การปลูกพริก

การปลูกพริก

การปลูกพริก มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และเทคนิคของแต่ละบุคคล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีการในขั้นต้นก็มีพื้นฐานเดียวกัน ในบทความนี้ ได้นำเสนอ วิธีการขั้นพื้นฐานให้กับท่านผู้อ่าน ส่วนเทคนิคและเคล็ดลับที่จำแนกตามสายพันธุ์นั้น ติดตามได้ในบทความ “เทคนิคการปลูกพริกแต่ละสายพันธุ์” ก่อนลงมือปลูก เราต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ก่อนนะคะ… สภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกพริก อุณหภูมิ พริกเกือบทุกสายพันธุ์ ทนต่ออากาศร้อนได้ดี แต่ไม่ทนต่ออากาศหนาว สำหรับการให้ผลผลิต พริกจะเจริญเติบโต ผลิดอกออกผลได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่ 20 ถึง 30 องศาเซลเซียส ยกเว้นพริกหวาน อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพริกหวานต้องอยู่ประมาณ 18 ถึง 27 องศาเซลเซียส หากอากาศแปรปรวน อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในฤดูร้อน อาจทำให้ดอกหรือผลอ่อนร่วง แสง การปลูกพริกในประเทศไทย ไม่มีปัญหาเรื่องแสง เพราะพริกจะได้รับแสงเกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน เกือบตลอดทั้งปี ซึ่งเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพริก ดิน ดินร่วนโปร่ง เป็นดินที่พริกชอบ เพราะระบายน้ำได้ดี มีความชุ่มชื้น เพื่อการเจริญเติบโตที่ดี ถ้ามีน้ำท่วมขัง พริกจะเหี่ยวตายได้ง่าย ส่วนการขาดน้ำ จะทำให้ดอกและผลร่วง ดินร่วนปนทราย บนพื้นที่ดอน เหมาะกับการปลูกพริกในฤดูฝน หรือการปลูกแบบยกแปลงให้สูงๆ เพื่อการระบายน้ำที่ดี ดินที่เหมาะสมในการปลูกพริกนั้น นอกจากมีความร่วนซุยแล้ว ควรมีอินทรียวัตถุ […]

Read more

หม่อน

หม่อน

หม่อน มีถิ่นกำเนิดแถบเทือกเขาหิมาลัยและทางตอนใต้ของประเทศจีน ในประเทศไทยสมัยก่อน ปลูกหม่อนกันมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมปลูกตามหมู่บ้านเพื่อใช้ใบเป็นอาหารเลี้ยงตัวไหม หรือที่เคยได้ยินกันว่า ‘ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม’ นั่นเองค่ะ เป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่บางสายพันธุ์เหมาะกับการใช้ใบเลี้ยงไหม ใช้เป็นอาหารสัตว์ปีกและสุกร ใช้ใบทำชา หรือรับประทานผลสด ปัจจุบัน คนไทยเริ่มนิยมรับประทานผลหม่อนสด โดยเฉพาะกลุ่มคนรักสุขภาพ ซึ่งผลสุกของหม่อนนั้นสามารถนำมารับประทานสดได้ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว จึงทำให้การปลูกหม่อนมีเพิ่มขึ้นมากตามมา แต่หลายต่อหลายคน มักบ่นให้ได้ยินอยู่เสมอนะคะ ว่าหม่อนที่ปลูกไว้ไม่ค่อยออกลูก บ้างก็มีคำถามตามมาว่า…หรือเป็นที่อากาศ?… สำหรับท่านที่ยังไม่เคยปลูก หรือปลูกแล้วมีปัญหาดังกล่าว บทความนี้มีคำตอบให้ค่ะ อันที่จริง หม่อน เป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย อายุยืนยาวได้ 80 ถึง 100 ปี ถ้าดูแลให้ดี การดูแลหม่อนให้ดี ก็ง่ายไม่ยุ่งยากเช่นกันค่ะ เพียงแค่ดูแลอย่างถูกวิธี ท่านก็จะมีหม่อนไว้รับประทานกันอย่างเต็มที่ แค่ปลูกไว้ 4 ต้น เป็นอย่างน้อย ก็จะมีรายได้เสริมเป็นกำลังใจได้ดี แต่ผู้เขียนอยากจะบอกไว้ก่อนว่า ไม่ว่าจะปลูกอะไร หรือทำอะไร เราควรทำความรู้จัก เรียนรู้ และทำความเข้าใจกับสิ่งนั้นให้ดีเสียก่อน แล้วเริ่มทดลองทำแต่น้อย เมื่อสำเร็จแล้วจึงขยายขนาด หรือเพิ่มปริมาณเพื่อไม่ให้การลงทุนสูญเปล่า เกริ่นมาเยอะแล้วค่ะ…..หม่อนอยากแนะนำตัวแล้ว….. คนไทยในภาคอีสานเรียกหม่อนว่า ‘มอน’ ส่วนภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก ‘ซิวเอียะ’ ส่วนภาษาอังกฤษ หม่อนมีชื่อเรียกว่า […]

Read more

พืชหมุนเวียน

พืชหมุนเวียน

พืชหมุนเวียน พืชหมุนเวียน ซึ่งผู้เขียนได้แนะนำไว้ในหลายบทความ ให้เกษตรกรปลูก และในปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐได้ส่งเสริมและรณรงค์ให้มีการปลูกพืชหมุนเวียน หลังปลูกข้าว หรือปลูกหลังนา และการปลูกพืชหมุนเวียน ในพื้นที่เพาะปลูกพืชล้มลุกอื่นๆ ประโยชน์ของ การปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำชลประทาน เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด ปรับปรุงดิน เพื่อสร้างรายได้เสริม ในช่วงที่เกษตรมีการพักนา หรือพักการเพาะปลูกพืชไร่ตามฤดูกาล เพื่อลดการนำเข้าปุ๋ยและสารเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชไร่บางชนิด ทดแทนการนำเข้า เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง เป็นต้น ปัจจัยที่ควรคำนึงถึง ในการปลูกพืชหมุนเวียน พืชที่ใช้ปลูกเป็นพืชหมุนเวียนนั้น มีหลากหลายชนิด แต่การนำมาปลูกนั้น ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ : ฤดูกาลที่เหมาะสมกับชนิดพืชที่นำมาปลูก สภาพความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูก ผลผลิตและผลตอบแทนที่จะได้รับ พืชที่เหมาะสม สำหรับ การปลูกพืชหมุนเวียน ปอเทือง ข้าวโพดหวาน—แนะนำ ข้าวโพดหวานญี่ปุ่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม โสนอัฟริกัน มะเขือเทศ ขอเริ่มต้นที่ ปอเทือง ก่อนนะคะ 1.1 ปอเทือง ปอเทือง ในบางท้องถิ่นเรียกปอเทืองว่า คำบูชาเทือง บัวสา มะคำไก่ดง ส้มปูขม […]

Read more

ข้าวโพดหวานญี่ปุ่น

ข้าวโพดหวานญี่ปุ่น

ข้าวโพดหวานญี่ปุ่น ข้าวโพดหวานญี่ปุ่น สายพันธุ์ที่แนะนำให้รู้จัก คือ สายพันธุ์ มิไร (Mirai F1) เพื่อให้ได้ประโยชน์หลายทาง นอกไปจากการใช้เพาะปลูกเป็นพืชหมุนเวียน สลับกับการปลูกพืชหลัก ซึ่งนอกจากจะช่วยปรับปรุง บำรุงดินแล้ว ยังมีจุดเด่นคือ สามารถรับประทานสดได้ เนื้อข้าวโพดมีกลิ่นหอม เนื้อกรอบ หวานฉ่ำน้ำ ฝักใหญ่พอประมาณ ความยาวของฝักประมาณ 5 ถึง 6 นิ้ว เนื้อมีสีเหลืองนวล ในฝักมีแถวเมล็ดประมาณ 16 แถว มีเปลือกหุ้มฝักสีเขียวเข้ม ที่สำคัญ มีปริมาณของแป้งต่ำ สร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้ดี นอกจากเกษตรกรมืออาชีพแล้ว หากท่านผู้อ่านสนใจทดลองปลูก ก็เหมาะสำหรับเกษตรกรมือใหม่เป็นที่สุด เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกง่าย ทนต่อโรคราน้ำค้าง โรคราสนิม และโรคใบไหม้ ได้ดีมาก และนอกเหนือไปจากคุณสมบัติด้านความอร่อย และความเหมาะสมในการเพาะปลูกแล้ว สรรพคุณและประโยชน์ ข้าวโพดหวานญี่ปุ่น ยังมีไม่น้อยไปกว่าข้าวโพดสายพันธุ์อื่นๆ คุณค่าทางโภชนาการของ ข้าวโพดหวาน คาร์โบไฮเดรต, แป้ง, น้ำตาล, ใยอาหาร, ไขมัน, โปรตีน, ทริปโตเฟน, ทรีโอนีน, ไอโซลิวซีน, ลิวซีน, ไลซีน, เมทไธโอนีน, ซิสทีน, […]

Read more

การปลูกข้าวโพดหวานญี่ปุ่น

การปลูกข้าวโพดหวานญี่ปุ่น

การปลูกข้าวโพดหวานญี่ปุ่น มีขั้นตอนที่ง่าย และสามารถเพาะปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย และได้ผลผลิตดี ส่วนความอร่อยนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการบำรุง สำหรับแหล่งกำเนิดอย่างประเทศญี่ปุ่น การปลูกข้าวโพดหวานญี่ปุ่น เป็นพืชไร่ที่ปลูกกันมาก ในแทบภาคกลาง จนถึงภาคเหนือของญี่ปุ่น สิ่งสำคัญ ของ การปลูกข้าวโพดหวานญี่ปุ่น ให้ได้ผลผลิตดี สภาพดิน—มีความร่วนซุย มีปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวโพด เป็นพื้นที่ๆ ได้รับแสงแดดตลอดทั้งปี ความแตกต่างกันของอุณหภูมิในช่วงกลางวันกับกลางคืน สายพันธุ์ข้าวโพดหวานญี่ปุ่น ที่เป็นที่นิยม มีอยู่ 4 สายพันธุ์ด้วยกันคือ เพียวไวท์—เนื้อสีขาวนวลฝักใหญ่ เนื้อกรอบหวานฉ่ำ ปิกนิก—เนื้อสีเหลืองนวลฝักเล็ก ตลาดไม่ค่อยนิยม แต่เป็นสายพันธุ์ที่หวานที่สุด มิไร—เนื้อสีเหลืองนวล ฝักขนาดกลาง เนื้อกรอบหวานฉ่ำ มีกลิ่นหอม เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดในญี่ปุ่น กาวิซึ—เหลืองปนขาวฝักใหญ่ เนื้อหวานนุ่มเหนียว คล้ายๆ ข้าวโพดสาลีแต่กากน้อยกว่ามาก ทำความรู้จักกับ ข้าวโพดหวาน….. ข้าวโพดหวาน เป็นพืชล้มลุก อยู่ในตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว แต่เดิมนั้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย ตามที่ได้นำเสนอไว้ในบทความ ข้าวโพดหวานญี่ปุ่น ทั้งทางยา ทางอาหาร และอื่นๆ ด้วยรสชาติที่อร่อย หวาน รับประทานแล้วไม่ผิดหวัง ทำให้ผู้คนนิยมรับประทานแบบไม่แปรรูป เพื่อให้ได้ความอร่อยแบบธรรมชาติ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของข้าวโพดหวาน […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูข้าวโพดหวานญี่ปุ่น

โรคและแมลงศัตรูข้าวโพดหวานญี่ปุ่น

โรคและแมลงศัตรูข้าวโพดหวานญี่ปุ่น หากไม่ป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดการระบาด จะทำให้เกิดความเสียหายได้ทั้งพื้นที่ เนื่องจากเป็นโรคที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก ซึ่งการป้องกันและกำจัด โรคและแมลงศัตรูข้าวโพดหวานญี่ปุ่น เป็นขั้นตอนที่ต้องเอาใจใส่ดูแลเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ จำหน่ายได้ราคาดี สิ่งสำคัญ พยายามดูแล สำรวจและป้องกัน โรคและแมลงศัตรูข้าวโพดหวานญี่ปุ่น ก่อนที่จะเกิดการระบาด เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและตัวเกษตรกรผู้ปลูกเองด้วยนะคะ โรคข้าวโพดหวานญี่ปุ่น โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย โรคราน้ำค้างของข้าวโพด หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อรา เป็นโรคที่ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงให้แก่แหล่งที่ปลูกข้าวโพดไม่สามารถควบคุมโรคโดยใช้สารเมตาแลคซิลที่เคยใช้ได้ผลในอดีตที่ผ่านมา ความรุนแรงของโรคทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลง 30 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ในแหล่งที่โรคระบาดรุนแรงและพันธุ์ข้าวโพดที่อ่อนแอจะทำความเสียหายถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง เช่น ข้าวโพดเทียนและข้าวโพดข้าวเหนียว เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคมาก อาการของโรค มี 3 ลักษณะ ดังนี้ Infection site หรือบางครั้งเรียกว่า infection point อาการติดเชื้อ มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ถึง 2 มิลลิเมตร จุดมีสีเขียวฉ่ำน้ำ มักเกิดและเห็นได้ชัดกับข้าวโพดที่ระยะกล้าอายุประมาณไม่เกิน 1 สัปดาห์ Local symptom อาการเฉพาะแห่ง เกิดต่อมาจากอาการแบบที่1 […]

Read more

โสนอัฟริกัน

โสนอัฟริกัน

โสนอัฟริกัน เป็นพืชตระกูลถั่ว มีการสนับสนุนให้ปลูกเป็นพืชหมุนเวียนด้วยเช่นกัน เพราะโสนอัฟริกันนั้น เมื่อถูกไถกลบในระยะออกดอกอายุประมาณ 50 วัน จะให้น้ำหนักสดประมาณ 2,000 ถึง 4,000 กิโลกรัม ต่อไร่ และน้ำหนักแห้งเฉลี่ยประมาณ 400 ถึง 1,120 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อสลายตัวในดิน จะให้ธาตุอาหารพืชไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เกษตรกรนิยมปลูกโสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด แล้วไถกลบก่อนปลูกข้าว หรือปลูกหมุนเวียนสลับกับพืขไร่อื่นๆ เช่น ข้าวโพด และอ้อย เป็นต้น ลักษณะทางพฤษศาสตร์ เป็นพืชอายุสั้น ไวต่อแสงและจะออกดอกเมื่อช่วงแสงต่ำกว่า 12 ชั่วโมง เป็นทั้งไม้ล้มลุกและไม้พุ่มขนาดกลาง ลําต้น เดี่ยวตั้งตรงมีกิ่งก้านมาก ลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากโสนอื่นๆ ก็คือ นอกจากมีปมรากแล้วยังมีปมที่ต้นอีก โดยปมที่ต้นนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนในอากาศ ต้นสูงประมาณ 2 ถึง 3 เมตร ใบ เป็นใบประกอบ ปลายใบย่อยมีลักษณะมน ดอก มีสีเหลืองช่อดอกจะอยู่ที่ปลายยอดตามโคนกิ่ง แต่ละช่อดอกจะมี 7 ถึง 10 ดอก ผล เรียกว่าฝัก ช่อหนึ่งจะมี 3 […]

Read more

ถั่วลิสง

ถั่วลิสง

ถั่วลิสง เป็นพืชที่เหมาะสมในการนำมาปลูกเป็นพืชหมุนเวียนหลังฤดูทำนา หรือพืชไร่ชนิดอื่นๆ ในช่วงเวลาหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ช่วยสร้างรายได้และสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกร และช่วยบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ในปัจจุบัน ความต้องการใช้ถั่วลิสงเพื่อการบริโภคมีสูงขึ้นเนื่องจากถั่วลิสง เป็นอาหารที่อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารหลายชนิด เช่น อาหารว่าง อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารเวียดนาม เป็นต้น ในบางท้องถิ่น เรียก ถั่วลิสง ว่า ถั่วดิน ถั่วขุด หรือถั่วยี่สง ถั่วลิสงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน และกึ่งร้อน ตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้ หลักฐานทางโบราณคดีระบุไว้ว่า ชาวพื้นเมืองบริโภคถั่วลิสง มานานกว่า 4,000 ปี ชาวยุโรปได้นำไปปลูกในทวีปแอฟริกา เมื่อประมาณ 400 ถึง 500 ปีก่อน ต่อมาจึงได้แพร่มายังทวีปเอเชีย และกลายเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญของหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่ว ถูกจัดอยู่ในวงศ์เดียวกับถั่วเหลือง เป็นพืชล้มลุก มีอายุเพียงฤดูเดียว ถั่วลิสงขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เมื่อเมล็ดได้รับน้ำเพียงพอ ต้นอ่อนในเมล็ดจะงอก โดยขยายตัวแทงรากลงไปในดิน รากแก้วอาจหยั่งลึกลงไปถึง 2 เมตร รากแขนงจะแตกออกจากผิวของรากแก้ว เติบโตขยายไปทางแนวราบใต้ผิวดิน แผ่ออกเป็นบริเวณกว้าง และมีปมของจุลินทรีย์เกิดขึ้นเป็นกระจุกตามผิวราก ต้นอ่อนของถั่วลิสงเจริญเติบโตโผล่พ้นผิวดิน มีกิ่งแตกออกจากลำต้นตรงมุม ใบ มีจำนวน 3 ถึง […]

Read more

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นพืชสารพัดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นทางอาหาร อุตสาหกรรม หรือเกษตรกรรม ในบทความนี้ นอกจากจะส่งเสริมให้ การปลูกถั่วเหลืองเป็นพืชหมุนเวียนในพื้นที่การเกษตรแล้ว ยังส่งเสริมให้เกษตรได้ต่อยอดจากการปลูกถั่วเหลือง สร้างรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตมากยิ่งขึ้น     ประโยชน์ของ ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีเมล็ดอันอุดมไปด้วยโปรตีนและน้ำมัน ซึ่งถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ดังนี้ 1. ทางอาหาร ใช้เป็นอาหาร นำมาต้มรับประทานเมื่อเมล็ดเจริญดีแล้วแต่ยังไม่แก่หรือสุกเต็มที่ เรียกว่าถั่วแระ ถั่วเหลืองบางพันธุ์มีเมล็ดโต ใช้ปรุงบริโภคเป็นถั่วเหลืองฝักสด หรือบรรจุกระป๋อง ใช้เมล็ดสุกมาทำถั่วงอกซึ่งให้ลักษณะต้นถั่วงอกคล้ายถั่วเขียว ใช้ทำเต้าเจี้ยว เต้าหู้ ซีอิ้ว และนมถั่วเหลือง ใช้ผลิตและปรับปรุงให้เป็นอาหารมังสะวิรัติ เป็นเนื้อคล้ายเนื้อสัตว์ซึ่งเรียกว่าเนื้อเทียม โดยอาจทำให้มีลักษณะเป็นเนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อไก่งวง แฮม และเบคอน ฯลฯ แป้งถั่วเหลืองใช้ผสมหรือปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น ทำขนมต่าง ๆ อาหารทารก น้ำมันซึ่งสกัดจากถั่วเหลืองใช้ในการปรุงอาหาร ทำมักการีน น้ำสลัด ฯลฯ 2. ทางอุตสาหกรรม ใช้ในทางอุตสาหกรรม ใช้ผลิตกาว ใช้เป็นส่วนผสมยาฆ่าแมลง สี ปุ๋ย วิตามิน ยาต่าง ๆ กระดาษ ผ้า ฉนวนไฟฟ้า […]

Read more

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว พืชตระกูลถั่วที่มีเปลือกเมล็ดสีเขียว แต่เนื้อเมล็ดสีเหลือง สามารถนำเมล็ดมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การประกอบอาหาร การทำขนม การเพาะถั่วงอก การแปรรูปเป็นวุ้นเส้น การประกอบอาหารสัตว์ และเป็นปุ๋ยบำรุงดิน โดยปลูกเป็นพืชหมุนเวียนในนาข้าว หรือพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ต่างๆ และสร้างรายได้ที่ดี ซึ่งมีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ราก ถั่วเขียวมีรากเป็นระบบรากแก้ว เหมือนกับถั่วเหลือง และมีรากแขนง ทำให้ถั่วเขียวเติบโตได้เร็ว ดินที่มีความชื้น บริเวณรากมักจะพบปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียม ทำหน้าที่ช่วยตรึงไนโตรเจน ลำต้น ถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ไม่ใช่เถาเลื้อย ความสูงของลำต้นประมาณ 30 ถึง 150 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีสีเขียว และมีขนอ่อนปกคลุม ในบางสายพันธุ์อาจมีลักษณะลำต้นเลื้อย ใบ มีสีเขียวอ่อนถึงเข้ม รูปไข่ ตามก้านใบและบนใบมีขนสีขาว ดอก ดอกมีลักษณะเป็นช่อ เกิดขึ้นบริเวณมุมใบด้านบนบริเวณปลายยอด และกิ่งก้าน ช่อดอกประกอบด้วยก้านดอก ยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกเกิดเป็นกลุ่ม จำนวนดอกประมาณ 10 ถึง […]

Read more
1 2 3