โรคของมะม่วงวิธีป้องกันและกำจัด

โรคมะม่วง

โรคของมะม่วง รูปจาก : ไดนามิคพันธ์พืช โรคแอนแทรคโนส สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการ เป็นโรคที่ทำความเสียหายทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วงเป็นอย่างมาก สามารถเข้าทำลายได้เกือบทุกส่วนของมะม่วงไม่ว่าจะเป็นต้นกล้า ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก ดอก ผลอ่อนจนถึงผลแก่ และผลหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดอาการอย่างน้อยก็เป็นจุดแผลตกค้างอยู่บนใบ กิ่ง ผล และหากการเข้าทำลายของโรครุนแรงก็จะเกิดอาการใบแห้ง ใบบิดเบี้ยว และร่วงหล่น ช่อดอกแห้งไม่ติดผล ผลเน่าร่วงตลอดจนผลเน่าหลังเก็บเกี่ยว ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อการส่งมะม่วงไปจำหน่ายต่างประเทศ อาการระยะกล้า จะพบอาการของโรคทั้งที่ใบและลำต้น ซึ่งถ้าต้นกล้าที่ เป็นโรคอ่อนแอหรือตายไป ไม่สามารถทำเป็นต้นตอได้ จะทำความเสียหายแก่การผลิตกิ่งทาบเพื่อการค้าอย่างมากอาการบนใบ เริ่มแรกจะเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบอ่อน มองดูใสกว่าเนื้อใบรอบ ๆ จุดนี้จะขยายออกเป็นวงขนาดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความชื้นและความแก่อ่อนของใบ โดยจะเห็นขอบแผลชัดเจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในสภาพความชื้นสูง แผลที่เกิดบนใบอ่อนมาก ๆ จะมีขนาดใหญ่ ขยายออกได้รวดเร็ว และมีจำนวนแผลมากติดต่อกันทั้งผืนใบ ทำให้ใบแห้งทั้งใบหรือใบบิดเบี้ยว เมื่อแก่ขึ้นเพราะเนื้อที่ในบางส่วนถูกทำลายด้วยโรค ถ้าในสภาพที่อุณหภูมิความชื้นไม่เหมาะสม แผลบนใบจะมีลักษณะเป็นจุดขนาดเล็ก กระจัดกระจายทั่วไปบริเวณกลางแผล ซึ่งมีสีน้ำตาลอ่อนกว่าขอบแผล และมีลักษณะบางกว่าเนื้อใบ อาจจะฉีกขาดและหลุดออกเมื่อถูกน้ำ ทำให้แผลมีลักษณะเป็นรูคล้ายถูกยิงด้วยกระสุนปืน อาการที่ลำต้นอ่อน จะเป็นแผลที่ค่อนข้างดำ ลักษณะแผลเป็นรูปไข่ยาวไปตามความยาวของลำต้น อาการของโรครุนแรง แผลจะขยายอย่างรวดเร็ว […]

Read more

การใช้ไส้เดือนดินกำจัดเศษอาหารและขยะ

ไส้เดือนกินกำจัดขยะ

การใช้ไส้เดือนดินกำจัดเศษอาหารและขยะ มีมานานแล้วในต่างประเทศ และค่อนข้างแพร่หลายทั้งในภาคครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งได้ตามแหล่งที่มาของขยะดังนี้ การใช้ไส้เดือนกำจัดเศษอาหารและขยะ ในบ้านเรือนหรือย่อยสลายขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เป็นอีกหนึ่งความนิยม ช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์จากครัวเรือนได้ เพราะค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากบ้านเรือนในประเทศที่พัฒนามีมูลค่าค่อนข้างสูง ประกอบกับนโยบายด้านการพัฒนารักษาสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด และจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมของประชาชน ทุกครัวเรือนจะมีกิจวัตรมากมาย ซึ่งก่อให้เกิดขยะอินทรีย์หลายชนิดอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร เช่น เศษผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง ขยะอินทรีย์ที่ทิ้งในแต่ละครัวเรือนมีค่าเฉลี่ยประมาณ 1.5-3 กิโลกรัมต่อวัน ยิ่งถ้าเป็นชุมชนใหญ่ๆ หรือชุมชนเมืองขยะอินทรีย์จะมีปริมาณมากกว่านี้หลายเท่า และก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ส่งกลิ่นเหม็น สะสมเชื้อโรค และก่อให้เกิดโรค รวมทั้งก่อให้เกิดน้ำเสียตามมา หากแต่ละครัวเรือนเลี้ยงไส้เดือนภายในบ้านไว้ช่วยกำจัดขยะอินทรีย์ ปริมาณขยะก็จะลดลงได้เป็นจำนวนมาก อาจจะเลี้ยงในภาชนะที่ช่วยประหยัดพื้นที่ เช่น ลิ้นชักพลาสติก อ่างพลาสติก บ่อซีเมนต์ กระถาง หรือวัสดุเหลือใช้ และนำเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์มาใส่ในภาชนะเลี้ยงไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินย่อยสลายเศษขยะอินทรีย์ต่างๆ แล้วแยกมูลมูลไส้เดือนดินที่อยู่ในภาชนะเมื่อครบ 30-60 วัน ใช้เป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ที่ปลูกในบ้านได้ หรือหมักเป็นน้ำหมักมูลไส้เดือนดินก็ได้ หรือถ้านำไส้เดือนดินไปขยายพันธุ์ก็สามารถนำไปใช้เลี้ยงในภาชนะอื่น ต่อยอดเป็นรายได้เสริม จำหน่ายให้กับบ่อตกปลา หรือฟาร์มเลี้ยงไก่ วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เตรียมบ่อวงซีเมนต์ที่เทพื้น และต่อท่อระบายน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน นำบ่อวงซีเมนต์ไปตั้งไว้ในบริเวณที่ไม่มีแสงแดด ไม่โดนฝน และอากาศถ่ายเทได้สะดวก ล้างบ่อวงซีเมนต์ แช่น้ำทิ้งไว้ 3-7วัน เพื่อลดความเค็มของปูนซึ่งเป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน […]

Read more

กำหนดการเข้าร่วมพิธีถวายดอกไม้จันทร์ การแต่งกาย และการคมนาคม

กำหนดการเข้าร่วมพิธีถวายดอกไม้จันทร์ การแต่งกาย และการคมนาคม กำหนดเข้าร่วมพิธี ณ พระเมระมาศจำลอง หรือ ซุ้มถวายดอกไม้จันทร์ต่าง ๆ เวลา 09.00 – 16.30 น. เริ่มพิธีถวายดอกไม้จันทร์ ช่วงแรก เวลา 16.30 – 18.30 น. หยุดถวายดอกไม้จันทร์เพื่อเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จและร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช เวลา 18.30 – 20.00 น. เริ่มให้ประชาชนถวายดอกไม้จันทร์ ช่วงที่สอง การแต่งกาย การแต่งกายสำหรับฝ่ายชายในการเข้าร่วมพิธีถวายดอกไม้จันทร์     การแต่งกายสำหรับฝ่ายหญิงในการเข้าร่วมพิธีถวายดอกไม้จันทร์ การคมนาคม   ขอขอบคุณ ภาพประกอบมา ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่ หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้รับข้อมูลสาระ และนำไปใช้ประโยชน์กันนะค่ะ

Read more

รวยได้อย่างไรกับไส้เดือนดิน

รวยกับไส้เดือนดิน

ไส้เดือนดิน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวเล็กๆ แล้วเกษตรกร รวยได้อย่างไร กับ ไส้เดือนดิน เชื่อว่าต้องมีบางคนที่คิดแบบนี้ รวยได้ ถ้าเกษตรกรรู้จักประโยชน์ของไส้เดือนดิน รู้จักวิธีต่อยอด เพิ่มมูลค่าจากการเลี้ยงไส้เดือนดิน สัตว์เศรษฐกิจอย่าง ไส้เดือนดิน นับวันจะมีแต่เพิ่มมูลค่า คิดง่ายๆ แค่ว่า ทุกวันนี้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณประชากร ยิ่งขยะเพิ่ม ความต้องการไส้เดือนดิน ก็ยิ่งเพิ่ม นี่แค่ประโยชน์ด้านเดียวของไส้เดือนดินนะคะ ไส้เดือนดิน ยังเป็นอาหารแหล่งโปรตีนสูงเหมาะที่จะนำมาเป็นอาหาร หรืออาหารแปรรูปให้สัตว์ต่างๆ เช่น นก ไก่ กบ ปลา, ใช้ไส้เดือนดินทำยา เครื่องสำอาง  และปุ๋ยที่มีคุณภาพสูง ประโยชน์ในการเลี้ยง ไส้เดือนดิน มีดังนี้ 1. ผลิตปุ๋ยหมัก น้ำสกัดชีวภาพจากไส้เดือน ช่วยผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณค่าต่อพืช มูลไส้เดือนมีธาตุอาหารที่พืชต้องการ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ครบสมบูรณ์ และอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ดีจึงเป็นประโยชน์ต่อพืช  ใช้ในการเกษตรเพื่อฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรม ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินและเพิ่มแร่ธาตุอาหารแก่พืช        ใช้ได้กับการผลิตพืชสวนประดับ เช่น การใช้เป็นวัสดุเพาะกล้า หรือใช้ผสมกับวัสดุปลูกอื่นๆ สำหรับปลูกไม้กระถางการค้าเพื่อลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน คืออะไร มูลไส้เดือนดิน […]

Read more

ในหลวงรัชกาลที่ 9

ครบรอบ 1 ปี ทำดีเพื่อพ่อ ท่านได้ทบทวนกันบ้างหรือไม่ว่าได้ทำความดีอะไรเพื่อพ่อกันไปบ้าง และทำอย่างไร แต่เหนือสิ่งอื่นใดเราคนไทย ต้องไม่ลืมว่าพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ของเราทรงทำสิ่งใดไว้ให้กับประชาชนคนไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 หรือ พ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ของชาวไทย เสด็จสู่สวรรคาลัย แต่ทุกพระราชกรณียกิจที่ท่านทรงทำเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ปวงประชายังคงดำเนินต่อ ปวงชนชาวไทยบ้างนำมาปฏิบัติ บ้างพยายามปฏิบัติ เป็นวิถี ทำดีเพื่อพ่อ ทำดีเพื่อชีวิต และทำดีเพื่อประเทศชาติกันต่อเนื่องมา 13 ตุลาคม 2560 ครบรอบ 1 ปี ที่พ่อจากไป ได้ระลึกถึงพระราชกรณียกิจที่ให้ประโยชน์ใกล้ตัวเรามากที่สุดคือ ด้านทรัพยากรน้ำ และ การเกษตร ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 “หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตนั้นอยู่ที่น้ำ ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้” โครงการตามพระราชดำริของพระองค์และพระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ในฐานะประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในจังหวัดของ ‘โครงการแก้มลิง’ ที่เลือกกล่าวถึงโครงการนี้เป็นอันดับแรก เพราะเป็นโครงการในพระราชดำริที่ใกล้ตัวที่สุด ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม จังหวัดสมุทรสาครจึงได้ถูกจัดอยู่ในพื้นที่ในโครงการแก้มลิงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้จังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดใน ‘โครงการแก้มลิง’ […]

Read more

การดูแลกล้วยน้ำว้าให้ผลออกตลอดปี

การดูแลกล้วยน้ำว้า

หลังการปลูกกล้วยน้ำว้าแล้ว การดูแลกล้วยน้ำว้า เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อให้ได้ผลผลิต และรายได้ต่อเนื่อง หากเกษตรกรปล่อยปละละเลย นอกจากจะได้ผลกล้วยที่ไม่ได้คุณภาพแล้ว โรคของกล้วยน้ำว้า และ แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า ก็จะตามมา ท่านผู้อ่านสามารถติดตามทั้งสองบทความที่กล่าวถึง เพื่อศึกษาวิธีป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชของกล้วย เพื่อให้ การดูแลกล้วยน้ำว้า เป็นไปอย่างครบวงจร การดูแลกล้วยน้ำว้ามีหลายด้านให้ปฎิบัติดังนี้ ให้น้ำ เป็นสิ่งสำคัญในการปลูกกล้วยน้ำว้า แต่อย่าให้ท่วมขัง เพราะรากจะเน่า ควรหาเศษฟาง เศษใบไม้แห้ง หรือใบตองที่ได้จากการตัดแต่งใบต้นกล้วยคลุมที่โคนต้น การให้น้ำต้นกล้วยน้ำว้าช่วงที่ปลูกใหม่ ให้รดน้ำวันเว้นวัน ประมาณครั้งละ 10 นาที เมื่อกล้วยตั้งตัวได้แล้ว รดน้ำ 2-3วันครั้ง หรือ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แหล่งน้ำ น้ำฝน น้ำจากชลประทาน น้ำบ่อบาดาล หรือบ่อกักเก็บ น้ำจากแม่น้ำลำคลอง ระบบการให้น้ำ แบ่งได้ 3 ลักษณะใหญ่ แบบให้น้ำเหนือผิวดิน แบบให้น้ำไหลตามผิวดิน แบบให้น้ำใต้ผิวดิน ในสวนกล้วยนิยม ให้น้ำเหนือผิวดินมากที่สุด เพราะเป็นการให้น้ำเลียนแบบธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบอื่นๆ วิธีการให้น้ำเหนือผิวดินมีวิธีการปลีกย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ การให้น้ำโดยทั่วถึง และการให้น้ำแบบเฉพาะจุด เช่น การให้แบบน้ำหยด และการให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ เป็นต้น […]

Read more

การดูแลมะพร้าวหลังการเพาะปลูก

การดูแลมะพร้าวหลังปลูก

พืชผัก ผลไม้ทุกชนิด เมื่อปลูกแล้วควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดี การดูแลมะพร้าว หลังการเพาะปลูก ก็เช่นกัน เราปลูกมะพร้าวแล้วจะได้รับประทานน้ำมะพร้าวที่รสชาติหวาน กลิ่นหอม ได้เนื้อมะพร้าวที่ให้น้ำกะทิเข้มข้น มัน หรือได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สูง ก็ขึ้นอยู่กับ การดูแลมะพร้าว ที่ดีและสม่ำเสมอ เพราะไม่เพียงแค่คุณภาพที่ดีที่จะได้รับ ผลผลิตที่สูงก็จะตามมาอย่างคุ้มค่ากับการลงทุน การดูแลมะพร้าว หลังการเพาะปลูกนั้น ผู้ปลูกควรเริ่มจากการให้น้ำ การให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การป้องกันและกำจัดศัตรู จนกระทั้งไปถึงขั้นตอน การเก็บเกี่ยวผลผลิตและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ( ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชนั้น สามารถติดตามได้ในบทความ โรคของมะพร้าว และแมลงศัตรูพืชของมะพร้าว  ) การให้น้ำ การปลูกมะพร้าวนั้นอาศัยวิธีการให้น้ำแบบอาศัยธรรมชาติ คือ ปลูกในฤดูฝน รอน้ำจากธรรมชาติ คือน้ำฝน แต่ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่หากเกิดภาวะฝนแล้ง ก็มีผลกระทบกับมะพร้าวเช่นกัน ดังนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ มักจะปลูกมะพร้าวด้วยวิธียกร่อง เพื่อให้มะพร้าวได้รับน้ำตลอดทั้งปี ที่สำคัญ ต้องดูแลดินให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วง 1-3 เดือนแรก และวิธีดูแลดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในการดูแลมะพร้าว การให้ปุ๋ย เป็นขั้นตอนของการดูแลดิน พืชผลทุกชนิดรวมทั้งมะพร้าวมีปริมาณผลผลิตที่ขึ้นอยู่กับธาตุอาหารในดิน การที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ คือดินมีแร่ธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของมะพร้าว การให้ปุ๋ยเพื่อปรับสภาพดินนั้น สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การปลูกมะพร้าวควรอยู่ในช่วงระหว่าง pH 6-7   การให้ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการของมะพร้าวนั้น ควรเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ด้วย เพื่อการให้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดิน มะพร้าวจะดูดธาตุอาหารโพแทสเซียมไปใช้มากที่สุดในการเพิ่มจำนวนผลผลิต และธาตุอาหารอื่นตามลำดับ ดังนี้ […]

Read more

ประโยชน์ของมะม่วงเป็นโต๊ะ

โต๊ะไม้มะม่วง

มะม่วง ผลไม้โปรดของหลายๆ คนที่คนไทยรู้จักกันดี นอกจากเป็นผลไม้ที่มีหลายสายพันธุ์ หลากรสชาติ รับประทานได้ทั้งดิบ ทั้งสุก และแบบแปรรูป ซึ่งได้เคยแนะนำไว้ในบทความ มะม่วง แล้วนั้น คราวนี้เรามารู้จักสรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง ว่าให้อะไร ช่วยอะไรเราได้บ้างยังมีอีกหลายคนที่ไม่รับประทานมะม่วง เพราะคิดว่ามะม่วงมีแป้งเยอะ รับประทานแล้วอ้วนนั้น ตามข้อมูล สรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง มะม่วงเป็นผลไม้ที่ไม่มี ไขมันอิ่มตัวคอเลสเตอรอล และโซเดียมต่ำ เหมาะกับการลดความอ้วน หรือการคุมน้ำหนัก แต่มะม่วงดิบมีน้ำตาลน้อยกว่ามะม่วงสุก ส่วนมะม่วงสุกนั้นรับประทานเป็นเครื่องดื่มผสม      โยเกิร์ต ช่วยสลายพุงได้ ดีต่อระบบขับถ่าย นอกจากนี้ มะม่วงยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน บี 6  วิตามิน เอ วิตามิน ซี น้ำ น้ำตาล ธาตุเหล็ก โปรตีนโพแทสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี เควอซิทิน เบต้าแคโรทีน กรดโฟลิก และแอสตรากาลิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง คุณค่าทางโภชนาการที่สูงของมะม่วงคงจะช่วยเปลี่ยนใจใครอีกหลายคนให้หันมารับประทานมะม่วง และให้มะม่วงช่วยดูแลสุขภาพร่างกายกันเพิ่มขึ้น นอกจากคุณประโยชน์ที่ได้รับจากเนื้อมะม่วงแล้ว ส่วนอื่นๆ ของมะม่วงก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ไม่น้อยหน้ากันเลยทีเดียว เราลองมาศึกษารายละเอียดสรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง กันว่ามีอะไรบ้าง สรรพคุณของมะม่วง 1. ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต—มะม่วงเป็นผลไม้ที่สามารถลดระดับความดันโลหิตได้ เพราะมะม่วงมีสารอาหารที่สำคัญต่อระบบการไหลเวียนของเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ […]

Read more

การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าและเทคนิคการปลูกกล้วยแบบประหยัดต้นทุน

ขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า

การขยายพันธุ์กล้วยแต่ดั้งเดิม เคยใช้การเพาะเมล็ด เช่น กล้วยตานี ที่มีเมล็ดมาก แต่ใช้ระยะเวลาในการเพาะประมาณ 4 เดือน จึงจะมีต้นอ่อนงอกออกมา เนื่องจากเปลือกเมล็ดมีความหนา การเพาะเมล็ดจึงเสื่อมความนิยมไป สำหรับ การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าไม่มีเมล็ด จึงขยายพันธุ์ด้วยวิธี : 1. การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากหน่อ นิยมโดยทั่วไปโดยขุดหน่อที่แตกมาจากต้นแม่มาปลูก 1.1 วิธีเลือกหน่อกล้วยน้ำว้าเพื่อขยายพันธุ์ เลือกหน่อใบแคบ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หน่อดาบ ที่เกิดจากต้นแม่ ใบยังไม่คลี่ เรียว ยาวเหมือนมีดดาบ มีความสูงประมาณ75-80 เซนติเมตร แข็งแรง สมบูรณ์เพราะจะมีอาหารสะสมอยู่มาก หน่อที่สมบูรณ์แข็งแรงนั้น ควรมีเหง้าอยู่ใต้ดินรากลึก เหมาะสำหรับแยกไปปลูกเพราะจะได้ต้นกล้วยที่แข็งแรง ให้ผลผลิตดี ไม่ควรเลือกหน่อที่โผล่อยู่บนผิวดินเพราะไม่แข็งแรงต้นแม่ ต้องไม่เป็นโรคหรือมีแมลงศัตรูกล้วย โดยเฉพาะด้วงงวง และเหง้าต้องไม่ถูกโรคและแมลงทำลาย หากเป็นหน่อกล้วยที่มาจากแหล่งอื่น ต้องเป็นกล้วยที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีโรคระบาดมาก่อน เหง้าใหญ่ ไม่ช้ำ 1.2 วิธีเตรียมหน่อกล้วย 1.2.1 ตัดยอดต้นแม่ ให้เหลือความสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ต้นแม่แต่ละต้นจะให้หน่อได้ประมาณ 5 หน่อต่อต้น 1.2.2 ขุดแยกหน่อจากต้นแม่ ทุกๆ 2 เดือน แล้วสุมดินที่โคนต้นแม่ทุกครั้ง ต้นแม่จะให้หน่อประมาณต้นละ 10 หน่อต่อปี […]

Read more

การปลูกผักสลัดระบบ-NFT

การปลูกผักสลัดระบบNFT

การปลูกผักสลัด นิยมใช้ระบบ NFT เพราะเป็นผักทรงพุ่ม เหมาะกับรูปแบบการปลูกที่ได้รับการออกแบบไว้ แต่ก่อนอื่น เราควรทำความรู้จักกับระบบ NFT กันให้ละเอียดขึ้น      ระบบ NFT (Nutrient Film Technique) ไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFT (Nutrient Film Technique) เป็นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์โดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 1-3 มิลลิเมตร) ในรางปลูกผักกว้างได้ตั้งแต่ 5-35 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร ความกว้างรางขึ้นอยู่กับชนิดผักที่ปลูก ความยาวของรางตั้งแต่ 5-20 เมตร สารละลายจะไหลอย่างต่อเนื่อง อัตราไหลอยู่ในช่วง 1-2 ลิตร/นาที/ราง รางอาจทำจากแผ่นพลาสติกสองหน้าขาวและดำ หนา 80-200ไมครอน หรือจาก PVC ขึ้นรูปเป็นรางสำเร็จรูป ทำจากโฟมขึ้นรูปเป็นรางติดกัน 3-5 ราง และต่อกันตามแนวยาวและบุภายในด้วยแผ่นพลาสติกกันน้ำรั่ว หรืออาจทำจากโลหะ เช่น สังกะสี หรืออะลูมิเนียม และบุภายในด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารละลาย โดยจะมีปั๊มดูดสารละลายให้ไหลผ่านรากพืชและเวียนกลับมายังถังเก็บสารละลาย ข้อดีและข้อเสียของ ระบบ NFT 1. ข้อดี คือไม่จำเป็นต้องมีเครื่องควบคุมการให้น้ำเนื่องจากระบบนี้จะมีการให้น้ำแก่ผักไฮโดรโปนิกส์ตลอดเวลา […]

Read more
1 2