ทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศ (Soursop)

ผลไม้รูปร่างหน้าตาอย่างนี้ คนไทยภาคใต้จะรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีในชื่อ‘ทุเรียนน้ำ’ ภาคกลางจะรู้จักกันในชื่อ ‘ทุเรียนแขก’ ทางภาคเหนือเรียกกันว่า ‘มะทุเรียน’ ภาคอีสาน เรียก ‘หมากเขียบหลด’ ปัจจุบันมีผู้นำมาปลูกกันมากขึ้นเมื่อมีการวิจัยพบว่า ผลไม้สมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษามะเร็งได้

เดิมทีนั้น ทุเรียนเทศ เป็นพืชท้องถิ่นอยู่ในเขตอินเดียตะวันตก อเมริกากลาง และบราซิล จนกระทั่งกลายมาเป็นพืชที่มีการปลูกทั่วไปในเอเชียเขตร้อน สำหรับประเทศไทยนั้น ทุเรียนเทศ เพิ่งเริ่มมีความสำคัญทางเศรษฐกิจได้ไม่นาน แต่ในต่างประเทศนิยมรับประทานทุเรียนเทศทั้งผลสด และแบบที่แปรรูปแล้ว เพราะประโยชน์ที่ได้รับจากทุเรียนเทศนั่นเองค่ะ อยากรู้แล้วใช่มั๊ยคะว่าทุเรียนเทศมีประโยชน์อย่างไร?

ประโยชน์ของทุเรียนเทศ
ใบ เมล็ด และลำต้น

  • มีฤทธิ์ในการต่อต้านไวรัสและเซลล์มะเร็ง (งานวิจัยในอเมริกา) โดยนำส่วนของใบ เมล็ด และลำต้นมาสกัด

ผล

  • ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผลสุก)
  • ใช้รักษาโรคบิด (ผลดิบ)
  • ใช้เป็นยาสมานแผล โดยนำผลดิบมาตำแล้วพอก
  • ช่วยเพิ่มน้ำนมให้กับมารดาที่ให้นมบุตร
  • ช่วยในการขับพยาธิ (น้ำสกัดจากเนื้อผล)
  • ช่วยในการขับปัสสาวะ (น้ำผลไม้)
  • สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลไม้กวนต่างๆ ผลไม้เชื่อม ไอศกรีม เยลลี่ ซอส และผลไม้กระป๋อง
  • ใช้ประกอบอาหาร อย่างเช่น แกงส้ม (ภาคใต้ของไทย)

ใบ

  • ช่วยทำให้นอนหลับสบาย โดยนำใบมาชงดื่ม ปัจจุบันมีใบชาทุเรียนเทศจำหน่าย
  • ช่วยทำให้หลับสบาย โดยนำใบมาใส่ไว้ในหมอนหนุน (เนเธอร์แลนด์)
  • ใช้เป็นยาระงับประสาท
  • ใช้ปูให้ผู้ป่วยที่เป็นไข้นอน ช่วยลดอาการไข้ (แถบคาริบเบียน)
  • เป็นยาแก้อาการท้องอืด ด้วยการนำมาขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทาบริเวณท้อง
  • ใช้รักษาโรคผิวหนัง
  • แก้อาการไอ
  • บรรเทาอาการปวดตามข้อ ด้วยการนำมาขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทา
  • ช่วยแก้อาการเมา โดยขยี้ใบลงในน้ำผสมกับน้ำมะนาว 2 ลูก แล้วนำมาจิบเล็กน้อยและเอาน้ำที่่เหลือลูบหัว (ตำรา Materia medica)

รากและเปลือก

  • ช่วยลดอาการเจ็บปวดและลดการเกร็ง แก้อาการเครียด โดยนำมาทำเป็นชาชงดื่ม

เมล็ด

  • ช่วยสมานแผลและห้ามเลือด
  • นำไปเป็นสารกำจัดศัตรูพืชและยาเบื่อ

เปลือก ราก และดอก

  • ใช้รักษาข้ออักเสบและปัญหาเกี่ยวกับตับ

ใบ หรือเมล็ด

  • ใช้กำจัดเหาได้ โดยนำใบมาต้มแล้วใช้น้ำ หรือ น้ำมันจากเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของผลทุเรียนเทศ
คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล เส้นใย ไขมัน โปรตีน วิตามินบี วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สังกะสี และฟรุกโตส
การใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศ ในต่างประเทศ
ประเทศมาเลเซีย—นำไปทำน้ำผลไม้กระป๋อง ใบใช้ฆ่าแมลงขนาดเล็กใช้ผลรักษาโรคกระเพาะอาหาร
ประเทศเวียดนาม—นิยมนำผลไปทำน้ำผลไม้ปั่น ใช้เมล็ดซึ่งมีพิษทำยาเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง
ประเทศเม็กซิโกและประเทศโคลัมเบีย—นิยมรับประทานผลสดใช้ทำขนม ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ผสมนม และใช้ทำไอศกรีม
ประเทศอินโดนีเซีย—นำมาทำน้ำผลไม้บรรจุกล่อง และนำไปต้มในน้ำ เติมน้ำตาลจนกว่าจะแข็ง และนำไปทำน้ำผลไม้ปั่น
ประเทศฟิลิปปินส์-นิยมรับประทานผลสุกและทำน้ำผลไม้ สมูทตี้ และไอศกรีม
โทษจากการรับประทานทุเรียนเทศ

  • การรับประทานยาหรืออาหารที่มีฤทธิ์ทางยาเป็นเวลานานติดต่อกัน สามารถก่อให้เกิดโทษได้ทั้งนั้น ทุเรียนเทศก็เช่นกัน หากรับประทานติดต่อกันทุกวันเป็นระยะเวลานานสารแอนโนนาซินในผลของทุเรียนเทศมีคุณสมบัติที่ทำลายเซลล์สมอง อาจจะทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
  • เมล็ดและเปลือกมีสารอัลคาลอยด์อยู่หลายชนิดที่เป็นพิษต่อร่างกายถ้ารับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะฉะนั้น ควรใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพรเฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้นนะคะ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ดูจากภาพลักษณ์ภายนอก รูปร่างของทุเรียนเทศเป็นทรงกลมรี มีหนาม เปลือกสีเขียว คล้ายทุเรียน แต่ทุเรียนเทศเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับน้อยหน่า กระดังงา นมแมว และจำปี งงมั๊ยคะ ว่าทำไมถูกจัดรวมอยู่กับกระดังงา และนมแมว?…เพราะดอกของทุเรียนเทศมีกลิ่นหอมค่ะ ส่วนเนื้อผลนั้นมีสีขาวฉ่ำน้ำ ถ้าดูจากรูปตัวอย่าง ก็มีความคล้ายคลึงกับน้อยหน่านะคะ และส่วนอื่นๆ ของต้นทุเรียนเทศ มีลักษณะดังนี้

ทุเรียนเทศเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านค่อนข้างมาก
ลำต้น มีความสูงประมาณ 5 ถึง 6 เมตร
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปเป็นระนาบเดียวกับกิ่ง ใบมีรูปร่างรี เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบอ่อนเป็นมัน มีกลิ่นเหม็นเขียวจัดเมื่อฉีกใบ
ดอก เป็นดอกเดี่ยวอยู่รวมกัน 3 ถึง 4 ดอก ขนาดใหญ่ห้อยลงตามซอกใบ กลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมหนาแข็งมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ มีสีเหลืองแกมเขียว ออกดอกตลอดทั้งปี มีกลิ่นหอม
ผล มีรูปกลมรี สีเขียว มีหนามนิ่มที่เปลือกผล ขนาดผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 ถึง 30 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 0.5 ถึง 3.0 กิโลกรัม ภายในมีเนื้อสีขาว คล้ายน้อยหน่าหรือน้อยโหน่ง
เมล็ดแก่สีดำ ผิวเรียบ เป็นมัน
รสชาติ หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลฉ่ำน้ำและมีเมล็ดมากเช่นเดียวกับน้อยหน่า ผลดิบมีรสอมเปรี้ยวอมมันเล็กน้อย
ติดตามวิธีปลูกได้ในบทความ “การปลูกทุเรียนเทศ“ค่ะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล : www.soursopherbs.com, www.natres.psu.ac.th, www.komchadluek, www.vichakaset.com)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *