การป้องกันและแก้ไขโรคและแมลงศัตรูคะน้าใบหยิก

การป้องกันโรคคะน้า

การป้องกันและแก้ไข โรคและแมลงศัตรูคะน้าใบหยิก เป็นขั้นตอนที่ต้องปลอดสารเคมี เพื่อผลกำไรจากการจำหน่ายในประเทศ และส่งออก และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหา โรคและแมลงศัตรูคะน้าใบหยิก คะน้าใบหยิก เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับคะน้าทั่วไป ดังนั้น โรคและแมลงศัตรูของคะน้าใบหยิก จึงอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่ถ้าเกษตรกรเลือกปลูกคะน้าใบหยิกในโรงเรือน การจัดการดูแลรักษาหลังการปลูกก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โอกาสเกิดโรคและแมลงศัตรูมารบกวนก็แทบจะไม่มี ซึ่งก่อนที่เกษตรกรจะตัดสินใจปลูกคะน้าใบหยิกนี้ ควรตัดสินใจด้วยว่า จะทำการเพาะปลูกในลักษณะไหน ที่เหมาะสมกับปัจจัยต่างๆ ในการปลูกคะน้าใบหยิก โรคและศัตรูคะน้าใบหยิก โรคคะน้าใบหยิก โรคราน้ำค้าง เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อสภาพอากาศมีความชื้น เชื้อราจะขึ้นกระจายเต็มใบ ใบเหลือง และร่วงหรือแห้ง ในเวลาที่อากาศไม่ชื้นจะไม่พบผงแป้งและแผลแห้งเป็นสีเทาดำ โรคนี้ระบาดได้ทั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้าจนเจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งจะทำความเสียหายมากเพราะทำให้ใบเสียมากและเจริญเติบโตช้า โรคนี้ไม่ทำให้ต้นคะน้าใบหยิกตาย แต่ทำให้น้ำหนักลดลง เพราะต้องตัดใบที่เป็นโรคทิ้ง ทำให้ได้น้ำหนักน้อยลง การป้องกันและแก้ไข แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกในน้ำอุ่นประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 15-20 นาที เมื่อพบอาการในลักษณะดังกล่าวให้ใช้ปูนขาวในการยับยั้งเชื้อราโดยใช้ปูนขาว 1 กำมือผสมน้ำ 20 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งไว้ประมาณ 10 ถึง 15 นาที แล้วเอาเฉพาะน้ำปูนใส 20 ลิตรผสมกับน้ำเปล่า 100 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 ถึง […]

Read more

การดูแลมะม่วงหิมพานต์หลังการปลูกและการแปรรูป

การดูแลมะม่วงหิมพานต์หลังการปลูก

การดูแลมะม่วงหิมพานต์ หลังการปลูก และการแปรรูป เป็นขั้นตอนสำคัญในการปลูกมะม่วงหิมพานต์ ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพสร้างผลกำไรได้มากน้อยขนาดไหน ขึ้นอยูกับ การดูแลมะม่วงหิมพานต์ หลังการปลูก และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว การแปรรูป และการจำหน่าย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ตามมา จากบทความ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่ผู้เขียนได้นำเสนอวิธีการปลูกมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็นพืชที่ลงทุนต่ำ ทนทานต่อสภาวะอากาศที่แห้งแล้งได้ ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว และผลผลิตยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ในบทความนี้ เรามาศึกษาขั้นตอนการดูแล, เทคนิคต่างๆ และการแปรรูป กันนะคะ การดูแลมะม่วงหิมพานต์ หลังการปลูก การให้น้ำ ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่อายุไม่เกิน 1 ปี ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงควรมีการรดน้ำบ้าง เพื่อช่วยต้นมะม่วงหิมพานต์ให้มีชีวิตผ่านพ้นไปจนสามารถดำรงชีวิตได้เอง การให้ปุ๋ย กำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ย รดน้ำให้ดินมีความชื้นก่อนการใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยไม่จำกัดจำนวนที่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ระยะ 6 เดือนแรก หลังปลูก เมื่อต้นมะม่วงหิมพานต์ตั้งตัวได้ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก สลับช่วงกับการใส่ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน ครั้งที่ 2 ใส่ประมาณปลายเดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม มะม่วงหิมพานต์ที่มีอายุประมาณ 3 ถึง 4 […]

Read more

ปัญหาในการปลูกมะม่วงหิมพานต์

ปัญหาในการปลูกมะม่วงหิมพานต์

ปัญหาในการปลูกมะม่วงหิมพานต์ และ การป้องกันและแก้ไข โรคและแมลงศัตรูมะม่วงหิมพานต์ เป็นหนึ่งในขั้นตอนการดูแลมะม่วงหิมพานต์ หลังการปลูก โดยเฉพาะ โรคและแมลงศัตรูมะม่วงหิมพานต์ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล หากผู้ปลูกหรือเกษตรกร ไม่เอาใจใส่ดูแลอย่างสม่ำเสมอ การปลูกมะม่วงหิมพานต์นั้น เป็นเรื่องง่ายก็จริง แต่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาในการปลูก แต่สิ่งที่พึงกระทำ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น คือ รีบดำเนินการแก้ไขในทันที เพื่อป้องการความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาต่างๆ ปัญหาในการปลูกมะม่วงหิมพานต์ที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนพันธุ์ดี ไม่มีการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งในแง่การใส่ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งกิ่ง การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ต้นมะม่วงหิมพานต์มีอายุมาก และเสื่อมโทรม ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ เมล็ดเล็ก และไม่มีคุณภาพ รวมทั้งสารอัลฟาท็อกซินในผลผลิต   ปัญหาสารอัลฟ่าท็อกซินในเม็ดมะม่วงหิมพานต์ สารอัลฟ่าท็อกซิน ไม่ได้เกิดขึ้นและเป็นปัญหาเฉพาะกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์เท่านั้น แต่สามารถพบได้ในอาหารแห้ง และอาหารชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดได้เช่นกัน ผู้ที่ได้รับอัลฟ่าท็อกซิน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการในระยะแรก ๆ แต่จะแสดงอาการเมื่อเกิดการเรื้อรังแล้ว คือ กินอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อราแล้วเชื้อรานั้นสร้างสารอัลฟ่าท็อกซิน ทำให้เกิดการอักเสบของตับแบบเรื้อรัง เกิดภาวะตับแข็ง ก่อเกิดมะเร็งตับ และอาจมีผลเสียต่ออวัยวะภายใน เช่น ระบบไต หัวใจ การป้องกันสารอัลฟ่าท็อกซิน สำหรับผู้บริโภค เลือกซื้ออาหารหรือวัตถุดิบแห้งที่อยู่ในสภาพใหม่ บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ไม่มีเชื้อรา […]

Read more

การดูแลคะน้าใบหยิกหลังการปลูก

การดูแลคะน้าใบหยิกหลังการปลูก

การดูแลคะน้าใบหยิก หลังการปลูก เป็นขั้นตอนที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ปลูกหรือเกษตรกรมีผลกำไรเพิ่มขึ้น จากผลผลิตที่ดี มีคุณภาพสูงตลาดคะน้าใบหยิก ในปัจจุบันเป็นตลาดเพื่อคนรักสุขภาพ และตลาดส่งออก เพราะฉะนั้น ขั้นตอนการดูแลควรเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ขั้นตอน การดูแลคะน้าใบหยิก การให้น้ำ ควรติดตั้งระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์แบบหัวพ่นฝอย ที่สามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก ระยะห่างระหว่างหัวๆ ละ 4 เมตรตลอดระยะแนวปลูก ให้น้ำวันละ 2 รอบ เช้าและเย็น เป็นเวลา 5 ถึง 10 นาที ***ในช่วงที่อากาศร้อน หรือฝนแล้ง ให้สังเกตความชื้นของดิน หากดินแห้ง ความขยายเวลาในการให้น้ำเพิ่มขึ้น แต่อย่าให้น้ำท่วมขัง*** ***การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง คะน้าใบหยิกจะเจริญเติบโตได้ดี มีเส้นใยไม่มากเกินไป รสชาติอร่อย*** การให้ปุ๋ย คะน้าใบหยิกเป็นผักกินใบ ในระยะแรกจึงต้องการปุ๋ยไนโตรเจน ค่อนข้างสูง ครั้งแรก 7 วัน หลังปลูก ใส่ปุ๋ยบริเวณลำต้น ใช้สูตร 46 – 0 – 0 หรือ 21 – 0 – 0 อัตรา […]

Read more

คะน้าใบหยิก

คะน้าใบหยิก

คะน้าใบหยิก คะน้าใบหยิก เป็นผักในตระกูลเดียวกับ คะน้า กะหล่ำ และบร็อคคอรี่ แตกต่างกันที่ คุณค่าทางอาหาร คะน้าใบหยิก ได้รับการขนานนามว่าเป็น ราชินีแห่งผัก หรือ Queen of Green เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูงที่สุดในโลก ซึ่งในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอังกฤษ เป็นที่รู้จักและนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ที่พบเห็นทั่วไปจะมีใบสีเขียว สีม่วง หรือสีม่วงแดง ประโยชน์ของ คะน้าใบหยิกสีเขียว เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ชะลอความแก่ ลดภาวะเป็นพิษและเสริมสร้างคอลลาเจนให้แก่ร่างกาย เนื่องจากมี เบต้าแคโรทีน และโปรตีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ ที่สำคัญที่สุดคือ มีใยอาหารสูงมาก ช่วยในการย่อยและดูดซับสารอาหาร และสารเคมีต่างๆ ทำให้ระดับคอเรสเตอรอล และไขมันในเส้นเลือดลดลง มีวิตามิน บี2 และแร่ธาตุหลายชนิด ที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมสมดุลกรดเบสในกระแสเลือด มีแคลเซียมสูงกว่านม เสริมสร้างกระดูก และฟัน ให้แข็งแรง แต่ไม่เพิ่มน้ำหนักตัว แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง ที่มีอยู่ในผักตระกูลนี้ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง มีสาร Sulforaphane ซึ่งมีคุณสมบัติต้านเซลล์มะเร็ง มีธาตุเหล็กสูงมาก ธาตุเหล็กจะบำรุงเลือดและตับได้เป็นอย่างดี มีวิตามิน ซี สูงกว่าผักใบอื่นๆ และมีวิตามิน […]

Read more

เม็ดมะม่วงหิมพานต์

เม็ดมะม่วงหิมพานต์

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยังคงมีความอร่อย และราคาสูง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ประโยชน์ และรสชาติความมันของ เม็ดมะม่วงหิมพานต์นั้น คุ้มค่า คุ้มราคาจริงๆ เมื่อเรานำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มาอบ หรือทอดเป็นของขบเคี้ยว ความมันที่ได้ลิ้มรส ทำให้พากันคิดว่า เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับถั่ว ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ มะม่วงหิมพานต์ มะม่วงหิมพานต์ หรือ Cashew nut เป็นไม้ดอกยืนต้น กลุ่มเดียวกับมะม่วง และถั่วพิสตาชีโอ มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล นำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นพืชที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง ประกอบด้วยโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันที่ส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (เมื่อบริโภคเข้าไปจะไม่เพิ่มไขมันในเส้นเลือด) คาร์โบไฮเดรต วิตามินเอ, บี, อี และเกลือแร่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้น มีความสูง 10 ถึง 12 เมตร ต้นเตี้ย กิ่งก้านสยายไม่สม่ำเสมอ ใบ เรียงเป็นแบบเกลียว ผิวมันลื่น […]

Read more

ตะไคร้

ตะไคร้

ตะไคร้ เป็นหนึ่งในผักสวนครัวที่อยู่ปลูกอยู่ในบริเวณบ้าน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นหลายชื่อ ปัจจุบัน ตะไคร้เป็นพืชทำเงิน สร้างรายได้ที่งดงามให้เกษตรกร…ปลูกแล้วรวย บ้างก็ปลูกตามคันนา ร่องสวน หรือปลูกผสมกันพืชชนิดอื่น หรือปลูกตะไคร้เพียงอย่างเดียวได้ทั้งพื้นที่ สำหรับตะไคร้แล้ว ไม่มีพื้นที่มาก ก็สามารถปลูกได้ แต่หลายคนคง ที่ไม่เคยปลูกตะไคร้ หรือเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ อาจจะไม่เคยรู้มาก่อน ว่าตะไคร้มีกี่ประเภท มีประโยชน์อย่างไร และมีโทษหรือไม่ ประเภทของ ตะไคร้ แบ่งให้จำได้ง่ายๆ คือ ตะไคร้กิน ( หรือแกง ) และตะไคร้หอม ความแตกต่างของตะไคร้กิน และ ตะไคร้หอม ตะไคร้กิน (Lemon Grass) หรือ ตะไคร้บ้าน ตะไคร้แกง คาหอม จะไคร เชิดเกรย เหรอะเกรย และไคร ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของตะไคร้กิน ต้น เป็นไม้ล้มลุกจะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1เมตร ลำต้นตั้งตรง แข็ง เกลี้ยง และตามปล้อง (กาบของโคนต้น) มักมีไขปกคลุมอยู่ ความสูงวัดจากโคนถึงกาบใบ ประมาณ 30 เซนติเมตร ใบ […]

Read more

การจำหน่ายและการแปรรูปถั่วดาวอินคา

แปรรูปถั่วดาวอินคา

การจำหน่ายและการแปรรูปถั่วดาวอินคา เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปลูกถั่วดาวอินคา ตามที่เคยนำเสนอประโยชน์และสรรพคุณของถั่วดาวอินคาในบทความก่อนหน้านี้ไปแล้วว่า สามารถใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนจากต้นถั่วดาวอินคา เพราะฉะนั้น การจำหน่ายและการแปรรูปถั่วดาวอินคา ก็เช่นกัน แต่ก่อนจะไปถึงขั้นตอนนั้น เรามาเรียนรู้วิธีการเก็บเกี่ยวกันก่อนนะคะ การเก็บเกี่ยว ก่อน การจำหน่ายและการแปรรูปถั่วดาวอินคา วิธีเก็บฝัก ต้นถั่วดาวอินคาจะเริ่มออกดอก ประมาณเดือนที่ 5 หลังการเพราะปลูก และติดฝัก นับไป 3 เดือน ฝักจะเริ่มแก่พร้อมเก็บ เลือกเก็บฝักที่เปลี่ยนจากสีดำ เป็นสีน้ำตาล คือฝักที่สุกเต็มที่แล้ว และกำลังเริ่มแห้ง นำมาตากแดดจนแห้งสนิท (ถ้าไม้แห้งอาจเกิดเชื้อราได้) แล้วบรรจุใส่ถุงปุ๋ย หรือถุงที่ใช้ใส่กระเทียม จะเก็บรักษาฝักถั่วอินคาได้นานกว่า การเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นฝัก ยอด หรือ ใบ การจำหน่าย ฝัก และเมล็ดของถั่วดาวอินคา จำหน่ายแบบไม่กระเทาะเปลือก ราคากลางอยู่ประมาณ กิโลกรัมละ 25 บาทจำหน่ายแบบกระเทาะเปลือก หรือจำหน่ายเฉพาะเมล็ด ราคากลางอยู่ประมาณ กิโลกรัมละ 50 บาท ถ้าจะให้แน่นอน ควรตรวจสอบราคาในตลาด และแนวโน้มการตลาดในแต่ละปี ให้ดีเสียก่อน เพื่อวางแผนการจำหน่ายได้ถูกต้อง ว่าจะเก็บเกี่ยวเพื่อจำหน่าย หรือแปรรูปเพื่อจำหน่าย หรือเพาะเป็นต้นกล้าจำหน่าย เพื่อช่วยรักษาผลประโยชน์ ในเรื่องผลกำไรได้ดี นอกจากนี้ […]

Read more

ถั่วดาวอินคา

ถั่วดาวอินคา

ถั่วดาวอินคา ( Sacha inchi ) เป็นพืชที่เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยกันได้ไม่นาน โดยส่วนตัวผู้เขียนเอง รู้จักกับถั่วดาวอินคาครั้งแรกจากเคาน์เตอร์ขนมในร้านกาแฟแฟรนไชส์ ด้วยความสงสัยว่าทำไมชื่อนี้ ก็ถามกูเกิ้ล…ขออนุญาตเล่าต่อจากกูเกิ้ลนะคะ ถั่วดาวอินคา พบได้แพร่หลายในประเทศแถบอเมริกาใต้ แต่ต้นกำเนิดการใช้ประโยชน์มาจากชาวอินคา ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่มีระบุไว้ว่าถั่วดาวอินคามีมาแต่เมื่อไร แต่จักรวรรดิอินคาเป็นจักรวรรดิที่รุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยโบราณโดยเฉพาะบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรู ชาวอินคาไม่มีตัวอักษรใช้บันทึกข้อความ แต่ใช้ ‘กีปู’ ในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ (กีปู คือ การผูกเชือกหลากสีเป็นปมเล่าเรื่องต่างๆ) เข้าใจว่า คนรุ่นหลังได้จดจำเรื่องราวมาตั้งแต่ยุคอินคา และบวกกับรูปร่างที่เหมือนสัญลักษณ์รูปดาว ถั่วชนิดนี้เลยได้ชื่อว่า ‘ถั่วดาวอินคา’ และมีอีกหลายชื่อในภาษาอื่นๆ เช่น Sacha inchi, Inca peanut, Sacha peanut, Mountain peanut, Supua peanut ลักษณะของถั่วดาวอินคา ถั่วดาวอินคาปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 – 2,000 เมตร รวมถึงประเทศไทย เป็นไม้เลื้อยเหมือนถั่วฝักยาว สามารถเก็บเกี่ยวได้ 10 ถึง 50 ปี แต่ต้องปลอดสารเคมีทุกขั้นตอน แก่นเถาของต้นถั่วอินคาจะแข็งและเหนียว ต้นแก่สังเกตได้จากโคนเถาที่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล นอกจากผลรูปดาวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ใบ ยังเป็นรูปหัวใจอีกด้วยนะคะ ดอก มีสีเขียวอมเหลือง […]

Read more
1 2