โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม

โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม

  โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม มีอยู่ไม่มากนัก และมีวิธีป้องกันกำจัดที่ไม่ยุ่งยาก หากเกษตรกรหรือผู้ปลูกอินทผาลัมละเลย ไม่ใส่ใจดูแล ก็จะทำให้เรื่องง่ายกลายเป็นยาก และเกิดความเสียหายอย่างแน่นอน…กันไว้ดีกว่าแก้ดีกว่านะคะ   ขั้นตอนการป้องกันกำจัด โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม โรคอินทผาลัม โรคใบไหม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis อาการของโรคใบไหม้ เกิดแผลรูปร่างกลมรีที่มีรอยบุ๋มตรงกลางเนื้อแผลสีน้ำตาล ขอบแผลนูน มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ความยาวของแผลประมาณ 7 ถึง 8 มิลลิเมตร ในขั้นรุนแรง แผลขยายตัวรวมกันทำให้ใบแห้งม้วนงอ เปราะ และฉีกขาดง่าย ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต และตายได้   การป้องกันและกำจัด เผาทำลายใบและต้นที่เป็นโรค ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ไม่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น ไทแรม 75 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5 ถึง 7 วัน ในช่วงที่มีการระบาด   โรคยอดเน่า พบระบาดมากในฤดูฝน โรคนี้สามารถเข้าทำลายต้นอินทผาลัมตั้งแต่ในระยะต้นกล้า และพบมากกับต้นอินทผาลัมที่มีอายุ 1 ถึง […]

Read more

การดูแลอินทผาลัมหลังการปลูก

การดูแลอินทผาลัมหลังการปลูก

การดูแลอินทผาลัมหลังการปลูก ตามที่เคยกล่าวถึงในบทความ อินทผาลัมว่าการดูแลอินทผาลัม นั้นง่าย แต่ต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธี ให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูง สมกับการรอคอย การดูแลอินทผาลัม ให้ถูกวิธีจะเน้นไปที่เรื่องการให้น้ำเป็นหัวใจสำคัญ       ขั้นตอนการดูแลอินทผาลัม มีวิธีปฏิบัติดังนี้ การให้น้ำ   เมื่อนำต้นกล้าปลูกลงดินแล้ว รดน้ำอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง เป็นระยะเวลา 1 เดือน เมื่อต้นโต ควรรดน้ำต้นอินทผาลัมประมาณ 1 ถึง 3 วัน ต่อครั้ง ในช่วงเช้า หรือช่วงเย็น โดยรดน้ำให้ชุ่มหรือประมาณ 15 ถึง 25 ลิตร ต่อต้น ต่อครั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นกับความชื้นในอากาศ หากอากาศชื้น ดินชุ่มชื้น การให้น้ำสามารถเว้นระยะห่างออกไปได้ ในฤดูฝน ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ หรือหากมีฝนทิ้งช่วงและดินรอบโคนต้นแห้ง ให้รดน้ำให้ชุ่ม การปลูกอินทผาลัมในเชิงพาณิชย์ ควรติดตั้งระบบการให้น้ำ เพื่อให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกฤดูกาล ในฤดูร้อน พ่นละอองน้ำโดยรอบเพื่อความชุ่มชื้น โดยเฉพาะในระยะต้นกล้า ควรพ่นละอองน้ำวันละ 1 ถึง 2 ครั้งในช่วง 3 ถึง 4 […]

Read more

การปลูกอินทผาลัม

การปลูกอินทผาลัม

การปลูกอินทผาลัม จะได้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกอะโวคาโดค่ะ ต้นอินทผาลัมจะเริ่มให้ผลครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 3 ปี อย่าเพิ่งท้อนะคะ ผู้เขียนขอแนะนำให้ทำไร่นาสวนผสมด้วยการปลูกอินทผาลัมเป็นไม้ผลยืนต้นที่มีอายุยืนยาวถึงหลักร้อยปี และในพื้นที่เดียวกัน ควรปลูกพืชล้มลุก พืชหมุนเวียน หรือเลี้ยงสัตว์ให้มีรายได้หลายๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นรายได้หลัก รายได้เสริม เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น แม้ว่าจะรวยไม่ได้ ก็ขอให้มีความเป็นอยู่ที่สบาย มีรายได้หมุนเวียน มีเงินทุนสำรอง คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรง และหลังจากที่เราปลูกอินทผาลัมไปประมาณ 5 ปี คราวนี้ล่ะค่ะ เราจะมีรายได้จากผลผลิตอินทผาลัมไปอีกหลายสิบปี ถึงรุ่นหลานกันเลย ขอพูดถึงอินทผาลัมอีกสักนิดนะคะ ก่อนจะพาท่านผู้อ่านไปถึงขั้นตอนการปลูก เพราะเด็กๆ รุ่นใหม่จะได้รู้จักอินทผาลัมกันมากขึ้น…อินทผาลัมถือเป็นผลไม้มงคล ซึ่งหมายถึง ผลไม้ของพระอินทร์ เป็นการผสมคำจากภาษาบาลีและสันสกฤตค่ะ หลายคนคงรู้สึกว่า ชื่อแปลกจากภาษาไทยไปบ้าง คำว่า ‘อินฺท’ (inda) ในภาษาบาลีหรือ ‘อินฺทฺร’ (indra) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง พระอินทร์ ผสมกับคำว่า ‘ผลมฺ’ (phalam) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ผลไม้ จึงได้ชื่อว่า ‘อินทผาลัม—ผลไม้ของพระอินทร์’ นับว่าอินทผาลัมเป็นผลไม้ที่มีตำนาน มีความเชื่อทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวพันมากกว่าผลไม้อื่นๆ และรสชาติของอินทผาลัมก็หวานขั้นเทพนะคะ ที่เปรียบเปรยแบบนี้ ก็เพราะอินทผาลัมหวานฉ่ำตามธรรมชาติ อร่อยตามธรรมชาติ เมื่อนำมาแปรรูป ก็ไม่ต้องปรุงแต่งรสใดๆ […]

Read more

อินทผาลัม

อินทผาลัม

อินทผาลัม ผลไม้ชนิดนี้ เมื่อได้ยินชื่อก็ให้นึกถึงแต่ผลไม้ตากแห้ง และครั้งหนึ่งเคยไปเยือนทะเลทราย แค่เฉพาะในสนามบินก็มีอินทผาลัมจำหน่ายในกล่องสวยๆ เต็มไปหมด ในตอนนั้นก็สงสัยว่าทำไมประเทศแถบตะวันออกกลางจึงนิยมรับประทานอินทผาลัมกัน มารู้ทีหลังว่า อินทผาลัม เป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แบบทะเลทราย คือ ร้อน และแห้งแล้ง อย่างในประเทศแถบตะวันออกกลางนั่นเอง สำหรับประเทศไทย อินทผาลัม ยังเป็นผลไม้ที่มีราคาสูงมาแต่ไหนแต่ไร และแพร่หลายในกลุ่มชาวไทยมุสลิมมาก เพราะนอกจากประโยชน์ที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอินทผาลัมแล้ว ยังเป็นการรับประทานตามความเชื่อทางศาสนาโดยเฉพาะในเดือนรอมฎอน หรือเดือนของการถือศีลอด การละศีลอด สามารถรับประทานอินทผาลัมได้ เป็นความเชื่อจากศาสดาฮัมหมัด ที่ส่งเสริมให้ชาวมุสลิมรับประทานแต่เพียงอินทผาลัมกับน้ำเปล่า แต่หากว่าไม่สามารถหาผลไม้ชนิดนี้ในช่วงเวลานั้นได้ ก็จะใช้วิธีการจิบน้ำเปล่าแทน การถือศีลอดของชาวมุสลิมด้วยวิธีนี้ แม้จะไม่มีการรับประทานอาหารใดๆ เข้าไปก็ตาม ส่วนสาเหตุที่อินทผาลัม ยังคงราคาสูงอยู่นั้น เนื่องจากประเทศไทยยังต้องนำเข้าอินทผาลัมมาจากต่างประเทศ ทั้งในแบบแปรรูปและผลสด เนื่องจากไม่ค่อยมีคนนิยมปลูกอินผาลัมกันมากนัก จากข้อมูลที่ได้ทราบมาส่วนใหญ่จะให้สาเหตุว่าเป็นเพราะสภาพอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทย ทำให้อินผาลัมเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร แท้ที่จริงแล้ว อากาศของบ้านเราไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของอินทผาลัม แต่การดูแลอินทผาลัมหลังการปลูก คือ สิ่งสำคัญที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการให้น้ำ บทความนี้ ผู้เขียนตั้งใจนำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จัก และเรียนรู้เกี่ยวกับอินทผาลัมกันให้มากขึ้น จากนั้นนำไปต่อยอดการทำเกษตร เพื่อให้เกิดความต่างในการประกอบอาชีพ ผลไม้หลายชนิดในตลาดของประเทศเราประสบปัญหาสินค้าล้นตลาดทุกๆ ปี ในขณะที่ผลไม้บางชนิด เรายังต้องนำเข้ามาจากประเทศอื่นและจำหน่ายในราคาแพง ทั้งที่เราสามารถทำการเพาะปลูกในบ้านเราได้ ถ้าเราปลูกพืชผักผลไม้ที่จำหน่ายได้ราคา และการแข่งขันไม่สูง แน่นอน…ย่อมดีกว่าการที่จะต้องไปแข่งขันกับเกษตรกรรายอื่นซึ่งจำหน่ายไม่ได้ราคาและผลตอบแทนที่ดี ที่แสดงความคิดเห็นแบบนี้ ใช่ว่าจะชวนท่านผู้อ่านปลูกอินทผาลัมเพียงอย่างเดียวหรอกนะคะ โดยส่วนตัว ผู้เขียนเห็นด้วยกับการทำเกษตรแบบผสมผสานค่ะ […]

Read more