กุ้งก้ามแดง

กุ้งก้ามแดง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กุ้งก้ามแดง ร.9

กุ้งก้ามแดง หรือกุ้งล๊อบสเตอร์น้ำจืด ขึ้นชื่อว่ากุ้ง…ทุกคนจะนึกถึงแต่ความอร่อย จะสายพันธุ์ไหนก็อร่อย จะเมนูไหนก็อร่อย แต่ยังคงมีราคาแพงสำหรับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หลายปีมาแล้ว เคยขับรถไปกินกุ้งแม่น้ำที่สิงห์บุรี (ร้านดัง) ตัวขนาดพอๆ กันกับกุ้งก้ามแดง มื้อนั้น 5 คน จ่ายไป 6 พันกว่าบาท นึกแล้วก็เสียดายเงิน แต่ไม่เสียดายที่ได้ลิ้มรสความอร่อย เชื่อว่าหลายๆ คน คงยอมจ่ายค่าความสุขราคาแพงซักครั้งในชีวิตกันบ้าง…ซักครั้งจริงๆ จากการเรียนรู้ จากการทดลอง จากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตที่ได้มา ยังไม่พอเพียงเท่าไหร่ และสิ่งหนึ่งที่ยังอยากทำคือ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง วันนี้เริ่มเพาะเห็ด เริ่มปลูกผักกินเอง มีมะนาว, มะกรูด, พริกขี้หนู, พริกไทยอ่อน ฯ รอบๆ บ้าน ถ้าถามว่าเพียงพอมั๊ย อืมม์…พอ แต่ก็…ขออีกนิ๊ดดดดนึง อยากให้รางวัลกับบางวันของชีวิตบ้าง เช่น อยากกินของโปรด ของอร่อย แต่ต้องไม่แพงแล้ว ตอนนี้เลยอยากเลี้ยงกุ้งก้ามแดงไว้กินเองบ้าง เริ่มต้นแบบนี้ก่อนดีกว่าสำหรับมือใหม่ เลี้ยงในกล่องพลาสติก กับตู้ปลาที่เหลือใช้ ถ้าทำตามขั้นตอนแล้วได้ผลดี อาจจะได้ขยายกิจการ เป็นอาชีพเสริม ผู้เขียนมีข้อมูลการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงมาฝาก ทั้งแบบเลี้ยงไว้กินเอง, เลี้ยงไว้จำหน่าย, เลี้ยงไว้ดูเล่น พร้อมทั้งเคล็ดลับต่างๆ ให้ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน แต่ก่อนอื่น…ขอแนะนำให้รู้จักกับ กุ้งก้ามแดง

กุ้งก้ามแดง เกิดครั้งแรกที่ ออสเตรเลีย ตัวโตเต็มที่ 12 นิ้ว มีอายุเฉลี่ย 4 ปี ถ้าใช้ชีวิตตามธรรมชาติ แต่ถ้าถูกเลี้ยงใส่ตู้กระจก อยู่ได้ 2 ถึง 3 ปี ในอุณหภูมิระหว่าง 25-28 องศาเซลเซียส เหมาะกับสภาพอากาศบ้านเรา เลี้ยงง่าย ปรับตัวได้ไวและมีภูมิต้านทานโรคสูง ที่สำคัญเป็นที่ต้องการของตลาด กุ้งก้ามแดงเป็นกุ้งชนิดแรกที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงทดลองเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร กุ้งสายพันธุ์นี้เจริญเติบโตเร็ว มีขนาดใหญ่ซึ่งเป็นลักษณะเด่น เปลี่ยนสีได้ตลอด สีที่พบมากที่สุดคือ สีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน ซึ่งคนไทยจะเรียกว่า บลู ล็อปสเตอร์ ถ้าเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามแล้วจำหน่ายจะได้ราคาสูง รสชาติของกุ้งก้ามแดงจะหวานมากกว่ากุ้งก้ามกราม อีกหนึ่งจุดเด่นคือ แถบข้างของก้ามจะมีสีแดง และ สีส้ม เป็นเอกลักษณ์ของกุ้งก้ามแดงตัวผู้เท่านั้น ส่วนตัวเมียจะไม่มีแถบสี ก้ามตัวผู้จะเป็นเหมือนวุ้น สีของก้ามจะแดงมากหรือแดงน้อยขึ้นอยู่กับน้ำที่เลี้ยง แหล่งน้ำธรรมชาติ สีที่วุ้นตรงก้ามจะเป็นสีแดงเข้ม แต่ถ้าใช้น้ำปะปาหรือน้ำบาดาลจะมีสีน้ำตาลอ่อนๆ การดูเพศของ

 

ตัวผู้ อีกอย่างหนึ่ง คือ หงายท้องดูตรงขาคู่สุดท้าย จะมีต่อมแหลมๆ เล็กๆ ที่ขาคู่สุดท้ายทั้งสองข้าง

ตัวเมีย จะไม่มีก้าม หรือวุ้นตรงก้ามเหมือนตัวผู้ และตรงท้องก็จะไม่มีต่อมแหลมๆ ที่ขาคู่สุดท้าย
สาเหตุที่กุ้งก้ามแดงกลายเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่น่าศึกษาและลงทุนเพาะเลี้ยง ก็เพราะความเป็นอยู่ที่ง่ายๆ ของกุ้งสายพันธุ์นี้ไม่ว่าจะเลี้ยงไว้ในบ้านโดยใช้ ตู้ปลา, กะละมัง, กล่องพลาสติก, บ่อปูน หรือภาชนะเหลือใช้ ไว้ทำอาหารอร่อยๆ สำหรับครอบครัว หรือ เลี้ยงไว้ดูเล่น หรือ ถ้าเลี้ยงจนชำนาญอาจจะกลายเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก ก็สามารถเลี้ยงในบ่อดิน, บ่อพลาสติก หรือนาข้าวได้ เพียงแค่มีวัสดุให้กุ้งได้หลบภัยตามสัญชาตญาณธรรมชาติ เพราะถ้าเลี้ยงหลายตัวรวมกัน เวลาที่กุ้งลอกคราบ จะกินกันเอง

 

 

 

งบประมาณการลงทุน ขึ้นอยู่กับ:

  • ต้องการเริ่มเลี้ยงกุ้งก้ามแดงขนาดตัวเท่าไหร่
  • จุดประสงค์ในการเลี้ยงเพื่อไว้เป็นอาหาร, ไว้ดูเล่น หรือ ไว้จำหน่าย
  • ต้องการเลี้ยงแบบไหน หรือใช้ภาชนะอะไร

ลองดู ราคาของกุ้งก้ามแดงที่ใช้เพาะเลี้ยง กันก่อนค่ะ

  • กุ้งก้ามแดงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ขนาด 4 ถึง 5 นิ้ว
    ราคาชุดละ 1,200 ถึง 1,500 บาท มีตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 2 ตัว
    ราคาชุดละ 2,000 บาท มีตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 5 ตัว
  • ลูกกุ้งขนาดลงเดิน หรืออายุประมาณ 45 วัน
    ราคาตัวละ 5 ถึง 6 บาท
    (เกษตรกร นิยมใช้ลูกกุ้งขนาด ½ นิ้วหรือ 2 นิ้ว ไปเพาะเลี้ยง)

***การเลี้ยงกุ้งจากขนาดลงเดินจะเลี้ยงในบ่อปูนหรือในบ่อผ้าใบ จนได้ถึงขนาด 1 นิ้ว เมื่อกุ้งเริ่มแข็งแรง ให้ย้ายไปยังสถานที่ที่จะเลี้ยง เช่น บ่อปูน***

การเลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ กุ้งก้ามแดง

  • กุ้งแข็งแรง ตอบสนองไว้
  • มีอวัยวะครบ
  • เปลือกลำตัวแข็ง ไม่อยู่ในช่วงลอกคราบ

เลือกขนาดกุ้งก้ามแดงได้แล้ว ก็ตอบตัวเองว่าจะเลี้ยงไว้เพื่ออะไร และเลี้ยงแบบไหน มีข้อมูล และ ข้อดี-ข้อเสียมาให้เปรียบเทียบ ดังนี้ค่ะ

เลี้ยงกุ้งก้ามแดงได้โดยไม่ใช้อ๊อกซิเจน
กุ้งก้ามแดงนั้นกินง่าย อยู่ง่ายในสภาพที่เหมาะสม อาศัยอยู่ได้ในน้ำที่มีอ๊อกซิเจนต่ำได้

เลี้ยงใน ตู้ปลา, อ่าง, กะละมัง, กระบะหรือกล่องพลาสติก
ข้อดี

  • ใช้พื้นที่น้อย
  • เคลื่อนย้านสะดวก
  • ใช้วัสดุเหลือใช้ได้
  • ต้นทุนต่ำ

ข้อเสีย

  • ต้องดูแลเรื่องน้ำให้ดี อย่าให้น้ำเน่า
  • ไม่เหมาะกับอากาศหนาว มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในรอบวันบ่อย
  • กุ้งเจริญเติบโตช้า
  • ไม่มีสารอาหารธรรมชาติในน้ำ
  • กุ้งจะตายเพราะลอกคราบไม่ผ่านถ้าเปลี่ยนน้ำบ่อยเกินไป เนื่องจากสะสมแร่ธาตุไม่ทัน
    ***ควรมีภาชนะรองน้ำเลี้ยงเก่าเอาไปตากแดด 1 สัปดาห์ แล้วนำกลับมาเลี้ยงใหม่ได้ ซึ่งจะมีแพลงตอนเล็กๆ เกิดขึ้นด้วย*** —-เลี้ยงได้จำนวนน้อย

เลี้ยงในบ่อปูน บ่อผ้ายาง
ข้อดี

  • ดูแลง่าย

ข้อเสีย

  • บ่อผ้ายาง หากเลือกใช้วัสดุที่บางไปหรือมีรอยย่นอาจฉีกขาดได้ง่าย จากการถูกกุ้งแทะ
  • หากระดับน้ำสูงเกิน 20 เซนติเมตร อาจเกิดปัญหาน้ำล้นเวลามีฝนตก

เลี้ยงในบ่อดิน หรือนาข้าว
ข้อดี

  • กุ้งสามารถปีนขอบบ่อ (หากเลี้ยงแบบไม่ใช้เครื่องทำอ๊อกซิเจน) หรือปีนต้นข้าว มารับอ๊อกซิเจนได้ง่าย
  • กุ้งเจริญเติบโตได้เร็ว เพราะได้รับสารอาหารและแร่ธาตุครบถ้วน
  • เลี้ยงได้จำนวนที่มาก
  • กุ้งได้รับแสงแดด ได้วิตามิน ดี ได้แคลเซียมที่มีประสิทธิภาพ

ข้อเสีย

  • ต้องกำจัดศัตรูกุ้งให้หมด เช่น ปลาบางชนิด
  • ต้องกั้นขอบบ่อด้วยตาข่ายไนล่อนกันกุ้งหนี และกันปลาศัตรูกุ้ง จากแหล่งน้ำใกล้เคียง
  • ต้องกั้นตาข่ายกันนก เช่น นกกาน้ำ นกกระยาง เป็นต้น
    ต้องระวังการลักขโมย
  • ใช้แรงงานในการจับขาย
  • ต้องลงทุนค่อนข้างสูงตั้งแต่เริ่มเลี้ยง จนกระทั่งจับขาย
  • ต้องระวังการให้อาหาร ถ้ามากเกินไปดินพื้นบ่อจะเป็นดินเลนที่เน่าเสีย โดยเฉพาะบ่อที่เลี้ยงกุ้งมาแล้วหลายรุ่น ซึ่งอาจทำให้หางกุ้งเป็นแผล ติดเชื้อ เนื่องจากเกิดปรสิตและโปรโตซัว
  • กุ้งในบ่อดินส่วนใหญ่จะมีโอกาสเป็นโรคหางพอก และ โรคสนิม และตัวกุ้งจะมีสีค่อนข้างดำ ซึงเกิดจากตะไคร่น้ำที่เกาะลำตัวกุ้ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กุ้งก้ามแดงในกระชัง
เลี้ยงในกระชัง
เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมทำกัน โดยต้องมีแหล่งน้ำที่ลึก หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่
ข้อดี

  • แยกขนาดเลี้ยงได้ง่าย
  • มีการถ่ายเทน้ำตลอด โดยไม่ต้องใช้แรงงานมาก และประหยัดเวลา
  • มีแร่ธาตุธรรมชาติ
  • สะดวกในการจัดการต่างๆ รวมทั้งการจับขาย

ข้อเสีย

  • ควรมีวัสดุป้องกัน หรือวิธีป้องกันปลาช่อน หรือปลาชะโดกัดกระชังหรือกระโดดเข้า
  • ควรหาวิธีป้องกันกระชังขาด
  • หากแหล่งน้ำอาจมีสารพิษจากโรงงานหรือแหล่งชุมชนปนเปื้อน เช่น ยาฆ่าหญ้า หรือยาฆ่าแมลงหรือค่าพีเอช ph ในน้ำไม่เหมาะสม

คำแนะนำ

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในพื้นที่เล็ก มีเครื่องทำอ๊อกซิเจนให้กับกุ้ง จะได้ผลผลิตที่ดี กุ้งเจริญเติบโตเร็ว ลอกคราบผ่านง่าย มีความเสี่ยงต่อโรค และศัตรูกุ้งน้อย โอกาสที่จะเกิดความเสียหายจำนวนมากๆ มีน้อย ติดตามวิธีการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงได้ในบทความ การเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล: หนังสือ หลากวิธีการเลี้ยง กุ้งก้ามแดง ชีววิถี ต้นทุนต่ำ สนพ.นาคา โดย อภิชาติ ศรีสอาด และ สุธิพงศ์ ถิ่นนเขาน้อย, www.farmthailand.com, www.baannoi.com, redlobsterclawsthai.blogspot.com)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *