การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้าวไรซ์เบอรี่ แบบโยนกล้า

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า หรือ แบบพาราชูท (Parachute) เป็นหนึ่งในสองทางเลือกของการทำนาข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่ทำให้เราได้บริโภคข้าวอินทรีย์ที่ปราศจากสารพิษ ที่สำคัญ ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรผู้ปลูกข้าว ให้ได้รับผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ
คำแนะนำ การทำนาด้วยวิธีโยนกล้า

  1. ใช้แมล็ดพันธุ์ข้าวเพียง 5 กิโลกรัม ต่อ 1ไร่ ช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์
  2. แบ่งพื้นที่บางส่วน หรือประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง

ขั้นตอน การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า มีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนการเตรียมเพาะกล้า 2 แบบคือ

วิธีเตรียมถาดเพาะกล้าแบบแห้งวิธีเพาะต้นกล้าข้าวไรซ์เบอร์รี่

  • เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ตามขั้นตอนในบทความ การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่
  • ใส่ดินปลูกลงในหลุมของถาดเพาะครึ่งหลุม หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่น้ำแล้วหลุมละ 3 ถึง 4 เมล็ด (ถ้าใช้เครื่องหยอดเมล็ด จะหยอด 1 เมล็ด ต่อ 1 หลุม)
  • โรยดินปลูกทับเมล็ดให้พอดีปากหลุม รดด้วยน้ำที่เป็นฝอยละเอียด (อาจใช้ฝักบัวรดน้ำหรือหัวฉีดที่เป็นฝอยละเอียด) เมล็ดพันธุ์ข้าวจะไม่กระเด็น ใช้ผ้าฟาง, สแลน หรือกระสอบป่านเก่าคลุม แต่ถ้าใช้สแลนจะรดน้ำได้ง่ายไม่ต้องคอยเปิดปิดวัสดุคลุม
  • รดน้ำทั้งเช้า และเย็น ประมาณ 5 ถึง 7 วัน ต้นข้าวเริ่มงอก ให้เก็บวัสดุคลุมถาดเพาะออก
  • รดน้ำวันละ 1 ครั้ง แนะนำให้รดช่วงเช้าจะดีต่อการนำไปใช้ประโยชน์ของต้นกล้า
  • ต้นกล้าอายุได้ 15 วัน ความยาวของต้นกล้าประมาณ 3 ถึง 5 นิ้ว นำไปโยนกล้า หรือ ปักดำ (ติดตามการทำนาโยนได้จากบทความ หมวดหมู่ เกษตรท้องนา) ***ระวังอย่างให้ต้นกล้าหัก***

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้าวไรซ์เบอรี่ แบบโยนกล้า

วิธีเตรียมถาดเพาะกล้าแบบเปียก

  • เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ตามขั้นตอนในบทความ การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่
  • เตรียมถาดเพาะ เตรียมดินเลนผสมน้ำหมักจุลินทรีย์ แล้วนำดินใส่ในหลุมถาดเพาะให้เต็ม ลูบเรียบให้ดินเสมอปากหลุมถาด ดินไม่ควรล้นปากหลุมเพาะ เพราะจะทำให้รากข้าวพันกันเวลาหว่านต้นกล้า
  • หยอดเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้ 3 ถึง 4 เมล็ดต่อหลุม ใช้แผ่นไม้แบนๆ กดหรือลูบเมล็ดพันธุ์ให้จมเลน โดยรักษาความชื้นตลอดไป ด้วยน้ำผสมน้ำหมักจุลินทรีย์ หาวัสดุมาคลุมเพื่อกันเมล็ดข้าวกระเด็นออกจากถาดเพาะ วางถาดเพาะบนแปลงนาที่เตรียมไว้สำหรับการเพาะต้นกล้าแบบเปียก ดูแลให้ต้นกล้าได้รับน้ำอย่างชุ่มชื้นตลอดเวลา
  • พอต้นกล้าข้าวไรซ์เบอร์รี่มีอายุประมาณ 15 วัน หรือสูงประมาณ 3 ถึง 5 นิ้ว นำไปโยนได้ทันที ก่อนนำไปโยนควรหยุดให้น้ำต้นกล้า 1 วัน

***การวางถาดเพาะต้นกล้าทั้ง 2 แบบ ควรแยกวาง 1 จุด ต่อจำนวนถาดเพาะข้าว 5 กิโลกรัม เพื่อความสะดวกในการโยกล้า ถาดเพาะในแต่ละจุด ใช้สำหรับพื้นที่โยนกล้า 1 ไร่***
ขั้นตอนการเตรียมดิน
ระยะเวลาการเตรียมดิน 3 ครั้ง แต่ละครั้ง ห่างกันประมาณ 7 วัน มีขั้นตอน ดังนี้

  • ใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ประมาณ 5 ลิตร ต่อไร่ ปล่อยลงแปลงนา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงแล้วย่ำ ให้ทั่ว 1 ถึง 2 รอบ หมักไว้ 7 วัน เพื่อล่อให้หญ้าขึ้น
  • ระบายน้ำเข้าน้ำหมักพร้อมจุลินทรีย์ ให้ท่วมพื้นนาแล้วย่ำให้หญ้าจมดิน ระบายน้ำเข้า ให้ท่วมหญ้าหมักไว้ 7 วัน
  • รักษาระดับน้ำอย่าให้แห้ง เพื่อจุลินทรีย์จะได้ย่อยสลายวัชพืชให้เน่าเปื่อย
    หรือ หว่านกรดซิลิคอนปรับสภาพดินให้ทั่วแปลงนา เพื่อเตรียมดินให้มีความอุดมสมบูรณ์

***กรดซิลิคอน นอกจากปรับสภาพดินแล้ว ยังใช้ทำให้ต้นข้าวมีระบบรากแข็งแรงสมบูรณ์ มีรากจำนวนมาก ต้นข้าวเจริญเติบโตดี แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม ใบข้าวตั้งขึ้น สามารถรับแสงแดดได้อย่างทั่วถึง อากาศถ่ายเทดี ช่วยลดการเกิดโรคและลดการสะสมของแมลง ซิลิคอนช่วยให้ใบข้าวมีความเหนียวและแข็งแรง ต้นข้าวทนต่อการเข้าทำลายของแมลง***

ก่อนโยนต้นกล้า ไถคราดแปลงนา ทำเทือกนา และลูบเรียบ
ข้อควรระวัง

  • แปลงนาที่เป็นดินเหนียว ให้ทำเทือกนาทิ้งไว้ 1 วัน จึงนำต้นกล้าไปโยน
  • แปลงนาที่เป็นดินทราย ทำเทือกนาเสร็จ ต้องโยนกล้าทันที

***การเตรียมแปลงในการทำนาครั้งต่อไป ให้พักแปลงนาให้แห้งอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้ข้าววัชพืชพ้นระยะพักตัว หรือให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ร่วงในนาก่อนนี่พร้อมที่จะงอกให้มากที่สุด ด้วยการขังน้ำในแปลง 1 คืน และปล่อยให้น้ำแห้งเองเพื่อล่อข้าววัชพืชให้งอกขึ้นมาเต็มที่ซึ่งไม่ใช้วิธีพ่นสารเคมีกำจัด แต่ให้ไถกลบทุบเป็นปุ๋ยไปเลย ควรล่อวัชพืชอย่างน้อย 1 ครั้งขึ้นไป ต่อจากนั้น ให้ไถปรับเทือกให้สม่ำเสมอมากที่สุด และปฏิบัติตามขั้นตอนการเตรียมดินก่อนโยนกล้า***
ขั้นตอนการโยนต้นกล้า ปริมาณน้ำในแปลงนาพอท่วมหน้าดิน ม้วนถาดเพาะกล้า หรือวางถาดเพาะซ้อนกันให้ต้นกล้าโน้มไปในทิศทางเดียวกันเพื่อไม่ให้ต้นกล้าหัก
วิธีโยนกล้า

  • วางถาดเพาะไว้บนแขนข้างหนึ่ง ดึงต้นกล้าออกจากถาดเพาะ โยนต้นกล้ากำมือละ 5 ถึง 15 หลุม ให้เดินถอยหลังโยน โดยตวัดหงายมือโยนต้นข้าวขึ้นสูงกว่าระดับศีรษะ ต้นกล้าจะกระจายตัวพุ่งลงตั้งตรงหรือเอนเล็กน้อย หากต้นกล้ามีระยะห่างเกินไปให้โยน
  • หลังการโยนกล้า 1-2 วัน ให้เติมน้ำทันทีและเพิ่มระดับน้ำขึ้น 5-10 เซนติเมตร เพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชได้ดีมาก ให้รักษาระดับน้ำจนถึงข้าวโตคลุมพื้นที่นา หรือจนถึงช่วงที่รวงข้าวเริ่มเหลือ หรือก่อนการเกี่ยว15 ถึง 20 วัน
  • เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ ฉีดพ่นน้ำหมักจุลินทรีย์ในแปลงนา และฉีดพ่นน้ำหมักจุลินทรีย์ทุก 7 วัน หรือหว่านกรดซิลิคอนเป็นบางช่วง สลับกันจนกระทั่งข้าวได้อายุ 75 วัน หรือ 2 เดือนครึ่ง ข้าวจะเริ่มตั้งท้องและเริ่มออกรวง งดฉีดน้ำหมักหรือหว่านกรดซิลิคอน จนวันที่ 85

ข้อดีของการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนต้นกล้า คือ

  • ป้องกันการเกิดของข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป และป้องกันโรคและแมลงศัตรูข้าว ได้ด้วยการรักษาระดับน้ำ
  • ได้ผลผลิตดี ช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์
  • ต้นกล้าที่โยนจะตั้งตัวได้ทันที หรือต้นกล้าจะไม่เหลืองเหมือนการปักดำด้วยคน
  • ต้นกล้าจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แข็งแรง มีการแตกกอดีมาก จำนวนต้น/กอ มีมากกว่าการปักดำ
  • จัดการกับโรคและแมลงศัตรูข้าวได้ง่าย ได้ผลดีกว่าการหว่านน้ำตม ใช้ต้นทุนและแรงงานน้อยกว่าวิธีอื่น

ข้อจำกัด

  • อุปกรณ์ถาดหลุมเพาะกล้าก็ยังไม่มีจำหน่ายอย่างแพร่หลาย
  • หาแรงงานโยนกล้าได้น้อย
  • ต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือ ทำในเขตชลประทานที่มีการควบคุมน้ำได้ แต่การทำนาข้าวในเขตชลประทานอาจติดปัญหาเรื่องการควบคุมปริมาณน้ำต่อปี กับจำนวนครั้งในการทำนาข้าวไรซ์เบอร์รี่ซึ่งสามารถทำได้ทั้งปี ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะ ปัญหาข้าววัชพืช

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2551, www.youtube.com การทำนาด้วยวิธีโยนกล้า, www.kasetnumchok.com)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *