โรคของกล้วยน้ำว้า

โรคของกล้วยน้ำว้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคกล้วยน้ำว้า

แทบทุกครัวเรือนที่เราจะได้พบเห็นต้นกล้วยน้ำว้าอยู่ในบริเวณบ้านทั่วๆไป ใช่ว่าจะเป็นเรื่องกล้วยๆ ในการปลูกกล้วย หากเราไม่ดูแล และถ้าเป็นการปลูกกล้วยเชิงการค้าแล้ว ยิ่งจะต้องดูแลเอาใจใส่ ไม่ให้เกิดโรค โรคของกล้วยน้ำว้า ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุเล็กๆ ของความไม่สม่ำเสมอในการดูแลกล้วย ของเกษตรกร นอกจากนี้ ยังมีปัญหาของ แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า ตามมา ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ควรปฏิบัติตามหลักการและคำแนะนำต่างๆ

โรคใบกล้วยน้ำว้า

โรคใบกล้วยน้ำว้า

บทความนี้ รวบรวมเคล็ดลับง่ายในการดูแลกล้วยน้ำว้า เพื่อป้องกัน โรคของกล้วยน้ำว้า ไว้ดังนี้  :

หลักการป้องกัน โรคของกล้วยน้ำว้า ในสวนแบบง่าย คือ
(1) สภาพดินต้องมีความอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุอาหารที่กล้วยต้องการครบ
(2) คัดเลือกพันธุ์กล้วยน้ำว้าที่มีความต้านทานโรคต่างๆ ได้สูง
(3) ดูแลเอาใจใส่ต้นกล้วยอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ
(4) กำจัดวัชพืชอย่างถูกวิธีและเป็นระบบ
(5) มีระบบระบายน้ำที่ดี
(6) ไถพลิกหน้าดิน พรวนดิน ปรับปรุงดินด้วยการใช้วิธีปลูกพืชคลุมดินแล้วไถกลบตากแดดไว้ หรือใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มคุณภาพให้กับดิน
(7) ป้องกันและกำจัดโรคระบาดและแมลงศัตรูพืชในสวนกล้วยน้ำว้า

โรคของกล้วยน้ำว้า

เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส เป็นสาเหตุให้เกิด โรคของกล้วยน้ำว้า ซึ่งมีลักษณะอาการแตกต่างกัน ดังนี้:

โรคที่เกิดจากเชื้อรา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคตายพราย

รูปจาก : ไดนามิคพันธ์พืช

1. โรคตายพราย เกิดจากเชื้อราที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในพื้นที่ที่การระบายน้ำไม่ดี ดินเป็นดินเหนียว มักเกิดขึ้นเมื่อกล้วยน้ำว้ามีอายุ 4-5 เดือน เริ่มจากใบล่างช่วงก้านใบหรือเป็นที่ใบแก่จะเห็นเป็นทางสีเหลืองอ่อน จากนั้นขอบใบหรือปลายใบจะเริ่มเหลืองแล้วขยายวงกว้าง ใบอ่อนจะเหลืองไหม้ บิดเป็นคลื่น โคนก้านใบจะหักพับ ยอดใบจะเหลืองตั้งตรงเขียวในช่วงแรกและตายในที่สุด ถ้าเป็นช่วงที่กล้วยน้ำว้าตกเครือแล้ว ผลจะเหี่ยว ลีบ เล็ก ไม่สม่ำเสมอหรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด ในบางครั้ง ใบกล้วยจะหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลืองหรือเหลืองเพียงเล็กน้อย ถ้าตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดงและอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง

การป้องกันและกำจัด

  • อย่าให้มีน้ำขังแฉะ เพราะกล้วยจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ อ่อนแอเป็นโรคง่าย โดยเฉพาะเมื่อดินมีสภาพเป็นกรด ต้องใช้ปูนขาวปรับสภาพดินให้เป็นกลาง
  • เผาทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง
  • ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่เป็นธาตุไนโตรเจนมาก ให้ใส่ปุ๋ยที่มีแร่ธาตุฟอสเฟตและโพแทสเซียมสูง
  • เลือกหน่อจากกอที่ไม่เป็นโรค หรือแหล่งที่ไม่มีโรคมาปลูก
  • จัดระบบระบายน้ำให้ดี และทำความสะอาดโคนต้นของกล้วยน้ำว้าอยู่เสมอ
  • ใช้สารเคมีแคปเทน ประมาณ 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือตามคำแนะนำของสารเคมีแต่ละยี่ห้อ

2. โรคใบจุดดำ เชื้อราจะทำให้ขอบใบ และก้านกลางใบเป็นจุดดำขนาดเล็กในระยะแรก และขยายใหญ่ขี้นกระจายไปทั่ว ถ้ารุนแรงมาก จะทำลายกาบลำต้นจนเกิดจุดดำจนทั่ว ปลายผลอ่อนจะเน่า แห้งเป็นสีดำ

การป้องกันและกำจัด

  • หมั่นสำรวจตรวจดูสวนกล้วยเป็นประจำ
  • เมื่อเกิดโรคใบจุดระบาดในสวนกล้วย ให้กำจัดโดยการพ่นด้วยสารเคมีไธแรม 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือตามคำแนะนำของสารเคมีแต่ละยี่ห้อ

3. โรคใบไหม้ เชื้อราจะทำให้เกิดจุดสีน้ำตาลกระจายทั่วผิวใบ หากผิวใบแห้งการปรุงอาหารของพืชก็ลดลง กล้วยโตช้า ผลผลิตลดลง

การป้องกันและกำจัด

  • หมั่นทำความสะอาดสวนอยู่เสมอ
  • ตัดใบกล้วยไปเผาทิ้ง
  • ฉีดสารเคมีบีม 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือตามคำแนะนำของสารเคมีแต่ละยี่ห้อ

4. โรคใบจุดกระ เชื้อราทำให้ใบเป็นจุดกระ ระยะแรกจุดเป็นสีแดง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้จนเกือบดำตามแนวยาวของเส้นใบ มีผื่นสีเหลืองเกิดขึ้นรอบๆ จุดและผื่นอาจจะขึ้นเป็นหย่อมๆ หรือเชื่อมติดกันเป็นทางยาวไปตามเส้นใบ บริเวณที่เป็นจะมีตุ่มนูนของเชื้อรา
การป้องกันและกำจัด
ฉีดพ่นสารเคมีแคปเทน 50 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคใบจุดดำในกล้วย

5. โรคใบจุดสีน้ำตาลเทา เริ่มจากจุดสีน้ำตาลบนผิวใบ แล้วขยายใหญ่สีน้ำตาลอ่อน ตรงกลางจุดจะแห้งมีสีน้ำตาลปนเทา ขอบในสีน้ำตาล และขอบนอกสีเหลือง บ้างก็มีสีขาว หรือสีขาวหม่น เป็นแนวยาวบนเส้นใบ เชื้อราจะสร้างรากเทียมไชเข้าไปในเนื้อเยื่อ ทำให้เน่า เมื่อโรคถึงขั้นที่รุนแรง เชื้อราจะขยายการทำลายไปสู่กาบลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นด้ายสีขาวคลุมอยู่บนกาบจะเน่าและแห้งไปทีละกาบ กล้วยจะหยุดการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด ไม่ผลิดอก จะมีเชื้อราเจริญเติบโตออกมาลักษณะเหมือนดอกเห็ดสีขาวหม่นปนชมพูขนาดประมาณ 1-3 x 2-3 นิ้ว ดอกเห็นค่อนข้างนุ่ม มีครีบใต้ดอก เมื่ออุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม ถ้าเกิดโรคนี้กับกล้วยน้ำว้าหน่อเล็ก กล้วยจะไม่แตกใบ กาบเน่า และตาย

การป้องกันและกำจัด
ตัดส่วนที่เป็นโรคไปเผา แล้วพ่นสารเคมี คอปเปอร์อ๊อกซีคลอไรด์ 48 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย                                                                                                                โรคเหี่ยวของกล้วยน้ำว้า เกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งจะระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ใบอ่อนเหี่ยวและก้านใบหัก หน่อกล้วยที่กำลังแตกยอดจะมีสีดำ ยอดบิดแคระแกร็น และตายในที่สุด แสดงอาการคล้ายโรคตายพราย แต่เมื่อตัดดูลักษณะภายในลำต้นจะเป็นเป็นสีน้ำตาลแดง พบบริเวณไส้กลางต้น ขยายไปกาบ ก้านใบ เครือ ผล และหน่อตา กล้วยจะเหลืองและตายในที่สุด ภายในจะพบเนื้อเยื่อเน่าตาย เป็นช่องโหว่ เมื่อตัดกล้วยอ่อนที่เป็นโรคแช่น้ำ จะพบเชื้อแบคทีเรียเป็นน้ำขุ่นๆ ไหลออกมา ผลจะเน่าดำ

การป้องกันและกำจัด

  • เลือกหน่อกล้วยน้ำว้าที่ไม่มีโรคมาปลูก ตัดแต่งหน่อกล้วย และแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนปลูก
  • ทำความสะอาดมีดตัดแต่งใบกล้วย หลังการใช้งานจากต้นกล้วยที่เป็นโรค ก่อนจะนำมีดไปใช้กับกออื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ขุดกล้วยที่เป็นโรคไปเผาทิ้ง ใช้ฟอร์มาลีน 5 เปอร์เซ็นต์ฆ่าเชื้อในหลุมกล้วย ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนก่อนจะปลูกกล้วยน้ำว้าหน่อใหม่

โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส

1. โรคยอดม้วน เกิดจากเชื้อไวรัส มีแมลงประเภทปากดูดทุกชนิดเป็นพาหะ ได้แก่ เพลี้ยต่างๆ เชื้อโรคจะกระจายติดหน่อหรือส่วนขยายพันธุ์ ทำให้มีรอยขีดสีเขียว และจุดเล็กๆ ตามเส้นใบ และก้านใบ ใบใกล้เคียงจะเล็กลง เหลือง ปลายใบม้วน ถ้าระบาดมากต้นจะแคระแกร็น ใบขึ้นรวมกันเป็นกระจุก ดอกและปลีจะเจริญช้า บางครั้ง เมื่อโผล่ออกมาที่ยอด ยอดจะปริ เครือเล็ก หน่อที่เกิดจากต้นกล้วยที่เป็นโรคยอดม้วนก็จะเป็นโรคตามไปด้วย

การป้องกันและกำจัด
ทำลายส่วนต่างๆ ของต้นที่เป็นโรคหรือกอที่สงสัยว่าจะเป็นโรค

2. โรคใบด่าง ใบมีรอยด่างเป็นขีดสีเหลือง ยาวขนานไปกับเส้นใบ และก้านกลางใบ แล้วขยายไปสู่ผืนใบและขอบใบ ผืนใบที่เกิดอาการจะแตกออก เมื่อเป็นขั้นรุนแรงพืชจะปรุงอาหารไม่ได้ ต้นกล้วยน้ำว้าจะหยุดโต ต้นที่มีอายุน้อยจะเกิดเน่าแห้งเป็นแห่งๆ ในลำต้น และการระบาดของโรคมักเกิดขึ้นในฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อนและฤดูฝน

การป้องกันและกำจัด

  • กำจัดวัชพืช
  • เมื่อพบเพลี้ยอ่อนในสวน ควรฉีดพ่นสารเคมี โอเมทโธเอท 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *