การปลูกผักไทยแบบไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักแบบไทย

ระบบ DRFT นี้ เหมาะสมกับ การปลูกผักไทยแบบไฮโดรโปนิกส์ มากที่สุด ถึงแม้ว่าระบบนี้จะมีข้อเสียอยู่บ้างก็ตาม ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความ หลักการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT

การปลูกผักแบบไทย

การปลูกผักแบบไทย

ขั้นตอน การปลูกผักไทยแบบไฮโดรโปนิกส์ ด้วยระบบ DRFT ผักไทยที่เหมาะสมที่จะปลูกในระบบ DRFT  เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักกาด เป็นต้น เนื่องจากมีการเจริญเติบโตในแนวตั้ง ซึ่งมีวิธี การปลูกผักไทยแบบไฮโดรโปนิกส์ ในระบบ DRFT ดังนี้

การเพาะกล้า สามารถทำได้ 2 แบบ คือ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเพาะผักในฟองน้ำ

การเพาะในฟองน้ำ ที่ทำมาเพื่อการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในระบบ DRFT โดยเฉพาะ เป็นฟองน้ำที่ตัดมาแล้วขนาดกว้าง 1 นิ้ว ยาว 1 นิ้ว สูง 1 นิ้ว และตรงกลางมีรอยบากเป็นสี่เหลี่ยมสำหรับหยอดเมล็ด โดยแผ่นฟองน้ำหนึ่งแผ่นจะตัดเป็นชิ้นฟองน้ำขนาดเล็ก 96 ชิ้น โดยมีขั้นตอนการเพาะกล้าดังนี้

1.ทำฟองน้ำให้เปียกน้ำก่อน โดยเรียงแผ่นฟองน้ำลงบนถาดเพาะกล้า รดน้ำให้โชกและใช้มือกดลงบนฟองน้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้ฟองน้ำอุ้มน้ำได้เต็มที่
2.การหยอดเมล็ด ใช้ไม้จิ้มฟันชุบน้ำและแตะเมล็ดผัก 2-3 เมล็ด นำไปวางในช่องบากของฟองน้ำ โดยเรียงเมล็ดอย่าให้ซ้อนกันลึกลงในฟองน้ำประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร (อย่าให้เมล็ดลึกเกินไป เมล็ดจะไม่งอก
หลังจากนั้นหาผ้าคลุมเพื่อช่วยเก็บความชื้นและรดน้ำทุกวัน เช้า และ เย็น ประมาณ 3-4 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ให้นำถาดเพาะเมล็ดมาถูกแสงรำไร (ถ้านำเมล็ดมาถูกแสงช้า ต้นกล้าจะยืดไม่แข็งแรงผักจะเจริญเติบโตช้า ขั้นตอนนี้สำคัญมาก) ให้รดน้ำเช้าเย็น อีกประมาณ 3-4 วัน ต้นพืชจะโตประมาณ 1-2 เซนติเมตร และจะมีรากงอกทะลุฟองน้ำ
3.การย้ายกล้าลงบนแผ่นปลูก หลังจากต้นกล้าอายุประมาณ 5-7 วัน และมีรากงอกออกจากแผ่นฟองน้ำก็สามารถย้ายกล้าลงแผ่นปลูกได้ การย้ายกล้าจะใช้มือจับฟองน้ำและบีบเบาๆ ค่อยๆ ใส่แท่งฟองน้ำเข้าในรูของแผ่นปลูก
โดยจะใส่จากด้านล่างของแผ่นปลูกให้ใบเข้าไปในรูของแผ่นปลูกก่อน และให้ฟองน้ำด้านมีรากพ้นออกจากแผ่นปลูกประมาณ 0.5 เซนติเมตร เนื่องจาก เมื่อวางแผ่นปลูกบนโต๊ะปลูก ฟองน้ำส่วนที่ยื่นออกมาจะเปียกน้ำ เพื่อแน่ใจว่าผักจะไม่แห้งตาย (เหตุที่ไม่ใส่จากด้านบนเนื่องจากถ้าใส่จากด้านบนรากของผักไฮโดรโปนิกส์จะติดกับโฟมและต้นจะช้ำ)
4.การเพาะในฟองน้ำที่ใช้ในงานก่อสร้างบางครั้งฟองน้ำที่ทำมาโดยเฉพาะเพื่อปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในระบบ DRFT หาไม่ได้หรือมีราคาแพง สามารถใช้ฟองน้ำที่หาซื้อจากร้ายขายอุปกรณ์ก่อสร้างที่ขายเป็นแผ่นมีสีต่างๆ นำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาด 1x1x1 นิ้วและใช้กรรไกรตัดครึ่งก่อน การเพาะกล้าด้วยวิธีนี้จะมีขั้นตอนแตกต่างจากวิธีแรกคือ การเพาะกล้าจะทำในวัสดุปลูกอาจใช้ขุยมะพร้าว หรือในทรายหยาบผสมขุยมะพร้าวจนต้นกล้า อายุ 7-10 วัน ก็จะถอนต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรงมาใส่ในฟองน้ำที่ตัดไว้แล้ว และย้ายลงแผ่นปลูกเลย ข้อดีของวิธีนี้คือประหยัดค่าฟองน้ำและสามารถหาซื้อได้ทั่วไป นอกจากนี้ต้นกล้าจะมีความสม่ำเสมอกว่า เพราะเราจะเลือกเฉพาะต้นที่แข็งแรง
การปลูก เริ่มจากเติมน้ำให้เต็มโต๊ะปลูก ปรับระดับน้ำให้ท่วมสันร่องของแผ่นปลูก โดยจะมีน้ำอยู่บนโต๊ะปลูกประมาณ 500 ลิตรและน้ำในถังประมาณ 200 ลิตร และวางแผ่นปลูกที่มีต้นกล้าวางให้เต็มโต๊ะปลูก (ถ้าต้นกล้าไม่พอต้องใช้โฟมเปล่าปิดให้เต็มโต๊ะปลูก มิฉะนั้นจะมีตะไคร่ขึ้น ผักโตช้าลงและจะแสดงอาการขาดธาตุเหล็ก) หลังจากนั้นปิดโรงเรือนให้สนิทป้องกันแมลงเข้าในโรงเรือน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักไฮรโดร

การดูแลผักในโรงเรือนปลูก หลังย้ายกล้าแล้วในช่วง 1 วันแรก จะมีน้ำเปล่าอย่างเดียวในโต๊ะปลูกผัก ในวันที่ 2 จะเริ่มให้สารละลายธาตุอาหาร (ปุ๋ย) แก่พืช สารละลายที่เตรียมไว้จะเป็นสารละลายเข้มข้นเก็บอยู่ในถังขนาด 5 ลิตร 2 ถัง คือ ถัง A และ B โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยดังนี้
มีเครื่องวัด EC หลังจากให้น้ำเปล่า 1 วัน จะเริ่มให้ปุ๋ยโดยถ้าปลูกผักคะน้ำ กวางตุ้ง ผักกาดขาว ฮ่องเต้ จะเริ่มจากใส่ปุ๋ยถัง A 2ลิตร ลงในถังสารละลาย หลังจากนั้นประมาณ 10 นาทีจะใส่ปุ๋ยถัง B อีก 2 ลิตรลงในถังสารละลาย (สิ่งที่สำคัญในการใส่ปุ๋ย A และ B จะต้องใส่ปริมาณเท่าๆ กันทุกครั้ง)
ในช่วงแรก ผักอายุน้อยจะเริ่มจากให้สารละลายเจือจางก่อน                     เมื่อผักอายุ 10 วัน จะเติมปุ๋ย A อีก 3 ลิตร ปุ๋ย B 3 ลิตรโดยเติมห่างกัน 10 นาที หลังจากนั้นประมาณ 10-15 นาทีให้ใช้เครื่องวัด EC วัดค่าปริมาณปุ๋ยในสารละลาย (EC) และปรับค่า EC ให้ถูกต้องตามชนิดของพืชดังตัวอย่างต่อไปนี้

อายุผักและค่า EC ที่เหมาะสมของพืช

ชนิดพืช อายุผัก (วัน) ค่า EC ที่เหมาะสม
ผักคะน้า 35-38 3.0-4.0
กวางตุ้ง 32-35 3.0-3.5
ฮ่องเต้ 35-38 3.0-3.5
ผักกาดขาว 30-35 3.0-3.5
ผักบุ้ง 14-16 1.4-1.8
ผักสลัด 38-45 1.4-2.0

 

หลังจากวัดแล้ว ค่า EC ที่ได้ต่ำกว่าค่าที่ต้องการให้เติมปุ๋ย A และ B อีกอย่างละเท่าๆ กัน จนได้ค่า EC ตามต้องการแต่ถ้าปลูกผักสลัด ผักบุ้ง ผักโขม ผักเหล่านี้ต้องการปริมาณปุ๋ย (ค่า EC) น้อยกว่าให้ใส่ปุ๋ยถัง A 1.5 ลิตรลงในถังสารละลาย หลังจากนั้นประมาณ 10 นาที จะใส่ปุ๋ยถัง B อีก 1.5 ลิตร จากนั้น 10 วัน ให้เติมปุ๋ย A 1.5 ลิตรและปุ๋ย B 1.5 ลิตร โดยเติมห่างกัน 10 นาทีรอประมาณ 10 นาที วัดค่าปริมาณปุ๋ยในสารละลาย(EC) โดยใช้เครื่องวัด EC เพื่อใช้ปรับค่า EC ให้ถูกต้องตามชนิดของผักถ้าค่า EC ที่วัดได้ต่ำกว่าค่าที่ต้องการให้เติมปุ๋ย A และ B อีกอย่างละเท่าๆ กัน จนได้ค่า EC ตามต้องการ หลังจากนั้น ทุกๆ 3-5 วัน คอยตรวจวัดค่า EC ของสารละลาย และปรับค่าให้ถูกต้อง ถ้าค่า EC ต่ำกว่าค่าที่ต้องการให้เติมปุ๋ย A และ B แต่ถ้าค่าสูงเกินไปให้เติมน้ำและต้องคอยตรวจวัดระดับน้ำในถังสารละลายอยู่เสมอด้วย โดยเฉพาะเมื่อผักเริ่มโตขึ้น ผักจะมีการใช้นำมากขึ้นโดยเฉพาะช่วง 1 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว ผักจะโตเร็วมากและมีการใช้น้ำมาก ถ้าระดับน้ำลดลงให้เติมน้ำลงในถังสารละลาย หลังจากนั้นปรับค่า EC ของสารละลายให้ถูกต้องด้วย ไม่มีเครื่องวัด EC หลังจากให้น้ำเปล่า 1 วัน จะเริ่มให้ปุ๋ยโดยถ้าปลูกผัก คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ฮ่องเต้ จะเริ่มจากใส่ปุ๋ยถัง A 2 ลิตร ลงในถังสารละลาย หลังจากนั้นประมาณ 10 นาทีจะใส่ปุ๋ยถัง B อีก 2 ลิตรลงในถังสารละลาย (สิ่งที่สำคัญ การใส่ปุ๋ย A และ B จะต้องใส่ปริมาณเท่าๆ กันทุกครั้ง)
โดยในช่วงแรกผักไฮโดรโปนิกส์อายุยังน้อย จะเริ่มจากให้สารละลายเจือจางก่อน เมื่อผักอายุ 10 วันจะเติมปุ๋ย A อีก 3 ลิตร ปุ๋ย B 3 ลิตร โดยเติมห่างกัน 10นาที และคอยเติมน้ำถ้าน้ำในถังลดลงมาก และต้องคอยสังเกตอาการผัก ถ้าผักโตช้า ใบเหลือง ให้เพิ่มปุ๋ย A=1ลิตร ปุ๋ย B=1 ลิตร ถ้าปลูกผักสลัด ผักบุ้ง ผักโขม ผักเหล่านี้ต้องการปริมาณปุ๋ย (ค่า EC) น้อยกว่า ให้ใส่ปุ๋ยถัง A 1.5ลิตร ลงในถังสารละลาย หลังจากนั้นประมาณ 10 นาที ให้เติมปุ๋ย A 1.5 ลิตร และปุ๋ย B 1.5 ลิตร โดยเติมห่างกัน 10 นาที และหลังจากเก็บผลผลิตผักไฮโดรโปนิกส์แล้ว ควรถ่ายน้ำทิ้งให้หมดทั้งในโต๊ะปลูก และในถังสารละลาย ทำความสะอาดทั้งโต๊ะปลูกและถังสารละลาย และเริ่มปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ใหม่ แต่ถ้าต้องการปลูกต่อไปเลย สามารถปลูกผักบุ้งได้อีกหนึ่งครั้งโดยใช้ปุ๋ยเดิมได้ การปรับค่า pH นอกจากการปรับค่า EC แล้ว ต้องมีการปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสารละลายด้วย โดยต้องปรับให้ได้ค่า pH ของสารละลาย =8-6.2 การปรับค่า pH ของสารละลายจะใช้เครื่อง pH Meter วัดสารละลายแต่เครื่องมือดังกล่าวมีราคาแพง (1,500-30,000บาท) และอายุการใช้งานของหัววัดจะใช้ได้ประมาณ 1 ปี ต้องเปลี่ยนใหม่ เครื่องมือนี้จึงไม่นิยมใช้ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขนาดเล็ก แต่จะมีใช้ในฟาร์มขนาดใหญ่ ถ้าเป็นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขนาดเล็กจะใช้น้ำยาวัดค่า pH ซึ่งมีราคาถูกกว่ามาก และสามารถใช้วัดได้ถูกต้อง การใช้น้ำยาวัด pH โดยจะใช้ภาชนะสีขาว เช่น ฝาจุกขวดน้ำสีขาว และเติมสารละลายที่จะวัดค่า pH ลงไป จะเกิดสีขึ้นโดยสีจะแบ่งเป็น 3 สี คือ ถ้า pH สารละลายเป็นกรดจะได้สีเหลือง คือ pH ต่ำกว่า 6.0 ถ้าสารละลายได้สีน้ำเงิน แสดงว่าค่า pH ของสารละลายเป็นด่าง pH มากกว่า 6 สิ่งที่ต้องการคือ สีอยู่ตรงกลางระหว่าง สีเหลือง และสีน้ำเงิน คือสีเขียวเข้ม (สีที่ถูกต้อง ต้องมีการทดลองดูด้วยตนเอง) โดยทั่วไปในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ค่า pH ของสารละลายจะเป็นด่าง (pH มากกว่า 6) ดังนั้น ต้องมีการปรับค่า pH ลงมาโดยใช้กรดไนตริกเจือจาง 20 เท่า ซึ่งในการปรับค่า pH จะเริ่มจากนำสารละลายที่ปรับค่าใส่ลงในภาชนะสีขาวและหยดน้ำยาวัดค่า pH ลงไป ถ้าน้ำยาเป็นสีน้ำเงิน แสดงว่าสารละลายเป็นด่างให้เติมกรดลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที และเริ่มวัดใหม่จนได้ pH ตามต้องการ (สารละลายจะเป็นสีเขียวเข้ม) แต่ถ้าสารละลายที่วัดได้เป็นสีเหลืองแสดงว่าเป็นกรด (แต่โดยทั่วไปจะไม่พบ) ให้รออีก 2-3 วันและวัดใหม่ ถ้ายังเป็นสีเหลืองให้เติมน้ำเปล่าลงไปและปรับค่า EC ให้ได้ค่าตามต้องการ หมายเหตุ: การใช้กรดไนตริกปรับค่า pH สารละลาย ต้องมีการใช้อย่างระวัง เนื่องจากกรดไนตริกเป็นกรดที่รุนแรง มีอันตรายกับผู้ใช้ ก่อนใช้ต้องนำกรดเข้มข้นมาเจือจางก่อน โดยใช้ กรด 1 ส่วน เติมน้ำ 20 ส่วน และเก็บในขวดแก้วหรือขวดพลาสติก และเก็บไว้ในที่ปลอดภัยโดยเฉพาะต้องมีการเขียนข้างขวดบอกให้ชัดเจน ปัองกันเด็กนำไปดื่มกิน การใช้กรดปรับค่า pH ต่ำเกินไป จะทำให้รากผักถูกทำลาย ผักไฮโดรโปนิกส์จะไม่โตหรืออาจตายได้

การลดระดับน้ำในโต๊ะปลูก เมื่อต้นผักไฮโดรโปนิกส์เจริญเติบโตขึ้น รากยาวขึ้น พืชต้องการอากาศที่รากมากขึ้น ดังนั้น ต้องมีการลดระดับน้ำในโต๊ะปลูกเพื่อเพิ่มช่องระหว่างต้นพืชและระดับน้ำ ทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำได้มากขึ้น รากผักจะได้หายใจได้มากขึ้น ดูดปุ๋ยไปใช้ในการเจริญเติบโตมากขึ้น ต้นผักจะโตเร็วขึ้นมาก เมื่อลดระดับน้ำในโต๊ะปลูกขั้นตอนการลดระดับน้ำต้องค่อยเป็นค่อยไป คือ จะลดระดับอย่างช้าๆ เมื่อรากผักยาวขึ้น เพราะถ้าลดระดับน้ำเร็วเกินไป รากผักจะแห้งและผักไฮโดรโปนิกส์จะตายเพราะขาดน้ำ หลักการทั่วๆ ไป จะเริ่มลดระดับน้ำเมื่อย้ายผักลงโต๊ะปลูกได้ประมาณ 10-18วัน ขึ้นอยู่กับชนิดผักและปริมาณความยาวรากของผัก จะต้องสังเกตว่าผักมีรากสมบูรณ์ และรากส่วนใหญ่จมอยู่ในน้ำ เราจะเริ่มลดระดับน้ำในตอนเย็นเมื่อผักคายน้ำลดลง โดยจะเริ่มลดประมาณ 1 เซนติเมตร ทุกๆ วัน โดยหมุนรูปรับระดับน้ำให้ตรงกับสารละลายจะไหลกลับถังสารละลายมากขึ้น ระดับน้ำในโต๊ะปลูกจะลดลงโดยค่อยๆ ปรับรูนี้จนเปิดหมด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรองแสงโรงเรือน

การพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิ ในช่วงที่แสงแดดจัดอุณหภูมิจะสูงขึ้น โดยเฉพาะในโรงเรือน อุณหภูมิอาจสูงขึ้นถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งผักไฮโดรโปนิกส์จะแสดงอาการเหี่ยว การเจริญเติบโตช้า หรืออาจตายในที่สุด
โดยเฉพาะกล้าผักที่เพิ่งย้ายปลูกใหม่ๆ ดังนั้น ต้องมีการพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิโดยเฉพาะผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีอายุน้อย ต้องมีการพรางแสงเมื่อแสงแดดจัดๆ การพรางแสงอาจใช้ซาแรน 50% มุงหลังคาโรงเรือน
การเก็บเกี่ยวผักไฮโดรโปนิกส์ หลังจากผักได้อายุเก็บเกี่ยวแล้ว ก็จะต้องทำการเก็บเกี่ยวผักการเก็บเกี่ยวอาจทยอยเก็บผักบางส่วนหรือพร้อมกันทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด
การเก็บเกี่ยวควรเก็บในตอนเช้าหรือเย็นขึ้นอยู่กับการขาย หลังเก็บเกี่ยวผักไฮโดรโปนิกส์แล้วต้องทำการแต่งผักโดยเด็ดใบเหลืองหรือใบไม่สมบูรณ์ออก หลังจากนั้นจึงทำการชั่งน้ำหนัก และใส่ถุงพลาสติกเพื่อนำไปขาย
การจำหน่าย ผู้ปลูกอาจนำไปจำหน่ายเองในตลาดในพื้นที่ ถ้าเป็นการจำหน่ายแบบนี้ควรปลูกผักไฮโดรโปนิกส์หลายชนิดในโต๊ะเดียวกัน โดยเลือกผักที่มีความต้องการ EC ใกล้เคียงกัน เพื่อจะได้มีผักหลายชนิดออกสู่ตลาดพร้อมกัน
ผู้ซื้อจะได้สามารถซื้อผักได้หลายชนิดหรืออาจมีการวางแผนการผลิตผักร่วมกันในกลุ่มเกษตรกรตามชนิดและปริมาณความต้องการของตลาด นอกจากจำหน่ายตามตลาดในพื้นที่แล้ว ตามสถานที่ราชการและโรงพยาบาลก็เป็นแหล่งที่มีความต้องการผักปลอดสารพิษที่สำคัญในช่วงแรกๆ ที่ผักออกสู่ตลาด ผู้ขายต้องพยายามอธิบายถึงข้อดี ของการบริโภคผักไฮโดรโปนิกส์ ความอร่อยของผัก การเก็บไว้ได้นานเนื่องจากผักไฮโดรโปนิกส์มีรากติดอยู่ด้วย และความเป็นเอกลักษณ์ของผัก ปลูกโดยไม่ใช้ดินที่มีฟองน้ำติดอยู่ ซึ่งไม่สามารถลอกเลียนแบบจากผักในดินได้ แต่หลังจากนั้นประมาณ 2-3 เดือน เมื่อมีผักไฮโดรโปนิกส์ออกตลาดอย่างสม่ำเสมอ การจำหน่ายจะง่ายขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนำผักไปจำหน่ายเอง อาจมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงแปลงปลูก แต่ราคารับซื้อจะถูกกว่าการนำผักไปจำหน่ายเอง
นอกจากนี้ถ้าแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เป็นทางผ่าน เช่น อยู่ริมถนน ก็จะมีผู้บริโภคมาซื้อถึงแปลงปลูก โดยเฉพาะในหน้าฝน ผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินจะขายได้ดีมาก เนื่องจากผักที่ปลูกบนดินผลผลิตจะลดลงมาก ราคาผักดินก็จะสูง ทำให้คนหันมากินผักในระบบไม่ใช้ดินมากขึ้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *