โรคของกล้วยน้ำว้า

โรคของกล้วยน้ำว้า

แทบทุกครัวเรือนที่เราจะได้พบเห็นต้นกล้วยน้ำว้าอยู่ในบริเวณบ้านทั่วๆไป ใช่ว่าจะเป็นเรื่องกล้วยๆ ในการปลูกกล้วย หากเราไม่ดูแล และถ้าเป็นการปลูกกล้วยเชิงการค้าแล้ว ยิ่งจะต้องดูแลเอาใจใส่ ไม่ให้เกิดโรค โรคของกล้วยน้ำว้า ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุเล็กๆ ของความไม่สม่ำเสมอในการดูแลกล้วย ของเกษตรกร นอกจากนี้ ยังมีปัญหาของ แมลงศัตรูพืชของกล้วยน้ำว้า ตามมา ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ควรปฏิบัติตามหลักการและคำแนะนำต่างๆ บทความนี้ รวบรวมเคล็ดลับง่ายในการดูแลกล้วยน้ำว้า เพื่อป้องกัน โรคของกล้วยน้ำว้า ไว้ดังนี้  : หลักการป้องกัน โรคของกล้วยน้ำว้า ในสวนแบบง่าย คือ (1) สภาพดินต้องมีความอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุอาหารที่กล้วยต้องการครบ (2) คัดเลือกพันธุ์กล้วยน้ำว้าที่มีความต้านทานโรคต่างๆ ได้สูง (3) ดูแลเอาใจใส่ต้นกล้วยอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ (4) กำจัดวัชพืชอย่างถูกวิธีและเป็นระบบ (5) มีระบบระบายน้ำที่ดี (6) ไถพลิกหน้าดิน พรวนดิน ปรับปรุงดินด้วยการใช้วิธีปลูกพืชคลุมดินแล้วไถกลบตากแดดไว้ หรือใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มคุณภาพให้กับดิน (7) ป้องกันและกำจัดโรคระบาดและแมลงศัตรูพืชในสวนกล้วยน้ำว้า โรคของกล้วยน้ำว้า เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส เป็นสาเหตุให้เกิด โรคของกล้วยน้ำว้า ซึ่งมีลักษณะอาการแตกต่างกัน ดังนี้: โรคที่เกิดจากเชื้อรา รูปจาก : ไดนามิคพันธ์พืช 1. […]

Read more

ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า

ประโยชน์กล้วยน้ำว้า

เมื่อได้ยินคำว่า กล้วยน้ำว้า เราก็มักจะนึกถึงกันแต่ ผล ของกล้วยน้ำว้า ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า มีจากทุกส่วนตั้งแต่ใบจดราก  ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า มีดังนี้ : ส่วนประกอบต่าง ๆ ของกล้วยผล—กล้วยน้ำว้า เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง และมีสารอาหารบางชนิดสูงกว่ากล้วยชนิดอื่น เช่น วิตามินเอ—สูงที่สุดในบรรดากล้วยทุกชนิด ธาตุเหล็ก—สูง—ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง โปรตีน—มีโปรตีนใกล้เคียงกับนมแม่ วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม—ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน เบต้าแคโรทีน—ช่วยบำรุงผิวพรรณ ไนอะซิน และใยอาหาร—ช่วยในการขับถ่าย วิตามิน บี1 บี 2 ซี และ บี 6 ตั้งแต่ดั้งเดิม ผู้คนนิยมรับประทานผลกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็น: อาหารคาว ประเภท แกงคั่ว, แกงป่า อาหารหวาน-อาหารว่าง ด้วยกรรมวิธี ฉาบ นึ่ง ปิ้ง ทอด อบ กวน ตาก ต้มและเชื่อม ให้เป็นอาหารแสนอร่อย เช่น ขนมกล้วย กล้วยบวชชี กล้วยแขกและกล้วยตาก เป็นต้น อาหารสำหรับทารก ด้วยการนำกล้วยสุกมาบดให้ทารกรับประทานเนื่องจากมีโปรตีนใกล้เคียงกับนมแม่ ย่อยง่าย […]

Read more

เรื่องกล้วย ๆ กับกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า   กล้วยน้ำว้า เป็นพืชล้มลุก ประเภทใบเดี่ยว ออกลูกเป็นเครือ ขยายพันธุ์ด้วยหน่อหรือเหง้า(เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน)ส่วนลำต้นที่อยู่บนดินเกิดจากกาบใบที่หุ้มซ้อนๆ กัน ออกดอกเป็นช่อเรียกว่า ‘หัวปลี’ พบว่าเป็นพื้นบ้านแถบเมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาเหตุที่นิยมปลูกกล้วยน้ำว้ากันมาก เนื่องจากทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่นๆ ชอบอากาศร้อนชื้น และจะให้ผลผลิตที่ดีมากในสภาวะอากาศที่ไม่แปรปรวน สายพันธุ์กล้วยน้ำว้า มีมากกว่า 10 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ กล้วยน้ำว้า ที่มีมานาน และชื่อเสียงโด่งดังก็คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง สายพันธุ์ที่มีการสนับสนุนให้ปลูกกันมาก คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 และสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์ยักษ์ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง  (หรือ กล้วยน้ำว้าขาว) เป็นพันธุ์โบราณดั้งเดิม พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย สามารถรับประทานได้ทั้งผลสดและแปรรูป ใช้หน่อในการขยายพันธุ์ มีหลายชื่อให้เรียกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ภาคเหนือ เรียกว่า กล้วยน้ำว้ามณีอ่อง ภาคอีสาน เรียกว่า กล้วยน้ำว้าทะนีอ่อง ภาคกลาง เรียกว่า กล้วยน้ำว้าอ่อง หรือ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ภาคใต้ เรียกว่า กล้วยน้ำว้าใต้ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง เมื่อสุกมีรสชาติหวานไม่ฝาด เปลือกสีจะเหลืองทองเข้มกว่าพันธุ์อื่น เนื้อละเอียดนุ่ม ไส้ขาว ไม่มีเมล็ด แต่เวลาสุกงอม […]

Read more