ความเป็นมาของการทำนาโยน

ความเป็นมาทำนาโยน

ประวัติความเป็นมาของการทำนาโยน

ตั้งแต่อดีตมานั้น คนส่วนมากจะรู้จักวิธีการปลูกข้าว แบบทำนาดำ และนาหว่าน ซึ่งการทำนาแบบทั้งสองวิธีนั้น มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยนาดำนั้นมีข้อดี คือ ระยะห่างของต้นข้าวนั้นจะพอดีไม่เบียดกัน ทำให้ต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่มีข้อเสียคือต้องใช้เวลานานในการปักดำต้นข้าว ส่วนนาหว่านนั้นใช้เวลาที่น้อยกว่าและได้ปริมาณต้นข้าวที่มากกว่าด้วยการหว่านเมล็ด แต่มีข้อเสียคือในขณะที่รอต้นข้าวเติบโตนั้นก็จะเสียเมล็ดไปกับการมาจิกกินของนก และหากฝนตกในวันที่หว่านแล้วเมล็ดข้าวก็จะลอยหายไปกับน้ำ

แต่ด้วยประเทศไทยเรานั้นเป็นประเทศที่อุดมด้วยภูมิปัญญาในเรื่องการเกษตร จึงได้มีการปรับปรุงวิธีการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลลิตที่ดีออกมา ซึ่งการทำ “นาโยน” ก็ได้เป็นอีกหนึ่งวิธีใหม่ในการทำนาในยุคปัจจุบัน ซึ่งข้อดีของการทำนาโยนคือ การประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องสูญเสียไปกับน้ำ ระยะห่างของต้นข้าวที่มีมากกว่าก็ทำให้ข้าวสามารถแตกกอได้ดีกว่า และการเติบโตของต้นกล้าข้าวที่โยนลงไปก็ไม่หยุดชะงักเหมือนนาดำที่ต้องปักต้นกล้า อีกทั้งยังใช้ต้นทุนและแรงงานน้อยกว่า

ความเป็นมานาโยน

การทำนาโยน เป็นการทำนารูปแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและพืชทั่วไป โดยจากการศึกษาและปฏิบัติในการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ศูนย์บริการวิชาการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ในปี 2545 ถึง 2548 และเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต พบว่าต้นทุนการทำนาแบบโยนกล้าเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป มีต้นทุนต่ำที่สุดและยังให้ผลผลิตสูงกว่าการทำนาด้วยวิธีอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า อายุต้นกล้า 12-16 วัน และจำนวนต้นกล้า 50-60 ถาด มีความเหมาะสมมากที่สุด สามารถป้องกันและควบคุมข้าววัชพืชได้ดีมาก ใช้แรงงานเตรียมดินเพาะกล้า 150-200 ถาด/คน/วัน ใช้แรงงานโยนกล้า 3-5 ไร่/คน/วัน ที่สำคัญคือใช้เมล็ดเพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ 80-85% สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานได้

คุณ เชาว์วัช หนูทอง ปราชญ์ชาวบ้าน จากศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษ ละโว้ธานี อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี และยังเป็นเกษตรกรผู้บุกเบิกการทำนาโยน ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้มีวิธีการทำนาแบบใหม่ คือการโยนต้นกล้า ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของเกษตรกรกลุ่มเล็กๆ ในพื้นที่ภาคกลาง เนื่องจากเป็นนวัตกรรมการทำนาที่ช่วยป้องกันปัญหาการเกิดข้าววัชพืช และการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถทำนาได้ต่อเนื่องปีละ 3 ถึง 4 ครั้งต่อปี ในเขตชลประทาน โดยที่ไม่ต้องใช้สารเคมีใดใดเลย ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ซึ่งนับเป็นทางเลือกใหม่ของการทำนาแบบยั่งยืน และทำให้อาชีพชาวนาเกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้น

คุณ เชาว์วัช หนูทอง ระบุว่า ภูมิปัญญาในการทำนาโยนนั้นมีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นและจีน และเข้ามาในประเทศไทยได้ไม่นานนัก แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงกว้าง เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่รู้ข้อดีของการทำนาโยนต้นกล้า ซึ่งแตกต่างจากการทำนาดำ หรือนาหว่านน้ำตมที่นิยมกันทั่วไป ทั้งนี้จากการทดสอบทำนาด้วยตนเองมาแล้วทุกรูปแบบ พบว่าการทำนาโยนทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานต่อโรคพืชและแมลงศัตรูพืชระบาด โดยอาศัยเทคนิคการเพาะปลูกระบบชีวภาพ เน้นปรับปรุงบำรุงดินให้มีคุณภาพมากขึ้น ปรับสภาพแปลงนาข้าวให้โปร่งโล่ง และแสงแดดส่องถึงผิวดินและน้ำ เพื่อทำให้ระบบนิเวศในนาข้าวอุดมสมบูรณ์

อ่าน: วิธีการทำนาโยน ช่วยประหยัดปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นาโยน

ปราชญ์ชาวบ้านแห่งเมืองลพบุรีได้กล่าวอีกว่า การทำนาโยนยังช่วยประหยัดเวลาได้มากกว่าทำนาดำ เพราะสามารถโยนต้นกล้าได้วันละไม่ต่ำกว่า 5 ไร่ ต่อ คนงาน 1 คน ในขณะที่การทำนาดำได้แค่วันละ 1 ถึง 2 งาน ต่อ คนงาน 1 คน ทำให้ประหยัดเงินค่าแรงงานได้ถึงวันละ 1,300 บาท หากคำนวณค่าใช้จ่ายทุกกระบวนการผลิต การทำนาโยนจะลดต้นทุนได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของการทำนาแบบทั่วไป แต่ก็มีข้อจำกัดในขั้นตอนที่ต้องเตรียมเพาะกล้าบนถาดหลุ่ม และสามารถทำได้เฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำได้ ซึ่งเกษตรกรที่อยู่ในเขตชลประทานสามารถปลูกข้าวด้วยวิธีนี้ได้ 3 ถึง 4 ครั้งต่อปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

Comments

comments

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *