ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า

ประโยชน์กล้วยน้ำว้า

เมื่อได้ยินคำว่า กล้วยน้ำว้า เราก็มักจะนึกถึงกันแต่ ผล ของกล้วยน้ำว้า ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า มีจากทุกส่วนตั้งแต่ใบจดราก 

ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า มีดังนี้ :

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของกล้วย

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของกล้วยผล—กล้วยน้ำว้า เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง และมีสารอาหารบางชนิดสูงกว่ากล้วยชนิดอื่น เช่น

  • วิตามินเอ—สูงที่สุดในบรรดากล้วยทุกชนิด
  • ธาตุเหล็ก—สูง—ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • โปรตีน—มีโปรตีนใกล้เคียงกับนมแม่
  • วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม—ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
  • เบต้าแคโรทีน—ช่วยบำรุงผิวพรรณ
  • ไนอะซิน และใยอาหาร—ช่วยในการขับถ่าย
  • วิตามิน บี1 บี 2 ซี และ บี 6

ตั้งแต่ดั้งเดิม ผู้คนนิยมรับประทานผลกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็น:
อาหารคาว ประเภท แกงคั่ว, แกงป่า
อาหารหวาน-อาหารว่าง ด้วยกรรมวิธี ฉาบ นึ่ง ปิ้ง ทอด อบ กวน ตาก ต้มและเชื่อม ให้เป็นอาหารแสนอร่อย เช่น ขนมกล้วย กล้วยบวชชี กล้วยแขกและกล้วยตาก เป็นต้น
อาหารสำหรับทารก ด้วยการนำกล้วยสุกมาบดให้ทารกรับประทานเนื่องจากมีโปรตีนใกล้เคียงกับนมแม่ ย่อยง่าย ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หัวปลี

ดอก หรือ หัวปลี—ใช้รับประทาน
แกงเลียง มีประโยชน์สำหรับผู้หญิงหลังคลอด ใช้เป็นอาหารบำรุงน้ำนม ต้มข่า, ต้มยำ, ยำหัวปลีลวก, ห่อหมก หรือ ใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงของ ผัดไทย ผัดหมี่ เต้าเจี้ยวหลน กะปิหลน ขนมจีน ลวก-ต้ม หรือรับประทานสดคู่กับน้ำพริกชนิดต่างๆ
เปลือกกล้วย—ทั้งสุกและดิบ มีแทนนิน ซึ่งใช้เป็นประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายประเภท และอุตสาหกรรมอาหาร ใช้เป็นสารเสริมรสชาติอาหาร เช่น ไวน์แดง เบียร์และสาเก เป็นต้น ใช้เป็นสารเคลือบอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ (ผสมกับเจลาติน หรือโปรตีนจากนม ทำให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานมากขึ้น
ใบ หรือ ใบตองสด—ใช้ห่อขนม หรือห่ออาหารทั้งแบบสด หรือที่ปรุงสุกแล้ว เช่น ขนมกล้วย ขนมตาล ข้าวต้มมัด ขนมสอดไส้ ห่อหมก ขนมครก และขนมเทียน ฯลฯ

  • ใช้เป็นของเล่น
  • ใช้เป็นส่วนสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ เช่น งานประดิษฐ์ในพิธีบายศรีสู่ขวัญ งานประดิษฐ์ในวันลอยกระทง ฯ แห้ง
  • ใช้ห่อขนม เช่น กาละแมเสวย ขนมเทียนสลัดงา ขนมเข่ง เป็นต้น โดยการนำใบตองสดมาตาก
    แห้ง แล้วรีดจนเรียบ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

น้ำยาง—ผสมน้ำฉีดไล่แมลงและหนอน
กล้วย เป็น พืชทรงคุณค่าที่เราได้ประโยชน์จากการใช้งานสารพัด โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้ามีคุณค่าทางโภชนาการสูงเหมาะแก่การบริโภคในครัวเรือน เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงวัยชรา และไม่ได้เป็นเพียงผลไม้ แต่ยังประโยชน์ไปถึงการรักษาโรคด้วยวิธีธรรมชาติ หรือนับได้ว่าเป็นสมุนไพรชั้นเยี่ยมอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีผลข้างเคียง และไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้า หรือกล้วยชนิดใด ‘เมนูกล้วย’ ควรเป็นหนึ่งในอาหารที่ควรรับประทานเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
ประโยชน์ของการกินกล้วยน้ำว้า
1. ช่วยลดกลิ่นปากได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ควรรับประทานหลังตื่นนอนตอนเช้าทันทีแล้วค่อยแปรงฟัน และถ้าเป็นกล้วยน้ำว้าจะยิ่งช่วยลดกลิ่นปากได้ดีขึ้น
2. กล้วยน้ำว้าช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ
3. กล้วยน้ำว้าอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และวิตามินซี
4. ช่วยเพิ่มพลังให้แก่สมองของคุณ เพราะมีสารที่ช่วยทำให้มีเกิดสมาธิและมีการตื่นตัวตลอดเวลา
5. กล้วยน้ำว้าก็มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเหมือนกันนะ ที่ช่วยในการชะลอความแก่ตัวของร่างกายนั่นเอง
6. กล้วยน้ำว้ามีส่วนช่วยในการลดความอ้วนได้ เพราะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้ลดอาการอยากกินของจุกจิกลงได้พอสมควร
7. สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ กล้วยน้ำว้าคือคำตอบสำหรับคุณ
8. อาการหงุดหงิดยามเช้า กล้วยน้ำว้าก็ช่วยคุณได้เหมือนกัน
9. ช่วยลดอาการหงุดหงิดของผู้หญิงในช่วงประจำเดือนมา
10. ช่วยลดอาการเมาค้างได้ดีระดับหนึ่ง เพราะจะช่วยชดเชยน้ำตาลที่ร่างกายขาดไปในขณะดื่มแอลกอฮอล์
11. เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ เพราะในกล้วยน้ำว้ามีวิตามินเอ ซี บี 6 บี 12 โพรแทสเซียม และแมกนีเซียมที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้นจากการเลิกนิโคติน
12. ช่วยรักษาอาการท้องผูก เพราะกล้วยน้ำว้ามีเส้นใยและกากอาหารซึ่งจะช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างปกติ
13. ช่วยบรรเทาอาการของริดสีดวงทวารหรือในขณะขับถ่ายจะมีเลือดออกมา
14. ช่วยลดอาการเสียดท้อง ลดกรดในกระเพาะ การกินกล้วยน้ำว้าจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายจากอาการนี้ได้
15. ช่วยรักษาโรคโลหิตจางได้ เพราะในกล้วยน้ำว้ามีธาตุเหล็กสูง ซึ่งจะช่วยในการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด เพื่อรักษาภาวะโลหิตจางหรือผู้ที่อยู่ในสภาวะขาดกำลัง
16. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือเส้นเลือดฝอยแตกได้
17. ช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดเส้นโลหิตแตกได้
18. สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะอักเสบ การรับประทานกล้วยน้ำว้าบ่อย ๆ ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะกล้วยน้ำว้ามีสภาพเป็นกลาง มีความนิ่มและเส้นใยสูง
19. ช่วยรักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง เพราะกล้วยน้ำว้ามีสภาพเป็นกลาง ทำให้ไม่เกิดการระคายเคืองในผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย
20. ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า ภาวะความเครียด เพราะกล้วยน้ำว้ามีโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Tryptophan ซึ่งช่วยในการผลิตสาร Serotonin หรือฮอร์โมนแห่งความสุข จึงมีส่วนช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น
21. ช่วยลดอัตราการเกิดตะคริวบริเวณมือ เท้า และน่องได้
22. ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องของมารดาลงได้
23. กล้วยน้ำว้ามีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการนิ่วในไตได้ในระดับหนึ่ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กล้วยน้ำว้า

ประโยชน์อื่นๆ ของกล้วย
1. กล้วยก็สามารถนำมาทำเป็นมาส์กหน้าได้เหมือนกันนะ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว วิธีง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
2. เปลือกกล้วยสามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้ ด้วยการลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด อาการคันจะลดลงไปได้ระดับหนึ่ง
3. เปลือกด้านในของกล้วยช่วยในการรักษาโรคหูดบนผิวหนังได้ โดยใช้เปลือกกล้วยวางบนลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปกาวแปะไว้
4. เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อแปะที่บาดแผลแล้วก็ควรจะเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมงด้วย
5. ยางกล้วยสามารถนำมาใช้ในการห้ามเลือดได้
6. ก้านใบตอง ช่วยลดอาการบวมของฝี แต่ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกเสียก่อน
7. ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ก็ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้
8. หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร
9. ผลดิบนำมาบดให้ละเอียดทั้งลูกผสมกับน้ำสะอาด รับประทานเพื่อแก้อาการท้องเสีย
10. ใบตอง อีกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมาก เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงต่าง ๆ
(ข้อมูลจากเว็บไซต์เมดไทย (MedThai))

ในภาพอาจจะมี อาหารรูปจาก : facebook/คุยกับหมอจิ๋ม

ประโยชน์ทางยาของ…กล้วยน้ำว้า

  • ผลกล้วยน้ำว้าดิบมีรสฝาดใช้แก้ท้องเสีย โรคกระเพาะอาหารเพราะมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ โดยออกฤทธิ์สมานแผล และเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือกในกระเพาะและเร่งการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อเมือกด้วยสารสำคัญ คือ ซิโตอินโดไซด์ ผลสุกมีรสหวานใช้เป็นยาระบาย
    การใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร
  • ใช้ผลกล้วยน้ำว้าดิบหรืออาจใช้ผลกล้วยดิบที่ฝานบางๆ แล้วตากแดดให้แห้งแล้วบดละเอียดเป็นผง เวลากินใช้ชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ เพราะมีสรรพคุณฝาด สมานแผล กระตุ้นกระเพาะให้หลั่งสารมิวซินออกมา
  • ใช้ผลกล้วยน้ำว้าดิบที่ฝานบางๆ ตากแดดให้แห้งแล้วบดละเอียดเป็นผง ปั้นเป็นยาลูกกลอนทานครั้งละ 4 เม็ด หลังมื้ออาหาร
    การใช้รักษาอาการท้องเสีย
  • ใช้กล้วยน้ำว้าดิบๆ มาหั่นบางๆ ตากแดดให้แห้งและบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ใช้ผงกล้วยนี้ในปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ชงในน้ำร้อนปริมาณเท่ากัน เอามาดื่ม หรือใช้ผงกล้วยน้ำว้านี้ในปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ใส่ในถ้วยน้ำชา และเอาน้ำผึ้งผสม 1 ช้อนโต๊ะ แล้วดื่มแก้ท้องเสีย พบว่ากล้วยมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ที่เป็นสาเหตุอาการท้องเสีย และมีสารแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเสียได้
  • ใช้ยาที่ปั้นเป็นลูกกลอนแบบเดียวกันกับวิธีกินเพื่อรักษาโรคกระเพาะได้เหมือนกัน
    การใช้รักษาท้องผูก
    กินกล้วยน้ำว้าสุกงอม วันละ 2-4 ผล ช่วยแก้อาการท้องผูก เพราะมีเยื่อเพกตินช่วยหล่อลื่นอุจจาระและเพิ่มกากอาหาร
    ความเป็นพิษ: เนื่องจากสารซิโตอินโดไซด์ เป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ การใช้ในรูปสารสกัดในระยะยาวอาจมีผลเสีย แต่การใช้กล้วยรักษาอาการต่างๆ นั้นมีฤทธิ์น้อยกว่าสารสกัดเป็น 300 เท่า และรักษาเป็นครั้งเป็นคราว จึงใช้ได้อย่างปลอดภัย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(ข้อมูลจาก http://www.aroka108.com)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *