น้ำหมักชีวภาพสำหรับผักไฮโดรโปนิกส์

น้ำหมักชีวภาพสำหรับผักไฮโดรโปนิกส์

น้ำหมักชีวภาพ สำหรับผักไฮโดรโปนิกส์ มีส่วนช่วยใน การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ได้ดีมาก ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้ดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่มีสารเคมีตกค้าง เกษตรกรสามารถเลือกว่าจะสะดวกใช้ น้ำหมักชีวภาพ สูตรที่เหมาะสมกับชนิดผัก วัตถุดิบ และวัตถุประสงค์ได้จากรายละเอียดดังนี้ (สูตร น้ำหมักชีวภาพ สำหรับการผลิตผักระบบไฮโดรโปนิกส์ โดย รศ. ดนัย วรรณวนิช) น้ำสกัดชีวภาพนมสด ส่วนผสม : นมสด 30 กก. กากน้ำตาล 5 กก. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 10 ลิตร น้ำ 40 ลิตร วิธีทำ : 1.นำส่วนผสมทั้งหมดเทผสมกัน 2.หมักในภาชนะที่มีฝาปิดทิ้งไว้เป็นเวลา 30-45วัน 3.จะได้นำสกัดชีวภาพที่มีสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอมของนม น้ำสกัดชีวภาพดินระเบิด ส่วนผสม : หัวเชื้อปุ๋ยหมัก พด.1 1ถุง รำละเอียด 1 กก. น้ำตาลทรายแดง 1 กก. น้ำ 1-2 แก้ว ผ้าฝ้าย 1 ผืน […]

Read more

ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ มีไม่มากเหมือนการปลูกผักบนดิน และวิธีป้องกัน หรือกำจัดก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากจะให้ได้ผลที่สุด คือเกษตรกร หรือผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ควรปฎิบัติตามหลักการ และขั้นตอนต่างๆ อย่างเคร่งครัด และดูแลเอาใจใส่ผักไฮโดรโปนิกส์อย่างสม่ำเสมอ และถ้าผู้อ่านติดตามอ่านบทความนี้ ก็จะได้ทราบถึงปัญหาที่เป็นกระแสเกี่ยวกับผักไฮโดรโปนิกส์ในเรื่องของไนเตรท และเคล็ดลับแก้ไขปัญหานี้ง่ายๆ ให้เราได้รับประทานผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีคุณภาพกันโดยปราศจากพิษภัย เรามาเริ่มศึกษา ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ กันเลยนะคะ ว่ามีอะไรบ้าง? ปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ กับระบบ NFT ผักสีไม่แดง ผักพวกที่มีสีแดง เช่น เรดโอ๊ค เรดคอรัล เมื่อปลูกแล้วสีอาจไม่แดงเข้ม ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ พันธุ์ที่ใช้ปลูก ผักบางชนิดจะมีสีอ่อน บางชนิดสีเข้ม ต้องเลือกให้เหมาะ  สภาพแวดล้อม เม็ดสีในใบผักสลัดมี 2 ชนิดคือ คลอโรฟิลล์ จะให้สีเขียวจำเป็นในการสังเคราะห์แสง และ แอนโธไซยานินส์ จะให้สีแดง ซึ่งในผักสลัดสีแดงจะมีทั้งสองตัวนี้ ถ้ามีแอนโธไซยานินส์มากก็จะเป็นสีแดงมาก ถ้ามีน้อย สีแดงก็จะจาง ซึ่งปริมาณคลอโรฟิลล์ และ แอนโธไซยานินส์ จะมีมากมีน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะปริมาณแสงและอุณหภูมิ โดยแอนโธไซยานินส์จะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อแสงมากขึ้นและอุณหภูมิต่ำลง ดังนั้นผักสลัดปลูกในหน้าหนาวจึงมีสีแดงเข้ม และถ้าปลูกผักในร่ม จะมีสีซีดลง ผักที่ปลูกในสารละลายเข้มข้นจะมีสีแดงเข้มกว่าผักในสารละลายเจือจาง นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณ K ในสารละลายอาจจะช่วยเพิ่มความเข้มของสีได้ด้วย […]

Read more

การปลูกผักไทยแบบไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักแบบไทย

ระบบ DRFT นี้ เหมาะสมกับ การปลูกผักไทยแบบไฮโดรโปนิกส์ มากที่สุด ถึงแม้ว่าระบบนี้จะมีข้อเสียอยู่บ้างก็ตาม ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความ หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT ขั้นตอน การปลูกผักไทยแบบไฮโดรโปนิกส์ ด้วยระบบ DRFT ผักไทยที่เหมาะสมที่จะปลูกในระบบ DRFT  เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักกาด เป็นต้น เนื่องจากมีการเจริญเติบโตในแนวตั้ง ซึ่งมีวิธี การปลูกผักไทยแบบไฮโดรโปนิกส์ ในระบบ DRFT ดังนี้ การเพาะกล้า สามารถทำได้ 2 แบบ คือ การเพาะในฟองน้ำ ที่ทำมาเพื่อการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในระบบ DRFT โดยเฉพาะ เป็นฟองน้ำที่ตัดมาแล้วขนาดกว้าง 1 นิ้ว ยาว 1 นิ้ว สูง 1 นิ้ว และตรงกลางมีรอยบากเป็นสี่เหลี่ยมสำหรับหยอดเมล็ด โดยแผ่นฟองน้ำหนึ่งแผ่นจะตัดเป็นชิ้นฟองน้ำขนาดเล็ก 96 ชิ้น โดยมีขั้นตอนการเพาะกล้าดังนี้ 1.ทำฟองน้ำให้เปียกน้ำก่อน โดยเรียงแผ่นฟองน้ำลงบนถาดเพาะกล้า รดน้ำให้โชกและใช้มือกดลงบนฟองน้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้ฟองน้ำอุ้มน้ำได้เต็มที่ 2.การหยอดเมล็ด ใช้ไม้จิ้มฟันชุบน้ำและแตะเมล็ดผัก 2-3 เมล็ด นำไปวางในช่องบากของฟองน้ำ […]

Read more

หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์-DRFT

หลักด้วยระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique ) เป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะ ไฮโดรโปนิกส์ระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique) เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ DFT และมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับประเทศไทยโดยเพิ่มการไหลเวียนของอากาศแลสารละลายธาตุอาหารพืชแต่ผู้ปลูกควรศึกษา หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT ให้ดีเสียก่อนลักษณะของระบบจะเป็นโรงเรือนขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีขนาด 2×7 เมตร หลังคามุงด้วยพลาสติกใสป้องกันแสง UV ทำให้ทนต่อแสงแดด อายุการใช้งานนาน 2-3 ปี ด้านข้างเป็นมุ้งป้องกันแมลง ดังนั้น ระบบน้ำจะเป็นระบบปิด เป็นระบบที่มีการปลูกแพร่หลายระบบหนึ่งในประเทศไทย ผักที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกได้แก่ ผักไทย เพราะมีระบบรากเยอะ แต่ถึงแม้ว่าจะเป็น ระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย มากที่สุดก็ตาม ก็ยังมีข้อเสียตามมาควรศึกษาระบบน้ำให้ดีเสียก่อนผู้อ่านสามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ ผักไฮโดรโปนิกส์ ได้ แล้วจึงตัดสินใจเลือกระบบน้ำ หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT  มีข้อดี และข้อเสีย ดังนี้ : ข้อดี ระบบไม่ยุ่งยากดูแลง่าย อุปกรณ์ต่างๆ สามารถหาและซ่อมแซมได้ง่าย และทำได้ด้วยตนเอง ระบบการให้น้ำง่ายไม่ต้องมีการดูแลมาก ทำการป้องกัน และกำจัดเชื้อโรคพืชต่างๆ […]

Read more

ทำไมเรียกผักไฮโดรโปนิกส์

ผักไฮโดรโปนิกส์

ผักไฮโดรโปนิกส์ รู้หรือไม่ว่า ?? ทำไมถึงเรียกว่า ผักไฮโดรโปนิกส์และมีกี่ประเภท ผักสลัดต่างประเทศ : ตัวอย่างพันธุ์ผักสลัด เช่น กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด บัตตาเวีย   เรดคอรัล ฟิลเล่ซ์ไอซ์เบิร์ก กรีนคอส มิซูน่าและ วอเตอร์เครlส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมใช้ระบบ NFT ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยเฉพาะในต่างประเทศ เพราะได้รับการออกแบบมาเพื่อปลูกผักทรงพุ่ม โต๊ะปลูกจะเตี้ยใช้ต้นทุนต่ำกว่าระบบอื่น แต่เกษตรกรต้องรองรับความเสี่ยงในเรื่องของไฟฟ้าดับให้ดี เพราะเมื่อไฟฟ้าดับอุณหภูมิของน้ำสารละลายธาตุอาหารสูงขึ้น ( น้ำร้อนขึ้น ) จะทำให้ผักไฮโดรโปนิกส์ตายหมด                              ผักไทย-จีน : ตัวอย่างพันธุ์ผักไทย-จีน: คะน้า กวางตุ้ง กวางตุ้งฮ่องเต้ ผักบุ้งจีน ผักโขม    ป่วยเล้ง ตั้งโอ๋ ทาไข คี่นช่าย และผักชี  เหมาะกับระบบ DRFT หรือระบบที่ใช้แผ่นโฟม จะให้ผลผลิตสูง […]

Read more