แมลงและศัตรูของเห็ดการป้องกัน

แมลงและศัตรูของเห็ด

แมลงและศัตรูของเห็ด

แมลงศัตรูเห็ด

แมลงศัตรูเห็ด

แมลงและศัตรูของเห็ด เกิดขึ้นได้กับทั้งเห็ดฟาง และเห็ดถุงชนิดต่างๆ ในบทความนี้ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ แมลงและศัตรูของเห็ด และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการป้องกัน และการกำจัดแมลงและศัตรูเห็ดฟาง และเห็ดถุงชนิดต่างๆ ไว้ดังนี้

แมลงและศัตรูของเห็ดฟาง การป้องกัน การกำจัด

ไรเห็ด วงจรชีวิตไรในการเจริญเติบโต เริ่มตั้งแต่ตอนเป็น ไข่ จนโตนั้นสั้นมาก โดยใช้เวลาเพียง 4-5 วันเท่านั้น โดยทั่วไปจะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ถึง 4 เท่า ตัวเมียสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการออกไข่และเป็นตัว โดยไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้อีก ระยะเวลาท้องแตกใช้เวลาประมาณ 9 วัน อายุของตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ จะมีชีวิตอยู่ประมาณ 7-11 วัน ซึ่งสั้นกว่าตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ คือประมาณ 10-16 วัน การระบาดของไร สามารถระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เส้นใยเห็ดกำลังแผ่ออกไป หากมีพวกไรดังกล่าวระบาดก็จะทำให้เส้นใยขาดออกจากกัน และไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เนื่องจากไรพวกนี้ชอบทำลายกัดกินส่วนของเส้นใย ไรศัตรูเห็ดที่พบทำลายเห็ดปลูกในไทยนั้น คือ ไรไข่ปลา

วีธีสังเกตไรไข่ปลาที่ขึ้นบนก้อนเชื้อเห็ด

อาการที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าก็คือ มีเม็ดกลมเล็กๆ ขึ้นเป็นกระจุกในก้อนเชื้อเห็ดที่ถูกทำลาย ซึ่งจริงๆ แล้วจุดกลมๆ ดังกล่าวเป็นส่วนท้องของไรตัวเมียที่มีไข่และตัวอ่อนสีเหลืองๆ เจริญอยู่ จึงดูเหมือนไข่ปลากระจายอยู่ทั่วไปในก้อนเชื้อเห็ด หากมีการแพร่ระบาดขั้นรุนแรง จะพบเห็นซากตัวเต็มวัยที่ตายแล้ว เป็นผงฝุ่นสีน้ำตาลอ่อน คล้ายขี้เลื่อยละเอียด บริเวณปากถุงเห็ด และชั้นวางเห็ดเต็มไปหมด

วิธีการป้องกันและการกำจัด
1. การป้องกันทำได้โดยเลือกวัสดุที่สะอาด ถ้ามีไรระบาดรุนแรงให้หยุดเพาะชั่วคราว ทำความสะอาดภาชนะและพื้นที่ตลอดจนเผาทำลายเศษวัสดุที่เป็นแหล่งอาศัยให้หมด

2. ใช้ว่านหนอนตายยาก บอระเพ็ด กากน้ำตาล อัตราส่วน 1:1:1 สับละเอียดผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 7 วัน นำมาฉีดพ่นที่ก้อนเห็ดในอัตราส่วน 1 ช้อนแกง/น้ำ 1 ลิตร ทำวันเว้นวัน

3. แก้ปัญหาโดยการพักโรงเรือน เปิดระบายอากาศน้ำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อในโรงเรือน การพักโรงเรือนควรทำอย่างน้อย 15 วันหากไม่อยากพักโรงเรือนนานเกิดไปให้ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อ(ใช้น้ำยาถูพื้นก็ได้)

4. ใช้ EM สูตรไล่ ไร

วัสดุที่ใช้  

  • ใบน้อยหน่าสับละเอียด 1 ถ้วย
  • ต้นข่าสับละเอียด 1 ถ้วย
  • ตะไคร้หอมสับละเอียด 1 ถ้วย
  • กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 แก้ว
  • จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
  • น้ำ1/2 ลิตร (ทิ้งไว้ 1 คืน)
    วิธีทำ
    4.1 นำใบน้อยหน่าสับละเอียด 1 ถ้วย ผสมต้นข่าสับละเอียด 1 ถ้วย จากนั้นใส่ตะไคร้หอมที่สับละเอียด 1 ถ้วย คลุกเคล้าให้เข้ากัน
    4.2 เติมกากน้ำตาล และน้ำเปล่าลงไป ผสมให้เข้ากัน จากนั้นหมักไว้ 15 – 30 วัน
    วิธีใช้ : ใช้ 1 แก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร นำไปใช้ฉีดพ่น

5. นำตะไคร้หอมหรือ ใบยูคาลิบตัด ไปวางบนชั้น
6. ไมโตฟากัส จุลินทรีย์กำจัดไรเห็ด เป็นจุลินทรีย์ที่ปลอดภัยสำหรับเห็ด ใช้กำจัดไรไข่ปลา ไรไข่ปลาก็ค่อยๆลดลงจนไม่มีไรไข่ปลาในที่สุด ขยายเชื้อจุลินทรีย์ไมโตฟากัส โดยหมักกับมะพร้าวอ่อน ทิ้งไว้ 1 คืน วันต่อมานำมาผสมน้ำ 20ลิตรแล้วฉีดพ่นให้ทั่วโรงเรือน ฉีดไมโตฟากัส ทุก 5-7 วันเพื่อเป็นการคุมไม่ให้ไรไข่ปลาได้มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อได้เลย

แมลงวัน จะเข้าไปตามเนื้อเยื่ออ่อน ๆ หรือตามของเหลวในตัวเพลี้ยหรือหนอนต่างๆ และเจริญเติบโตเป็นเส้นไยออกมาข้างนอก เมื่อพร้อมที่จะแพร่สปอร์ สปอร์จะมีสีขาวขุ่น

วิธีการป้องกันและการกำจัด
1. ใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ฉีดให้ทั่วแต่ระวังอย่าให้โดนดอกเห็ด หากฉีดโดนตัวแมลงวันได้ยิ่งดี เมื่อแมลงสัมผัสเชื้อประมาณ 3 วัน แมลงจะเริ่มป่วยและหยุดทำลายพืชและจะตายภายในระยะเวลา 5-14 วัน ควรฉีดในช่วงที่ไม่มีดอกเห็ดจะปลอดภัยกว่า

2. ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองชนิดแบนหรือทรงกระบอกชนิดใดชนิดหนึ่ง จำนวน 6-8 กับดักต่อโรงเรือนขนาด 8*20 เมตร โดยติดตั้งระหว่างชั้นเห็ดและมีระดับสูงจากพื้นโรงเรือนประมาณ 1.5-1.8 เมตร ที่สำคัญควรติดตั้งในที่ ๆ ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเข้าไปปฏิบัติงาน ไม่ถูกน้ำบ่อยถ้าเป็นไปได้ควรติดตั้งใกล้มุมมืดเพราะตัวแก่ของแมลงชอบเกาะอาศัยอยู่เปลี่ยนหรือนำกับดักมาล้างด้วยน้ำมันเบนซินและทากาวเหนียวใหม่ทุก 10-15 วัน ตลอดการผลิตเห็ด หรือพิจารณาว่าหากมีแมลงติดเต็มแล้วก็ควรนำมาเปลี่ยนหรือทากาวเหนียวซ้ำอีก ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการดักจับและลดปริมาณของแมลงที่จะทำลายเห็ดได้ วิธีนี้เป็นที่นิยมและได้ผลมาก

3. แมลงปีกแข็ง เช่น แมลงกระเบื้อง แมลงเต่าทอง ไรดำ แมลงสาบ หนู
วิธีการป้องกัน และการกำจัด
ใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ 4-5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดป้องกันให้ทั่วโรงเรือนเพาะเห็ดทุกสัปดาห์ โดยจะฉีดตามหลังก้อนเห็ด ฉีดตามพื้นโรงเรือน ผนังโรงเรือนทั้งด้านนอกและด้านในให้เปียกชุ่ม แมลงต่างๆ เช่น แมลงสาบ ไร หนู แมลงปีกแข็งต่างๆ หรือแมลงอันไม่พึ่งประสงค์ต่างๆ แทบไม่มาหรือไม่มีให้เห็นเลย

4. มด และ ปลวก มดจะเข้าทำรังหรือทำลายเชื้อเห็ด ส่วนปลวกจะเข้ากินเส้นใยเห็ดและวัสดุเพาะ การป้องกัน กำจัดมด และ ปลวก โดยใช้น้ำท่วมพื้นก่อนที่เพาะเห็ดฟาง 1 สัปดาห์ หว่านเกลือแกงหรือผงซักฟอกเล็กน้อย หรือ ถ้าเพาะในตะกร้า ให้ใช้วัสดุรองก้นตะกร้าให้สูงจากพื้นดินประมาณ 20 เซนติเมตร

5. วัชเห็ด คือ เห็ดที่ไม่ต้องการในขณะที่เพาะเห็ดฟาง จะพบเมื่อมีอากาศร้อนเกินไป หรือ มาจากวัสดุที่เคยใช้เพาะเห็ดชนิดอื่นมาก่อน ป้องกันได้โดย เลือกวัสดุเพาะที่สะอาด แห้งและใหม่ ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป

6. สัตว์ชนิดอื่น ได้แก่ หนู จิ้งเหลน กิ้งกือ คางคก จะกัดหรือแทะเห็ดได้ นอกจากนี้ยังสามารถคุ้ยทำลายกองเพาะจนทำให้เส้นใยขาด แต่ทำความเสียหายไม่มากนัก
(ดัดแปลงข้อมูลจาก http://เห็ด-ฟาง.blogspot.com, ฟาร์มเห็ดฟางคุณชายคม http://khunchaikhom-mushrooms.com)

การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูเห็ดที่ปลูกในโรงเรือน
1. ระยะเตรียมโรงเรือน ระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากเพาะหากเตรียมในโรงเรือนที่สะอาดถูกสุขลักษณะ จะทำให้ปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นลดลงมากกว่า 80 % ต้องทำความสะอาดเพื่อฆ่าแมลงและเชื้อโรคที่สะสมด้วยสารคลอร็อกซ์ อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้สารฆ่าแมลงชนิด ไดอะซินอน อัตรา 40 มิลลิลิตร หรือมาลาไทออน อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตรพ่นบริเวณพื้นฝาผนังและหลังคาโรงเรือนให้ทั่วทุกซอกทุกมุมควรปิดโรงเรือนให้มิดชิดและทิ้งไว้อย่างน้อย 7-10 วัน

2. ระยะโรยเชื้อเห็ด หรือระยะเตรียมเปิดจุก หรือระยะขนถุงเห็ดเข้าโรงเรือน ให้ติดกับดักกาวเหนียวสีเหลืองชนิดแบนหรือทรงกระบอกชนิดใดชนิดหนึ่ง จำนวน 6-8 กับดักต่อโรงเรือนขนาด 8×20 เมตร โดยติดตั้งระหว่างชั้นเห็ดและมีระดับสูงจากพื้นโรงเรือนประมาณ 1.5-1.8 เมตร ที่สำคัญควรติดตั้งในที่ ๆ ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเข้าไปปฏิบัติงาน ไม่ถูกน้ำบ่อย ถ้าเป็นไปได้ควรติดตั้งใกล้มุมมืดเพราะตัวแก่ของแมลงชอบเกาะอาศัยอยู่ เปลี่ยนหรือนำกับดักมาล้างด้วยน้ำมันเบนซินและทากาวเหนียวใหม่ทุก 10-15 วัน ตลอดฤดูการผลิตเห็ดแต่ละชนิด หรือพิจารณาว่าหากมีแมลงติดเต็มแล้วก็ควรนำมาเปลี่ยนหรือทากาวเหนียวซ้ำอีก ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการดักจับและลดปริมาณของแมลงที่จะทำลายเห็ดได้
หรือ พ่นสารประเภท เชื้อบีที หรือสารระงับการลอกคราบ (IGR) ชนิดใดชนิดหนึ่งตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • บีที อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทับลงบนถุงเพาะ
  • ไดฟลูเบนซูร่อน (ดิมิลิน 25 เปอร์เซ็นต์ WP) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทับลงบนก้อนเชื้อเห็ด

3. ระยะเก็บเกี่ยวรุ่นแรก หรือดอกเห็ดรุ่นแรก หากพบตัวแก่ของแมลงเกาะตามมุมโรงเรือนหรือฝาผนังมุมอับ และพิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องใช้สารเคมี แนะนำให้พ่นด้วยมาลาไทออน อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือ ไดอะซินอน อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นตามพื้น มุมโรงเรือน หรือพื้นที่ที่แมลงเกาะอยู่ แต่ห้ามพ่นลงบนเห็ดหรือถูกเห็ดโดยตรง ซึ่งนอกจากจะเกิดสารพิษตกค้างในดอกเห็ดแล้ว ยังอาจจะทำให้ดอกเห็ดเกิดอาการผิดปกติจนส่งขายไม่ได้

4. ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นที่ 2 -3 หากพบว่าการระบาดยังรุนแรงให้ปฏิบัติตามข้อ 2 และ 3 ดังนั้น หากมีการปฏิบัติตามทางเลือกในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูเห็ดในการผลิตเห็ดโรงเรือน เพื่อการค้าอย่างจริงจังและให้ผลตามที่คาดหวังไว้ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาการเข้าทำลายของแมลงศัตรูเห็ดที่เกิดขึ้นต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมการระบาดของแมลงวันศัตรูเห็ดได้ ลดความเสียหายของผลผลิตเห็ดได้อย่างน้อย 40 % ของผลผลิตที่ได้ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการสร้างความมั่นใจในการส่งเสริมการเพาะและการผลิตเห็ดเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตรเป็นสินค้าส่งออก
(ดัดแปลงข้อมูลจาก http://www.bassbio.com)

แมลงและศัตรูของเห็ดถุง การป้องกัน การกำจัด
หนอนแมลงวัน

พบการระบาดในเห็ดเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะเห็ดที่เก็บดอกขายได้แล้ว หนอนพวกนี้เมื่อทำลายก็จะพบว่าส่วนของก้อนเชื้อในถุงเห็ดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ และส่วนมากก็พบโรคเน่าเกิดขึ้นด้วยทุกครั้ง หนอนแมลงวันที่พบทำลายเห็ดอย่างรุนแรงในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ

1. หนอนแมลงวันเซียริด หรือแมลงหวี่ปีกดำ จะทำลายกัดกินเห็ดในระยะที่เป็นตัวหนอน เคยพบทำลายเห็ดหูหนูและเห็ดแชมปิญอง ทำให้ดอกเห็ดเสียหาย คุณภาพและราคาลดลง หนอนมีลักษณะลำตัวสีขาวใสหรือสีเหลืองส้ม บางครั้งส่วนหัวมีสีดำความยาวของลำตัวประมาณ 5-7 เซนติเมตร เคลื่อนไหวได้รวดเร็วและกินจุมาก ตัวแก่จะมีสีดำขนาด 2-3 เซนติเมตร วงจรชีวิตจากไข่กระทั่งเป็นตัวแก่ประมาณ 25-30 วัน

2. หนอนแมลงวันฟอริด หรือแมลงวันหลังโกง ตัวแก่จะพบทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ในระยะที่เป็นตัวหนอน จะทำลายเส้นใยเห็ดที่กำลังเดินบนผิวก้อนเชื้อเห็ดในถุงและมักจะเข้าไปทำลายส่วนโคนและหมวกดอกจนพรุนเสียหาย แต่ความรุนแรงน้อยกว่าพวกแมลงวันเซียริด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมลงหวี่เห็ด

3. แมลงหวี่เห็ด เป็นแมลงสีดำขนาดเล็กมากคล้ายแมลงหวี่ พบตามที่อับชื้นโดยเฉพาะในห้องสุขาที่อับลม ตัวแก่มักจะเกาะตามดอกเห็ด ถุงเห็ด ฝา และเสาโรงเรือน ลักษณะการทำลายของหนอน จะเริ่มเจาะที่โคนดอกเห็ด โดยเฉพาะระยะก้ามปู ทำให้เห็ดแกร็นด้านสีน้ำตาลและเน่าเสียทั้งถุง มักพบการระบาดหลังการเพาะเห็ดแล้วประมาณ 5-6 เดือน การทำลายจะไม่รุนแรงมากนัก แต่ในระยะหลังนี้ได้พบการทำลายในเห็ดแชมปิญองพันธุ์ร้อนจนทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่าตายได้เหมือนกัน

หนอนผีเสื้อ
ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางวันขนาด 8-9 มิลลิเมตร พบเกาะอยู่ตามฝาผนังโรงเรือนและปากกุ้งก้อนเชื้อเห็ด ปีกมีสีน้ำตาลสลับลายสีน้ำตาลดำ ขณะเกาะนิ่งอยู่กับที่จะเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายหลังคา วางไข่บนจุกสำลีปิดก้อนถุงเชื้อ ไข่เป็นกลุ่มมีเส้นใยสีครีมปกคลุม ตัวหนอนระยะแรกจะมีสีครีม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนหัวและปากเป็นสีดำหรือน้ำตาลแดงเข้มมองเห็นได้ชัดเจนด้านหลังติดกับส่วนหัวมีขีดสีน้ำตาลพาดตามขวางของลำตัว หนอนโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 15 มิลลิเมตร และระยะที่เป็นตัวหนอนประมาณ 14-21 วัน การทำลายพบว่าหลังจากตัวหนอนฟักออกมาแล้วจะกินอยู่บริเวณปากถุงหรือชอนไชไปตามผิวของก้อนเชื้อที่มีเส้นใยเห็ดสีขาว ทำให้เส้นใยเห็ดขาด ชะงักการเจริญเติบโตและไม่ออก บางครั้งอาจเจาะรูเข้าไปในก้อนเชื้อ ชักใยรวมกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราทำเป็นรังห่อหุ้มตัว สังเกตเห็นเป็นขุยสีน้ำตาลเป็นทางยาวคดเคี้ยวไปมาหากพบการระบาดรุนแรงจะเห็นมูลหนอนถ่ายออกมาสีน้ำตาลเต็มไปหมด การทำลายจะรวดเร็วและรุนแรงมากหากทำการป้องกันกำจัดไม่ทัน ซึ่งสร้างความเสียหายแก่เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรมมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์

หนอนผีเสื้อกินใบจาก
หนอนวัยแรกจะกินใบจากที่แห้งประมาณฤดูฝน หรืออากาศเริ่มชื้นจนใบจากที่นำมามุงหลังคาเริ่มเปียก ประกอบกับเห็ดที่เพาะอยู่ในถุงเริ่มออกดอก หนอนชนิดนี้ก็จะเริ่มเคลื่อนย้ายลงมาทำลายเห็ด

แนวทางป้องกันและการกำจัด

นำจุลินทรีย์กำจัดหนอน ‘บาซิลลัส ทูริงเจนสิส หรือเชื้อบีที’ เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มของแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันและกำจัดหนอนศัตรูเห็ด นำเชื้อบีทีมา 5 กรัม (1 ช้อน) มาหมักขยายเชื้อกับสูตรน้ำมะพร้าว, สูตรไข่ไก่, สูตรนมข้นหวาน, สูตรนมกล่องไวตามิลค์, หนองโพ หรือ นมผงของเด็ก ก็ได้ ขึ้นอยู่กับ วัสดุที่มี หรือถ้าไม่หมักขยายเชื้อก็สามารถใช้ได้เลย ด้วย อัตรา 1 ขีด (100 กรัม) ต่อ น้ำ 20 ลิตร จากนั้นให้นำไปฉีดพ่นบริเวณรอบโรงเรือนที่มีหนอนฝังตัวอยู่ หรือ ถ้ามีที่ก้อนเชื้อเห็ดก็ฉีดอัดเข้าไปที่ก้อนเชื้อได้เลย เพื่อให้ได้ผลและประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงที่หนอนระบาด ระยะเวลาฉีดพ่นทุกๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง เมื่อหนอนที่อยู่ในก้อนเชื้อเห็ดหายไปแล้ว จากนั้นก็ฉีดป้องกันหนอนศัตรูเห็ด : ระยะเวลาฉีดทุกๆ 7 วัน ต่อครั้ง เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้ระบาดอีก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไรเห็ด

ไรศัตรูเห็ด
ไรศัตรูเห็ดที่มีขนาดเล็กมากจนต้องอาศัยแว่นขยายเข้าช่วยจึงจะเห็นได้ชัด ตามธรรมชาติมักจะเห็นจุดเล็กๆ สีขาวใส
อยู่กระจายเต็มไปหมดที่น่าสนใจ คือ การที่ไรชนิดต่างๆ ที่ทำลายเห็ดนั้นจะมีวงจรชีวิต(ไข่-ตัวแก่)สั้นมาก โดยใช้
เวลาเพียง 4-5 วัน เท่านั้น โดยทั่วไปจะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ถึง 4 เท่า โดยที่ตัวเมียสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการ
ออกไข่และเป็นตัว ไรจะทำลายเส้นใยเห็ด เส้นใยจะขาดออกจากกันและไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ในประเทศ
ไทย ไรศัตรูเห็ดที่พบมีดังนี้

1. ไรไข่ปลา ทำลายเห็ดได้ทุกระยะของการเพาะ ดูดกินเส้นใยเห็ดจากปากถุงมายังก้นถุงไม่ให้ดอก
ช่วงใกล้ออกดอก ดอกเห็ดคุดแคระแกรน ช่วงเริ่มให้ดอกจะไม่กระทบต่อผลผลิตมากนัก มักจะแพร่ระบาดในฤดู
ฝน (เดือน พ.ค.-พ.ย. ) ส่วนใหญ่จะเกิดกับเห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง เห็ดหลินจือ และเห็ดเข็มเงิน

2. ไรดีด ทำลายเห็ด ดูดทำลายเส้นใยเห็ดได้ทุกระยะของการเพาะ จะเห็นขี้เลื่อยเป็นสีน้ำตาลทำให้ไม่ออกดอก ดอกอาจจะแคระแกรนช่วงที่เริ่มออกดอก แพร่ระบาดในฤดูฝน (เดือน เม.ย.- พ.ย.) ส่วนใหญ่จะเกิดกับเห็ดนางรมฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรม เห็ดเข็มเงิน

3. ไรลูกโปร่ง ดูดทำลายเส้นใยเห็ดที่กำลังเจริญในขวดหัวเชื้อและถุงก้อนเชื้อจนเหลือแต่วัสดุเพาะ เห็นขี้เลื่อยเป็นสีน้ำตาลทำให้ไม่ออกดอก แพร่ระบาดตลอดปี ส่วนใหญ่จะเกิดกับเห็ดแครง เห็ดหูหนู เห็นเข็มเงิน เห็ดยานางิ

ไรขาวใหญ่
ไรขาวใหญ่เป็นศัตรูเห็ดที่สร้างความเสียหายรุนแรงชนิดหนึ่ง พบว่า มีระยะจากไข่ถึงตัวอ่อนวัยสุดท้ายเฉลี่ย 5.87 วัน ระยะตัวเต็มวัยจะมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพความชื้นสัมพันธ์สูงเท่านั้นยกเว้นตัวอ่อน สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่าภาชนะเลี้ยงเชื้อได้นานระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นระยะที่อันตรายมากต่อการแพร่ระบาด ไรขาวใหญ่จะทำลายเส้นใยเห็ดได้ทั้งระยะหัวเชื้อในจานเลี้ยงเชื้อ ขวดหัวเชื้อ และถุงก้อนเชื้อ ในจานเลี้ยงเชื้อเส้นใยบริเวณรอบขอบจานจะถูกกินหายไปเหลือแต่วุ้น มองดูคล้ายกับเป็นเส้นรอบวงกลม ส่วนในก้อนเชื้อนั้น เส้นใยจะเจริญในระยะแรก แต่ต่อมาปลายเส้นใยจะชะงักการเจริญเติบโต มองเห็นเป็นแนวโค้งหรือแนวตรง เส้นใยถูกทำลายตัดเป็นแผงอย่างเห็นได้ชัด ปลายเส้นใยไม่ฟูเหมือนเส้นใยปกติและเริ่มบางลงเรื่อยๆ จนมองเห็นแต่ขี้เลื่อยสีน้ำตาลอ่อน ทำให้ผลผลิตลดต่ำลงเป็นอย่างมาก

แนวทางป้องกันและการกำจัด
นำจุลินทรีย์กำจัดไรเห็ด ‘บาซิลลัส ไมโตฟากัส’ เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มของแบคทีเรีย ที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกัน และกำจัดไรศัตรูเห็ด นำไมโตฟากัสมา 5 กรัม(1 ช้อน) มาหมักขยายเชื้อกับสูตรน้ำมะพร้าว, สูตรไข่ไก่, สูตรนมข้นหวาน, สูตรนมกล่องไวตามิลค์ หนองโพ หรือ นมผงของเด็ก ก็ได้ ขึ้นอยู่กับ วัสดุที่มี หรือถ้าจะไม่หมักขยายเชื้อก็สามารถใช้ได้เลย ด้วย อัตรา 1 ขีด (100 กรัม) ต่อ น้ำ 20 ลิตร จากนั้นให้นำไปฉีดพ่นบริเวณรอบโรงเรือน ผนังโรงเรือน พื้น ชั้นวาง บริเวณก้อนเชื้อ ทำการฉีดพ่นเพื่อป้องกันและกำจัด หากกำลังเปิดดอกอยู่แล้วมีปัญหาของไรเข้าก้อนให้ฉีดอัดเข้าไปในก้อนแบบชุ่มโชก หากพบไรศัตรูเห็ดระบาดในก้อนเชื้อ: ระยะเวลาฉีดพ่นทุก ๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง เมื่อไรเห็ดหายไปแล้ว จากนั้นก็ฉีดป้องกันไรศัตรูเห็ด: ระยะเวลาฉีดทุกๆ 7 วัน ต่อครั้ง เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้ระบาดอีก

จุลชีพปราบหนอน BT 1
เป็นจุลินทรีย์ ‘บาซิลลัส ทูริงเจนสิส’ หรือเชื้อ บีที ที่ต้องหมักขยายเป็นเชื้อสด แล้วจึงนำไปใช้ให้หมดในคราวเดียว ใช้กำจัดหนอนแมลงหวี่เห็ด ที่มักชอบทำลายเห็ดด้วยการชอนไช กัดกินเส้นใยเห็ด
วิธีการหมักเชื้อสด
ใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล เฉาะเทน้ำมะพร้าวออกใส่ถุงพลาสติกสะอาด ใส่เชื้อลงไปในน้ำมะพร้าว 1 ช้อนชา, กวน, นำไปแขวนในที่ร่ม เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ดีที่สุดคือ 36 ชั่วโมง ครบเวลานำไปผสมน้ำเปล่าอีก 10-20 ลิตร แล้วนำไปฉีดพ่น
วิธีการใช้
1. เมื่อหมักเป็นเชื้อสดและผสมน้ำเปล่าแล้ว ต้องฉีดพ่นให้หมดภายใน 1 วัน เพราะเป็นเชื้อสดเป็นเชื้อวัยหนุ่มสร้างผลึกทำลายหนอน ไม่สามารถเก็บรอได้
2. สามารถใช้เชื้อสด ผสมกับขี้เลื่อยในช่วงผสมน้ำให้ความชื้นในการทำก้อน เป็นการป้องกันโรคและลดปัญหาก้อนเสีย (โดยอัตราน้ำมะพร้าวหมักเชื้อ 1 ผล ต่อขี้เลื้อย 100 กิโลกรัม ที่ความชื้น 60-70% ผสมคลุกเคล้าให้ทั่วถึงอย่างประณีต)
3. หากมีหนอนหน้าก้อน ให้ฉีดเชื้อที่หน้าก้อน หากเป็นในก้อนให้ใช้เข็มฉีดยาดูดน้ำหมัก (ประมาณ 5-10 ซีซี) แล้วฉีดเข้าไปในบริเวณที่มีหนอน หากเป็นมากให้กรอกน้ำหมักเข้าปากถุงให้ขังในก้อนทิ้งไว้สักพักแล้วเทน้ำหมักออก อย่าให้น้ำขังในก้อนนาน ไม่เช่นนั้นเส้นใยเห็ดจะขาดอากาศ
4. หากเร่งด่วน ใช้เชื้อผง 3-4 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร กวนแล้วนำไปฉีดพ่นได้ทันที แต่ประสิทธิภาพไม่เทียบเท่ากับการหมักเชื้อสดเพราะไม่มีกลิ่นดึงดูด
5. เชื้อผงแห้งสามารถเก็บได้นานประมาณปีครึ่ง ถึง 2 ปี เก็บในที่แห้งไม่ถูกแสงแดด ไม่ถูกความชื้น เก็บในอุณหภูมิปกติ ไม่ต้องแช่ตู้เย็น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูลจาก http://www.thaigreenagro.com, http://www.kruboonlert.com, http://sarakased.blogspot.com)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *