลปนดำ ปุ๋ยหมัก มีประโยชน์ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านการเกษตร 1.ช่วยปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง ในน้ำและดิน 2.ช่วยให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น 3.ช่วยให้ซากต่างๆ (อินทรียวัตถุ) ในดินย่อยสลายเป็นอาหารให้พืชดูดซึมไปใช้ได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานมาก 4.เร่งให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง 5.สร้างฮอร์โมนให้พืชได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดี 6.ผลผลิตที่ได้จากพืชที่ใส่ปุ๋ยหมักจะเก็บรักษาไว้ได้นาน ด้านปศุสัตว์ 1.ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มสัตว์ เช่น ไก่ สุกร ได้ภายใน 24 ชั่วโมง 2.ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ ภายใน 1-2 สัปดาห์ 3.ป้องกันโรคอหิวาห์และโรคระบาดต่างๆ ในสัตว์ได้ 4.ตัดวงจรชีวิตหนอนแมลงวัน ไม่ให้เป็นตัวแมลงวันได้ 5.สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรง มีความต้านทานโรค อัตราการรอดสูง ให้ผลผลิตสูง ด้านการประมง 1.ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 2.แก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำได้ 3.รักษาโรคแผลต่างๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้ 4.เลนในบ่อจะไม่เน่าเหม็น นำเลนไปผสมเป็นปุ๋ยหมักได้ดี ด้านสิ่งแวดล้อม […]

Read more

สูตรปุ๋ยหมัก

สูตรปุ๋ยหมัก

สูตรปุ๋ยหมัก ที่ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมานี้ เป็นสูตรการทำปุ๋ยหมักที่ใช้วัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นของแต่ละคน ประหยัดต้นทุน และยังช่วยลดขยะ รักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย อาทิ เช่น การนำผักตบชวามาทำปุ๋ยหมัก ช่วยลดวัชพืชน้ำ, การนำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาทำปุ๋ยหมัก ช่วยลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค ท่านที่สนใจการทำปุ๋ยหมัก ลองศึกษา สูตรปุ๋ยหมัก เหล่านี้ดูนะคะ แล้วพิจารณาดูว่าวัสดุในท้องถิ่น หรือใกล้บ้านเรามีอะไรที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้บ้าง สูตรปุ๋ยหมัก มีดังนี้ : ปุ๋ยหมักผักตบชวา—ถึงแม้ว้าผักตบชวาจะมีข้อเสีย คือ แพร่พันธุ์ได้เร็วมากก็ตาม แต่ผักตบชวามีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชบนดินทุกชนิด โดยเฉพาะ ธาตุโปแตสเซียมสูง รองลงมาคือ ธาตุไนโตรเจน และ ธาตุฟอสฟอรัส, ยังช่วยป้องกันวัชพืชให้กับพืชบนดินได้, เปลี่ยนดินเหนียวและดินทรายเป็นดินร่วน, ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น, รักษาความชุ่มชื้นและถ่ายเทอากาศในดินได้ดี, ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี, ช่วยพืชละลายธาตุอาหารบางอย่างให้ง่ายขึ้น, ไม่เป็นอันตรายต่อดิน ผักตบชวาที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง ซึ่งแบบสดมีข้อดี คือทำให้กองปุ๋ยมีความชื้นตลอด รดน้ำน้อยลง วิธีทำปุ๋ยหมักผักตบชวาแบบสด 1.ใช้ผักตบชวาเพียงอย่างเดียว—แบบนี้ไม่ยุ่งยาก แต่ใช้เวลาย่อยสลายค่อนข้างนาน วิธีทำ รวบรวมผักตบชวาตามปริมาณที่ต้องการมากองรวมกัน กว้างไม่เกิน 4 เมตร สูงไม่เกิน 3 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับพื้นที่และปริมาณผักตบชวา แล้วย่ำให้แน่นๆ ปล่อยทิ้งไว้ รอเวลาให้กองปุ๋ยย่อยสลายประมาณ 2 ถึง […]

Read more