หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์-DRFT

หลักด้วยระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique ) เป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะ ไฮโดรโปนิกส์ระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique) เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ DFT และมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับประเทศไทยโดยเพิ่มการไหลเวียนของอากาศแลสารละลายธาตุอาหารพืชแต่ผู้ปลูกควรศึกษา หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT ให้ดีเสียก่อนลักษณะของระบบจะเป็นโรงเรือนขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีขนาด 2×7 เมตร หลังคามุงด้วยพลาสติกใสป้องกันแสง UV ทำให้ทนต่อแสงแดด อายุการใช้งานนาน 2-3 ปี ด้านข้างเป็นมุ้งป้องกันแมลง ดังนั้น ระบบน้ำจะเป็นระบบปิด เป็นระบบที่มีการปลูกแพร่หลายระบบหนึ่งในประเทศไทย ผักที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกได้แก่ ผักไทย เพราะมีระบบรากเยอะ แต่ถึงแม้ว่าจะเป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย มากที่สุดก็ตาม ก็ยังมีข้อเสียตามมาควรศึกษาระบบน้ำให้ดีเสียก่อนผู้อ่านสามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ ผักไฮโดรโปนิกส์ ได้ แล้วจึงตัดสินใจเลือกระบบน้ำ หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT  มีข้อดี และข้อเสีย ดังนี้ : ข้อดี ระบบไม่ยุ่งยากดูแลง่าย อุปกรณ์ต่างๆ สามารถหาและซ่อมแซมได้ง่าย และทำได้ด้วยตนเอง ระบบการให้น้ำง่ายไม่ต้องมีการดูแลมาก ทำการป้องกัน และกำจัดเชื้อโรคพืชต่างๆ […]

Read more

การปลูกมะม่วง

การปลูกมะม่วง

ผู้เขียนได้เคยแนะนำให้รู้จักมะม่วง,สรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง,การขยายพันธุ์มะม่วงมาถึงบทความ  การปลูกมะม่วง เป็นบทความสำหรับผู้ที่สนใจ หรือเริ่มต้นจะปลูกมะม่วง ไม่ว่าจะปลูกไว้รับประทานในครัวเรือน หรือเป็นเชิงการค้า  การปลูกมะม่วง มีขั้นตอนดังนี้ การเตรียมดิน 1.1  ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่น ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำต่างๆ ต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับการปลูกไม้ผลอย่างอื่น เพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ร่องน้ำกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องนั้นแล้วแต่ขนาดของพื้นที่ หลังร่องยิ่งยกได้สูงมากยิ่งดี รากจะได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่องเสร็จแล้ว ให้ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย โดยการขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก หรือถ้าดินเหนียวมากให้โรยปูนขาวเสียก่อนจึงลงมือขุด ปูนขาวจะช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน และทำให้ดินไม่จับตัวกันแน่น เนื่องจากมะม่วงไม่ชอบดินที่จับตัวกันแน่น การปรับปรุงดินให้ร่วนชุยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของการปลูกแบบยกร่อง เพราะดินตามที่ราบลุ่มมักจะเป็นดินเหนียวจัด การขุดยกร่องใหม่ในปีแรก ดินอาจยังไม่ร่วนซุยดีพอ ให้ปลูกพืชผักอย่างอื่นสัก 1-2 ปี จนเห็นว่าดินร่วนซุยดีพอแล้ว จึงลงมือปลูกมะม่วง ซึ่งจะได้ผลดีและไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ส่วนในที่ที่เป็นร่องสวนเก่า มีคันคูและเคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินรวนซุยอยู่แล้ว อาจต้องปรับปรุงดินอีกเพียงเล็กน้อยก็ลงมือปลูกได้เลย                                       […]

Read more

การปลูกมะพร้าวพืชเงินล้าน

มะพร้าวพืชเงินล้าน

จากบทความ มะพร้าว สายพันธุ์มะพร้าว ที่ได้แนะนำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงสรรพคุณและประโยชน์ของมะพร้าว รวมทั้งได้รู้จักกับสายพันธุ์ต่างๆ ของมะพร้าวกันไปแล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปในบทความนี้ ได้รวบรวมวิธี และเทคนิค การปลูกมะพร้าว ให้ท่านที่สนใจได้ทดลองปลูกมะพร้าวกัน โดยเริ่มจากขั้นตอนแรกของ การปลูกมะพร้าว คือ การคัดเลือกพันธุ์ 1. การคัดเลือกพันธุ์—พื้นฐานของทุกคน มักจะเลือกตามความต้องการของการบริโภค หากปลูกไว้รับประทานในครัวเรือน หรือ ตามการนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะ การปลูกมะพร้าว เชิงการค้า ผู้ปลูกต้องพิจารณาว่า ต้องการจำหน่ายมะพร้าวในรูปแบบใด แบบสด หรือ แบบแปรรูป, ตลาดอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงหรือไม่ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง, ความต้องการของการตลาดเป็นอย่างไร เมื่อเลือกสายพันธุ์มะพร้าวได้แล้ว เราไปที่ขั้นตอนต่อไปนะคะ 2. การคัดเลือกสวนพันธุ์ และ ต้นพันธุ์สวนพันธุ์—ควรปลูกมะพร้าวพันธุ์เดียวกันทั้งสวน ปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพ เพื่อที่มะพร้าวจะได้รับการดูแลอย่างดี ต้นมะพร้าวขนาดไล่เลี่ยกัน ผู้ปลูกอาจจะเลือกต้นพันธุ์จากสวนขนาดใหญ่เกินกว่า 10 ไร่ หรือ ถ้าเป็นสวนพันธุ์ขนาดเล็กกว่านั้น ก็สามารถเลือกจากต้นพันธุ์เป็นหลัก ต้นพันธุ์—ควรอยู่บริเวณกลางสวน ไม่ใกล้บ้าน คอกสัตว์ หรือที่ที่ดีกว่าต้นอื่น ลำต้นตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่ พุ่มใบเป็นรูปวงกลม หรือครึ่งวงกลม มีใบย่อยจำนวนมาก โคนทางสั้นและใหญ่ มีจั่นอย่างน้อย […]

Read more

เพาะเห็ดฟางพารวย

เพาะเห็ดฟาง

เพ(ร)าะเห็ดฟางพารวย มือใหม่ก็ทำได้ เหมาะกับผู้ที่สนใจเพาะเห็ดไว้รับประทานในครัวเรือน ผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม และเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อย วัสดุในการเพาะ 1. หัวเชื้อเห็ดฟาง ที่ไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป ไม่มีสิ่งปนเปื้อน 2. ตะกร้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว สูง 11 นิ้ว มีช่องขนาด 1 ตารางนิ้ว ด้านล่างมีช่องระบายน้ำ 3. วัสดุเพาะ เช่น ก้อนเชื้อเห็ดเก่า ฟางข้าว ต้นกล้วย ชานอ้อย เป็นต้น 4. อาหารเสริม เช่น ผักตบชวา ขี้วัว ไส้นุ่น รำละเอียด 5. อาหารกระตุ้นหัวเชื้อ ได้แก่ แป้งสาลี หรือแป้งข้าวเหนียว 6. พลาสติกใสสำหรับคุม 7. สุ่มไก่ หรือวัสดุอื่นๆ ที่ทำเป็นโครง เช่น ชั้นโครงเหล็ก 8. น้ำสะอาด วิธีเพาะ 1. เลือกพื้นที่สำหรับวางโครงเหล็กหรือสุ่มไก่ ควรเป็นพื้นที่ที่มีแสงรำไร หรือแสงอ่อนๆ น้ำไม่ท่วมขัง สามารถป้องกันการรบกวนจากสุนัขและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ […]

Read more
1 2