ทำความรู้จักมะพร้าว

มะพร้าว

อยู่เมืองไทยไปที่ไหนก็เจอ มะพร้าว ยิ่งเวลาอากาศร้อนๆ สิ่งที่เรานึกถึงมะพร้าวได้เป็นอย่างแรกคือ การได้ดื่มน้ำมะพร้าวสด ๆ รสชาติที่หวานชื่นใจ กลิ่นหอม ช่วยคลายร้อนได้ดีมะพร้าวถูกจัดเป็นสมุนไพรที่มีธาตุเย็น มีสรรพคุณมากมายและมีประโยชน์ที่ได้จากทุกส่วนของมะพร้าว ก่อนนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์เรามารู้จักกับส่วนประกอบของมะพร้าวกันก่อนนะคะ ว่ามีอะไรบ้างเพื่อที่จะได้เลือกนำมาใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง

ส่วนประกอบมะพร้าว

เรานำแต่ละส่วนของมะพร้าวไปทำอะไรได้บ้าง ?

  • น้ำมะพร้าว เป็นเครื่องดื่ม หรือแปรรูป เช่น ทำวุ้นมะพร้าว
  • เนื้อมะพร้าวอ่อน เป็นส่วนผสมในขนมต่างๆ หรือแปรรูป เช่น มะพร้าวแก้ว
  • เนื้อมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก, ขูดโรยหน้าขนม
  • กากมะพร้าว ที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้, ขัดพื้นบ้าน
  • ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมากเพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า ‘สลัดเจ้าสัว’
  • ใยมะพร้าว นำไปใช้ทำไส้ที่นอน ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
  • น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบ หรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าว
  • กะลามะพร้าว  นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
  • ก้านใบ หรือ ทางมะพร้าว  ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
  • ใบย่อย  ใช้มุงหลังคา
  • จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว)  สามารถนำไปเป็นน้ำตาล
  • จาวมะพร้าว ใช้นำมาเป็นอาหารได้ มีฮอร์โมนออกซิน และฮอร์โมนอื่นๆ ในจาวมะพร้าวฮอร์โมนออกซินมีปริมาณมากที่สุด ซึ่งเมื่อนำไปคั้น และนำน้ำที่ได้จากจาวมะพร้าวไปรดต้นพืช จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้
  • ราก นำไปใช้สานเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอย เช่น ตะกร้า ถาด ของที่ระลึก ฯลฯ เพราะมีความยาว เหนียว และคงทน
  • ต้น  เนื้อไม้ต้นมะพร้าวใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ สร้างบ้านเรือน พื้นบ้าน ฯลฯ
ผลมะพร้าว

ผลมะพร้าว

ส่วนของมะพร้าว ที่ใช้เป็นยา คือ เปลือกต้น เปลือกผล เนื้อ น้ำมันมะพร้าว น้ำมัน กะลา ดอก ราก
สรรพคุณมะพร้าว

  • เปลือกต้น ใช้เปลือกต้นที่สด นำมาเผาไฟให้เป็นเถ้าแปรงสีฟัน แก้เจ็บปวดฟัน และใช้ทาแก้หิด
  • เปลือกผล
    –  ใช้เปลือกผลที่แก่แห้งแล้ว นำมาเป็นยาแก้อาเจียน แก้โรคกระเพาะ และใช้ในการห้ามเลือดแก้ปวดเลือดกำเดาไหล
    –  ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้เปลือกมะพร้าวมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ( ควรใช้เปลือกมะพร้าวห้าวหรือมะพร้าวแก่ )
  • เปลือกหุ้มราก นำมาใช้รักษาโรคคอตีบได้
  • เนื้อมะพร้าว
    –  ใช้เนื้อมะพร้าวสด หรือแห้ง นำมาขูดให้เป็นฝอยใส่น้ำ แล้วเคี่ยวเอาน้ำมัน ใช้กินเป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ
    –  ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้มะพร้าวแก่ขูดเอาเนื้อมาคั่วให้เหลือง โรยเกลือเล็กน้อย ใส่ภาชนะปิดให้แน่น แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1 ช้อนแกง เช้า กลางวัน เย็น ประมาณ 10 วันจะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลลดลงเรื่อย ๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวปวดศีรษะได้
    –  ช่วยแก้อาการระคายเคืองตา ด้วยการใช้เนื้อมะพร้าวอ่อนสด ๆ แปะที่ดวงตา อาการจะค่อย ๆ ทุเลาลง
  • น้ำมะพร้าว
    –  ใช้น้ำมะพร้าวสดประมาณ 1-2 ลูก กินเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิต และบวมน้ำ
    –  ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้ ใช้รักษาคนไข้ที่มีภาวะความเป็นกรดในเลือดสูง
    –  น้ำมะพร้าวช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ขาวนวลขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่
    –  น้ำมะพร้าวมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ซึ่งทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น กระชับ ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าว)
    –  ประโยชน์ของน้ำมะพร้าว มีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์ได้เป็นอย่างดี ( น้ำมะพร้าว )
    –  น้ำมะพร้าวอ่อนมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกายอย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี วิตามินบี กรดอะมิโน ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และยังมีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้ภายใน 5 นาที
    –  น้ำมะพร้าวมีประโยชน์ใช้เป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติที่ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นและไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย (ยกเว้นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและโรคไต)
    –  น้ำมะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็นจึงช่วยดับร้อนในร่างกายได้เป็นอย่างดี
    –  น้ำมะพร้าวอ่อนมีคุณสมบัติเป็นธาตุเย็น ช่วยล้างพิษ ขับพิษของเสียออกจากร่างกาย หรือช่วยดีท็อกซ์
    –  ช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่ร่างกายมีความเป็นกรดสูง เพราะน้ำมะพร้าวมีความเป็นด่าง ทำให้กลไกการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเป็นปกติส่งผลให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
    –  ช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ภาวะความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง เนื่องจากมีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง
    –  ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและช่วยรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ
    –  ช่วยแก้อาการตาอักเสบ ด้วยการใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วย นำมาผสมกับน้ำตาลทรายแดงไว้ดื่มเช้าและเย็น อาการอักเสบก็จะค่อย ๆ หายไปเอง
    –  ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ด้วยการใช้มะนาว 1 ซีกบีบผสมกับน้ำมะพร้าวอ่อนแล้วดื่ม (น้ำมะพร้าวอ่อนผสมมะนาว)
    –  ช่วยแก้นิ่ว ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน เช้า กลางวัน เย็น อาการจะดีขึ้นมาก
    –  ช่วยรักษาโรคดีซ่าน ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน เช้า กลางวัน เย็น เพียง 2 วันอาการก็จะดีขึ้นมาก
    –  ช่วยแก้อาการเม็ดผดผื่นคันตามตัว ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นประจำ
    –  ในไต้หวันและจีน นิยมดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อช่วยลดอาการเมา แก้อาเจียนหลังการดื่มแอลกอฮอล์ (น้ำมะพร้าว)
    –  ช่วยแก้พิษเบื่อเมา ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวซึ่งจะช่วยล้างพิษที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี (น้ำมะพร้าวอ่อน)
