การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบปักดำ

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบปักดำ

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบปักดำ มีข้อดี คือ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ได้ผลผลิตดี บริหารจัดการเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดี เนื่องจากมีระยะห่างระหว่างกอข้าวให้แสงแดดส่องทั่วถึง อากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อต้นข้าวเจริญเติบโตจะสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคหรือแมลงมา  รบกวน เพราะมีลมช่วย มีตัวห้ำ และตัวเบียนเข้าช่วยในการกำจัดศัตรูพืชได้อีกทาง ไม่มีปัญหาอย่างการทำนาหว่าน การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบปักดำ มีขั้นตอน ดังนี้ การเตรียมน้ำหมักจุลินทรีย์ (หน่อกล้วย) ส่วนผสม และอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม หน่อกล้วย 1 ต้น เครื่องดื่มกลูโคส 1 ขวด ขัณฑสกร 2 ช้อนโต๊ะ ลูกแป้งข้าวหมาก 6 ลูก ยาคูลย์ 2 ขวด (เพราะไม่มีสารกันบูด) น้ำส้มสายชู 1 ขวด น้ำเปล่า 150 ลิตร หิน ขนาด 1 ถึง 2 นิ้ว 1ก้อน ตะแกรงพลาสติก หรือกระถางปลูกกล้วยไม้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว (ให้ใส่ก้อนหินที่เตรียมไว้ได้) เชือก ถังพลาสติก 200 […]

Read more

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

การป้องกันปัญหาข้าวไรซ์เบอร์รี่

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ จะปฏิบัติโดยปราศจากการใช้สารเคมี และส่วนใหญ่แล้ว การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่จะมีปัญหาเรื่องโรค และแมลงศัตรูพืชน้อยมาก เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่จะให้การดูแล เอาใจใส่ และป้องกันเป็นอย่างดี โดยวิธีธรรมชาติ แต่หากเกิดปัญหา หรือความเสียหาย ให้รีบแก้ไขทันที การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีดังนี้ ปัญหาการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ โรคเชื้อราในการเพาะกล้า อาการของโรค เริ่มพบอาการได้หลังจากการเพาะกล้าข้าวในถาดเพาะ เมล็ดข้าวบางส่วนที่เพาะไม่งอกและมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุมส่วนเมล็ดที่งอก ต้นกล้าจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นกล้าข้าวปกติ และเมื่อถอนต้นกล้าข้าวขึ้นมาดู ก็จะพบส่วนรากและโคนต้นกล้ามีแผลสีน้ำตาล และแผลที่เกิดบนโคนต้นจะลุกลามขึ้น ไปยังส่วนบนของต้นกล้าทำให้ต้นกล้าเน่าตาย ในขณะเดียวกันเชื้อราสาเหตุของโรคจะขยายจากจุดเริ่มต้นที่เป็นโรคออกไปบริเวณโดยรอบไปยังต้นกล้าข้างเคียง ในกรณีที่เพาะต้นกล้าหนาแน่น เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของถาดเพาะได้อย่างรวดเร็ว ต่อจากนั้นก็จะพบอาการตายของต้นกล้าข้าวเป็นหย่อมๆ กรณีที่เป็นโรคถาดเพาะกล้ารุนแรงทำให้ไม่สามารถนำต้นกล้าข้าวนั้นไปใช้ปักดำได้ การป้องกันกำจัด การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ป้องกันการเกิดโรคจากเชื้อราที่ปนเปื้อนมากับขี้เถ้าแกลบ เช่น การตากขี้เถ้าแกลบเป็นเวลาประมาณ 1 ถึง 2 วัน จากนั้นนำขี้เถ้าแกลบลงไปแช่น้ำที่ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตตราส่วน 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร เป็นเวลาประมาณ 20 ถึง 30 นาที และเทน้ำทิ้งจากนั้นจึงสามารถนำไปเพาะกล้าได้ต่อไป การใช้สารคอปเปอร์ซันเฟต โดยป็นสารที่สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้รับรองว่าสามารถใช้ได้ในการปลูกข้าวระบบเกษตรอินทรีย์ ทำการฉีดพ่น อัตราส่วน 19 กรัม ต่อน้ำ 18 […]

Read more

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในวงบ่อซีเมนต์และยางรถยนต์เก่า

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

  การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในวงบ่อซีเมนต์และยางรถยนต์เก่า สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณบ้าน หรือพื้นที่ที่มีจำกัด เหมาะสำหรับการปลูกข้าวไว้รับประทานกันในครัวเรือน โดยเฉพาะข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ปลูกแบบอินทรีย์ ต้องการการดูแลเอาใจใส่ให้ต้นข้าวมีความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง การปลูกสามารถทำได้ในภาชนะที่ขังน้ำได้ เช่น บ่อซีเมนต์ อ่างเลี้ยงปลา ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ การปลูกในวงบ่อซีเมนต์ และยางรถยนต์เก่า เท่านั้น ข้อแตกต่าง ของ การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในวงบ่อซีเมนต์และยางรถยนต์เก่า วงบ่อซีเมนต์ จะมีความสะดวกในการทำวาล์วเปิดปิดระบายน้ำ ส่วนยางรถยนต์เก่า จะระบายน้ำได้ยากกว่า ถ้าหาวิธีทำวาล์วเปิดปิด หรือช่องระบายน้ำไม่ได้ ต้องใช้ขันตักน้ำออก วงบ่อซีเมนต์ สามารถสั่งซื้อแบบที่มีพื้นบ่อสำเร็จรูปได้ ส่วนยางรถยนต์เก่าต้องใช้ซีเมนต์หล่อพื้น ยางรถยนต์ ประหยัดพื้นที่กว่า วงบ่อซีเมนต์แข็งแรงกว่า มีอายุการใช้งานนานกว่า การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในวงบ่อซีเมนต์ สิ่งที่ต้องเตรียม วงบ่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร สามารถสั่งทำแบบมีพื้นบ่อสำเร็จรูป หรือ ซื้อพื้นรองวงบ่อซีเมนต์ขนาดเดียวกัน แต่จะต้องป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึมออกจากบ่อได้ โดยใช้ปูนผสมน้ำยากันซึม เทปิดหรือฉาบร่องระหว่างวงบ่อกับพื้นรองให้เรียบ อย่าลืมเว้นช่องระบายน้ำไว้ ปล่อยไว้ให้แห้ง จากนั้นทำซ้ำขั้นตอนเดิม เมื่อแห้งแล้ว ทดลองใส่น้ำเพื่อทดสอบรอยรั่ว ถ้ายังมีน้ำซึมออกได้ให้ทำซ้ำขั้นตอนเดิมจนกว่าจะไม่มีน้ำรั่วซึมออกมา ใส่ดินสูง 30 ถึง 35 เซนติเมตร ใส่น้ำให้ท่วมดิน ทิ้งไว้ […]

Read more

การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วยปุ๋ยสมุนไพร

บำรุงข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วยปุ๋ยสมุนไพร

การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วยปุ๋ยสมุนไพร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ เนื่องจากข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นสายพันธุ์ข้าวที่เน้นการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ การให้น้ำเลี้ยงโคนต้นข้าวจนออกรวงนั้น ไม่เพียงพอต่อต้านโรคและแมลงได้ 100 เปอร์เซนต์ ด้วยเหตุผลทางสิ่งแวดล้อมต่างต่างนานา การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้สมบูรณ์แข็งแรง ช่วยต้านโรคและแมลงได้อย่างมาก นอกจากนี้แล้ว ยังได้เมล็ดข้าวที่เต่ง สมบูรณ์ ผู้เขียนมีความตั้งใจ รวบรวมสูตร ปุ๋ยสมุนไพร และแถมท้ายด้วย ฮอร์โมนสมุนไพร มาฝากเกษตรกร และเกษตรกรมือใหม่ เพื่อนำไปใช้หรือดัดแปลงให้สะดวก และได้ประโยชน์มากที่สุด และท่านสามารถสืบค้นสูตรสมุนไพรไล่แมลง และต่อต้านโรค ได้จากบทความ สมุนไพรใกล้ตัว ผักสวนครัว ยาป้องกันโรคและแมลงศัตรูข้าว แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน และ การบำรุงรักษาข้าวไรซ์เบอร์รี่ ด้วยปุ๋ยสมุนไพร ปุ๋ยสมุนไพร น้ำหมักชีวภาพสูตรเศษอาหารเหลือทิ้ง สูตรที่1 (คุณสมยศ รักษาวงศ์) ส่วนผสม ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน วิธีทำ ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน […]

Read more

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า หรือ แบบพาราชูท (Parachute) เป็นหนึ่งในสองทางเลือกของการทำนาข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่ทำให้เราได้บริโภคข้าวอินทรีย์ที่ปราศจากสารพิษ ที่สำคัญ ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรผู้ปลูกข้าว ให้ได้รับผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ คำแนะนำ การทำนาด้วยวิธีโยนกล้า ใช้แมล็ดพันธุ์ข้าวเพียง 5 กิโลกรัม ต่อ 1ไร่ ช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ แบ่งพื้นที่บางส่วน หรือประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ขั้นตอน การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบโยนกล้า มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนการเตรียมเพาะกล้า 2 แบบคือ วิธีเตรียมถาดเพาะกล้าแบบแห้งวิธีเพาะต้นกล้าข้าวไรซ์เบอร์รี่ เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ตามขั้นตอนในบทความ การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ใส่ดินปลูกลงในหลุมของถาดเพาะครึ่งหลุม หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่น้ำแล้วหลุมละ 3 ถึง 4 เมล็ด (ถ้าใช้เครื่องหยอดเมล็ด จะหยอด 1 เมล็ด ต่อ 1 หลุม) โรยดินปลูกทับเมล็ดให้พอดีปากหลุม รดด้วยน้ำที่เป็นฝอยละเอียด (อาจใช้ฝักบัวรดน้ำหรือหัวฉีดที่เป็นฝอยละเอียด) เมล็ดพันธุ์ข้าวจะไม่กระเด็น ใช้ผ้าฟาง, สแลน หรือกระสอบป่านเก่าคลุม แต่ถ้าใช้สแลนจะรดน้ำได้ง่ายไม่ต้องคอยเปิดปิดวัสดุคลุม รดน้ำทั้งเช้า และเย็น ประมาณ 5 ถึง 7 […]

Read more

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ในกลุ่มผู้บริโภค หรือชาวนามือใหม่ที่หันมาปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่กันในปัจจุบัน ด้วยความรักสุขภาพ ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคุณปประโยชน์สูง แต่มีราคาสูงตามไปด้วย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้คนสนใจ หันมาปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ไว้รับประทานกันเอง ทั้งในที่นาสำหรับคนที่มีพื้นที่ และในยางรถยนต์เก่า หรือวงบ่อซีเมนต์ สำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย ถึงแม้ว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่จะเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ ไม่เป็นที่นิยมเพาะปลูกในกลุ่มเกษตรกรมากนัก เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ข้าวที่ดูแลรักษายาก ต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต้องปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งสภาวะแวดล้อมของพื้นที่เพาะปลูกก็บีบบังคับหากที่นาข้างเคียงยังมีการใช้สารเคมีอยู่ การเกษตรแบบอินทรีย์ก็เป็นไปค่อนข้างยาก รวมไปถึงสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมในบางพื้นที่ ซึ่งลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในระบบเกษตรอินทรีย์ คือ พื้นที่ในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการรวมกลุ่มของเกษตรกรหรือสมัครเข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนการปลูกข้าวอินทรีย์ ซึ่งจะดูแลในทุกขั้นตอนตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงการตลาด ตัวอย่าง โครงการข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ http://www.riceberryvalley.org/ เกษตรกรที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลได้จากลิ้งค์ที่ให้ หรือ ติดต่อ 084-920-8758, 085-408-0178, 086-479-5603 ก่อนศึกษาข้อมูล การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขอแนะนำที่มาของไรซ์เบอร์รี่ซักนิด… ข้าวไรซ์เบอรี่ (ภาษาอังกฤษ: Rice Berry) เป็นข้าวสายพันธุ์ไทย จากผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และทีมนักวิจัยจาก ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่าง ข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 […]

Read more