หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์-DRFT

หลักด้วยระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique ) เป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะ ไฮโดรโปนิกส์ระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique) เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ DFT และมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับประเทศไทยโดยเพิ่มการไหลเวียนของอากาศแลสารละลายธาตุอาหารพืชแต่ผู้ปลูกควรศึกษา หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT ให้ดีเสียก่อนลักษณะของระบบจะเป็นโรงเรือนขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีขนาด 2×7 เมตร หลังคามุงด้วยพลาสติกใสป้องกันแสง UV ทำให้ทนต่อแสงแดด อายุการใช้งานนาน 2-3 ปี ด้านข้างเป็นมุ้งป้องกันแมลง ดังนั้น ระบบน้ำจะเป็นระบบปิด เป็นระบบที่มีการปลูกแพร่หลายระบบหนึ่งในประเทศไทย ผักที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกได้แก่ ผักไทย เพราะมีระบบรากเยอะ
แต่ถึงแม้ว่าจะเป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย มากที่สุดก็ตาม ก็ยังมีข้อเสียตามมาควรศึกษาระบบน้ำให้ดีเสียก่อนผู้อ่านสามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ ผักไฮโดรโปนิกส์ ได้ แล้วจึงตัดสินใจเลือกระบบน้ำ

หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT  มีข้อดี และข้อเสีย ดังนี้ :

  1. ข้อดี ระบบไม่ยุ่งยากดูแลง่าย อุปกรณ์ต่างๆ สามารถหาและซ่อมแซมได้ง่าย และทำได้ด้วยตนเอง ระบบการให้น้ำง่ายไม่ต้องมีการดูแลมาก ทำการป้องกัน และกำจัดเชื้อโรคพืชต่างๆ ในสารละลายได้ง่าย เป็นระบบที่มีการใช้น้ำและธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ไม่มีวัสดุปลูกที่ต้องกำจัด สามารถปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี ไม่เสียเวลาในการเตรียมระบบปลูก เช่น สามารถปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้ถึง 8-12 ครั้ง / ปี และเป็นการปลูกในโรงเรือนระบบปิดป้องกันแมลงและฝนได้
  2. ข้อเสีย ราคาค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมาก อุปกรณ์บางอย่างเสียหายได้ง่ายเช่น แผ่นโฟมปลูก จะหักได้ง่าย และอาจถูกทำลายโดยมดหรือหนู โรงเรือนอาจถูกลมแรงๆ ทำความเสียหายได้โดยเฉพาะพลาสติกหลังคา

องค์ประกอบของระบบ DRFT

  1. โรงเรือน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 2.13 เมตร สูง 2.1 เมตร ยาว 7 เมตร ทำจากโครงเหล็กกลม หลังคาพลาสติกใสกันแสง UV ทำให้ใช้งานได้ยาวนาน มีหน้าที่กันฝนในหน้าฝน แต่จะมีปัญหาในหน้าร้อน จะทำให้ในโรงเรือนร้อนมาก ถ้ามีแสงมากเกินไปและอุณหภูมิสูงมาก ต้องมีการพรางแสงด้านบนด้วยตาข่ายพรางแสงสีดำ 50% หลังคาแผ่นพลาสติกใสทั่วไปหนา 100-120 ไมครอน ด้านข้างบุด้วยตาข่ายพลาสติกกันแมลงและลม
  2. ถาดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ อาจทำจากโฟมขนาดกว้าง 2.01 เมตร ยาว 0.9 เมตร สูง 0.15 เมตร หรือใช้กระเบื้อง หรือวัสดุที่หาได้ง่ายทำเป็นรางแทนได้เพื่อประหยัดต้นทุน โดยขึ้นรูปเป็นร่องลูกฟูก ต้นผักจะวางอยู่ด้านบนของลูกฟูกนี้ ร่องด้านล่างลูกฟูกขนาดเล็กเป็นทางให้สารละลายไหลจำนวน 10 ร่อง ถาดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จะเรียงต่อกันตามความยาวและปูด้วยพลาสติกดำเพื่อเป็นรางปลูกผัก สารละลายจะไหลอยู่ในรางปลูก ส่วนต้นผักจะวางอยู่บนสันร่อง รากผักจะเจริญลงตามร่องทั้งสองข้าง
  3. แผ่นปลูก เป็นแผ่นโฟมหรือแผ่นยาง แผ่นสมาร์ท บอร์ดก็ได้ที่หาได้ง่าย ราคาถูก นำมาเจาะรูจำนวน 80 รูเพื่อใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แผ่นปลูกวางอยู่ด้านบนของถาดปลูก
  4. อุปกรณ์ปรับระดับน้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องว่างระหว่างต้นผักและผิวน้ำ อุปกรณ์ปรับระดับสารละลายในถาดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ทำหน้าที่ปรับระดับความสูงของสารละลายในถาดปลูกผัก จะปรับตามอายุของผัก เมื่อผักไฮโดรโปนิกส์ต้นเล็กสารละลายจะสูงเพื่อให้แน่ใจว่ารากผักแช่อยู่ในน้ำ และเมื่อต้นผักโตขึ้นจะลดระดับสารละลายลง เพื่อให้เกิดช่องว่างอากาศระหว่างต้นผักและสารละลาย เพื่อเป็นการเพิ่มการละลายตัวของออกซิเจนในสารละลาย จะทำให้รากผักทำงานได้ดีขึ้น มีผลให้ผักโตเร็วขึ้น

อุปกรณ์นี้จะอยู่ในถาดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และมีท่อ PVC สองชั้นเจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร เมื่อต้องการลดระดับน้ำก็หมุนให้รูตรงกัน สารละลายส่วนใหญ่จะไหลผ่านรูนี้กลับสู่ถังสารละลายได้เร็วขึ้นระดับน้ำในถาดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จะลดลง ระดับสารละลายในถาดสามารถปรับได้ตั้งแต่ 1-8เซนติเมตร

  1. ปั๊มน้ำ เป็นปั๊มขนาดเล็กใช้ในตู้ปลาทั่วไป มีหน้าที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนสารละลายในระบบปลูก โดยปั๊มจะปั๊มสารละลายจากถังสารละลายขึ้นไปในถาดปลูกผักไฮโดรโปรินกส์ สารละลายจะไหลผ่านร่องปลูกผ่านรากผัก และไหลกลับถังสารละลายทางอุปกรณ์ปรับระดับ
  2. ถังสารละลาย มีหน้าที่เก็บและรองรับสารละลายที่ไหลในถาดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จากต้นราง และไหลกลับสู่ถังสารละลาย โดยระบบหมุนเวียนของสารละลายในระบบจะเริ่มจากปั๊มสารละลายจากถังเก็บสารละลาย และส่งผ่านไปยังท่อนำสารละลายลงในถาดปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ทางต้นราง และไหลไปตามร่องน้ำผ่านรากผักออกสู่ปลายราง ผ่านอุปกรณ์ปรับระดับน้ำและไหลกลับสู่ถังสารละลายอีกทีหนึ่ง ดังนั้น สารละลายจะไหลหมุนเวียนอยู่ในระบบ เป็นระบบปิด

นอกจากระบบ DRFT จะเป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ยังเป็นระบบที่เหมาะสมที่จะปลูกผักไทยมากที่สุด แต่ก็สามารถปลูกผักสลัดได้ด้วย ซึ่งการปลูกผักสลัดโดยทั่วไป จะมีขั้นตอนการปลูกเหมือนผักไทย แต่มีข้อแตกต่างกันบ้างดังนี้

การเพาะเมล็ด เมล็ดผักสลัดจะมีราคาแพงกว่าเมล็ดผักไทย( 1 เมล็ดราคา 0.57-1บาท) เมล็ดผักสลัด ที่ขายจะมีการเคลือบเมล็ดทำให้เมล็ดใหญ่สะดวกในการเพาะ และมีอัตราการงอกสูงมากกว่า 90% ผักสลัดจะต้นโต การเจริญเติบโตออกด้านข้าง ดังนั้น การเพาะเมล็ดจะใช้เมล็ดผักสลัด 1 เมล็ด/ฟองน้ำ 1 ชิ้น

การย้ายลงถาดปลูก เนื่องจากผักสลัดมีการโตออกด้านข้าง ดังนั้น ระยะปลูกจะห่างกว่าปลูกผักไทย โดยทั่วไปจะปลูกช่องเว้นช่อง และแถวเว้นแถว คือมีระยะปลูก 20×20 เซนติเมตร หลังจากนั้น ทำการดูแลเหมือนผักไทย โดยทำการปรับค่า EC และ pH ให้ตรงตามความต้องการของผัก เมื่อผักอายุประมาณ 18-20 วัน จะมีการลดระดับน้ำ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตลาดผักสลัด

การตลาดผักสลัด โดยทั่วไปจะจำหน่ายให้กับทางโรงแรม ห้างสรรพสินค้า และร้านอาหารขนาดใหญ่ ซึ่งปกติร้านพวกนี้จะไม่รับซื้อกับเกษตรกรโดยตรง ดังนั้น การปลูกผักสลัดจะต้องจำหน่ายให้กับตัวแทน หรือพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะนำไปจำหน่ายต่ออีกทีหนึ่ง การปลูกผักสลัดจะต้องมีการติดต่อล่วงหน้ากับคนซื้อก่อนปลูก ทั้งปริมาณและชนิดผักแต่ละชนิดที่ต้องการ และผู้ปลูกถึงจะปลูกตามความต้องการของผู้ซื้อ

ข้อดี ของการขายแบบนี้ คือ ผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไม่ต้องไปจำหน่ายเอง แค่ปลูกส่งให้กับผู้ขายอีกทีหนึ่ง การปลูกจะต้องมีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้ได้ชนิดและปริมาณตามความต้องการของผู้ซื้อ และต้องมีปริมาณมากพอที่จะคุ้มกับค่าขนส่ง

การลดอุณหภูมิในหน้าร้อน ผักสลัดเป็นพืชเมืองหนาว อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตอยู่ในช่วง 20-28 องศาเซลเซียส ซึ่งผักสลัดไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้น จะต้องทำการลดอุณหภูมิลงให้ต่ำที่สุด ซึ่งโดยทั่ว ไปสามารถทำได้ดังนี้

  • พรางแสง ด้วยซาแรน 50% ซึ่งสามารถลดอุณหภูมิลงได้บ้าง อาจใช้ได้ผลในช่วงหน้าฝนที่มีแดดจัดบางช่วง ที่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก สิ่งที่ต้องระวังคือการพรางแสงผักสลัด ในหน้าฝนช่วงที่แดดจัด แต่ถ้าช่วงที่มีเมฆมากๆ หรือฝนตกติดต่อกันนานๆ ต้องเอาที่พรางแสงออก เนื่องจากผักสลัดต้องการอุณหภูมิต่ำ แต่ต้องการแสงมาก (โดยทั่วไปผักสลัดจะโตได้ดีมากในหน้าหนาวที่อุณหภูมิต่ำ และแสงแดดจัด) ถ้าผักสลัดได้แสงน้อย ผักจะยืดทำให้ขายไม่ได้ โดยเฉพาะกรีนโอ๊ค
  • การพ่นละอองน้ำในโรงเรือน ในช่วงที่อากาศร้อนจัดมากๆ การพรางแสงและเปิดมุ้งด้านข้างยังลดอุณหภูมิได้ไม่พอก็ต้องมีการพ่นละอองน้ำในโรงเรือนช่วยด้วย โดยการพ่นน้ำจะใช้หัวพ่นน้ำแบบฉีดฝอย ติดตั้งในโรงเรือนและเปิดการให้น้ำเป็นช่วงๆ เช่น พ่นน้ำทุก ๆ 1 ชั่วโมง โดยพ่น 1 นาที การพ่นน้ำอาจจะเริ่มตั้งแต่ 09.00-15.00น.                                                                                (ข้อมูลจาก: ผักไฮโดรโปนิกส์ (ฉบับชาวบ้าน))

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *