แมลงศัตรูมะม่วง

แมลงศัตรูมะม่วง

แมลงศัตรูมะม่วง
ด้วงงวงกัดใบมะม่วง ตัวเต็มวัยเพศเมีย วางไข่บนใบอ่อนเบริเวณเส้นกลางใบ แล้วจะกัดใบใกล้ขั้วใบเป็นแนวเส้นตรงคล้ายถูกกรรไกรตัด ทำให้ใบอ่อนส่วนที่มีไขติดอยู่ร่วงลงบนพื้นดิน หนอนที่ฟักแล้วจะเจาะเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อใต้ผิวใบ
การป้องกันและกำจัด

เก็บใบอ่อนที่ด้วงกัดร่วมตามโคนต้นมะม่วงไปเผาหรือฝัง เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อน หรือพ่นด้วยสารคาร์บาริล 85 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้น ตัวเต็มวัย เป็นด้วงหนวดยาว วางไข่ในเวลากลางคืน ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงทรุดโทรม ใบแห้งและยืนต้นตายได้ สังเกตรอยทำลายได้จายขุยไม้ที่หนอนถ่ายออกมาบริเวณเปลือกลำต้น

การป้องกันและกำจัด

เก็บหนอน และดักจับด้วงด้วยตาข่ายเพื่อตัดวงจรการระบาด และพ่นลำต้นมะม่วงที่มีรอยทำลายด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ SL อัตรา 30 มิลลิลิตร หรือ อเซทาบิพริด 20 เปอร์เซ็นต์ SP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรเพลี้ยไฟมะม่วง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงทำให้ขอบใบและปลายใบแห้ง ดอกร่วง ผลเป็นขี้กลาก มีรอยสากด้าน หรือบิดเบี้ยว ระบาดเมื่ออากาศแห้ง

เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟ

การป้องกันและกำจัด

พ่นด้วยสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5 เปอร์เซ็นต์ EC อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือ คาร์บาริล85 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน ทำให้ดอกแห้งและร่วง มีคราบน้ำหวานเหนียวๆ ที่แมลงขับถ่ายไว้ เกิดเป็นราดำเปรอะเปื้อนใบและผล

การป้องกันและกำจัด

พ่นด้วยสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5 เปอร์เซ็นต์ EC อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือ เพอร์เมทริน 10 เปอร์เซ็นต์ EC อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือคาร์บาริล85 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพลี้ยจักจั่นฝอย ลำตัวสีเขียวอ่อนขนาด 2.5 มิลลิเมตร หัวสีแดงเข้ม ปีกใส สีเขียวอมเหลือง ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อนและยอดอ่อนที่แตกใหม่ ทำให้ขอบใบหงิกงอเป็นรอยไหม้แห้งกรอบ ปลายใบหดสั้น

การป้องกันและกำจัด

พ่นด้วยสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5 เปอร์เซ็นต์ EC อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือ เพอร์เมทริน 10 เปอร์เซ็นต์ EC อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือคาร์บาริล85 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แมลงศัตรูมะม่วง ระยะผลแมลงวันทอง ส่วนหัว อก และท้อง สีน้ำตาลอ่อน ทีเส้นหลังอกมีแถบสีเหลืองทองเป็นแห่งๆ วางไข่ในผลไม้ใกล้สุก หนอนอาศัยกัดกินในผล ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่น เข้าดักแด้ในดิน

การป้องกันและกำจัด

การห่อผลเป็นการป้องกันการเข้าไปวางไข่ในผลไม้ที่ง่ายและได้ผลดีที่สุด ร่วมกับการใช้เหยื่อโปรตีน ไฮโดรไลเซท ผสมกับสารฆ่าแมลงมาเป็นเหยื่อล่อแมลงวันผลไม้ทั้งเพศผู้และเพศเมียที่เพิ่งออกจากตัวดักแด้ โดยใช้โปรตีน ไฮโดรไลเซท 200 มิลลิลิตร ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไธออน 70 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 5 ลิตร พ่นในทรงพุ่มเป็นจุดๆ ประมาณ 10-20 มิลลิลิตร ตรวจนับแมลงวันผลไม้เพศผู้ในกับดักด้วยสารล่อ เมทธิล ยูจินอล ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไธออน อัตราส่วน 2:1 หนอนผีเสื้อเจาะผลมะม่วง ตัวหนอน เจาะผลมะม่วงบริเวณก้นผล เข้าไปกัดกินอยู่ภายใน และจะเจาะเข้าไปถึงเมล็ดอ่อน ผลที่ถูกทำลายมีขี้ขุยออกมาบริเวณเปลือก ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่น

การป้องกันและกำจัด

การห่อผลตั้งแต่ระยะผลอ่อน หรือเก็บผลมะม่วงที่ถูกหนอนทำลาย ฝัง หรือเผาทิ้ง หรือพ่นด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ SL อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตรเพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งตัวเมีย จะออกลูกเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ออกมาจะว่องไวและมีเส้นใยสีขาวคลุม มักอยู่รวมตัวกันเป็นกลุ่มและจะมีราดำขึ้นปกคลุมบริเวณ ใบ ผล โดยเฉพาะด้านหลังใบ มีมดเป็นตัวการที่นำเพลี้ยแป้งให้แพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของลำต้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง

การป้องกันและกำจัด

เมื่อพบเพลี้ยระบาด ควรฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลงมาลาไธออน 83 เปอร์เซ็นต์ EC อัตรา 30 มิลลิลิตร หรือ พ่นด้วยสารคาร์บาริล 85 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง ตัวเจริญเติบโตอยู่ภายในเมล็ดมะม่วงจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย เมื่อเมล็ดมะม่วงเน่าเปื่อยจึงเจาะออกมาอาศัยอยู่ตามร่องเปลือกของต้นมะม่วง อาจพบตามเศษซากเมล็ดที่แห้งแล้ว และตามรูโพรงบริเวณราก สามารถหลบซ่อนตัวอยู่จนกระทั่งถึงฤดูมะม่วงในปีต่อไป ด้วงงวงชนิดนี้ ใน 1 ปี ขยายพันธุ์ได้เพียงครั้งเดียว และพบการทำลายในมะม่วงต้นเดิม หรือบริเวณใกล้เคียง

การป้องกันและกำจัด

หนอนและตัวเต็มวัย กำจัดโดยเผาทำลายผลมะม่วงที่ร่วงหล่นในสวนมะม่วงที่เคยพบการระบาด ควรพ่นสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ SL อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากมะม่วงติดผลแล้ว 20-25 วัน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *