ปัญหาของเห็ดถุงกับการผลิตดอกเห็ด

ปัญหาของเห็ดถุง

ปัญหาของเห็ดถุง ปัญหาของเห็ดถุง เกิดขึ้นได้ไม่ยากเลย หากเกษตรกรหรือผู้ลงทุนละเลย ไม่ดูแลเอาใจใส่ตามที่ควรจะปฏิบัติ ในแง่ของธรรมชาติ เห็ด สามารถเจริญเติบโตได้เอง แต่เมื่อเรานำเห็ดมาเพาะ เห็ดจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องมีการดูแลรักษาเหมือนเห็ดที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ปัญหาของเห็ดถุง ไม่ได้มีเพียง โรคและปัญหาของการเพาะเห็ด, แมลงและศัตรูของเห็ด การป้องกัน การกำจัด ศัตรูเห็ด เท่านั้น ยังมีปัญหา และความเสียหายอื่นๆ ที่ทำให้เห็ดไม่สามารถผลิตดอกเห็ดออกมาได้ เกษตรกรและผู้ลงทุนควรศึกษา และตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิด พร้อมทั้งหาทางป้องกัน และแก้ไขให้ถูกวิธี เพื่อให้เห็ดผลิตดอกออกมาคุ้มค่ากับการลงทุน ปัญหาของเห็ดถุง ในการทำเชื้อเห็ด: 1. เชื้อเห็ดไม่เจริญ สาเหตุอาจเกิดจาก หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์ มีก๊าซแอมโมเนียเหลืออยู่ ความชื้นในขี้เลื่อยสูงเกินไป อากาศในห้องบ่มเย็นเกินไป เป็นต้น 2. เชื้อเห็ดเสียเนื่องจากมีเชื้ออื่นปนเปื้อน สาเหตุอาจเกิดจากอุณหภูมิของหม้อนึ่งต่ำเกินไป ผสมไม่ได้ที่ ถุงพลาสติก รั่ว มีรู อาจจะนำพาเชื้อโรคได้ หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น 3. เส้นใยเห็ดเดินแล้วหยุด หรือเดินเพียงบาง ๆ เนื่องจากขี้เลื่อยหมักไม่ได้ที่ ทำให้มีกลิ่นแอมโมเนียเหลืออยู่ มีสารที่เป็นพิษเจือติดอยู่ เช่น น้ำยางจากขี้เลื่อย น้ำมัน ผงซักฟอก อุณหภูมิในห้องบ่มต่ำเกินไป อาหารเสริมเปียกเกินไป หรือความชื้นในอาหารเสริมไม่สม่ำเสมอ […]

Read more

การเพาะเห็ดฟางต้นทุนต่ำกับวัสดุเพาะในท้องถิ่น

การเพาะเห็ดฟางต้นทุนต่ำ กับวัสดุเพาะในท้องถิ่น การเพาะเห็ดฟางต้นทุนต่ำ สามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมในปัจจุบันคือ การเลือกใช้วัสดุเพาะที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ก่อนนี้มีเพียงขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่ในปัจจุบันมีการนำวัสดุอื่นๆ มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ฝักถั่วเขียว ผักตบชวา ทะลายปาล์ม เป็นต้น วัสดุที่ยกตัวอย่างข้างต้น เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับเพาะเห็ดฟาง ส่วนวิธีการเพาะผู้ลงทุนหรือเกษตรกรสามารถเลือกเพาะแบบกองเตี้ย กองสูง ในโรงเรือน ในตะกร้า หรืออื่นๆ ได้ตามปัจจัยด้านการลงทุน ตามความเหมาะสมของพื้นที่ และความถนัด ซึ่งวิธีเพาะเห็ดฟางมีแนะนำขั้นตอนต่างๆ ในบทความ การเพาะเห็ดฟาง สำหรับมือใหม่, การเพาะเห็ดฟาง แบบโรงเรือน หรือเชิงธุรกิจ (ซึ่งรวมไปถึง วิธีการเพาะเชื้อเห็ดฟาง และเห็ดอื่นๆ ให้ได้ศึกษาหากต้องการขยายธุรกิจจากการผลิตดอกเห็ด ควบคู่ไปกับการเพาะเชื้อเพื่อเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ด) การเพาะเห็ดฟางต้นทุนต่ำ ด้วยเปลือกฝักถั่วเขียว วัสดุในการเพาะ 1. เชื้อเห็ดฟาง หมายถึง เส้นใยเห็ดฟางที่เจริญเติบโตในปุ๋ยหมักที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างดี แล้วสามารถที่จะนำไปเพาะได้เลย ควรเลือกซื้อเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพราคาไม่แพง นอกจากนี้ยังมีแผ่นไม้กดใช้สำหรับกดเปลือกถั่วเขียว เพื่อความสะดวกในการทำกองเพาะ โดยใช้ไม้แผ่นขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร และมีไม้สำหรับทำด้ามจับลักษณะคล้ายเกรียงฉาบปูน 2. เปลือกถั่วเขียว ควรเลือกเปลือกของฝักถั่วเขียวที่มีลักษณะป่นเล็กน้อยหลังจากนวดเอาเมล็ดออกแล้วและต้องแห้งไม่ถูกน้ำหรือฝนจนกว่าจะนำมาเพาะเห็ดฟาง 3. สถานที่ ควรเป็นที่ดอน […]

Read more

การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนหรือเชิงธุรกิจ

โรงเรือนเพาะเห็ดฟาง

การเพาะเห็ดฟาง แบบโรงเรือน เหมาะสำหรับผู้ที่มีความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ในการเพาะเห็ดมาก่อน เช่น เคยทดลองเพาะเพื่อบริโภคในครัวเรือน ซึ่งมีอยู่หลายวิธีให้เลือกทดลองเพาะตามที่เคย แนะนำไว้ใน การเพาะเห็ดฟาง สำหรับมือใหม่ ก่อนที่จะขยายการผลิตมาเป็น การเพาะเห็ดฟาง แบบโรงเรือน หรือเชิงธุรกิจนั้น เราลองมาศึกษาข้อดีข้อเสียของ การเพาะเห็ดฟาง แบบโรงเรือนกันก่อน ข้อดี 1. ให้ผลผลิตสูงและสม่ำเสมอ 2. สามารถใช้วัสดุที่มีราคาถูก ส่วนมากเป็นวัสดุที่เหลือใช้จากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เช่น ดินถั่วต่าง ๆ โดยใช้ดินถั่วเหลืองและถั่วลิสง ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวา ต้นกล้วยและชานอ้อย เป็นต้น 3. เพาะได้ทุกฤดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤดูหนาวหรือฤดูฝน วิธีนี้เหมาะสม เป็นอย่างมาก 4. เพาะได้ในพื้นที่จำกัดกล่าวคือ หลังจากเก็บผลผลิตหมดและเอาปุ๋ย เก่าออกไปแล้ว สามารถเพาะต่อในที่เดิมได้เลย ภายใน 1 เดือน จะเพาะได้ 2 ครั้ง 5. ใช้เวลาในการเพาะนับตั้งแต่เริ่มหมักปุ๋ย จนกระทั่งเก็บดอกใช้เวลาไม่ เกิน 15 วัน ซึ่งนับว่าใช้ระยะเวลาสั้นมาก 6. ปัญหาเรื่องแมลงศัตรูเห็ดมีน้อยกว่า เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย […]

Read more

โรคและปัญหาของการเพาะเห็ด

โรคและปัญหาของการเพาะเห็ด โรคและปัญหาที่พบทั่วไปของผู้ผลิตดอกเห็ดถุงหรือเห็ดฟางขาย คือ เชื้อราเขียว ราต่างๆ เข้ากินก้อนเชื้อ ถูกหนอนของแมลงรบกวน และการเกิดไรหลายชนิด กินเส้นใยเห็ด การเกิดแบคทีเรียสีสนิมทำลายโคนต้นเห็ด ปัญหา และโรคต่างๆ อาจเกิดจากความสะอาด กระบวนการเพาะ วัสดุที่นำมาใช้ในการเพาะ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก็จะทำให้มีพิษตกค้างในเห็ด เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ในปัจจุบันหลายได้มีการใช้จุลินทรีย์มาแก้ปัญหา ซึ่งนับว่าได้ผลและเสียค่าใช้จ่ายน้อย เช่น ใช้ไบโอบีทีชีวภาพ กำจัดหนอนของแมลง โรคและปัญหาที่สำคัญของการเพาะเห็ดฟาง 1. โรค ราเม็ดผักกาด โรคนี้มักเกิดกับกองเห็ดฟางที่ใช้ฟางเก่าเก็บค้างปี ตากแดดตากฝนมาก่อน ส่วนใหญ่ โรคราเม็ดผักกาดนี้มักเกิดกับการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ลักษณะที่สังเกตเห็นคือเส้นใยของเชื้อรามีลักษณะหนากว่าเส้นใยของเห็ดฟาง โรค จะเริ่มเกิดขึ้นได้ในวันที่ 3 หรือ 4ของการเพาะและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่อมาจะเกิดเส้นใยแผ่ขยายออกไป มีลักษณะเป็นวงกลม เมื่อเส้นใยมีอายุมากขึ้นจะสร้างส่วนขยายพันธุ์รูปร่างกลมมีสีขาวเมื่ออ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ ลักษณะคล้ายคลึงกับเมล็ดผักกาด จึงได้ชื่อว่า ราเม็ดผักกาด–ทำลายดอกเห็ดอ่อน ๆ ทำให้ดอกเห็ดอ่อนมีลักษณะนิ่มกว่าดอกปกติ 2. โรค ราเขียว โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา 3 ชนิด เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินหรืออยู่ในอากาศก็ได้ เมื่อดินหรือวัสดุเพาะมีความชื้น เชื้อราจะเริ่มเจริญขึ้นที่ดินและเจริญต่อไปถึงขี้ฝ้ายและฟางข้าว ราเขียวเป็นราประเภทสร้างสปอร์มากและมีขนาดเล็กปลิวได้ในอากาศ เชื้อราเขียวเหล่านี้เป็นเชื้อราแข่งขันหรือราคู่ของเชื้อเห็ดฟาง โรคนี้จะทำให้เห็ดฟางเจริญไม่ทัน นอกจากนี้โรคราเขียวยังทำลายดอกเห็ดอ่อน ๆ ด้วย […]

Read more

อาหารเสริมเลี้ยงสัตว์ด้วยโปรตีนจากไส้เดือนดินและวิธีการผลิต

โปรตีนจากไส้เดือน

ประโยชน์จากไส้เดือนดินนั้น ใช่ว่าจะนำมาย่อยสลายขยะอินทรีย์เพื่อผลิตปุ๋ยหมักเท่านั้น แต่โปรตีนจากไส้เดือนดินสามารถใช้เป็น อาหารเสริมเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะอุดมไปด้วยกรดอะมิโน และสารอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ หลายชนิดในเนื้อเยื่อของไส้เดือนดินเหมาะสมแก่การเลี้ยงสัตว์ ปลา กบ สัตว์ปีก สุกร หนู มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีมากหากนำไส้เดือนดินหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไส้เดือนดินมาเป็นอาหารเสริม แต่ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ส่วนใหญ่นำตัวไส้เดือนดินมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงกบ ปลาตู้ ไก่ชน และเป็นเหยื่อตกปลา ในขณะที่ ต่างประเทศมีการใช้ไส้เดือนดินผลิตเป็นอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม ในช่วงท้ายของบทความนี้ได้แนะนำวิธีการผลิตโปรตีนจากไส้เดือนดินไว้ด้วยนะคะ ศึกษาวิธีการและทดลองทำดูนะคะ ท่านผู้อ่านสามารถพัฒนาเป็นอาชีพเสริมได้ การใช้โปรตีนจากไส้เดือนดินเป็นโปรตีนเสริมเลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ ปลา การใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทเก้อร์ (หรือ อายซิเนีย ฟูทิดา-Eisenia Foetida), เรดเวิร์ม (หรือ ลัมบริคัส รูเบลลัส- Lumbricusrebellus) และอายซิเนีย ฟูทิดา อัลโลโบโพร่า ลองก้า (Eisenia Foetida Allobophora Longa) เลี้ยงปลาเทราท์ ปลานิล ปลาหลด ฯลฯ ได้ผลออกมาว่า ไส้เดือนดินมีศักยภาพเป็นอาหารเลี้ยงปลาได้โดยตรง หรือใช้เป็นส่วนผสมเพิ่มโปรตีนใน อาหารเสริมเลี้ยงสัตว์ สำหรับปลา ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ดี มีปริมาณไขมันเพิ่มขึ้น การทดลองใช้ไส้เดือนดินเป็นอาหาร ในการเพาะเลี้ยงปลาหลด (ผ.ศ. หทัยรัตน์ เสาวกุล หัวหน้าคณะวิชาประมง […]

Read more

การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน และปัญหาจากการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่เหมาะสำหรับการทำปุ๋ยหมัก      จะเป็นกลุ่มไส้เดือนดินแดง เพราะไส้เดือนดินกลุ่มนี้สามารถอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของอินทรียวัตถุสูง และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ส่วนไส้เดือนดินกลุ่มสีเทานั้น ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ย เพราะไม่สามารถผลิตอินทรียวัตถุในปริมาณมากได้ และมีการขยายพันธุ์ในอัตราที่ต่ำ การย่อยสลายอินทรียวัตถุที่เป็นของเสีย การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่เหมาะสำหรับการทำปุ๋ยหมัก      จะเป็นกลุ่มไส้เดือนดินแดง เพราะไส้เดือนดินกลุ่มนี้สามารถอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นของอินทรียวัตถุสูง และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ส่วนไส้เดือนดินกลุ่มสีเทานั้น ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ย เพราะไม่สามารถผลิตอินทรียวัตถุในปริมาณมากได้ และมีการขยายพันธุ์ในอัตราที่ต่ำ การย่อยสลายอินทรียวัตถุที่เป็นของเสีย ไส้เดือนดินจะกินจุลินทรีย์ที่เติบโตบนของเสียเป็นอาหาร และขณะเดียวกันก็ช่วยเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ มูลไส้เดือนดินจึงร่วนไม่เกาะตัว และมีจำนวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นกว่าที่กินเข้าไป ขบวนการย่อยอาหารของไส้เดือนดินจึงเป็นพื้นฐานของขบวนการทำปุ๋ยหมัก ไส้เดือนดินที่นำมาใช้ได้ผลสำเร็จมีไม่กี่สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ไทเก้อร์, เรด ไทเก้อร์, แอฟฟริกัน ครอว์เล่อร์ เป็นต้น วิธีการใช้ปุ๋ยหมักไส้เดือนดิน กับวัสดุปลูกพืชในกระถาง-แปลงปลูก วิธีที่ 1 ดินดำ 3 ส่วน ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 1 ส่วน วิธีที่ 2 ดินร่วนปนทราย 1 ส่วน ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 1 ส่วน วิธีที่ 3 ดินดำ 3 ส่วน […]

Read more

การดูแลไส้เดือนดินในการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

การดูแลไส้เดือน

การดูแลไส้เดือนดิน ในการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ผู้เลี้ยงควรศึกษา เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง การดูแลไส้เดือนดิน ไม่ใช่แค่เพียงควบคุมความชื้น อุณหภูมิ ป้องกันแสงแดด และฝน เท่านั้น การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ยังต้องดูแลในเรื่องของ ศัตรู และปัญหาของไส้เดือนดินด้วย ศัตรูจากธรรมชาติ การป้องกันศัตรูไส้เดือนดินขั้นต้น ป้องกันโดยใช้วัสดุ เช่น ตาข่าย ปิดให้มิดชิดเพื่อป้องกัน ตัวอย่างศัตรูไส้เดือนดิน สัตว์ปีก นก ที่กินไส้เดือนเป็นอาหาร เช่น นกสีดำ นกสตาร์ลิ่ง นกกระสา นกนางนวล นกกินหนอน นกโรบิ้น ซึ่งเป็นนกขนาดเล็ก มีขนสีแดงตรงหน้าอก เป็นต้น เป็ด และไก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เม่น ตัวตุ่น หมาจิ้งจอก และสุกร สัตว์เลื้อยคลาน อย่างเช่น งู จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งกือ ตะเข็บ สัตว์ครึ่งน้ำ ครึ่งบก เช่น กบ คางคก สัตว์พันธุ์แทะ เช่น หนู สัตว์อื่นๆ เช่น ไรแดง […]

Read more

การเพาะเห็ดถุง

การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ดถุง ทำได้กับเห็ดเกือบทุกสายพันธุ์ นอกจากจะเป็นการเพาะเพื่อจำหน่ายดอกเห็ดแล้ว ยังสามารถจำหน่ายเชื้อเห็ดถุงได้อีกด้วย วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ การเพาะเห็ดถุง 1. วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื้อยไม้ยางพารา ไม้เบญจพรรณ ชานอ้อย อาหารเสริม 2. แม่เชื้อเห็ด ชนิดที่ต้องการ 3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 1/2 x12 1/2 นิ้ว หรือ 8×12 นิ้ว 4. คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว 5. สำลี, ยางรัด, จุกสำเร็จ 6. ถังนึ่งไม่อัดความดัน 7. โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย และโรงเปิดดอกแยกกัน การผลิตเชื้อวุ้นสำหรับ การเพาะเห็ดถุง สูตรอาหารวุ้น พี.ดี.เอ. ในการเตรียมอาหารวุ้นจำนวน ๑ ลิตร จะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ – มันฝรั่ง 200-300 กรัม – น้ำตาลเด๊กโทรสหรือกูโคส 20 กรัม – วุ้น 15 […]

Read more

การทำปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมัก

เริ่มต้น การทำปุ๋ยหมัก โดยเลือกสถานที่ที่เหมาะสม : อยู่ใกล้กับแหล่งวัสดุให้มากที่สุดเพื่อความสะดวกในการขนย้าย อยู่ใกล้แหล่งน้ำใช้ แต่ไม่อยู่ใกล้แหล่งน้ำดื่ม เป็นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง เตรียมวัสดุ การทำปุ๋ยหมัก ให้พร้อม ตามรายการเหล่านี้ : ซาก เศษวัสดุที่ทำเป็นชิ้นเล็กๆ แล้ว มูลสัตว์ หรือปุ๋ยคอก ช่วยย่อยสลาย ปุ๋ยเคมี เพิ่มธาตุอาหาร และช่วยย่อยสลาย ปูนขาว ประมาณ 20 กิโลกรัม ต่อซากพืชแห้ง 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม ช่วยปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น พลั่ว, ไม้หรืออุปกรณ์ทำคอก( ในกรณีที่ กองในคอก ) ก่อนลงมือทำปุ๋ยหมัก ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ : เศษวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก ไม่ควรใช้เศษวัสดุที่สลายตัวเร็วและสลายตัวช้าปนไว้ในกองเดียวกัน ปุ๋ยหมักที่ได้ไม่สม่ำเสมอ เศษวัสดุที่สลายตัวช้า เช่น แกลบ ขี้เลื่อย รำ กากอ้อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด ปนกองเดียวกันได้ ส่วนเศษวัสดุที่สลายตัวเร็ว เช่น ฟางข้าว […]

Read more

การขยายพันธุ์มะม่วง

ขยายพันธุ์มะม่วง

การขยายพันธุ์มะม่วง มะม่วง—ผลไม้ฤดูร้อน—เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง พบได้ทุกพื้นที่ในทุกภาคของประเทศไทย มะม่วงเกิดมาบนโลกตั้งแต่ 25-30 ล้านปีก่อน โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และ พม่า แม้จะเกิดมานานแล้ว แต่กว่าจะแพร่พันธุ์ไปทั่วโลก กลับใช้เวลานานกว่าพืชชนิดอื่นๆ เพราะมีอุปสรรคอยู่ที่ขนาดเมล็ด และความหนาของเปลือกเมล็ดนั่นเอง ในปัจจุบัน มีการพัฒนาวิธีขยายพันธุ์มะม่วงให้ได้ผลเร็ว คุณภาพดี ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก ว่าต้องการปลูกไว้รับประทานผลในครัวเรือน หรือเป็นการค้า ซึ่งการปลูกมะม่วงแบบเป็นการค้า ก็ทำได้ทั้งการค้าพันธุ์มะม่วง และผลผลิตของมะม่วง เพราะฉะนั้น ผู้ปลูกจะต้องเลือกวิธี การขยายพันธุ์มะม่วง ให้เหมาะสม การขยายพันธุ์มะม่วง การขยายพันธุ์มะม่วง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอน การติดตา และการทาบกิ่ง เป็นต้น 1. การเพาะเมล็ด การเพาะเมล็ดเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้กันมานาน ข้อดี ของการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดคือ ทำได้ง่าย ได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ต้นมะม่วงที่ได้จากการเพาะเมล็ด ต้นจะใหญ่ อายุยืนนาน เพราะมีระบบรากที่แข็งแรง ส่วน ข้อเสีย คือ ออกดอกออกผลช้ากว่าการขยายพันธุ์ด้วยการติดตา การตอน หรือการทาบกิ่ง และต้นมะม่วงที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น อาจกลายพันธุ์ ไม่ตรงตามพันธุ์เดิมก็ได้ ซึ่งอาจดีกว่าหรือเลวกว่าพันธุ์เดิม กลายเป็นพันธุ์ใหม่ไป […]

Read more
1 2