ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกมะพร้าว

ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกมะพร้าว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลูกมะพร้าว

ปัญหาและอุปสรรค ในการปลูกมะพร้าว

มีอยู่หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาและอุปสรรค ด้านการเพาะปลูก  การผลิต และ การตลาด
แต่ถ้าผู้ปลูกหรือเกษตรกรได้ศึกษาข้อมูล และหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะความรู้ด้านการเกษตรและเทคโนโลยี และนำมาปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ นอกจากจะช่วย ป้องกัน แก้ไข และลด ปัญหาและอุปสรรค ในการปลูกมะพร้าวแล้ว ยังเพิ่มผลกำไรให้มากขึ้นได้

โรคและแมลงศัตรูพืช ปัญหาและอุปสรรค ด้านการเพาะปลูก
โรคมะพร้าวที่สำคัญ :

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะพร้าวใบจุด

  • โรคใบจุด
    • สาเหตุ—เกิดจากเชื้อราที่ทำลายต้นกล้า ใบมีจุดสีน้ำตาล ลุกลามขยายทั่วใบ จนแห้งและตายในที่สุด
    • การป้องกันและกำจัด
      1.เผาทำลายต้นกล้าที่เป็นโรคเพื่อป้องกันการระบาด
      2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น แคปแทน
  • โรคตาเน่า
    • สาเหตุ—เกิดจากเชื้อรา ทำให้ใบยอดเหี่ยว ตาเน่า มีกลิ่นเหม็น
    • การป้องกันและกำจัด คือ
      1. เผาทำลายต้นที่เป็นโรค
      2. หมั่นตรวจดู หากพบอาการใบยอดเหี่ยวให้ตัดส่วนที่เป็นทิ้ง แล้วทายาที่มีทองแดงเป็นส่วนผสม เช่น ไพรีน็อก ไทแรม
  • โรคลูกร่วง
    • สาเหตุ คือ เกิดจากเชื้อรา เริ่มจากเกิดแผลบริเวณขั้ว และลูกร่วง
    • การป้องกันและกำจัด คือ
      1. เผาทำลายต้นและผลที่เกิดอาการของโรค
      2. ทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าว
      3. ฉีดพ่นด้วยยาอาลิเอท อามีน เป็นต้น
  • โรคเอือนกิน
    • สาเหตุ คือ ไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาวะแห้งแล้งในขณะที่มะพร้าวกำลังสร้างเนื้อ ผลภายนอกผิดปกติ เนื้อมะพร้าวมีความหนาไม่เท่ากัน ผิวขรุขระ บางแห่งมีแต่กะลาไม่มีเนื้อ
    • การป้องกัน คือ ยังไม่มีวิธีป้องกัน

 

แมลงศัตรูพืช :
ด้วงแรด เป็นศัตรูที่สำคัญของมะพร้าว มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก และ ด้วงแรกชนิดใหญ่ แต่ชนิดใหญ่จะพบทางภาคใต้จากจังหวัดชุมพรลงไปเป็นส่วนใหญ่

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ด้วงแรด

  • การทำลาย
    เจาะโคนทางใบมะพร้าว กัดกินยอดอ่อน ใบทางที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ แคระแกร็น และเมื่อเกิดรอยแผลจากการที่ด้วงแรดเข้าทำลายแล้ว ด้วงงวงก็จะเข้าไปวางไข่ หรือทำให้เกิดโรคยอดเน่า ทำให้ต้นมะพร้าวตาย
  • การป้องกันและกำจัด
    1. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ด้วยการเผา หรือฝังซากตอหรือลำต้นของมะพร้าว และเกลี่ยกองซากพืชหรือมูลสัตว์ให้กระจายออกให้มีความหนาไม่เกิน 15 เซนติเมตร
    2. ใช้เชื้อราสีเขียวล่อด้วงแรดมาวางไข่ เมื่อไข่ฟักตัวอ่อนออกมาจะถูกเชื้อราเขียวทำลายจนตาย
    3. ใช้ทรายหรือสารคาร์บาริล (เซฟวิน 85เปอร์เซ็นต์ WP) 1 ส่วน ผสมขี้เลื่อย 33 ส่วน ใส่รอบยอดอ่อน ซอกโคนทางใบเดือนละครั้ง หรืออาจใช้สารไล่แนพทาลีน บอล หรือลูกเหม็น 6 ถึง 8 ลูกต่อต้น ใส่ในซอกโคนทางใบ

ด้วงงวง เป็นแมลงปีกแข็ง ตัวสีน้ำตาลแดง มีงวงยื่นออกมาส่วนหัว ตัวเล็กกว่าด้วงแรด

  • การทำลาย
    ขยายพันธุ์ในคอมะพร้าว และโคนต้น ทำให้ต้นตาย สังเกตว่าต้นถูกด้วงงวงทำลายจากอาการเหี่ยวแห้งใบเหลืองของยอดอ่อน
  • การป้องกันและกำจัด
    1. กำจัดด้วงแรด อย่าให้ด้วงแรดทำลายมะพร้าวเพราะด้วงงวงจะเข้าไปวางไข่และทำลายต้นมะพร้าว จากช่องที่ด้วงแรดเจาะไว้เป็นแผล
    2. หากพบการทำลายของด้วงงวง ให้ใช้สารฆ่าแมลง เช่น คลอร์ไพริฟอส (ลอร์สแบน 40 เปอร์เซ็นต์ EC) ปริมาณ 80 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
    3. ทำลายต้นมะพร้าวที่มีหนอนด้วงงวงอยู่ หรือทำลายตัวหนอนเพื่อมิให้แพร่พันธุ์ต่อไป
    4. ใช้น้ำมันเครื่องผสมน้ำมันยาง ทาบริเวณแผลที่ต้นมะพร้าว ป้องกันการวางไข่ของด้วงงวง

 

แมลงดำหนาม ที่กำลังระบาดในประเทศไทย เป็นแมลงดำหนามที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี และมาเลเซียที่ติดกับเมืองชวา ตัวใหญ่กว่าแมลงดำหนามในประเทศไทย มีรูปสี่เหลี่ยมที่อกด้านบน ทำลายมะพร้าวทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ ส่วนแมลงดำหนามในประเทศไทยตัวสั้น ป้อม มีรูประฆังคว่ำที่อกด้านบน ชอบทำลายมะพร้าวต้นเล็ก ไม่ระบาดรุนแรง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมลงดำหนาม

  • การทำลาย
    ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะกัดกินยอดอ่อนที่สุดของใบมะพร้าวที่ยังไม่คลี่ จนชะงักการเจริญเติบโต สามารถทำลายได้รุนแรงจนยอดมะพร้าวมีสีขาวโพลนชัดเจน ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเรียก ‘โรคหัวหงอก’
  • การป้องกันและกำจัด
    1. ใช้แตนเบียนเพศเมียทำลายหนอนแมลงดำหนาม
    2.ใช้สารเคมีที่อันตรายน้อย และสลายตัวเร็ว อย่างเช่น คาร์บาริล (เซฟวิน 85 เปอร์เซ็นต์ WP) อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับแปลงชำหรือต้นเล็ก
    ตั๊กแตนผี หรือ ตั๊กแตนจุด—ลำตัว ปาก และส่วนท้องสีดำ, ปีกและหัวสีเขียว, คอมีตุ่มขรุขระสีเหลือง หรือสีส้ม รอยต่อระหว่างปล้องท้องมีสีแดงหรือสีส้ม ลำตัวยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร

  • การทำลาย
    ทำลายใบพืชมะพร้าวต้นใหญ่ๆ
  • การป้องกันและกำจัด
    1.เผาทำลายแหล่งขยายพันธุ์ของแมลงช่วงที่มีการผสมพันธุ์และวางไข่ ระหว่างเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน
    2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเฟนนิโตรไธออน อัตรา 20 ซีซี หรือ คาร์บาริล 25 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฆ่าตัวอ่อนตั๊กแตน

หนอนหัวดำมะพร้าว คือ ระบาดเข้ามาครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน ชอบเกาะนิ่งแนบไปกับพื้นที่หลบใต้ใบมะพร้าวหรือที่ร่มในเวลากลางวัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หนอนหัวดำมะพร้าว

  • การทำลาย
    แทะกินผิวใบใต้ทางใบ ถักใยเป็นอุโมงค์คลุมลำตัว ชอบทำลายใบแก่ ในขั้นรุนแรงจะทำลายก้านทางใบ จั่น และผลมะพร้าว หนอนหัวดำมะพร้าวสามารถถักใยดึงใบมะพร้าวมาเรียงติดกันเป็นแพ เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะถักใยหุ้มลำตัวอีกครั้ง และเข้าดักแด้มีสีน้ำตาลเข้มอยู่ในอุโมงค์
    มะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำทำลาย ใบจะแห้ง มีสีน้ำตาล ผลผลิตลดลง และรุนแรงที่สุดคือ ต้นมะพร้าวตาย
    หนอนหัวดำสามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น โดยติดไปกับกล้ามะพร้าว, ผลมะพร้าว หรือใบมะพร้าวที่มาจากแหล่งระบาด
  • การป้องกันและกำจัด
    1.ตัดเก็บใบที่ถูกทำลายมาเผา
    2.ใช้แตนเบียนหนอน และแตนเบียนดักแด้
    3.หากระบาดขั้นรุนแรง ให้ฉีดพ่นด้วยสารไพรีทรอย (อัตราส่วนตามคำแนะนำในฉลากข้างขวด) หรือใช้สารสะเดาฉีดพ่น ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม และในช่วงนี้ หากเกิดหนอนร่านพาราซ่าระบาด ให้ใช้สารเคมีพวกไดอะซีโนน 22 หรือ 25 ซีซี หรือ คาร์บาริล 15 ถึง 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใบ

สัตว์พันธุ์แทะ ศัตรูมะพร้าว :

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หนูท้องขาว

หนูท้องขาว (หนูท้องขาวสวน) คือ เป็นหนูชนิดเดียวที่เป็นศัตรูของมะพร้าว มักจะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทำลายมะพร้าวโดยใช้ฟันแทะส่วนที่ติดกับขั้วผลจนเป็นรู กินน้ำและเนื้อมะพร้าวเวลากลางคืน
กระรอก : พันธุ์ที่เป็นศัตรูมะพร้าวคือ พญากระรอกดำ กระรอกท้องแดง และกระรอกหลากสี กัดเปลือกที่ขั้วผล กันผล และกลางผล
การป้องกันและกำจัด
1.กำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยบริเวณโคนต้นด้วยการกำจัดวัชพืช จัดเก็บกองทางมะพร้าวให้เรียบร้อย
2.ใช้สังกะสีล้อมโคนต้นความสูงประมาณ 1 เมตร
3.ใช้เสียงไล่ เช่น จุดประทัด เสียงไม้เคาะกัน ฯลฯ
4.อนุรักษ์สัตว์ศัตรูธรรมชาติหรือเลี้ยงนกแสก นกเค้า เหยี่ยว เพื่อควบคุมประชากรหนูและกระรอก

มะพร้าวผิดปกติ :
มะพร้าวทุกสายพันธุ์มีอาการผิดปกตินอกเหนือไปจากอาการต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากโรค แมลง และ สัตว์พันธุ์แทะ ซึ่งมีผลกระทบต่อผลผลิตเช่นเดียวกัน
ตัวอย่างอาการผิดปกติ
มะพร้าวปากกา : มีรอยแผลลึก ดำ เว้าเข้าไปในผล แต่มีเนื้อและน้ำมะพร้าวตามปกติ
มะพร้าวทุย : ผลมะพร้าวจะยาวรี เมื่อผ่าผลดูจะพบว่ากะลาด้านในมีขนาดเล็กกว่าปกติมาก น้ำและเนื้อน้อยมาก หรือไม่มีเลย บางผลมีแต่เปลือก
มะพร้าวผลแตก : พบมากช่วงฤดูหนาวไปจนถึงช่วงต้นฤดูร้อน (เดือนพฤศจิกายน ถึง พฤษภาคม) ผลจะแตกบริเวณก้นผล หรือขั้วผล ถ้าแตกมากถึงเปลือกจะสังเกตเห็นได้ชัดเจน บางผลแตกแค่กะลาซึ่งสังเกตเห็นได้ยาก ต้องใช้วิธียกผลดูน้ำหนัก น้ำหนักจะเบา หรือถ้านำไปลอยน้ำ ผลจะลอยเอียงๆ หรือตะแคง
มะพร้าวเฮือนกิน หรือ เดือนกิน : ดูภายนอกเหมือนปกติ แต่ข้างในมีแต่น้ำมะพร้าว ไม่มีเนื้อ
มะพร้าวตามด : พบมากกับมะพร้าวที่อยู่ส่วนปลายของทะลาย ผลเล็กกว่ามะพร้าวปกติ เปลือกมีรอยดำเป็นปื้นเหมือนตามด แต่มีน้ำมะพร้าวและเนื้อปกติ

ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตมะพร้าวในปัจจุบัน
1. อายุของต้นมะพร้าว ส่วนใหญ่มีอายุมากและเสื่อมโทรม
2. สายพันธุ์ของมะพร้าว มะพร้าวพันธุ์ต้นสูง เป็นพันธุ์พื้นเมือง ให้ผลผลิตต่ำ
3. การดูแลรักษามะพร้าวไม่ดี
4.ปัญหาความแห้งแล้ง ในสวนมะพร้าวที่ไม่ได้เตรียมการ หรือพัฒนาระบบการให้น้ำเพื่อรองรับปัญหาดินฟ้าอากาศไว้
5. ราคาของมะพร้าวไม่เป็นที่แน่นอน และยังต่ำกว่าราคาเป้าหมายต่อ ที่กรมวิชาเกษตรตั้งไว้ โดยเฉพาะมะพร้าวพันธุ์ต้นสูง ยกเว้นที่ อำเภอทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ เป็นมะพร้าวผลใหญ่ พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก มะพร้าว จึงเป็นรายได้หลักของเกษตรกรในแถบนั้น
6. รัฐบาลไม่มีมาตรการที่ชัดเจนจากการให้การคุ้มครองผู้ผลิตมะพร้าวด้วยการตั้งกำแพงภาษี
7. ข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรม ไม่แน่ชัด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมกะทิที่คาดว่ามีมูลค่าการส่งออกสูง

ปัญหาการตลาดของผู้ค้ามะพร้าวประเทศไทยในปัจจุบัน
1.ภาวะราคามะพร้าวตกต่ำ
2.ผลกระทบจากเกณฑ์การนำเข้ามะพร้าวจากประเทศอื่น
3.ปริมาณมะพร้าวตลาดในประเทศไทยมีมากเกินความต้องการ
4.ภาวะเสื่อมโทรมของสวนมะพร้าวและอายุของต้นมะพร้าว
5.เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวจากพันธุ์พื้นเมืองคงยังให้ผลผลิตที่ต่ำ

แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการผลิตและการตลาด
1.ปรับปรุงพัฒนาสภาพสวนมะพร้าว ด้วยการปลูกพืชอื่นทดแทน และพัฒนาคุณภาพดิน
2.เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ด้วยการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าว เช่น ฝรั่ง สับปะรด
3.ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมแก่เกษตรกร พร้อมทั้ง ติดตามผลและดูแลอย่างต่อเนื่อง
4.เกษตรกรควรยอมรับ และปฏิบัติตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม เช่น พัฒนาระบบการให้น้ำให้ทันสมัย และรองรับปัญหาความแห้งแล้งจากสภาวะอากาศ
5.เมื่อเกิดปัญหา หรือคาดว่าน่าจะเกิดปัญหา ควรขอความช่วยเหลือจากภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
6.ให้ความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนเมื่อมีการสำรวจข้อมูล

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล หนังสือ ครบเครื่องเรื่อง…มะพร้าว โดย อภิชาติ ศรีสะอาด)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *