โรงเรือนปลูกพืชแบบปลอดสารพิษ

โรงเรือนปลูกพืช แบบปลอดสารพิษ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงเรือนปลูกพืช

โรงเรือนปลูกพืชแบบปลอดสารพิษ ใช้ได้ในการเพาะปลูกทั้งแบบใช้ดิน และไร้ดิน ไม่ว่าจะเป็นผักสลัด, ผักสวนครัว, กล้วยไม้ โดยเฉพาะผักและดอกไม้เมืองหนาว
ประโยชน์ของ โรงเรือนปลูกพืช

  • ป้องกันโรค และแมลงศัตรูพืช
  • ป้องกันวัชพืช
  • ช่วยกรองแสงแดดในเวลากลางวัน กันน้ำค้างเวลากลางคืน
  • ป้องกันน้ำฝน สามารถให้น้ำได้ตามความเหมาะสม ลดการเกิดโรคที่เกิดจากน้ำฝนได้
  • สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี
  • สามารถควบคุมคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ

ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือน
ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือนขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ และขนาดของโรงเรือน ซึ่งมีตั้งแต่หลักพัน จนถึงหลักแสน
โครงสร้างโรงเรือน
วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างโรงเรือนนั้น เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามต้องการและงบประมาณ แต่ควรคำนึงถึงความแข็งแรง และอายุการใช้งาน เช่น

  • โครงไม้ – ไม้เนื้อแข็งจะมีราคาแพงกว่าไม้เนื้ออ่อน และแน่นอนความแข็งแรงของไม้เนื้อแข็งย่อมมากกว่า ที่สำคัญ ไม้เนื้ออ่อนจะมีปัญหาเรื่องปลวก หรือมอด ที่คอยกัดกินเนื้อไม้ให้       ผุกร่อนเร็วขึ้น ซึ่งถ้าแก้ปัญหาด้วยการใช้ยากำจัดปลวก ก็จะมีผลกระทบด้านสารเคมีต่อพืชผักที่อยู่ในโรงเรือน โครงท่อพีวีซี หรือท่อน้ำประปาสีฟ้า-ราคาถูก แต่อายุการใช้งานสั้น แตกหักง่ายเมื่อถูกกระแทกหรือกดทับ และเมื่อตากแดดตากฝนไปนานๆ ก็จะกรอบแตก
  • โครงเหล็กชุบกัลวาไนซ์ – ราคาแพงกว่าท่อพีวีซี แต่ถ้าเปรียบเทียบคุณสมบัติกันแล้ว ก็นับว่าไม่แพงกว่ากันเท่าไหร่ เพราะมีอายุการใช้งานนานถึง 50 ปี แข็งแรง ไม่เป็นสนิมเพราะชุบกัลวาไนซ์ และไม่มีปัญหาอื่นๆ ตามมา
  • โครงโรงเรือนสำเร็จรูป – แบบอุโมงค์ และแบบหลังคาโค้ง ทำจากเหล็กชุบกัลวาไนซ์ เกษตรกรสามารถประกอบและติดตั้งเองได้ ไม่ยุ่งยาก หากยังตัดสินใจเลือกไม่ได้ว่าจะทำโรงเรือนด้วยวัสดุอะไร ลองศึกษาตัวอย่างที่แนะนำนะคะ จากนั้นก็เตรียมวัสดุ – อุปกรณ์ ในการทำโรงเรือน และปฏิบัติตามขั้นตอนการทำโรงเรือน

วัสดุ-อุปกรณ์ ในการทำโรงเรือนปลูกพืช โครงสร้างเหล็กชุบกัลวาไนซ์

  • เสาโรงเรือน ใช้เหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์ ขนาด 1.5 นิ้ว
  • คานระนาบ และคานยาวด้านข้าง ใช้เหล็กกลมชุบกัลวาไนซ์ ขนาด 1 นิ้ว
  • โครงหลังคา แขนค้ำยัน เสากระโดง และแขนยึดโค้ง เหล็กกลมชุบกัลวาไนซ์ ขนาด 1 นิ้ว
  • คานยาวยึดโค้งด้านบน และคานยาวยึดคานระนาบ เหล็กกลมชุบกัลวาไนซ์ ขนาด 3/4 นิ้ว
  • ประตูใช้เหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์ หรือทำแบบบังใบด้วยมุ้งกันแมลง
  • พลาสติกคลุมดิน PE (พีอี)+HD (เอชดี) เป็นพลาสติกคุณภาพดี มีความยืดหยุ่นสูง ทนแดด ทนฝน

ด้านที่เป็นสีเงินจะช่วยสะท้อนแสงแดด เก็บความชุ่มชื้นได้นาน มีตั้งแต่ขนาดกว้าง 80, 100, 120 และ 150 เซนติเมตร ยาว 400 หลา แต่ให้พิจารณาความหนาเป็นหลัก ตั้งแต่ 25, 28, 30, 32, 35 และ 40 ไมครอน ใช้ปูพื้นโรงเรือนเพื่อป้องกันวัชพืช ถึงแม้ว่าพืชผักในโรงเรือนจะเพาะปลูกแบบไร้ดินหรือไฮโดรโปนิกส์ก็ตาม หากมีวัชพืชขึ้นภายในโรงเรือน ก็อาจนำมาซึ่งโรคและแมลงศัตรูพืชได้ และการปูพลาสติกคลุมดินภายในโรงเรือนก็ช่วยให้เกษตรกรประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายแรงงานในการกำจัดวัชพืชได้ดี

มุ้งกันแมลง หรือมุ้งไนล่อน คลุมด้านข้างโรงเรือน เหนียว ทนแดดทนฝน ป้องกัน UV (ยูวี), แมลง และศัตรูพืช, ละอองสารเคมีจากพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งยุงและแมลงต่างๆ ในเวลากลางคืน

มุ้งกันแมลงมีสีขาวและสีฟ้า เลือกขนาดได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แต่พิจารณาความถี่หรือขนาดตาเป็นหลักสีฟ้า มีความถี่ 16 และ 20 ตา ส่วนสีขาว มีความถี่ 16, 20, 24, 32, และ 40 ตาความถี่หรือขนาดตา คือ จำนวนรูต่อตารางนิ้ว จำนวนตามากคือความถี่มาก กันแมลงได้มากกว่า แต่แพงกว่า ส่วนข้อเสีย คือ ระบายความร้อนได้น้อย เพราะฉะนั้น ควรเลือกความถี่ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศในพื้นที่ และชนิดพืชที่ปลูก เช่น เมล่อน ใช้ความถี่ 40 หรือ 32 ตา

พลาสติกทำหลังคาโรงเรือน
เลือกจากสี, ความหนา และเปอร์เซนต์ของสารกัน UV ที่เคลือบพลาสติก PE เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
สีใส UV 3เปอร์เซนต์, 5เปอร์เซนต์ และ 7เปอร์เซนต์
สีดำ UV 3เปอร์เซนต์ ความกว้าง มี 2, 3, 4 และ 7 เมตร ความยาว 100 เมตร ส่วนความหนาของพลาสติกโรงเรือนให้เหมาะ ความหนามีแบบ 100 ไมครอน, 150 ไมครอน, 200 และ 300 ไมครอน หนามากอายุใช้งานก็มากขึ้น โดยปกติมีอายุใช้งานประมาณ 3 ถึง 5 ปีขึ้นกับสภาพอากาศ หากมีลมแรงกระโชกหรือโดนพายุบ่อยๆ อายุการใช้งานก็จะสั้นลง
ผ้าลาน เหมาะสำหรับคลุมโรงเรือนเพาะกล้า หรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ผ้าลานเป็นพลาสติกเกรด A (เอ) สีฟ้า เหนียว ทนทาน ไม่ขาดง่าย
รางล็อค หรือ สปริงล็อค (เหล็กกล่อง หรือเหล็กสี่เหลี่ยม) หรือ คลิปล็อค
เทปติดซ่อมโรงเรือน หรือ รางต่อพลาสติก หรือ รางเหล็ก ใช้สำหรับเชื่อมต่อพลาสติก
ขั้นตอนการทำ โรงเรือนปลูกพืช

  1. ติดตั้งโครงสร้างโรงเรือนตามแบบเรียบร้อยแล้ว
  2. ปูพื้นโรงเรือนด้วยพลาสติกคลุมดิน
  3. ติดตั้งมุ้งกันแมลงด้านข้างโรงเรือนให้รอบ ดึงให้ตึง
  4. ติดตั้งพลาสติกทำหลังคาโรงเรือน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขึงพลาสติกโรงเรือน

การติดตั้งพลาสติกทำหลังคาโรงเรือน

  1. ตัดพลาสติกทำหลังคาโรงเรือนตามความยาวที่ต้องการ (ความยาวหรือความกว้างของพลาสติกทำหลังโรงเรือนกับขนาดโครงสร้างโรงเรือนนั้น ถ้าไม่พอดีกัน หรือจำเป็นต้องเชื่อมต่อพลาสติก สามารถใช้วิธีรีดร้อน, ติดเทป, ใช้รางต่อพลาสติก หรือรางเหล็ก)
  2. คลี่พลาสติกฯ ออก แล้วม้วนโดยใช้แกนกระดาษ หรือท่อพีวีซี (ขนาดใหญ่ แต่มีน้ำหนักรวมกับพลาสติกฯ ที่เหมาะสมกับการม้วนพลาสติกฯ ขึ้นไปบนหลังคา) ควรม้วนให้ปลายเสมอกัน ในกรณีที่หลังคาไม่สูงมาก ก็ไม่จำเป็นต้องม้วน ใช้วิธีการพับทบได้
  3. นำม้วนพลาสติกฯ ขึ้นพาดบนหลังคาโรงเรือน แล้วค่อยๆ กลิ้งพลาสติกฯ ออกจากม้วนไปบนโครงหลังคาพร้อมๆ กันทั้งสองด้าน
    ***ถ้าพลาสติกฯ มีขนาดกว้างกว่าโครงหลังคา ให้ปลายชายพลาสติกฯ ชิดขอบโครงหลังคาด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสะดวกในการตัดชายออกเพียงด้านเดียว***
  4. ดึงพลาสติกฯ ให้ตึงทุกด้าน ล็อคชายพลาสติกฯ ปิดทับมุ้งกันแมลงด้วยสปริงล็อค, รางล็อค หรือคลิปล็อค
  5. ทำประตูทางเข้า-ออก และตรวจเช็คโดยรอบให้ทั่วโรงเรือน ว่ามีช่องโหว่ให้แมลงเข้าไปได้หรือไม่ ถ้าพบ ให้ทำการแก้ไขทันที

ด้วยขั้นตอนเพียงเท่านี้ ก็ทำการเพาะปลูกภายในโรงเรือนได้แล้วค่ะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล : www.hellofarming.com, https://www.youtube.com/watch?v=8iOtDlp9rzk)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *