กล้วยไม้

กล้วยไม้ เป็นไม้ดอกที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างดี ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ และให้ประโยชน์กับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน ไม่เพียงได้ประโยชน์ทางสายตา จากสีสันและความสวยงามของกล้วยไม้เท่านั้น ประโยชน์ของกล้วยไม้ กล้วยไม้กับชีวิตประจำวัน ใช้ประดับตกแต่ง อาคาร สถานที่ ให้สวยงาม หรูหรา ใช้ไหว้พระ หรือใช้ในการทำบุญตักบาตร เพื่อแสดงความเคารพ ศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา ใช้เป็นสารปรุงแต่งรส และกลิ่นอาหาร ของหวาน เครื่องดื่ม ใช้ทำสารสกัดเป็นส่วนผสมของยา ใช้ทำสารสกัดทำเครื่องหอม กล้วยไม้กับศาสตร์ความเชื่อ ความศรัทธา ที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในงานพิธี งานเทศกาล งานประเพณีต่างๆ กล้วยไม้กับศาสตร์ฮวงจุ้ย ใช้เป็นพันธุ์ไม้ตามหลักฮวงจุ้ย ซึ่งเชื่อว่า กล้วยไม้เป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง อดทน และแข็งแกร่ง เก็บมาฝาก…..สำหรับการปลูกกล้วยไม้ไว้ในบริเวณบ้าน ผู้ที่เกิดวันเสาร์ ช่วยเสริมโชคลาภ นำความเจริญมาให้ผู้อยู่อาศัย ช่วยให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง ผู้ที่เกิดราศีกรกฎ ปลูกกล้วยไม้ช่วยเสริมพลังชีวิต ให้ความรู้สึกอ่อนโยน ผู้ที่เกิดราศีสิงห์ กล้วยไม้ช่วยเสริมพลังชีวิต เสริมบารมี หากผู้อ่านท่านใด สนใจปลูกกล้วยไม้ไว้ใช้ประโยชน์ภายในบ้าน หรือเพื่อการค้า อย่าพลาดบทความที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้ในด้านอื่นๆ นะคะ ผู้เขียนตั้งใจนำเสนอข้อมูลที่มีประโยชน์ ขั้นตอนง่ายๆ และเคล็ดลับต่างๆ สำหรับการปลูกกล้วยไม้ไว้ให้ได้ศึกษา และทดลองปฏิบัติกัน สำหรับท่านที่เคยซื้อกล้วยไม้มาปลูกที่บ้าน แล้วไม่สวย ไม่ออกดอก เหมือนตอนอยู่ที่ร้าน […]

Read more

มือใหม่หัดปลูกกล้วยไม้

มือใหม่หัดปลูกกล้วยไม้

วิธีปลูกกล้วยไม้ สำหรับมือใหม่หัดปลูก ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยากอะไร ก่อนปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เราควรศึกษาประเภท สายพันธุ์ การนำไปใช้ประโยชน์ ให้ดีเสียก่อน เรียกว่ารู้หน้าแล้ว ต้องรู้ใจด้วย เพราะกล้วยไม้แต่ละชนิด มีความต้องการต่างกัน นอกจากภาชนะ และเครื่องปลูกแล้ว วิธีการปลูกยังเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสม กล้วยไม้ก็เจริญงอกงามได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ละขั้นตอนในการปลูกกล้วยไม้นั้น ต้องพิถีพิถันเป็นอย่างดี วิธีปลูกกล้วยไม้ แบ่งตามลักษณะของต้นพันธุ์ ได้ 5 แบบ ดังนี้ การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่ การปลูกกล้วยไม้ในกระเช้า การปลูกกล้วยไม้ต้นใหญ่ การปลูกกล้วยไม้ฟาแลนอปซีส มาดู วิธีปลูกกล้วยไม้ แต่ละแบบกันค่ะ….. การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก ล้างลูกกล้วยไม้ ก่อนปลูก นำลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ออกจากขวดเพาะ แล้วล้างเศษวุ้นอาหารให้หมด จุ่มลูกกล้วยไม้ลงในน้ำยานาตริฟิน ในอัตราส่วน น้ำยา 1 ส่วน ต่อ น้ำสะอาด 2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง ในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถาง 1 นิ้ว วิธีปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก ปลูกในกระถาง 1 […]

Read more

การปลูกกล้วยไม้ลงดิน

การปลูกกล้วยไม้ลงดิน

การปลูกกล้วยไม้ลงดิน แนะนำกล้วยไม้ดินสกุลสปาโตกลอสติส (Spathoglottis) หรือ กล้วยไม้ดินใบหมาก เนื่องจากเป็นที่นิยมปลูกเลี้ยงกันอย่าง แพร่หลาย หาซื้อต้นพันธุ์ได้งาย พบได้ทุกภาคของประเทศไทย กล้วยไม้สกุลสปาโตกลอสติสนี้ ปกติเราเรียกว่า ‘กล้วยไม้ดิน’ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงสกุลหนึ่งของกล้วยไม้ดินเท่านั้น ยังมีกล้วยไม้ดิน สกุลอื่นอีกหลายชนิด ลักษณะของกล้วยไม้ดิน สปาโตกลอสติส ดอก เหมือนกล้วยไม้ทั่วไป คือ มีกลีบเลี้ยง กลีบดอก เส้าเกสร เท่ากันกับกล้วยไม้สายพันธุ์อื่น ออกดอกเป็นกลุ่มที่ปลายช่อ ออกดอกได้ทั้งปี ดอกบานติดต่อกันได้นานตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป แล้วแต่ชนิดพันธุ์ แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ดินป่า จะออกดอกปีละครั้ง ช่อดอก แทงออกมาจากหน่อๆ ละ 1 ถึง 3 ช่อ แต่กล้วยไม้สายพันธุ์รากอากาศจะแทงช่อออกจากลำต้น ใบ จะเหมือนใบหมาก หรือใบต้นอ่อนของปาล์ม จึงมีชื่อเรียกง่ายๆ ไทยๆ ว่า ‘กล้วยไม้ดินใบหมาก’ ลำต้น เป็นกอ หน่อ ใช้ในการขยายพันธุ์ได้ง่าย ประเภทของกล้วยไม้ดินใบหมาก แบ่งได้ง่ายตามขนาดความสูงของลำต้น พันธุ์สูง-ต้นสูงได้ตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป (แต่ผู้เขียนเคยเห็นที่เป็นกอใหญ่ แล้วดูรกๆ เลยชอบ พันธุ์กลาง กับพันธุ์แคระมากกว่า-เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ) […]

Read more

การปลูกกล้วยไม้

การปลูกกล้วยไม้

การปลูกกล้วยไม้ ในประเทศไทย มีกล้วยไม้ป่าอยู่ในธรรมชาติ ตามต้นไม้ ซอกเขา พื้นดิน ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ด้วยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงามของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตนั้น เริ่มจากการที่ชาวชนบทนำกล้วยไม้จากป่ามาปลูกเลี้ยงด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ ขยับเข้าสู่สังคมเจ้านายชั้นสูงและบรรดาข้าราชการที่ใกล้ชิด เลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรก กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีอันจะกินในสมัยก่อน เลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำกัดอยู่ในวงแคบ นิยมปลูกเลี้ยงกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยนั้น นิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ที่หายากและมีราคาแพง การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. 2493 ได้มีการวิจัย ฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ชมรมกล้วยไม้ เผยแพร่ความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการกล้วยไม้ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ ผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ และเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้น ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวงแคบ มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ รวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ในประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่นำเข้า วงการกล้วยไม้ของไทยได้ตั้งเป้าหมายยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และประสบผลสำเร็จจนประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกกล้วยไม้เขตร้อนอันดับ 1 ของโลก เกษตรกรหลายท่าน ได้ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มาจากอาชีพอื่น และประสบผลสำเร็จอย่างมาก ตลาดกล้วยไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังคงมีความต้องการกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เพราะฉะนั้น…การเริ่มต้นเป็นเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ยังไม่มีคำว่าสายเกินไป หลังจากได้แนะนำให้ ผู้ปลูกกล้วยไม้มือใหม่ได้รู้จักประเภท ของกล้วยไม้ ในบทความ กล้วยไม้ และรู้จักสายพันธุ์ จากบทความ สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม ไปแล้ว ท่านผู้อ่านคงมีตัวเลือกอยู่ในใจ ว่าจะปลูกสายพันธุ์ไหน […]

Read more

กล้วยไม้พารวยด้วยการส่งออกกล้วยไม้

กล้วยไม้พารวยด้วยการส่งออกกล้วยไม้

กล้วยไม้พารวย ด้วย การส่งออกกล้วยไม้ ซึ่ง ถ้าพูดกันตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้แค่พารวย แต่รวยเงินล้านกันเลยทีเดียว สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ส่งออก การส่งออกกล้วยไม้ ในขั้นตอนเริ่มต้นนั้นอาจจะต้องดำเนินการหลายขั้นตอน แต่ทุกอย่าง ยากตอนเริ่มต้นเท่านั้น และถ้านึกถึงผลกำไรที่คุ้มทุน สร้างความร่ำรวย มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน…ก็ไม่มีอะไรมาเป็นอุปสรรคได้ สิ่งสำคัญสำหรับ การส่งออกกล้วยไม้ 1.หน่วยงานราชการ ผู้ส่งออกต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากหน่วยงานราชการ เพื่อให้ได้รับความถูกต้องในทุกขั้นตอนการส่งออก, เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนในทุกๆ ด้านที่จำเป็น, เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องในการส่งออก ได้เรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาการปลูกกล้วยไม้, และเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกเป็นต้นไป หน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงด้านการส่งออก คือ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง และหน่วยที่เกี่ยวกับการค้าต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ 2.ตลาด หรือ ประเทศผู้นำเข้า ต้องทราบความต้องการของตลาด คุณภาพของสินค้าที่ต้องการ เช่น สี สายพันธุ์ วัตถุประสงค์ในการใช้ และกฎระเบียบที่ควบคุมสินค้าประเภทนี้ การส่งออกกล้วยไม้ มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ 1.การจัดเตรียมกล้วยไม้เพื่อการส่งออก กล้วยไม้ที่เพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออก จะมีขั้นตอนหลังตัดดอกจนถึงบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากกล้วยไม้ที่ขายในประเทศ ผู้ส่งออกควรให้ความสำคัญตั้งแต่ การปฏิบัติตามขั้นตอนการปลูกและการกำจัดโรคและแมลง ( ให้ได้มาตรฐานการส่งออก ), การเก็บเกี่ยว, การคัดเลือกจัดเกรดกล้วยไม้, การเคลื่อนย้ายกล้วยไม้จากสวนมายังสถานที่บรรจุหีบห่อ, […]

Read more

การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก

การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก

การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยการปฏิบัติ ไม่ว่าจะปลูกเพื่อประดับบ้าน ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน หรือจำหน่าย การปลูกกล้วยไม้ มีการลงทุนค่อนข้างสูง แต่สามารถสร้างผลกำไรที่คุ้มค่าแก่การลงทุน หากเกษตรกรมีการปฏิบัติตามขั้นตอน การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก อย่างสม่ำเสมอ การดูแลกล้วยไม้หลังปลูก มีดังนี้ การให้น้ำ การให้น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้มาก ช่วยละลายสารอาหารต่างๆ ให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่าพีเอช pH ประมาณ 6.5 หากต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ ( การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ) การแก้ไขปัญหาความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ น้ำที่มีค่าพีเอช pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่ม หรือโอ่งไว้ แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับพีเอช pH จนกระทั่งน้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 6 ถึง 7 น้ำที่มีค่าพีเอช […]

Read more

โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้

โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้

โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ เป็นทั้งปัญหาที่สำคัญ และขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลกล้วยไม้หลังการปลูก โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรคและแมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และขยายพันธุ์รวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้ จะทำการป้องกันและกำจัดได้ยาก ทั้งยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง โรคกล้วยไม้ ที่พบมีดังนี้ โรคเน่าดำหรือยอดเน่า โรคเน่าดำหรือยอดเน่า หรือ โรคเน่าเข้าไส้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูง ลักษณะอาการ ทำลายได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ ส่วนราก รากจะเน่าแห้ง มีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุด ส่วนยอด ทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย ขั้นรุนแรง เชื้อราจะเข้าไปในลำต้น ถ้าผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้น การป้องกันและกำจัด ปรับสภาพเรือนกล้วยไม้ให้โปร่ง ไม่มีกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป หากพบการแพร่ระบาดในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ถ้ากล้วยไม้ที่โตแล้วควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกจนถึงเนื้อดี แล้วใช้ยาฉีดพ่น ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดที่สามารถป้องกันเชื้อราโรคนี้โดยตรง เช่น ไดโพลาแทน, ริโดมิล, เทอราโซล สำหรับการใช้ยาประเภทดูดซึมมีข้อควรระวัง คือ อย่าให้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยา ควรผสมกับยาชนิดอื่น เช่น แมนโคเซป หรือใช้ยาสูตรที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ริไดมิล เอ็มแซด หรือใช้สลับกันระหว่างยาดูดซึมจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะสารเคมีแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อราได้แตกต่างกัน โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา […]

Read more

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยตนเอง

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยตนเอง

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยตนเอง เป็นการเพิ่มปริมาณกล้วยไม้ ช่วยบำรุงและปรับสภาพให้กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงไว้นานหรือมีขนาดกอใหญ่ และสภาพทรุดโทรมให้กลับมามีสภาพที่ดี และเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ทั้งยังเป็นการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้ให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ที่ดี และหลากหลาย นอกจากนี้ ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจในการจำหน่ายต้นพันธุ์ หรือจำหน่ายในลักษณะของไม้กระถาง สร้างรายได้เพิ่มขึ้นมา ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้หลายราย มีรายได้หลักล้านต่อปีจากการจำหน่ายต้นพันธุ์ ทำไมผู้เขียนจึงเน้นให้ทำ การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ด้วยตนเอง หากเกษตรกรผู้ปลูก หรือ ถึงแม้จะเป็นมือใหม่ ก็สามารถทำเองได้ไม่ยาก การขยายพันธุ์ด้วยตนเองนั้น เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ศึกษาขั้นตอนและทดลองทำดูนะคะ การขยายพันธุ์กล้วยไม้แบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ 1.การขยายพันธุ์แบบไม่ผสมเกสร – เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก แต่ได้จำนวนน้อย เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับกล้วยไม้ที่มีคุณลักษณะดี สวย เหมาะเป็นกล้วยไม้เพื่อการตัดดอก การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้ต้นใหม่ที่มีสายพันธุ์เหมือนต้นพันธุ์เดิม โดยนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้วยไม้ (ที่ไม่ได้มาจากการผสมเกสร ) ไปขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยไม่มีการผสมเกสรแบ่งวิธีการขยายพันธุ์ตามลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ดังนี้ การตัดแยกกล้วยไม้ประเภทแตกกอ กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตประเภทแตกกอ เช่น หวาย แคทลียา เมื่อหน่อหรือลูกกล้วยไม้ผลิดอกและต้นโรย กล้วยไม้จะแตกหน่อใหม่ออกมาแทน ทำให้กอแน่นขึ้น หากปล่อยไว้จะทำให้กอแน่นเกินไป กล้วยไม้อาจทรุดโทรมเพราะมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ ควรตัดแยกหน่อไปปลูกใหม่ ซึ่งได้ประโยชน์ถึง 2 ทาง คือ ได้กล้วยไม้เพิ่มขึ้นและทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามดี ควรทำในช่วงต้นฤดูร้อนซึ่งเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตดีและแตกหน่อใหม่ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม […]

Read more

สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม

สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม

สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม มีทั้งสายพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศ นำเข้าจากต่างประเทศ และผสมขึ้นมาใหม่ ทำให้กล้วยไม้จากประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก สายพันธุ์กล้วยไม้ยอดนิยม ในประเทศไทย มีดังนี้ แคทลียา เรียกว่าเป็นราชินีแห่งกล้วยไม้ก็คงไม่ผิดนัก ดอกของแคทลียามีรูปทรงเฉพาะตัวขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม บางสายพันธุ์ยังมีกลิ่นหอมชวนหลงใหลอีกด้วย เจริญเติบโตได้ดีในแถบภูมิอากาศร้อน จึงเหมาะกับการนำมาปลูกในประเทศเรามากที่สุด รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต (ภาษามาเลเซีย หมายถึงรองเท้าของสตรี) กลีบดอก หรือที่เรียกว่า ‘กระเป๋า’ มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึงรองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้น หรือ ไรโซม หรือ เหง้า ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น ราก ออกเป็นกระจุกที่โคนต้น ทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่ จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า […]

Read more