น้ำหมักชีวภาพสำหรับผักไฮโดรโปนิกส์

น้ำหมักชีวภาพสำหรับผักไฮโดรโปนิกส์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำหมักผักไฮโดร

น้ำหมักชีวภาพ สำหรับผักไฮโดรโปนิกส์ มีส่วนช่วยใน การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ได้ดีมาก ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้ดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่มีสารเคมีตกค้าง เกษตรกรสามารถเลือกว่าจะสะดวกใช้ น้ำหมักชีวภาพ สูตรที่เหมาะสมกับชนิดผัก วัตถุดิบ และวัตถุประสงค์ได้จากรายละเอียดดังนี้
(สูตร น้ำหมักชีวภาพ สำหรับการผลิตผักระบบไฮโดรโปนิกส์ โดย รศ. ดนัย วรรณวนิช)
น้ำสกัดชีวภาพนมสด
ส่วนผสม :

  • นมสด 30 กก.
  • กากน้ำตาล 5 กก.
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ 10 ลิตร
  • น้ำ 40 ลิตร

วิธีทำ :
1.นำส่วนผสมทั้งหมดเทผสมกัน
2.หมักในภาชนะที่มีฝาปิดทิ้งไว้เป็นเวลา 30-45วัน
3.จะได้นำสกัดชีวภาพที่มีสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอมของนม

น้ำสกัดชีวภาพดินระเบิด
ส่วนผสม :

  • หัวเชื้อปุ๋ยหมัก พด.1 1ถุง
  • รำละเอียด 1 กก.
  • น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
  • น้ำ 1-2 แก้ว
  • ผ้าฝ้าย 1 ผืน

วิธีทำ :

1.นำหัวเชื้อปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้ากับรำละเอียด และน้ำตาลทรายแดง 2 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำ
ประมาณ 1-2 แก้ว ให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ แล้วใช้ผ้าฝ้ายห่อไว้
2.ในเวลา 2-3 วัน จะเป็นก้อนแข็ง เชื้อราเดินเต็มก้อน
3.ผสมน้ำ 20 กก. กับน้ำตาลทรายแดง 1 กก.
4.นำจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงครบ 2-3 วัน ไปเลี้ยงในน้ำที่ผสมแล้ว หมักต่อไป 2-3วัน สามารถนำไปใช้ได้
(สารละลายปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จากธรรมชาติ โดยครูชาตรี–ใช้ปลูกผักพื้นบ้านจำพวกกวางตุ้ง มะเขือเทศ บวบ กระเพราะ โหระพา พริก เป็นต้น –อาจจะนำมาประยุกต์ใช้กับผักสลัดได้)

น้ำหมักมูลสุกร+ปุ๋ยสูตรเสมอ (16-16-16)
วิธีทำ : เตรียมถังพลาสติก 200 ลิตร เติมน้ำประมาณค่อนถัง จากนั้นนำมูลหมูแห้งจำนวน 30 กก. ใส่ในถุงตาข่าย แช่ในถังน้ำที่เตรียมไว้ กดให้มิด ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง อย่าเกินเพราะจะกลายเป็นน้ำมูลหมูเน่า เมื่อครบ 24 ชั่วโมง ให้นำมูลหมูออกจากถัง แล้วหมักต่ออีก 5-7 วัน ก็จะได้สารละลายมูลหมูสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

วิธีใช้ :
1.เตรียมรางปลูก
2.เตรียมสารละลาย ใช้น้ำสะอาด 50 ลิตร น้ำมูลหมูหมัก 50 ลิตร (คำนวณจาก 100 ลิตร ถ้าใช้น้ำมูลหมู 50 ลิตร เติมน้ำ 50 ลิตร ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 จำนวน 100 กรัม สำหรับกวางตุ้ง ผักกาด ปุ๋ย เคมีสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 จำนวน 200 กรัมสำหรับคะน้า ผักบุ้ง
3.ปลูกผักตามปกติ ถ้าสารละลายในถังยุบเนื่องจากการระเหยให้เติมน้ำมูลหมูหมักเท่าที่น้ำยุบ
4.ใช้สารละลายมูลหมูหมัก 1 ลิตรต่อน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นผักที่ปลูกทุกๆ 5-7 วัน
5.การดูแลเหมือนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทั่วไป ถ้าใบผักเหลืองไม่สมบูรณ์ให้เติมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอเช่น 16-16-16 จำนวน 100 กรัม
หมายเหตุ: สำหรับปลูกพืชพวกมะเขือ พริก คะน้า ใช้น้ำสะอาด 30 ลิตร น้ำมูลหมูหมัก 70 ลิตร ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอเช่น 16-16-16 จำนวน 100 กรัม หมั่นสังเกตถ้าผักชะงักการเจริญเติบโต อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากระบบน้ำหมุนเวียนไม่ทั่วแปลง มูลสุกรต้องเป็นมูลจากหมูขุนเพราะมูลสุกรจากแม่หมูจะมีรำหยาบเป็นส่วนผสมเพื่อไม่ให้หมูอ้วน มูลที่ได้จึงมีธาตุอาหารน้อยไม่พอต่อการเจริญเติบโตของพืช การเติมปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ให้สังเกตใบพืช ถ้าใบพืชเหลือง ให้เติมครั้งละ 100 กรัมทุกๆ 5 วัน จนผักมีใบสมบูรณ์จึงหยุดเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำหมักมูลไส้เดือน

สารละลายจากน้ำหมักมูลไส้เดือน
วิธีทำ :
1.นำมูลไส้เดือน 20 กก. ใส่ในกระสอบ แล้วแช่ลงในถังน้ำที่ใส่น้ำไว้ 100 ลิตร (กรณีเป็นน้ำประปาควรพักน้ำไว้ 5 วัน) เติมออกซิเจนโดยใช้ปั๊มออกซิเจนแบบใช้กับตู้ปลาเป็นเวลา 3 วัน แล้วยกกระสอบปุ๋ยมูลไส้เดือนที่แช่ไว้ออก
2.เติมกลูโคส 400 กรัม หาซื้อได้จากร้านขายยา
3.น้ำตาลทรายแดง 1 กก. (ไม่ควรใช้กากน้ำตาลเพราะน้ำหมักที่ได้จะมีสีน้ำตาลไม่ใส และกากน้ำตาลจะไปจับกับระบบรากพืชที่ปลูก ทำให้รากรับออกซิเจนไม่เพียงพอ น้ำหมักอื่นก็เหมือนกัน ถ้าใช้กับผัก ที่ปลูกระบบไฮโดรโปนิกส์ ไม่ควรใช้กากน้ำตาล อัตราการทดแทนน้ำตาลทายแดง 1 กก. สามารถแทนกากน้ำตาลได้ 4 กก.) เติมออกซิเจนอีกประมาณ 3-5วัน สามารถนำไปใช้ได้

วิธีใช้ : ใช้เป็นสารละลายตั้งต้นสำหรับคนที่ใช้สารละลาย AB อยู่ก่อน ลองค่อยๆ ปรับดู อาจปรับเป็น 60/40 น้ำหมักมูลไส้เดือน 60 สารละลาย AB 40 ส่วนครูชาตรีจะใช้เต็ม 100 แต่จะเติมปุ๋ยสูตรเสมอในอัตรา 200 กรัม ต่อน้ำหมักมูลไส้เดือน 100 ลิตร แต่ต้องแบ่งเติมเป็น 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน และคอยสังเกตว่าผักมีลักษณะใบเหลืองให้เติมปุ๋ยสูตรเสมอครั้งละ 100 กรัม ห่างกัน 5 วัน เมื่อใบเขียวปกติ ให้หยุดเติม น้ำหมักมูลไส้เดือนที่ได้ควรฉีดพ่นทางใบทุกๆ 3-5 วัน ก่อนนำไปใช้ต้องผสมให้เจือจางในอัตราส่วน น้ำหมักมูลไส้เดือน 1 ลิตร ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร ถ้าใช้กับพืชใบบอบบางใช้อัตรา 1 ลิตรต่อน้ำ 30 ลิตร

การให้อาหารผักไฮโดรโปนิกส์ทางใบ (Foliar Feeding)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำหมักพืชสด

น้ำหมักแบบพืชสด
เก็บผักสดๆ เป็นวิธีการหมักแบบไม่ใช้น้ำ ต้องเก็บผักสดโดยไม่ให้ถูกแดด เก็บช่วงเช้า
วิธีทำ : นำผักสดที่เก็บมา 90 กก. กากน้ำตาล 15 กก. น้ำตาลทราย 15 กก. น้ำมะพร้าว 200 ลิตร หมักรวมกันไว้ 1 เดือน ก็สามารถนำไปใช้ได้
วิธีใช้ : ให้กรองเอาน้ำหมัก 1-2 ช้อนผสมกับน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่น ช่วยเร่งการเจริญเติบโต

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำหมักพืชสด

น้ำหมักผลไม้สุกและสด
ส่วนผสม :

  • ต้องหมักผลไม้ที่ยังคงความสดและสุก ผลไม้ที่ใช้คือ มะละกอ สับปะรด มะเฟือง(เป็นฮอร์โมนย่อยสลายที่ดี) มะยม

วิธีทำ :นำผลไม้ทุกชนิดมาสับละเอียดรวมกัน 90 กก. น้ำตาลทราย 15 กก. กากน้ำตาล 15 กก. น้ำมะพร้าว 200 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 เดือน แล้วจะได้น้ำหมักออกมา (หัวเชื้อ)
วิธีใช้ : เชื้อ 1-2 ช้อน ผสมกับน้ำเปล่า 20 ลิตร ช่วยในการบำรุงต้นแข็งแรง ผักที่บำรุงโดยน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพช่วยเร่งการเจริญเติบโตให้ผักได้อย่างดี

น้ำหมักนมสด

ส่วนผสม :

  • นมวัวสด 10ลิตร หรือ 10 กก.
  • น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
  • โยเกิร์ตรสธรรมชาติ 150 กรัม หรือที่ซื้อรับประทาน 1 แก้ว
  • น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน เป็นน้ำต้มสุก หรือน้ำฝนก็ได้ 5 ลิตร
  • ถังพลาสติกที่มีฝาปิดสนิทขนาด 20 ลิตร ล้างสะอาด หรือใช้ขนาดเล็กกว่าแล้วแบ่งบรรจุก็ได้

วิธีทำ : นำวัตถุดิบทุกอย่างมาใส่รวมกัน บรรจุลงถังพลาสติกแล้วปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 21 วัน
วิธีใช้ : ส่วนผสมอัตราส่วนน้ำสกัดชีวภาพนมสด 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน ใช้ได้กับพืชทุกชนิด หากต้องการทำจำนวนน้อยลง ให้ลดอัตราส่วนวัตถุดิบตามจำนวน

สูตรผักกรอบ
วิธีทำ : นำน้ำหมักแบบพืชสด เก็บผักสดๆ เป็นวิธีการหมักที่ไม่ใช้น้ำ ต้องเก็บผักสดโดยไม่ให้ถูกแสงแดด เก็บช่วงเช้า ผักสดที่เก็บมา 90 กก. กากน้ำตาล 15 กก. น้ำตาลทราย 15 กก. น้ำมะพร้าว 200 ลิตร หมักรวมกันไว้ 1 เดือน ผสมกับสูตรผลไม้สดและสุก นำมาหมักผสมกันอีก 3 เดือน ในอัตราส่วนแต่ละสูตรนั้น 1:1 เท่ากัน
วิธีใช้ : นำมาใช้ในอัตราส่วน 1-2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยในเรื่องการบำรุงผักให้สด กรอบ

สูตรบำรุงใบ
วิธีทำ : เหล้าขาว 50 ซีซี ยำบำรุงกำลังลิโพ 20 ซีซี น้ำหมักพืชผักสดแบบไม่ใช้น้ำ ผสมกับน้ำหมักสูตรผลไม้สดและสุก ปริมาณ 20 ซีซี น้ำส้มสายชู 50 ซีซี กากน้ำตาล 1 ช้อน ผสมรวมกัน
วิธีใช้ : อัตราส่วน 2-3 ช้อนโต๊ะ กับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบช่วยให้ใบกรอบ บาง อร่อย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(ข้อมูลจาก: ผักไฮโดรโปนิกส์ (ฉบับชาวบ้าน))

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *