การดูแลไส้เดือนดินในการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

การดูแลไส้เดือน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศัตรูไส้เดือน

การดูแลไส้เดือนดิน ในการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ผู้เลี้ยงควรศึกษา เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง
การดูแลไส้เดือนดิน
ไม่ใช่แค่เพียงควบคุมความชื้น อุณหภูมิ ป้องกันแสงแดด และฝน เท่านั้น การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ยังต้องดูแลในเรื่องของ ศัตรู และปัญหาของไส้เดือนดินด้วย
ศัตรูจากธรรมชาติ
การป้องกันศัตรูไส้เดือนดินขั้นต้น
ป้องกันโดยใช้วัสดุ เช่น ตาข่าย ปิดให้มิดชิดเพื่อป้องกัน
ตัวอย่างศัตรูไส้เดือนดิน

สัตว์ปีก
นก ที่กินไส้เดือนเป็นอาหาร เช่น นกสีดำ นกสตาร์ลิ่ง นกกระสา นกนางนวล นกกินหนอน นกโรบิ้น ซึ่งเป็นนกขนาดเล็ก มีขนสีแดงตรงหน้าอก เป็นต้น
เป็ด และไก่
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เม่น ตัวตุ่น หมาจิ้งจอก และสุกร
สัตว์เลื้อยคลาน อย่างเช่น งู จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งกือ ตะเข็บ
สัตว์ครึ่งน้ำ ครึ่งบก เช่น กบ คางคก
สัตว์พันธุ์แทะ เช่น หนู
สัตว์อื่นๆ เช่น ไรแดง มด ตัวอ่อนของแมลงปีกแข็ง ทาก

การป้องกันและกำจัดศัตรูไส้เดือนดินที่มีการแพร่ระบาด

ไรแดง  อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ในแปลงเลี้ยง ไรแดงที่พบได้บ่อย คือ ยูโรโพด้า อาจิแทนส์ (Uropoda agitans) มีสีน้ำตาลจนถึงแดง ขนาดเล็ก มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พบมากบนผิวดิน ขอบบ่อเลี้ยง และรอบๆ อาหาร หากมีการระบาดของไรแดงเป็นจำนวนมาก ไส้เดือนดินจะมุดวัสดุเลี้ยงลงไปอยู่จนลึก และไม่ขึ้นมากินอาหาร ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและชะลอการขยายพันธุ์
การป้องกัน สามารถทำได้โดยการจัดการเรื่องน้ำและความชื้นให้พอดี ควบคุมปริมาณอาหารไม่ให้มากจนเกินไปทั้งอาหารเปียกและสด

การกำจัด

  • เปิดวัสดุคลุมบ่อไว้ 2-3 ชั่วโมง
  • ลดปริมาณอาหารและน้ำ
  • นำกระดาษที่เปียกน้ำมาวางบนที่อยู่ไส้เดือนดิน ไรแดงจะเข้าไปอาศัยในกระดาษ จากนั้นจึงนำกระดาษออกมาทำลาย

มด  เป็นศัตรูสำคัญ บางชนิดกินทั้งไข่และตัวอ่อนของไส้เดือนดิน การระบาดเกิดจากการให้อาหารที่มีความเข้มข้นสูงการป้องกันและกำจัด ใช้สารเคมีฉีดรอบบ่อ หรือใช้น้ำมันเครื่องเก่าทารอบบ่อ ป้องกันไม่ให้มดเข้าไปในบ่อเลี้ยงไส้เดือนดิน
ไวท์เวิร์ม (White worm) ไส้เดือนขนาดเล็กสีขาว หรือสีน้ำตาลแดง ติดมากับมูลสัตว์ เป็นอีกหนึ่งศัตรูสำคัญของไส้เดือนดิน ระบาดมากในสภาพที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง
การป้องกัน หมั่นตรวจ และควบคุมความชื้น และอุณหภูมิของที่อยู่ไส้เดือนดิน และไม่พักมูลสัตว์ใหม่ให้เย็นลง ก่อนนำมาเทใหม่
ปัญหา และการแก้ไขปัญหาการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน
กลิ่นเหม็น

สาเหตุ ที่อยู่เปียกเกินไป

วิธีแก้

  • เติมวัสดุพื้นเลี้ยงหรือที่อยู่อาศัยชนิดแห้ง เพื่อดูดซับน้ำ
  • เปิดฝาที่เลี้ยง 2-3 วัน

สาเหตุ     อาหารมากเกินไป

วิธีแก้

  • หยุดให้อาหารจนกว่าอาหารหมด จึงให้อาหารใหม่
  • เพิ่มปริมาณไส้เดือนดินในที่เลี้ยง หากให้อาหารในปริมาณเดิม

สาเหตุ     pH (พีเอช) เป็นกรดมากเกินไป เนื่องจากกระบวนการขับถ่ายของไส้เดือนมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ เมื่อมีการสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พื้นเลี้ยงมีสภาพเป็นกรด ไส้เดือนดินจะเป็นโรคตัวเปื่อย และขาด ทำให้ไส้เดือนตายได้

วิธีแก้

  • ถ้ามีกลิ่นเปรี้ยว ทำการตรวจ pH ถ้ามีค่าต่ำกว่า 6 ให้เติมเปลือกไข่บด หรือปูนขาว หรือไดโลไมท์ โรยบางๆ ให้ทั่ว แล้วรดน้ำตาม
  • ปัญหานี้จะเกิดขึ้นหากใช้วัสดุเดิมๆ มาทำพื้นเลี้ยงหรือที่อยู่อาศัยของไส้เดือนดินเป็นเวลานาน สามารถป้องกันแก้ไขได้โดยให้ใส่ปูนขาวโรยทุก 1-2 เดือน

สาเหตุ     ให้อาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อ หรือ ไขมัน

วิธีแก้

  • ลดปริมาณอาหารเหล่านี้ลง

สาเหตุ ที่อยู่อัดตัวแน่น
วิธีแก้

  • ทำที่อยู่อาศัยของไส้เดือนดินให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี โดยเติมกระดาษย่อยเป็นชิ้น หรือขุยมะพร้าว

น้ำรั่วจากที่เลี้ยง

สาเหตุ     ก๊อกหรือจุกรั่ว

วิธีแก้

  • ตรวจสอบแก้ไข

สาเหตุ     ถาดรองรับน้ำมูลไส้เดือนดินเต็ม

วิธีแก้

  • หากภาชนะเลี้ยงไม่มีถาดเก็บ ให้วางภาชนะเลี้ยงเอียงประมาณ 45 องศาเซลเซียส เพื่อระบายน้ำ และ/หรือ เติมที่อยู่แห้งเพื่อซับน้ำ

ที่อยู่แห้ง

สาเหตุ     ให้อาหารแห้งเกินไป

วิธีแก้

  • ให้อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมาก และไส้เดือนขอบ เช่น เปลือกแตงโม และแคนตาลูป

สาเหตุ     น้ำระเหยเร็ว

วิธีแก้

  • ไม่วางที่เลี้ยงกลางแจ้ง ถูกแสงแดดโดยตรง หรือมีอากาศร้อนจัด
  • ในวันที่แสงแดดจัด หรืออากาศร้อนจัด ควรให้น้ำเย็นแก่ที่เลี้ยง

สาเหตุ     รูระบายน้ำใหญ่ หรือถี่เกินไป

วิธีแก้

  • ตรวจสอบแก้ไข

มีแมลงวัน หรือ แมลงหวี่

สาเหตุ     ให้อาหารบนที่อยู่

วิธีแก้

  • ฝั่งกลบอาหารในที่เลี้ยง

มีเห็ดในที่เลี้ยง

สาเหตุ     มีอาหารในที่เลี้ยง

วิธีแก้

  • กองปุ๋ยหมักโดยทั่วไป อาจพบเห็ดได้ เห็ดไม่มีอันตรายกับไส้เดือนดิน หากไม่ต้องการให้ถอนออกได้

มีหนอนสีขาวตัวเล็กๆ ในที่เลี้ยง

สาเหตุ     หนอนพยาธิตัวกลม

วิธีแก้

  • ในที่เลี้ยงไส้เดือน หากพบหนอนสีขาวตัวเล็กๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใช้มูลสัตว์เป็นส่วนผสมของที่อยู่หรืออาหาร (อาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นลูกไส้เดือนดิน) หนอนชนิดนี้ไม่มีอันตรายกับไส้เดือนดิน แต่สามารถกำจัดได้โดยเติมปูนขาวหรือใช้เปลือกแตงโม หรือขนมปังจุ่มนมวางไว้บนที่อยู่ หนอนจะมาเกาะกิน จึงค่อยหยิบออก

มีแมลงสีแดง หรือ แมลงสีขาวตัวเล็ก

สาเหตุ     ไรแดง, ไรขาว

วิธีแก้

  • ไรแดง หรือไรขาว สามารถพบได้ในที่เลี้ยงไส้เดือนสภาพดี โดยทั่วไปไม่มีอันตรายต่อไส้เดือน แต่ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ โดยเฉพาะเยื่อใยที่ย่อยสลายยาก แต่หากมีมากจนเกินไป ก็ไม่ดีต่อไส้เดือนดินนัก การกำจัดทำได้เช่นเดียวกับหนอนสีขาวตัวเล็ก

มีมด ในที่เลี้ยง

สาเหตุ     ที่อยู่แห้งเกินไปเล็กน้อย เศษอาหารเหลือ

วิธีแก้

  • เพิ่มความชื้นของที่อยู่ไส้เดือนดิน
  • รักษาความสะอาดที่อยู่
  • วางขาตั้งที่เลี้ยงไว้ในถ้วยที่เติมน้ำกันมด

ไส้เดือนตัวเล็ก

สาเหตุ     เลี้ยงไส้เดือนดินหนาแน่เกินไป

วิธีแก้

  • แบ่งจำนวนไส้เดือนดินไปเลี้ยงในที่เลี้ยงอื่นครึ่งหนึ่ง

สาเหตุ    ที่อยู่หรือพื้นเลี้ยงไส้เดือนดินหมด, เลี้ยงนานเกินไป

วิธีแก้

  • เก็บเกี่ยวไส้เดือน และเปลี่ยนที่อยู่

ไส้เดือนดินหาย

สาเหตุ     อาหารไม่พอ

วิธีแก้

  • เพิ่มอาหาร

สาเหตุ     ที่อยู่หมด

วิธีแก้

  • เพิ่มที่อยู่, เก็บเกี่ยวไส้เดือน

สาเหตุ     ที่อยู่ร้อน

วิธีแก้

  • วางที่เลี้ยงไว้ในร่มและเย็น
  • ให้น้ำเย็นในช่วงอากาศร้อน แต่ระวังอย่าให้ที่อยู่แฉะ

อาหารที่ให้ใช้เวลานานกว่าจะหมด

สาเหตุ     ให้อาหารมากเกินไป จำนวนไส้เดือนน้อยเกินไป

วิธีแก้

  • ลดอาหาร
  • เพิ่มจำนวนไส้เดือนดิน

ไส้เดือนคลานขึ้นไปที่ขอบหรือบนที่เลี้ยง

สาเหตุ     หลายสาเหตุ

วิธีแก้

  • ตรวจสอบ และแก้ไขตามสาเหตุ เช่น ที่อยู่มีความเป็นกรดสูง, ที่อยู่แฉะเกินไป, ที่อยู่ร้อน การระบายอากาศไม่ดีพอ หรือความชื้นในอากาศมาก

ไส้เดือนดินหลบหนีจากที่เลี้ยง

สาเหตุ     อาหารหมด, ที่อยู่ร้อน, ให้อาหารไม่สม่ำเสมอ, ที่อยู่หมด (เลี้ยงนานเกินไป) หรือ เปลี่ยนที่อยู่ที่ไม่เหมือนเดิม

วิธีแก้

  • แก้ไขตามสาเหตุ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล: หนังสือ คู่มือการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดินเงินล้าน สนพ.นาคา โดย อภิชาติ ศรีสอาด และ ศุภวรรณ์ ใจแสน)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *