ตลาดและการส่งออกมะเขือ

ตลาดและการส่งออกมะเขือ

ตลาดและการส่งออกมะเขือ เป็นกระบวนการสุดท้ายในการเพาะปลูกมะเขือทุกสายพันธุ์ ซึ่งมีความสำคัญ ในการกำหนดคุณภาพสินค้า และกระบวนการผลิต ว่าเกษตรกรควรจะเตรียมแผนการรองรับ และแผนการผลิตได้อย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้ขาดทุน หรือได้ผลตอบแทนน้อยเกินไป ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลตลาดผักผลไม้ในประเทศมาฝากผู้อ่าน ที่กำลังคิดจะเป็นเกษตรกรมือใหม่กันค่ะ ว่ามีที่ไหนใกล้บ้านท่าน หากคิดจะผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรปลูกผักผลไม้จำหน่าย

ตลาดซื้อ – ขายผักตระกูลมะเขือ
ตลาดไท
ติดต่อตลาดไท บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด เลชที่ 31 หมู่ 9 ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 02-908-4490-9 หรือที่ www.talaadthai.com
การเดินทางโดยรถประจำทาง
รถประจำทางที่ผ่านด้านหน้าตลาดไท สาย 39, 338, ปอ.29, ปอ,510
รถประจำทางที่เข้าไปในตลาดไท สาย ปอ.39, ปอ. 520

ตลาดสี่มุมเมือง
ตั้งอยู่ เลขที่ 355/115-116 หมู่ 15 ถนนพหลโยธิน ต. คูคต อ. ลำลูกกา จ. ปทุมธานี 12130
โทรศัพท์ 02-995-0610-3 เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง
รถประจำทางที่ผ่าน สาย 510, 29

ตลาดกลางผักและผลไม้จังหวัดนครปฐม (ตลาดปฐมมงคล)
ตั้งอยู่เลขที่ 125/1-129 ทวาราวดี ต. ห้วยจระเข้ อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม 73000
โทรศัพท์ 034-241959, 034-213-441

ตลาดศรีเมือง
ตั้งอยู่เลขที่ 533 ถนนศรีสุริยวงศ์ ต. หน้าเมือง อ. เมือง จ. ราชบุรี 70000
โทรศัพท์ 032-338-250, 032-326-158 โทรสาร 032-326-437

ตลาดสุรนครเมืองใหม่
ที่ตั้งเลขที่ 438/1 ถ. มิตรภาพ – หนองคาย ต. ในเมือง อ. เมือง จ. นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044-270-395

ตลาดรวมพืชผลหัวอิฐ
ที่ตั้ง เลขที่ 11/92 ถ. กะโรม ต. โพธิ์เสด็จ อ.เมือง จ. นครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์ 075-343-800

ตลาด อ.ต.ก.
เลขที่ 101 ถ. กำแพงเพชร แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ตลาดยิ่งเจริญ
259/99 หมู่ 7 ถ. พหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220
โทรศัพท์ 02-972-3405-7 ต่อ 3011-3012

ตลาดกลางผักผลไม้สมุทรสาคร
ถนนพระรามที่ 2 ต. คอกกระบือ อ. เมืองสมุทรสาคร จ. สมุทรสาคร

ตลาดศิริวัฒนา
ตั้งอยู่ที่ 193 ถ. ช้างเผือก อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ 053-251-795 (สำนักงาน), 053-221-298 (ตลาด), โทรสาร 053-211-270

การส่งออกมะเขือ
การเก็บรักษามะเขือเพื่อการส่งออก
เมื่อเก็บเกี่ยวมะเขือแล้ว ตัดแต่งขั้วเสร็จแล้ว บรรจุในถาดโฟม หุ้มด้วยโพลีเอทธิลีน
ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% อุณหภูมิ 10 ถึง 12 องศาเซลเซียส เก็บรักษาได้ 14 วัน ถ้าอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เก็บรักษาได้ 21 วัน
การบรรจุมะเขือในถุงโพลีเอทธิลีน แบบเจาะรู บรรจุถาดแล้วห่อหุ้มด้วยฟิล์มโพลีไวนิลคลอไรด์ หรือใช้ฟิล์มโพลีโพรพิลีน หรือโพลีเอทธิลีน เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำหนัก

ขั้นตอน การส่งออกมะเขือ ไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสหพันธรัฐสวิส

  1. ผู้ส่งออก / โรงคัดบรรจุ ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้สดไปยังสหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสหพันธรัฐสวิส ที่กลุ่มประสานการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
  2. ผลผลิตพืชต้องมาจากแปลงเกษตรกรเครือข่ายของโรงคัดบรรจุ โดยโรงคัดบรรจุมีการจัดการที่สามารถมั่นใจได้ว่ามีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรเกี่ยวกับการดูแล ควบคุม การจัดการแปลงพืชในเรื่องสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้ การ
    ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ และการควบคุมศัตรูพืช ตลอดจนเอกสารการบันทึกต่างๆ โดยส่งหลักฐานแสดงการเป็นเกษตรกรเครือข่ายดังต่อไปนี้
  • จัดทำสรุปรายชื่อชนิดพืช รายชื่อเกษตรกร รหัสแปลงเกษตรกร แผนการปลูก และช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชต่อพื้นที่ปลูก ตามแบบบัญชีรายชื่อพืชและเกษตรกร
  • สำเนาใบรับรองแปลงการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ถ้ามี
  • แผนและผลการควบคุมการจัดการแปลง บันทึกการตรวจเยี่ยม/ตรวจติดตาม แปลงเกษตรกรทุกแปลง โดยระบุกิจกรรม ความถี่ ให้ครอบคลุมความปลอดภัย ด้านเชื้อจุลินทรีย์ และสารพิษตกค้าง รวมถึงศัตรูพืช

มาตรการควบคุมพิเศษการส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป
ของกรมวิชาการเกษตร ได้ประกาศเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554 สรุปขั้นตอน
การปฏิบัติของผู้ประกอบการส่งออกผักและผลไม้ ไปสหภาพยุโรป ดังนี้

  1. ผู้ส่งออกต้องขอจดทะเบียนผู้ประกอบการส่งออก
  2. จัดส่งผลิตผลเกษตรจากแปลงเกษตรกรที่ผ่านการรับรอง
    ตามมาตรฐาน GAP เพื่อส่งออกเท่านั้น
  3. ทำการคัดบรรจุผักและผลไม้สดที่จะส่งออก จากโรงงานที่ผ่านการรับรองตามหลักการปฏิบัติ GMP และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Points) และอยู่ในบัญชีรายชื่อโรงงานคัดบรรจุ (EL)
  4. ขอใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) จากกรมวิชาการเกษตร โดยสามารถนำตัวอย่างผลิตผลเกษตรที่จะส่งออก
    ส่งวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีตกค้างและจุลินทรีย์ จากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับจากกรมวิชาการเกษตร
  5. ทำหนังสือรับรองการส่งชนิดและปริมาณการส่งออกผลิตผลเกษตรและตรวจรับรองสุขอนามัยพืช (PC) ณ ด่านตรวจพืช

นอกจากนั้น ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร บางส่วนไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่จะสามารถชี้แจงถึงขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และรายละเอียดต่างๆ ให้ผู้ส่งออกเข้าใจได้อย่างชัดเจน เมื่อรู้จักแหล่งจำหน่ายในประเทศแล้ว และได้ทราบขั้นตอน การส่งออกมะเขือ กันแล้ว อย่าเพิ่งท้อซะก่อนนะคะ ทุกอย่างยากตอนเริ่มต้นทั้งนั้นค่ะ แต่ถ้าได้ลงมือแล้ว เห็นประโยชน์ ก็มีกำลังใจไปต่อนะคะ

ขอบคุณสำหรับการติดตามค่ะ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่
(แหล่งข้อมูล www.doa.go.th, หนังสือ แนวทาง…และแบบอย่างการเพาะปลูกสารพัดมะเขือทำเงิน สนพ.นาคา โดยอภิชาติ ศรีสอาด และ จันทรา อู่สุวรรณ)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *