การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงการค้า

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงการค้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักไฮโดร

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ไว้กินหรือบริโภคในครัวเรือน หรือเป็นรายได้เสริมนั้น สามารถปลูกได้ทุกชนิด แต่ถ้าปลูกเป็นเชิงการค้าแล้ว เกษตรกรควรคำนึงถึง :
1. อายุเก็บเกี่ยว—วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วสามารถปลูกพืชต่อได้ทันที ดังนั้น ถ้าเกษตรกรเลือกปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นมาปลูก ในระยะเวลา 1 ปี ก็จะมีการเพาะปลูกได้หลายรอบกว่าการปลูกพืชที่ใช้ดิน
2. ราคาผลผลิต—ปัจจุบันผักปลอดสารพิษ, ผักนอกฤดู และผักที่ปลูกทดแทนการนำเข้ามาจากต่างประเทศจะมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เกษตรกรที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ก็ไม่ต้องไปแข่งขันกับผักที่ปลูกในดินที่มีต้นทุนต่ำกว่าให้มากนัก ถึงแม้ว่าราคาผักของพืชที่ปลูกในดินจะต่ำกว่าด้วยก็ตาม หากเกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดผักที่ปลูกให้ยืดหยุ่นไปตามฤดูกาลและความต้องการของตลาด ก็เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่ง
3. ฤดูปลูก—ถ้าวิธีไฮโดรโปนิกส์สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ดีกว่าการปลูกพืชที่ใช้ดิน เช่น ใช้โรงเรือนในการเพาะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์—ไม่ต้องเสี่ยงต่ออากาศร้อน, ฝนตก, แมลง หรือว่า โรค เกษตรกรสามารถปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้ทุกฤดูกาล แล้วทำไมเกษตรกรจึงต้องเลือกชนิดผักโดยคำนึงถึงฤดูกาลด้วย? นั่นเป็นเพราะ ผักที่ไม่เหมาะจะปลูกในช่วงฤดูฝน จะมีผลผลิตน้อย ราคาผลผลิตจะสูงขึ้น ถ้าเกษตรกรเลือกนำมาปลูกในช่วงนั้น ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น
อุปกรณ์ (วัสดุ เน้นต้นทุนต่ำ)
เมล็ดพันธุ์ : มี 2 แบบ
1. แบบเคลือบ เคลือบด้วยดินเหนียวเพื่อรักษาเมล็ดให้มีสภาพคงเดิม(ต้องเก็บไว้ในที่เย็นหรือตู้เย็น) งอกง่ายสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับมือใหม่เพราะเมล็ดมีขนาดใหญ่ หยิบง่าย ไม่ต้องใช้ความชำนาญ แต่ราคาแพง
2. แบบไม่เคลือบ ราคาถูกกว่าแบบเคลือบ แต่อัตราการงอกน้อยกว่า เหมาะสำหรับผู้มีความชำนาญ
วัสดุปลูก : จะต้องเป็นที่ให้พืชยึดเกาะได้, สะสมน้ำ, อาหาร และอากาศได้
ควรเลือกภาชนะปลูกที่แข็งแรง ไม่ผุ ไม่เป็นอันตราย หาซื้อง่าย ราคาถูก(สำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไว้บริโภคในครัวเรือน หรือธุรกิจเล็กๆ อาจจะใช้ใยมะพร้าว หรือวัสดุอื่นๆ เป็นวัสดุปลูกได้)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟองน้ำปลูกผัก

อุปกรณ์การเพาะ

  • ฟองน้ำ 1×1 นิ้ว
  • เพอร์ไลท์ หรือ เวอร์มิคูไลท์
  • ถาดเพาะ
  • ภาชนะที่ใช้รองถาดเพาะที่เป็นฟองน้ำ (เช่น โฟม)
  • อุปกรณ์การปลูก
  • กระถางปลูกขนาด 1 นิ้ว หรือภาชนะที่มีรู
  • โฟม

อุปกรณ์โรงเรือน

  • แบบเปิด ใช้พลาสติกคลุมโครงหลังคา แต่ด้านข้างไม่ได้กางมุ้ง เมื่อต้องการเน้นความโปร่ง อากาศถ่ายเท
  • แบบปิด โดยใช้พลาสติกคลุมโครงหลังคา ด้านข้างกางมุ้งจะมีผลดีในฤดูฝน ผักไม่เน่า ใบไม่เป็นจุด และกันแมลงได้ทุกฤดูกาล
    พลาสติกใส หน้ากว้าง 3 เมตร, 100ไมคอน, UV กันการกระแทกของน้ำฝน กันแดด
    มุ้งไนล่อน หน้ากว้าง 3 เมตร #16ตา/นิ้ว กันแมลง
    ซาแรน แนะนำให้ใช้ ซาแรนสีดำ ช่วยพรางแสงตั้งแต่เริ่มเพาะกล้า
    ซาแรนสีเทาเงิน ใช้พรางแสงได้ดีหลังการปลูกหรือเมื่อขึ้นโต๊ะปลูกแล้ว ราคาถูกกว่ซาแรนที่ทำจากประเทศอิสราเอลที่สะท้อนแสงได้ดีมาก
    ไม่แนะนำให้ใช้ซาแรนสีเขียว เพราะสะท้อนแสงสีเขียวออกมา ผักไม่ต้องการแสงสีเขียวผักสะท้อนแสง สีเขียวออกมาอยู่แล้ว

อุปกรณ์โครงหลังคา

  • เหล็ก
  • ท่อ PVC
  • ไม้
  • แบบสำเร็จรูป (ต้นทุนสูง แต่สะดวก)

อุปกรณ์ราง

  • กระเบื้องลอนคู่+โฟม มักใช้กับระบบ NFT น้ำไหลผ่านบางๆ
    (กระเบื้องลอนคู่สามารถซื้อแบบมือสองเพื่อประหยัดต้นทุนได้)
  • โฟม ทำความสะอาดง่าย แต่ค่อนข้างสิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะอายุการใช้งานสั้น
  • แบบสำเร็จรูป มีราคาแพง
  • ท่อ PVC
    **สีฟ้า จะมีราคาถูกกว่า สีขาว แต่สีขาวป้องกันแสงได้ดีกว่า ช่วยลดความร้อนของท่อซึ่ง, ลดปัญหาโรครากเน่า

บ่อ ใช้อิฐบล็อกเพื่อเป็นการลดต้นทุนได้ หรือจะเลือกทำด้วยเหล็ก

โต๊ะ

  • โครงไม้ สามารถประหยัดต้นทุนได้ด้วยการใช้ไม้มือสอง
  • พื้นโต๊ะ ถ้าใช้สมาร์ท บอร์ด แผ่นเรียบ ดีกว่า ยิปซั่ม บอร์ดตรงที่ไม่อุ้มน้ำ ไม่ยุบตัว

ปั๊มน้ำ

  • แรงดัน 2500ลิตร/ชั่วโมง (L/H) สำหรับชั้นบน
  • แรงดัน 2000ลิตร/ชั่วโมง (L/H) สำหรับชั้นล่าง

ถังพัก ( พลาสติก ) หรือถังบรรจุน้ำสารละลายธาตุอาหาร

สารละลายธาตุอาหาร A + B หรือ ปุ๋ยแห้ง A + B นำมาผสมน้ำเอง แล้วใส่ภาชนะบรรจุที่ไม่โดนแสง

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อสดชนิดน้ำ

เครื่องวัดคุณภาพน้ำ เครื่อวัด EC ใช้วัดค่า pH, เครื่องวัด pH Drop Test 15มล.

ถุงใส่ผัก

การเพาะกล้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักไฮโดร ฟองน้ำ

สิ่งที่ต้องระวัง: การฝังเมล็ดในวัสดุปลูก หากฝังตื้นเกินไปเกิดความชื้นขึ้นกับเมล็ด ก็ไม่งอก หากฝังลึก
เกินไป เมล็ดก็เน่า ไม่งอกอีกเช่นกัน
เกษตรกรสามารถเลือกเพาะเมล็ดในฟองน้ำ หรือ ในเพอร์ไลท์+เวอร์มิคูไลท์ ได้ ซึ่งมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันดังนี้:
ฟองน้ำ
ข้อดี

  1. ราคาถูก
  2. เก็บเกี่ยวได้สะอาด
  3. เวลาตัดรากออกจะเสียน้ำหนักน้อย
  4. น้ำหนักเบา

ข้อเสีย

  1. ต้องใช้ความชำนาญในการหยอดเมล็ดพันธุ์
  2. ต้องรดน้ำให้ชุ่มฟองน้ำตลอด น้ำจะแห้งง่าย แต่ จะเน่าถ้ารดน้ำมากไป
  3. ดีสำหรับระบบ DRFT พอน้ำลดฟองน้ำแห้งโคน ไม่มีโรคเพอร์ไลท์

ข้อดี

  1. ไม่ต้องใช้ความชำนาญในการหยอดเมล็ดพันธุ์
  2. น้ำหนักมากกว่าฟองน้ำ
  3. รักษาความชื้นคงที่ได้ตลอด ไม่ต้องรดน้ำ
  4. โคนต้นไม่เน่าง่าย

ข้อเสีย

  1. ราคาแพง
  2. อาจมีเม็ดเพอร์ไลท์ติดผักไปเวลาเก็บเกี่ยว
  3. เสียน้ำหนักรากมากเวลาตัดถ้าน้ำแห้งจะดูดน้ำเอง ถ้าน้ำมากจะระบายน้ำออกเอง

สิ่งที่ควรระวัง : การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยฟองน้ำต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ และการจัดการที่มากกว่าและดีกว่าการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเพอร์ไลท์
เพื่อรักษาต้นทุน ไม่ให้สูงขึ้น จากการสูญเสียพืช ไม่ว่าจะเป็นการงอก การเน่า

ขั้นตอนการเพาะ
1. รดวัสดุปลูกก่อนเริ่มเพาะด้วยน้ำผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อช่วยป้องกันเมล็ดพันธุ์ไม่เกิดเชื้อรามีความต้านทานโรคสูงเมื่องอกออกมาแล้ว

2. ผักสลัด—แช่เมล็ดในน้ำเย็นประมาณ 15-20 นาทีก่อนนำไปเพาะเพื่อกระตุ้นการงอก ควรเลือกเวลาที่เหมาะสมในการเพาะเมล็ดควรจะเป็นในช่วงเย็น หรือกลางคืน เพราะอากาศเมืองไทยค่อนข้างร้อน

3. ผักไทย-จีน—มีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็ง ควรนำเมล็ดไปแช่น้ำอุ่นก่อนประมาณ 1 คืน คัดเมล็ดที่ลอยน้ำออกเพราะเป็นเมล็ดที่เสื่อมสภาพ

4. พืชตระกูลแตง—เช่น แตงกวา เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง ให้แช่เมล็ดในน้ำอุ่นก่อน 3-4 ชั่วโมง แล้วห่อด้วยผ้าหรือกระดาษชุบน้ำไว้ประมาณ 1-2 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ต้องคอยระวังไม่ให้ผ้าที่ห่อเมล็ดแห้ง หลังจากงอกแล้วนำไปไว้ในวัสดุปลูกได้เลย ควรเลือกเวลาเพาะในช่วงที่อากาศร้อนเพราะพืชตระกูลนี้ชอบ จะทำให้งอกได้เร็ว

5. หยอดเมล็ดพันธุ์ (ลงในฟองน้ำ หรือเพอร์ไลท์ หรือวัสดุปลูกอื่น เช่น ใยมะพร้าว ระวังอย่าหยอดให้ลึกหรือตื้นเกินไป) หยอด 2-3 เมล็ดต่อ 1 ฟองน้ำสำหรับผักไทย แต่ถ้าเป็นผักสลัด หยอด 1-2 เมล็ดต่อ 1 ฟองน้ำ การหยอดเมล็ดพันธุ์จำนวนไม่เท่ากัน จะทำให้ผักใหญ่ไม่เท่ากัน แต่ถ้าหยอด 1 เมล็ดก็มีความเสี่ยง เสียเวลา เพราะมีโอกาสงอกน้อย การงอกของเมล็ดพันธุ์ทุกชนิด ไม่มี 100% ส่วนใหญ่อัตราการงอกอยู่ที่ 80-90%
ถ้าเลือกใช้เพอร์ไลท์ในการเพาะเมล็ด ควรใส่เพอร์ไลท์ต่ำกว่าขอบถ้วยเพาะ 1 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร

6. นำภาชนะที่ทำการหยอดเมล็ดพันธุ์เสร็จแล้ว วางในกระบะเพาะ หรือภาชนะที่ใส่น้ำได้สูงประมาณ 2 เซนติเมตร วางไว้ในที่ร่ม ระบายอากาศได้ดี มีวัสดุกันแดด กันฝน กันลม ให้น้ำโดยการสเปรย์เบาๆ ให้ชุ่มทุกเช้า และเย็น

การปลูก
เมื่อเมล็ดงอก เริ่มให้สารละลายธาตุอาหารผ่านรากในถาดเพาะก่อน แต่ควรเป็นแบบเจือจาง เปลี่ยนสารละลายธาตุอาหารสัปดาห์ละครั้งเพื่อให้รากแข็งแรง (ต้นอ่อนรับแสงรำไร ไม่ร้อนจัดได้) จนกระทั่ง ต้นพืชมีใบอ่อนได้ประมาณ 3 ใบ หรือมีอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็มาถึง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักไฮโดร

ขั้นตอนการปลูก
นำต้นอ่อนลงรางปลูกโดยการสอดต้นอ่อนด้านใบใส่ถ้วยปลูกจากก้นถ้วย เพราะถ้าเอารากลงก่อนจะทำให้รากช้ำ
การปลูกพืช ไม่ว่าจะใช้ดิน หรือไร้ดินพืชยังคงต้องการปัจจัยในการเจริญเติบโตตามปกติ คือ อาหาร และอากาศ เกษตรกรควรดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ สำหรับปัจจัยเหล่านี้ :

  • อาหาร—น้ำ+ปุ๋ย
    เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
  • อากาศ พืชจะได้รับมากน้อย ขึ้นอยู่กับแปลงปลูก ซึ่งมีหลายแบบตามสภาพพื้นที่
    แสงแดด+อุณหภูมิ พืชต้องการแสงอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนในเรื่องอุณหภูมิมินั้น รวมถึงอุณหภูมิของสารละลายธาตุอาหารในรางจะต้องไม่สูง เพราะหากน้ำร้อนไปผักไฮโดรโปนิกส์จะตาย
    ออกซิเจน ให้กับราก เพื่อใช้ดูดซึมอาหาร เพราะการให้อาหารทางใบนั้นไม่มีความจำเป็นหากไม่ได้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เป็นจำนวนมาก เพราะถ้าเป็นช่วงกลางวัน อากาศร้อน ผักมักดูเหี่ยวเฉา แต่พอกลางคืน ผักจะฟื้นตัวอัตโนมัติ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เป็นจำนวนมาก ช่วงกลางวันโดยเฉพาะในเดือน มี.ค.-พ.ค. ก็ต้องเปิดระบบพ่นหมอกระบายความร้อนในผักป้องกันโรครากเน่าจากเชื้อพิเทียมด้วย ในช่วงเวลาเที่ยง-14.30น.
    คาร์บอนไดออกไซด์ ใช้ในการสังเคราะห์แสง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

 

 

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *