การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่แบบไม่กลับกอง

ปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง

การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่แบบไม่กลับกองวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นผลการค้นคว้าวิจัยของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2552 เกิดนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ต้องพลิกกลับกอง เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดี ปริมาณมากครั้งละ 10-100 ตัน มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2551 เสร็จภายในเวลาเพียง 60 วัน ด้วยกรรมวิธี การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ แบบไม่กลับกอง เรียกว่า ‘วิศวกรรมแม่โจ้1’ การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ ไม่ส่งผลเสียใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่น น้ำไม่เสีย ใช้วัตถุดิบมีเพียงเศษพืช กับมูลสัตว์เพียง 2 อย่างเท่านั้น ส่วนผสม เศษพืช : ฟางข้าว เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผักตบชวา 4 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน เศษใบไม้ 3 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน วิธีทำ 1.นำฟางข้าว หรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4 ส่วน กองเป็นชั้นบางๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 2.50 […]

Read more

การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น

ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น

เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และประหยัดต้นทุนการทำปุ๋ยหมัก ควรเลือก การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น คำว่าวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นนั้น ไม่ว่าในสวน ในบริเวณบ้านของเราจะมีวัสดุเหลือใช้ชนิดใด ก็สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยได้ทั้งนั้น อาจจะทำไว้ใช้ในครัวเรือน เรือกสวนไร่นาของตัวเอง หรือจำหน่ายเสริมรายได้ ซึ่งไม่ต้องลงทุนมาก ตัวอย่างเช่น ทำสวนลำไย ก็ใช้กิ่งและใบลำไยมาทำปุ๋ยหมัก หรือ กิ่งและใบไม้อื่นๆ ก็นำมาผสมปนเปกันได้ ข้อมูล การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น ในบทความนี้ ได้มาจากประสบการณ์ตรงของเกษตรกร โดยผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมาจาก หนังสือ ล้ำยุคกับ…นวัตกรรมปุ๋ยหมัก โดย อภิชาต ศรีสะอาด หรือ ถ้าเกษตรกรอยู่ใกล้พื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมที่มีเศษวัสดุเหลือใช้ ที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้ สามารถศึกษาสูตรการทำปุ๋ยหมักเพิ่มเติมจากบทความ เคล็ดลับการทำปุ๋ยหมัก ด้วยวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม สูตรการทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น มีดังนี้ สูตรการทำปุ๋ยหมักโดยใช้กิ่งลำไย ของ คุณดำรงค์ จินะภาศ นายกเทศมนตรีดำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้คิดพัฒนาวิธีการทำให้ต้นไม้สมบูรณ์ขึ้น โดยใช้วัสดุเหลือใช้อย่างกิ่งและใบลำไย จนได้ สูตรการทำปุ๋ยหมักโดยใช้กิ่งลำไย โดยมีรายละเอียดดังนี้ การทำปุ๋ยหมักใต้โคนต้น ส่วนผสม 1.กิ่งและใบลำไย 100-200 กิโลกรัม รัศมี 6 เมตร (ปริมาณที่ได้มากน้อยขึ้นอยู่กับการตัดแต่งกิ่ง) หรือเศษพืชอื่นที่หาได้ในท้องถิ่น 2.ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม ต่อต้น (สำหรับต้นใหญ่ […]

Read more

การทำปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมัก

เริ่มต้น การทำปุ๋ยหมัก โดยเลือกสถานที่ที่เหมาะสม : อยู่ใกล้กับแหล่งวัสดุให้มากที่สุดเพื่อความสะดวกในการขนย้าย อยู่ใกล้แหล่งน้ำใช้ แต่ไม่อยู่ใกล้แหล่งน้ำดื่ม เป็นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง เตรียมวัสดุ การทำปุ๋ยหมัก ให้พร้อม ตามรายการเหล่านี้ : ซาก เศษวัสดุที่ทำเป็นชิ้นเล็กๆ แล้ว มูลสัตว์ หรือปุ๋ยคอก ช่วยย่อยสลาย ปุ๋ยเคมี เพิ่มธาตุอาหาร และช่วยย่อยสลาย ปูนขาว ประมาณ 20 กิโลกรัม ต่อซากพืชแห้ง 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม ช่วยปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น พลั่ว, ไม้หรืออุปกรณ์ทำคอก( ในกรณีที่ กองในคอก ) ก่อนลงมือทำปุ๋ยหมัก ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ : เศษวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก ไม่ควรใช้เศษวัสดุที่สลายตัวเร็วและสลายตัวช้าปนไว้ในกองเดียวกัน ปุ๋ยหมักที่ได้ไม่สม่ำเสมอ เศษวัสดุที่สลายตัวช้า เช่น แกลบ ขี้เลื่อย รำ กากอ้อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด ปนกองเดียวกันได้ ส่วนเศษวัสดุที่สลายตัวเร็ว เช่น ฟางข้าว […]

Read more