ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก เป็น 1 ใน 3 ชนิด ของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากซากเศษพืช หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหมักและให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ย อ่อนนุ่ม มีสีน้ำตาลปนดำ ปุ๋ยหมัก มีประโยชน์ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านการเกษตร 1.ช่วยปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง ในน้ำและดิน 2.ช่วยให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น 3.ช่วยให้ซากต่างๆ (อินทรียวัตถุ) ในดินย่อยสลายเป็นอาหารให้พืชดูดซึมไปใช้ได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานมาก 4.เร่งให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง 5.สร้างฮอร์โมนให้พืชได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดี 6.ผลผลิตที่ได้จากพืชที่ใส่ปุ๋ยหมักจะเก็บรักษาไว้ได้นาน ด้านปศุสัตว์ 1.ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มสัตว์ เช่น ไก่ สุกร ได้ภายใน 24 ชั่วโมง 2.ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ ภายใน 1-2 สัปดาห์ 3.ป้องกันโรคอหิวาห์และโรคระบาดต่างๆ ในสัตว์ได้ 4.ตัดวงจรชีวิตหนอนแมลงวัน ไม่ให้เป็นตัวแมลงวันได้ 5.สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรง มีความต้านทานโรค อัตราการรอดสูง ให้ผลผลิตสูง ด้านการประมง 1.ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 2.แก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำได้ 3.รักษาโรคแผลต่างๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้ 4.เลนในบ่อจะไม่เน่าเหม็น นำเลนไปผสมเป็นปุ๋ยหมักได้ดี ด้านสิ่งแวดล้อม […]

Read more

การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่แบบไม่กลับกอง

ปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง

การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่แบบไม่กลับกองวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นผลการค้นคว้าวิจัยของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2552 เกิดนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ต้องพลิกกลับกอง เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดี ปริมาณมากครั้งละ 10-100 ตัน มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2551 เสร็จภายในเวลาเพียง 60 วัน ด้วยกรรมวิธี การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ แบบไม่กลับกอง เรียกว่า ‘วิศวกรรมแม่โจ้1’ การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ ไม่ส่งผลเสียใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่น น้ำไม่เสีย ใช้วัตถุดิบมีเพียงเศษพืช กับมูลสัตว์เพียง 2 อย่างเท่านั้น ส่วนผสม เศษพืช : ฟางข้าว เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผักตบชวา 4 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน เศษใบไม้ 3 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน วิธีทำ 1.นำฟางข้าว หรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4 ส่วน กองเป็นชั้นบางๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 2.50 […]

Read more

การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น

ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น

เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และประหยัดต้นทุนการทำปุ๋ยหมัก ควรเลือก การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น คำว่าวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นนั้น ไม่ว่าในสวน ในบริเวณบ้านของเราจะมีวัสดุเหลือใช้ชนิดใด ก็สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยได้ทั้งนั้น อาจจะทำไว้ใช้ในครัวเรือน เรือกสวนไร่นาของตัวเอง หรือจำหน่ายเสริมรายได้ ซึ่งไม่ต้องลงทุนมาก ตัวอย่างเช่น ทำสวนลำไย ก็ใช้กิ่งและใบลำไยมาทำปุ๋ยหมัก หรือ กิ่งและใบไม้อื่นๆ ก็นำมาผสมปนเปกันได้ ข้อมูล การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น ในบทความนี้ ได้มาจากประสบการณ์ตรงของเกษตรกร โดยผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมาจาก หนังสือ ล้ำยุคกับ…นวัตกรรมปุ๋ยหมัก โดย อภิชาต ศรีสะอาด หรือ ถ้าเกษตรกรอยู่ใกล้พื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมที่มีเศษวัสดุเหลือใช้ ที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้ สามารถศึกษาสูตรการทำปุ๋ยหมักเพิ่มเติมจากบทความ เคล็ดลับการทำปุ๋ยหมัก ด้วยวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม สูตรการทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น มีดังนี้ สูตรการทำปุ๋ยหมักโดยใช้กิ่งลำไย ของ คุณดำรงค์ จินะภาศ นายกเทศมนตรีดำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้คิดพัฒนาวิธีการทำให้ต้นไม้สมบูรณ์ขึ้น โดยใช้วัสดุเหลือใช้อย่างกิ่งและใบลำไย จนได้ สูตรการทำปุ๋ยหมักโดยใช้กิ่งลำไย โดยมีรายละเอียดดังนี้ การทำปุ๋ยหมักใต้โคนต้น ส่วนผสม 1.กิ่งและใบลำไย 100-200 กิโลกรัม รัศมี 6 เมตร (ปริมาณที่ได้มากน้อยขึ้นอยู่กับการตัดแต่งกิ่ง) หรือเศษพืชอื่นที่หาได้ในท้องถิ่น 2.ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม ต่อต้น (สำหรับต้นใหญ่ […]

Read more

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมักและการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก และ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกัน ปุ๋ยหมักจะถูกใช้ประโยชน์ได้ดี ต้องอาศัยการดูแลรักษาที่ดี บทความนี้ ไม่ได้นำเสนอเพียง การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก และ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เท่านั้น แต่ผู้เขียนนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลังการทำกองปุ๋ยแล้ว ติดตามรายละเอียดนะคะ การดูแลรักษาปุ๋ยหมัก 1.ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่ารดโชกเกินไป การระบายอากาศในกองปุ๋ยไม่ดี จะมีกลิ่นเหม็นอับ 2.ตรวจสอบความชื้นในกองปุ๋ย โดยการใช้มือล้วงลงไปในกองปุ๋ย แล้วหยิบเศษวัสดุออกมาบีบหรือขยำว่ามีน้ำเปียกที่มือ แสดงว่ามีความชื้นมากเกินไป 3.ป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ทำลายกองปุ๋ยหมัก ปัญหานี้จะเกิดกับกองปุ๋ยหมักที่ไม่มีคอก ควรหาวัสดุสิ่งของมาวางกันกองปุ๋ยหมักไว้ 4.การพลิกกลับกองปุ๋ย สำหรับกองปุ๋ยแบบกลับกอง ต้องหมั่นพลิกให้ออกซิเจนและระบายความร้อนให้กองปุ๋ย จะได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้น สำหรับกองปุ๋ยแบบไม่กลับกอง ให้ทำช่องระบายอากาศไว้ ปุ๋ยหมักที่นำไปใช้ได้ พิจารณาลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1.ลักษณะของเศษวัสดุ—นุ่ม ยุ่ย ไม่แข็งเหมือนช่วงแรก 2.สีของเศษวัสดุ—เมื่อเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์เศษวัสดุจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำ 3.กลิ่น—ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ต้องไม่มีกลิ่นฉุนของก๊าซต่างๆ ถ้ามี แสดงว่าเศษวัสดุยังย่อยสลายไม่สมบูรณ์ กลิ่นควรคล้ายกับกลิ่นดิน 4.ความร้อน หรืออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมัก—จะลดลงเท่ากับอุณหภูมิภายนอกรอบๆ กอง แต่ควรระวังเรื่องความชื้น ถ้าน้อยหรือมากเกินไป อุณหภูมิในกองก็ลดลงได้เช่นกัน 5.หญ้าหรือเห็ดขึ้นบนกองปุ๋ยหมัก—แสดงว่าไม่เป็นอันตรายต่อพืช นำไปใช้ได้ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เรานำปุ๋ยหมักไปใช้ประโยชน์ตามชนิดของพืช เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารไม่เท่ากัน ผู้เขียนได้นำข้อมูล การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก จากหนังสือ : นวัตกรรมปุ๋ยหมัก […]

Read more

สูตรปุ๋ยหมัก

สูตรปุ๋ยหมัก

สูตรปุ๋ยหมัก ที่ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมานี้ เป็นสูตรการทำปุ๋ยหมักที่ใช้วัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นของแต่ละคน ประหยัดต้นทุน และยังช่วยลดขยะ รักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย อาทิ เช่น การนำผักตบชวามาทำปุ๋ยหมัก ช่วยลดวัชพืชน้ำ, การนำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาทำปุ๋ยหมัก ช่วยลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค ท่านที่สนใจการทำปุ๋ยหมัก ลองศึกษา สูตรปุ๋ยหมัก เหล่านี้ดูนะคะ แล้วพิจารณาดูว่าวัสดุในท้องถิ่น หรือใกล้บ้านเรามีอะไรที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้บ้าง สูตรปุ๋ยหมัก มีดังนี้ : ปุ๋ยหมักผักตบชวา—ถึงแม้ว้าผักตบชวาจะมีข้อเสีย คือ แพร่พันธุ์ได้เร็วมากก็ตาม แต่ผักตบชวามีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชบนดินทุกชนิด โดยเฉพาะ ธาตุโปแตสเซียมสูง รองลงมาคือ ธาตุไนโตรเจน และ ธาตุฟอสฟอรัส, ยังช่วยป้องกันวัชพืชให้กับพืชบนดินได้, เปลี่ยนดินเหนียวและดินทรายเป็นดินร่วน, ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น, รักษาความชุ่มชื้นและถ่ายเทอากาศในดินได้ดี, ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี, ช่วยพืชละลายธาตุอาหารบางอย่างให้ง่ายขึ้น, ไม่เป็นอันตรายต่อดิน ผักตบชวาที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง ซึ่งแบบสดมีข้อดี คือทำให้กองปุ๋ยมีความชื้นตลอด รดน้ำน้อยลง วิธีทำปุ๋ยหมักผักตบชวาแบบสด 1.ใช้ผักตบชวาเพียงอย่างเดียว—แบบนี้ไม่ยุ่งยาก แต่ใช้เวลาย่อยสลายค่อนข้างนาน วิธีทำ รวบรวมผักตบชวาตามปริมาณที่ต้องการมากองรวมกัน กว้างไม่เกิน 4 เมตร สูงไม่เกิน 3 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับพื้นที่และปริมาณผักตบชวา แล้วย่ำให้แน่นๆ ปล่อยทิ้งไว้ รอเวลาให้กองปุ๋ยย่อยสลายประมาณ 2 ถึง […]

Read more

การทำปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมัก

เริ่มต้น การทำปุ๋ยหมัก โดยเลือกสถานที่ที่เหมาะสม : อยู่ใกล้กับแหล่งวัสดุให้มากที่สุดเพื่อความสะดวกในการขนย้าย อยู่ใกล้แหล่งน้ำใช้ แต่ไม่อยู่ใกล้แหล่งน้ำดื่ม เป็นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง เตรียมวัสดุ การทำปุ๋ยหมัก ให้พร้อม ตามรายการเหล่านี้ : ซาก เศษวัสดุที่ทำเป็นชิ้นเล็กๆ แล้ว มูลสัตว์ หรือปุ๋ยคอก ช่วยย่อยสลาย ปุ๋ยเคมี เพิ่มธาตุอาหาร และช่วยย่อยสลาย ปูนขาว ประมาณ 20 กิโลกรัม ต่อซากพืชแห้ง 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม ช่วยปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น พลั่ว, ไม้หรืออุปกรณ์ทำคอก( ในกรณีที่ กองในคอก ) ก่อนลงมือทำปุ๋ยหมัก ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ : เศษวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก ไม่ควรใช้เศษวัสดุที่สลายตัวเร็วและสลายตัวช้าปนไว้ในกองเดียวกัน ปุ๋ยหมักที่ได้ไม่สม่ำเสมอ เศษวัสดุที่สลายตัวช้า เช่น แกลบ ขี้เลื่อย รำ กากอ้อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด ปนกองเดียวกันได้ ส่วนเศษวัสดุที่สลายตัวเร็ว เช่น ฟางข้าว […]

Read more

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค  ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน 1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน 2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงอกร่อง 3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และ อื่นๆ เช่น […]

Read more

ความเป็นมาของการทำนาโยน

ความเป็นมาทำนาโยน

ประวัติความเป็นมาของการทำนาโยน ตั้งแต่อดีตมานั้น คนส่วนมากจะรู้จักวิธีการปลูกข้าว แบบทำนาดำ และนาหว่าน ซึ่งการทำนาแบบทั้งสองวิธีนั้น มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยนาดำนั้นมีข้อดี คือ ระยะห่างของต้นข้าวนั้นจะพอดีไม่เบียดกัน ทำให้ต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่มีข้อเสียคือต้องใช้เวลานานในการปักดำต้นข้าว ส่วนนาหว่านนั้นใช้เวลาที่น้อยกว่าและได้ปริมาณต้นข้าวที่มากกว่าด้วยการหว่านเมล็ด แต่มีข้อเสียคือในขณะที่รอต้นข้าวเติบโตนั้นก็จะเสียเมล็ดไปกับการมาจิกกินของนก และหากฝนตกในวันที่หว่านแล้วเมล็ดข้าวก็จะลอยหายไปกับน้ำ แต่ด้วยประเทศไทยเรานั้นเป็นประเทศที่อุดมด้วยภูมิปัญญาในเรื่องการเกษตร จึงได้มีการปรับปรุงวิธีการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลลิตที่ดีออกมา ซึ่งการทำ “นาโยน” ก็ได้เป็นอีกหนึ่งวิธีใหม่ในการทำนาในยุคปัจจุบัน ซึ่งข้อดีของการทำนาโยนคือ การประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องสูญเสียไปกับน้ำ ระยะห่างของต้นข้าวที่มีมากกว่าก็ทำให้ข้าวสามารถแตกกอได้ดีกว่า และการเติบโตของต้นกล้าข้าวที่โยนลงไปก็ไม่หยุดชะงักเหมือนนาดำที่ต้องปักต้นกล้า อีกทั้งยังใช้ต้นทุนและแรงงานน้อยกว่า การทำนาโยน เป็นการทำนารูปแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและพืชทั่วไป โดยจากการศึกษาและปฏิบัติในการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ศูนย์บริการวิชาการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ในปี 2545 ถึง 2548 และเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต พบว่าต้นทุนการทำนาแบบโยนกล้าเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป มีต้นทุนต่ำที่สุดและยังให้ผลผลิตสูงกว่าการทำนาด้วยวิธีอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า อายุต้นกล้า 12-16 วัน และจำนวนต้นกล้า 50-60 ถาด มีความเหมาะสมมากที่สุด สามารถป้องกันและควบคุมข้าววัชพืชได้ดีมาก ใช้แรงงานเตรียมดินเพาะกล้า 150-200 ถาด/คน/วัน ใช้แรงงานโยนกล้า 3-5 ไร่/คน/วัน ที่สำคัญคือใช้เมล็ดเพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ 80-85% […]

Read more

ขยายพันธุ์มะนาวด้วยใบ แก้ปัญหาในยุคมะนาวแพง

ขยายพันธุ์มะนาว

สมัยนี้ต่างก็ได้ยินคนบ่นกันว่ามะนาวแพง ส่วนสาเหตุที่ว่าทำไมถึงแพงขึ้น ก็เพราะว่าสมัยนี้กว่าจะได้มะนาวสักลูกนั้น ชาวสวน หรือผู้ที่ปลูกมะนาวก็ต้องเจอกับ ทั้งหนอน ทั้งโรค ทั้งเชื้อรา ไหนจะฝนฟ้าที่ตกมาในช่วงที่ต้องการให้ออกดอก ออกผล จนกระทั้งกำหนดการหรือเป้าหมายที่วางไว้ต้องคลาดเคลื่อนไปนั้นมันยุ่งยากและซับซ้อนจนหลายคนยอมแพ้ทิ้งสวนมะนาวไปทำงานจ้างก็หลายรายอยู่ และกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ก็ต้องใช้เวลานานตั้ง 5 ถึง 6 เดือนกันเลยทีเดียว แต่กระนั้นมะนาวก็เป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันมีความต้องการมะนาวสูงมาก แทบขาดกันไม่ได้ หากใครที่สนใจอยากจะปลูกมะนาวขายบ้าง หรือลองปลูกไว้กินเองที่บ้าน ลองอ่านศึกษาดูได้จากบทความนี้เลยครับ วิธีการ “การขยายพันธุ์มะนาวด้วยใบ” โดยตามแบบฉบับของ ครูติ่ง ซึ่งสามารถขยายพันธุ์มะนาวได้ทีละมากๆด้วย โดยวิธีการขยายพันธุ์มะนาวด้วยใบ โดย ครูติ่ง นั้นมีขั้นตอนการทำดังนี้ 1. นำกาบมะพร้าวตัดเป็นท่อนยาวราว 2.5-3 ซม. นำไปแช่น้ำไว้จนชุ่ม เอาค้อนทุบจนกาบมะพร้าวแตกนุ่มขึ้น เพื่อง่ายต่อการห่อให้กลม 2. เมื่อได้กาบมะพร้าวที่นุ่มแล้ว นำมาห่อม้วนเป็นทรงกลม รัดหนังยางหัวท้าย แล้วนำตะปูทิ่มลงไปบริเวณด้านบนของกาบมะพร้าวให้เป็นรู เพื่อลดการเสียดสีเวลานำใบเสียบลงไป 3. ตัดใบให้มีก้านด้านบนใบเล็กน้อย ส่วนด้านล่างก้านใบให้ยาวเกือบถึงชั้นที่อยู่ด้านล่างถัดไป หรือยาวประมาณ 1-1.5 ซม. 4. ตัดใบออกครึ่งหนึ่ง เพื่อลดการคายน้ำ 5. เปิดกรีดเปลือกหุ้มก้านด้านของใบ หรือเปิดแผลตามความยาวของก้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการออกราก 1-3 หน้า หากไม่ทำเช่นนี้รากจะออกเฉพาะที่ปลายลอยตัดเท่านั้น […]

Read more

การสร้างเรือนเพาะชำ ดูแลต้นอ่อน ไม้ดอกต่างๆ

การสร้างเรือนเพาะชำ

การสร้างเรือนเพาะชำ ในการเพาะปลูกต้นไม้ เราจำเป็นต้องมีการทำ เรือนเพาะชำ สำหรับเหล่าบรรดาไม้อ่อน ต้นกล้าทั้งหลาย รวมทั้งพวกไม้พุ่ม และไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ เรือนเพาะชำ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยดูแลรักษาต้นไม้ของเรา เพราะว่าไม้แต่ละชนิดมาจากหลายที่ต่างๆ ทั่วโลก มีความต้องการน้ำ อุณหภูมิ และแสงแดด ที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้ต้นไม้เหล่านั้น ต้องการ การดูแล เอาใจใส่ รักษา ทั้งจากฝนฟ้าอากาศ หรือแม้กระทั่งแสงแดด เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้ต้นไม้ของเรานั้นเกิดความเสียหาย หรือหยุดการเจริญเติบโตไปเลยก็เป็นได้ และเมื่อเรามีเรือนเพาะชำแล้ว การจัดการดูแลรักษาก็จะง่ายดายขึ้น และดูมีระเบียบเรียบร้อย อีกทั้งยังช่วยป้องกัน หรือลดปัญหาจากฝนฟ้าอากาศ และแสงแดดได้ ส่งผลให้พืชพรรณไม้ที่ปลูกนั้นมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ล้มตายไปก่อน แถมยังช่วยป้องกันภัยจากเหล่าแมลงศัตรูพืชและสัตว์นักทำลายได้เป็นอย่างดี การเตรียมการสำหรับการสร้างเรือนเพาะชำ พื่นที่ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเรือนเพาะชำ ควรจะเลือกพื้นที่สร้างเรือนเพาะชำที่ดี โดยควรเลือกพื้นที่สร้างเรือนเพาะชำที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ และมีปริมาณที่เพียงพอทั้งปี พื้นที่ที่มีความลดชันประมาณ 1 – 2% เพื่อการระบายน้ำดี พื้นที่ควรสูงกว่าระดับน้ำของแม่น้ำหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่นๆ เพื่อจะทำให้น้ำไม่ท่วมในฤดูฝน สภาพดินในพื้นที่ที่สร้างเรือนเพาะชำควรเป็นดินร่วนปนทรายเพราะมีการระบายน้ำดีและเตรียมกล้าไม้ได้ด้วย ควรมีภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกล้า เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณแสงแดดที่เพียงพอ ควรสำรวจคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ ถ้าเป็นน้ำกร่อย จะทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตไม่ดีหรือตายได้ ขนาดเรือนเพาะชำ ขนาดของเรือนเพาะชำขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและความต้องการของเจ้าของ เช่น 6-7 […]

Read more
1 2