  • น้ำมัน น้ำมันที่ได้จากเนื้อ หรือจากกะลา ใช้กินเป็นยาบำรุงกำลัง หรือใช้ทาเป็นยาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคผิวหนังต่าง ๆ ทาแผลน้ำร้อนลวก และใช้ทาผิวหนังที่แตกเป็นขุย นอกจากนี้ยังใช้เป็นน้ำมันทาผมได้อีกด้วย
  • น้ำมะพร้าวห้าว ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวห้าว
  • น้ำกะทิ
    –  ช่วยแก้อาการปากเปื่อย ปากเป็นแผล ด้วยการอมน้ำกะทิสด ๆ จากมะพร้าวแก่ประมาณ 5-10 นาที ประมาณ 3 วันแผลจะหายเร็วขึ้น
    –  ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อักเสบ ช้ำบวม ด้วยการใช้น้ำกะทิเคี่ยวให้ร้อน แล้วนำผักเสี้ยนผีล้างให้สะอาดสับเคี่ยวเข้าด้วยกัน ใส่เมนทอลเล็กน้อยเพื่อให้มีกลิ่นหอมและช่วยให้ตัวยาแทรกซึมได้ดีขึ้น เสร็จแล้วนำมานวดบริเวณที่มีอาการ (น้ำกะทิเคี่ยว)
  • กะลา
    –  ใช้กะลามะพร้าวแห้ง นำมาเผาให้เป็นถ่านดำแล้วนำมาบดให้เป็นผงละเอียด ผสมน้ำกินวันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 0.5-1 ช้อนชา กินเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ปวดกระดูกและเอ็น
    –  ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้กะลามะพร้าวแก่จัดที่มีรู ขูดเอาเนื้อออกใหม่ ๆ ใส่ถ่านไฟแดงลงไป แล้วรองเอาน้ำมันมะพร้าวที่ไหลออกมาเก็บใส่ภาชนะปิดให้มิดชิด แล้วใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำมันที่ได้อุดรูฟันที่ปวด แต่อย่าให้สัมผัสกับเหงือกหรือเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆโดยตรง เพราะจะทำให้ชาได้ (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
    –  ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้กะลามะพร้าวสะอาดมาเผาไฟจนแดง แล้วคีบเก็บไว้ในปี๊บสะอาด ปิดฝาให้เรียบร้อย จะได้ถ่านกะลาสีดำ นำมาบดเป็นผงรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
    –  น้ำมันจากกะลามะพร้าวใช้รักษาโรคผิวหนัง หรือแก้ผิวหนังแตกลายได้
    –  ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้นและป้องกันการเกิดแผลเป็น ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากกะลาเผาไฟถ่าน นำมาทาที่แผล จะทำให้แผลหายเร็วภายในไม่กี่วัน และจะไม่เกิดรอยแผลเป็น (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
    –  ใช้รักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการเอากะลามะพร้าวมาถูตะไบเอาผง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใส่พิมเสนเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณแผลเช้า กลางวัน เย็น
    –  ใช้เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ ด้วยการใช้กะลามะพร้าวแก่จัดที่ขูดแล้ว มีรู มาใส่ถ่านไฟแดง ๆ น้ำมันมะพร้าวจะไหลออกมา แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นทิ้งไว้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ยางจะติดอยู่ เกลื้อนจะค่อย ๆ หายไป (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
    –  ช่วยรักษาเล็บขบ ฝ่ามือแตกลาย ด้วยการใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการเผากะลามาทาเช้า กลางวัน เย็น หรือหยอดบริเวณที่เป็นเล็บขบ จะหายเร็วขึ้นและไม่มีอาการปวด (น้ำมันจากกะลามะพร้าว)
  • ดอก
    –  ใช้ดอกสดอ่อน นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เจ็บปากเจ็บคอ แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต
    –  ช่วยแก้ไข้ทับระดู ด้วยการเอาจั่นมะพร้าว ที่ยังมีกาบหุ้มอยู่นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า กลางวัน เย็น อาการจะค่อยดีขึ้น (บางคนใช้รากก็ได้ผลเหมือนกัน)
  • ราก ใช้รากสด นำมาต้มกินเป็นยาแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ หรือเอาน้ำอมหรือบ้วน แก้เจ็บปากเจ็บคอ
  • ดอก ราก กะลา ใช้แก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้รากล้างสะอาดประมาณ 3 กำมือ ทุบพอแตก ต้มน้ำ 5 แก้ว เคี่ยวเอา 2 แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละครึ่งแก้ว เช้า กลางวัน เย็น
  • น้ำมะพร้าวอ่อน เนื้อมะพร้าว
    –  ช่วยลดอาการไข้สูง ตัวร้อน เพราะมีฤทธิ์เป็นยาเย็นจึงช่วยทุเลาอาการไข้ได้
    –  ช่วยถ่ายพยาธิ
  • น้ำมะพร้าวอ่อน เนื้อมะพร้าวหรือราก ช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบมะพร้าว ช่วยรักษาโรคอีสุกอีใส ด้วยการใช้ใบมะพร้าวต้มน้ำดื่ม
  • มะพร้าวกะทิ ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้มะพร้าวกะทิปิดบริเวณแผล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กินน้ำมะพร้าวก่อนนอน

ประโยชน์ของการกินน้ำมะพร้าว ( ก่อนนอน )

  1. ช่วยให้ผิวพรรณ เปล่งปลั่ง ขาวใส เพราะในน้ำมะพร้าวมีโฮโมนเอสโตรเจนอยู่มาก
  2. ช่วยในการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น ชะลอการเกิดริ้วรอย
  3. มีส่วนกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้เป็นอย่างดี
  4. มีสารอาหารครบถ้วน เช่น วิตามินซี วิตามินบี กรดอะมิโน แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และมีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้ภายใน 5 นาที
  5. ทำให้ร่างกายสดชื่น
  6. ช่วยปรับสมดุลภายในร่างกาย ทำให้การทำงานของกลไกต่าง ๆ เป็นปกติ
  7. ดื่มน้ำมะพร้าวก่อนนอนช่วยแก้อาการบวมน้ำ
  8. ช่วยล้างพิษขับของเสียออกจากร่างกาย
  9. ให้เกลือแร่จากธรรมชาติบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะนักกีฬาที่เสียเหงื่อมากจากการเล่นกีฬา
  10. ช่วยป้องกัน หรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์

ประโยชน์ของมะพร้าว

  1. ช่วยกำจัดริ้วรอยของครกหินที่ซื้อมาใหม่ ด้วยการใช้ เนื้อมะพร้าว ส่วนที่ใช้คั้นกะทิตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ 4-5 ชิ้น ใส่ลงไปในครกแล้วตำเนื้อมะพร้าวจนละเอียด ให้น้ำมันจากเนื้อมะพร้าวออกมาสัมผัสกับผิวครกไปเรื่อย ๆ ประมาณสิบนาที แล้วทิ้งไว้อย่างนั้นประมาณ 1 คืนเพื่อให้น้ำมะพร้าวซึมเข้าตามริ้วรอยของเนื้อครก ก้นครกก็จะลื่นเป็นมันดูสดใสใช้งานได้อย่างคล่องมือ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)
  2. มารดาที่เพิ่งคลอดบุตรแต่ไม่มีน้ำนมเพียงพอ ก็สามารถให้บุตรกิน น้ำมะพร้าว แทนน้ำนมแม่ชั่วคราวได้ เพราะน้ำมะพร้าวมีกรดลอริกที่มีอยู่มากในน้ำนมแม่นั่นเอง แถมยังมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตรายต่อเด็กทารก
  3. ผู้ที่เป็นสิวหรือมีประจำเดือนติดต่อกันไม่หยุดให้ดื่ม น้ำมะพร้าว จะช่วยทำให้ร่างกายขับของเสียออกมาได้มากยิ่งขึ้น
  4. น้ำมะพร้าว ประโยชน์ใช้ทำเป็นน้ำส้มสายชูได้
  5. น้ำมะพร้าว นำไปแปรรูปเป็นวุ้นมะพร้าวได้ ด้วยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
  6. มะพร้าวอ่อน นอกจากรับประทานสด ทำเป็นวุ้นมะพร้าว มะพร้าวเผา ส่วนประกอบในอาหารคาวหวาน เป็นต้น
  7. มะพร้าวแก่ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคั้นกะทิสด กะทิกล่อง มะพร้าวอบน้ำผึ้ง น้ำมันมะพร้าว รวมไปถึงน้ำมันไบโอดีเซลด้วย เป็นต้น
  8. เนื้อในของมะพร้าวแก่ ใช้ทำเป็นกะทิ ด้วยการขูดเนื้อเป็นเศษ ๆ แล้วบีบคั้นเอาน้ำกะทิออก
  9. กากมะพร้าว ที่เหลือจากการคั้นน้ำกะทิ สามารถนำไปใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย
  10. กาบมะพร้าวหรือเปลือกมะพร้าว คุณสมบัติแข็งแรง คงทน ยืดหยุ่น มีสปริง นำมาใช้ทำเชือก พรม กระสอบ แปรง อวน ไม้กวาด และเส้นใบสั้นใช้อัดไส้ของที่นอน เบาะรถยนต์ เป็นต้น
  11. ใยมะพร้าว นำไปใช้อัดไส้ฟูกเพื่อทำเป็นเสื่อได้ หรือจะนำไปใช้ในการเกษตรก็ได้เช่นกัน
  12. จั่นมะพร้าวหรือช่อดอกมะพร้าว อุดมไปด้วยฟรุกโตส ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของผึ้งและแมลงนานาชนิด จึงได้มีการนำน้ำหวานส่วนนี้มาทำเป็นน้ำตาลเพื่อใช้ปรุงอาหารคาวหวาน หรือทำเป็นน้ำตาลสดไว้เป็นเครื่องดื่มเพิ่มพลังก็ได้
  13. จาวมะพร้าว นำมารับประทาน หรือเป็นอาหารสัตว์ได้
  14. ใบมะพร้าว นิยมนำมาใช้สานเป็นภาชนะใส่ของ ห่อขนม สานหมวกกันแดดหรือเครื่องเล่นเด็ก กระจาด กระเช้าตะกร้า ทำของที่ระลึกรูปสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น
  15. ก้านใบมะพร้าวหรือทางมะพร้าว นำมาใช้ทำเป็นไม้กวาดทางมะพร้าว เสวียนหม้อหรือก้นหม้อ เครื่องประดับข้างฝา พัด ภาชนะปักดอกไม้ กระเป๋า กระจาด เป็นต้น
  16. รกมะพร้าวหรือเยื่อหุ้มคอมะพร้าว ลักษณะเป็นแผ่นใยหยาบ ๆ บาง ๆ มีความยืดหยุ่น (แต่ขาดง่าย) นิยมนำมาทำเป็นกระเป๋า หมวก รองเท้าแตะ ดอกไม้ประดิษฐ์ กล่องใส่ของ สิ่งประดิษฐ์ใช้ตกแต่งงานศิลปะต่าง ๆ เป็นต้น
  17. กะลามะพร้าว นิยมนำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กระบวย กระดุม ซออู้ โคมไฟ เครื่องประดับ เครื่องดนตรี ที่วางแก้วน้ำ ที่เขี่ยบุหรี่ รวมไปถึงทำเป็นถ่านหุงต้ม ถ่านกัมมันต์ น้ำควัน และถ่านสำหรับป้องกันมอดแมลงก็ได้เช่นกัน ฯลฯ
  18. รากมะพร้าว มีเส้นยาว เหนียวเป็นพิเศษ ใช้สานเป็นตะกร้า ถาด ภาชนะต่าง ๆ และสิ่งประดิษฐ์ทั่ว ๆไป
  19. ลำต้น เมื่อถูกโค่นทิ้งแล้วสามารถนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ทำรั้ว ฝาผนัง กระถางต้นไม้ ตกแต่งสวน เป็นต้น

หากผู้อ่านสนใจที่จะปลูกมะพร้าว สามารถเลือกสายพันธุ์หรือชนิดของมะพร้าวได้จากบทความ สายพันธุ์มะพร้าว มะพร้าวกะทิ มะพร้าวแกง หรือ มะพร้าวใหญ่ มะพร้าวน้ำหอม และศึกษาข้อมูลบทความ การปลูกมะพร้าว การดูแลมะพร้าว หลังการเพาะปลูก ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกมะพร้าว การแปรรูปมะพร้าว เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ หรือเสริมความรู้จากเทคนิคต่างๆ ที่นำเสนอไว้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูลจาก http://sukkaphap-d.com, https://th.wikipedia.org/wiki/มะพร้าว, https://medthai.com/มะพร้าว, หนังสือ ครบเครื่องเรื่อง..มะพร้าว โดย อภิชาติ ศรีสะอาด)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *