การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์

การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักไฮโดร

 

การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ไม่ได้มีเพียง การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา, การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยสมุนไพร หรือเรื่องแสง และอุณหภูมิเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ยังรวมถึง การดูแลเรื่องการเจริญเติบโตของผักไฮโดรโปนิกส์, การเก็บเกี่ยว ตลอดจนถึงการขนส่งผักไปสู่ตลาด เกษตรกรหรือผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จะต้องดูแลผักไฮโดรโปนิกส์อย่างไรบ้าง?…ติดตามรายละเอียดในบทความนี้นะคะ

การเจริญเติบโต
มีหลายสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญหรือหัวใจหลักของ การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเกษตรกรควร บริหารจัดการให้ถูกต้อง เพื่อผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ดังนี้

 

การจัดการธาตุอาหาร
ธาตุอาหารที่ครบถ้วน เหมาะสม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของ การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ต้องได้รับการปฏิบัติให้ถูกต้อง
สิ่งที่ควรระวัง :

  1. การให้สารละลายธาตุอาหารหรือปุ๋ย เริ่มหลังจากนำต้นอ่อนลงรางปลูกแล้ว 1 วัน จึงเริ่มใส่ปุ๋ย
  2. ใส่สารละลายธาตุอาหาร A ในน้ำก่อน แล้วทิ้งให้ละลายประมาณ 6 ชั่วโมงจึงใส่ B ตาม เพราะส่วนผสมในสารละลาย A และ B บางตัว จะจับตัวคล้ายกับหินปูนอยู่ในถังพักถ้าใส่พร้อมกัน ไม่ไหลไปกับน้ำเพื่อให้อาหารพืช

อัตราส่วนของสารละลายธาตุอาหาร โดยทั่วไปคือ 2ซีซี ต่อน้ำในระบบ 1 ลิตร (น้ำในระบบ หมายถึง น้ำในถัง+น้ำในท่อ x 2ซีซี)

ตัวอย่างเช่น   ใส่สารละลายธาตุอาหาร A ลงในน้ำเวลา 8.00น.ปริมาณน้ำในถัง 200ลิตร + ในท่อ 200ลิตร รวมเป็น 400ลิตร x 2ซีซี= ต้องใส่สารละลายธาตุอาหาร 800ซีซี เวลา 16.00น. (หลังจากใส่สารละลายธาตุอาหาร A ไป 6 ชั่วโมง) ใส่สารละลายธาตุอาหาร B ลงไปอีก 800ซีซี เท่ากันกับ A **ระดับน้ำในท่อต้องลึกตามที่แต่ละระบบกำหนดไว้** การใส่สารละลายธาตุอาหารในครั้งต่อไป ให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งทั้ง A และ B จากตัวอย่าง  A จะลดเหลือ =400ซีซี และ B จะลดเหลือ =400ซีซี เช่นกัน โดยทิ้งช่วงเวลาการใส่สารละลายธาตุอาหารแต่ละชนิดเท่ากันกับครั้งแรก **เพื่อให้ง่ายในการผสมสารละลายธาตุอาหาร, ป้องกันการทำปฏิกิริยาทางเคมีของสาร และประหยัดเวลา เกษตรกรสามารถ แยกเตรียมสารละลายไว้ 2 ถัง คือ  A 1 ถัง และ  B 1 ถัง เมื่อต้องการใช้จึงนำมาผสมกันในถังพักเพื่อจ่ายลงไปยังรางปลูก ง่ายต่อการใช้งานทั้งแบบเข้มข้นและแบบเจือจาง** **น้ำที่ใช้เตรียมสารละลายที่มีคุณภาพดี คือ ที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถดื่มได้ หากปลูกเชิงการค้าควรมีการวัดค่าทุกวัน** **การนำสารละลายธาตุอาหารแบบผงมาใช้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ต้องไม่ลืมเก็บสารละลายที่ผสมน้ำแล้วไว้ในที่มืดเสมอ**

การตรวจสอบสารละลายธาตุอาหาร

ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชมีอยู่ 16 ธาตุด้วยกัน แต่ธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพืชต้องการใช้ในปริมาณมากมีอยู่ 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม นอกจากนี้พืชยังต้องการธาตุอาหารรองอย่าง แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน และธาตุอาหารเสริมที่พืชขาดไม่ได้แต่ใช้ปริมาณน้อยกว่าธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง คือ สังกะสี, ทองแดง, แมงกานิส, เหล็ก, โบรอน, โมลิบดีนัม และ คลอรีน ปัจจุบัน มีผลการวิจัยในต่างประเทศ ว่ามีธาตุอาหารรองเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชนิดคือ นิเกิล มีความสำคัญต่อระบบเอ็นไซม์ ปลดปล่อยไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้ และช่วยให้พืชดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ พืชจะสะสมนิเกิลไว้ในเมล็ดเพื่อประโยชน์ในการงอก ทำให้เมล็ดพืชงอกได้สูงขึ้น

ข้อสังเกตเมื่อพืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อ หรือไม่ครบทุกชนิด

ธาตุอาหารที่ขาด อาการ
ไนโตรเจน ใบเหลืองจากปลายใบ หากรุนแรง ใบจะแห้งตาย
ฟอสฟอรัส ใบล่างและลำต้นมีสีแดงอมม่วง
โพแทสเซียม ใบเหลืองจากขอบใบเริ่มจากใบล่าง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้าสู่กลางใบ
แคลเซียม ใบอ่อนบิดม้วน ยอดหงิก ใบคลี่ได้ไม่เต็มที่
แมกนีเซียม เส้นใบมีสีเขียว แต่เนื้อเยื่อจากเส้นใบไปถึงขอบจะเหลือง
กำมะถัน ใบอ่อนหรือใบบนเหลืองทั้งใบ
สังกะสี ขอบเส้นกลางใบของใบอ่อนจะเหลือง ใบเล็กผิดปกติ
ทองแดง ปลายใบอ่อนสีซีดหรือขาว
แมงกานิส มีจุดสีน้ำตาลบนใบ มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ
เหล็ก ใบอ่อนมีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ
โบรอน ใบย่น หนาผิดปกติ ม้วน ขาดง่าย
โมลิบดีนัม มีจุดน้ำตาลไหม้บนใบ หรือใบเหลือง
คลอรีน ใบเหลือง ปลายใบแห้ง
นิเกิล พืชให้ผลผลิตไม่เต็มที่

วิธีตรวจสอบสารละลายธาตุอาหาร

  • การตรวจสอบค่า pH—น้ำต้องมีค่า pH อยู่ระหว่าง 5.5-7.2 เมื่ออ่านค่า pH จากเครื่องมือ pH Meter แล้วปรากฏว่า สารละลายธาตุอาหารมีความเป็นกรดมากเกินไป ให้เติม โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์, โซเดียมไฮดรอกไซด์, โซเดียมคาร์บอเนตหรือแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ สารใดสารหนึ่งลงในสารละลายธาตุอาหาร ถ้าเป็นด่างมากเกินไป ให้เติมกรดซัลฟูริก, กรดไนตริก, กรดไฮโดรคลอริก, กรดฟอสฟอรัสหรือกรดซิตริก สารใดสารหนึ่งลงในสารละลายธาตุอาหาร **ก่อนใช้เครื่อง pH Meter** ใช้น้ำยามาตรฐานที่เรียกว่า ‘สารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน’ ปรับความเที่ยงตรงของเครื่องมือก่อน
  • การตรวจสอบค่า EC— โดยใช้เครื่อง EC Meter วัดค่า EC ของน้ำที่ใช้เตรียมสารละลายธาตุอาหารและวัดค่า EC ของสารละลายธาตุอาหารที่เตรียมเสร็จแล้ว ค่าที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสารละลายธาตุอาหาร (คือ อุณหภูมิสารละลายธาตุอาหารสูง ค่า EC ก็จะสูงตาม) **ก่อนใช้เครื่อง EC Meter**ให้กดปุ่มปรับความเที่ยงตรงของเครื่องก่อน

** เครื่อง pH Meter กับ EC Meter ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?** เครื่อง pH Meter ใช้วัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) เพื่อให้ทราบว่าพืชได้รับธาตุอาหารพอเพียงต่อความต้องการหรือไม่ และ ในสารละลายธาตุอาหารมีปริมาณออกซิเจนพอเพียงหรือไม่ เครื่อง EC Meter ช่วยควบคุมค่ารวมของการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหารทั้งหมด **หากเป็นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไว้บริโภคในครัวเรือน ก็ประหยัดด้วยการไม่ใช้เครื่องมือวัดค่า แต่ใช้สารละลายอาหารตามที่ผู้ผลิตกำหนดก็ได้ และถ้าไม่มีฝนตกมาปนเปื้อนก็ไม่จำเป็นต้องวัดค่า pH แต่ถ้าใช้น้ำประปา ควรวัดค่า pH เพราะมีค่าความเป็นกรด-ด่างมากกว่าน้ำบาดาล** **การวัดค่า pH ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เชิงการค้า**
ควรวัดทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น เช้า-กลางวัน-เย็น หรือวันละหลายๆ รอบ ซึ่ง ค่า pH จะต่างกันตามฤดูกาล

  • ฤดูร้อน     อยู่ระหว่าง  1.2-1.4
  • ฤดูฝน      อยู่ระหว่าง  1.8-2.0
  • ฤดูหนาว   อยู่ระหว่าง  1.8-2.2

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักไฮโดร ธาตุอาหาร

การจัดการน้ำในระบบ

  1. ควบคุมปริมาณน้ำให้คงที่—พืชเจริญเติบโตได้ดีในปริมาณน้ำที่คงที่ ถ้าปริมาณน้ำลดลง ปริมาณธาตุอาหารจะเพิ่มขึ้น
  2. เปลี่ยนสารละลายธาตุอาหาร—ผักไฮโดรโปนิกส์แต่ละชนิดจะดูดธาตุอาหารแต่ละชนิดไปใช้มากน้อยต่างกัน ทำให้ธาตุอาหารเหลืออยู่ไม่เท่ากัน อาจเกิดการตกตะกอน วิธีเปลี่ยนสารละลาย มีด้วยกัน 3 วิธี คือ
  • เป็นระยะๆ ทุก 2-3 สัปดาห์ โดยจะถ่ายน้ำสารละลายธาตุอาหารของเดิมออก 1 ใน 5 ส่วน หรือ 2 ใน 3. ส่วนของความจุถังใส่สารละลายธาตุอาหาร
  • ถ่ายน้ำสารละลายธาตุอาหารออกช้าๆ สม่ำเสมอ
  • ถ่ายของเก่าออกทั้งหมดหลังการเก็บเกี่ยวทุกครั้ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เก็บผักไฮโดร

การเก็บเกี่ยว

  1. ก่อนการเก็บเกี่ยวผักไฮโดรโปนิกส์ 10 วัน เป็นอย่างน้อย ให้หยุดใช้ยาฆ่าเชื้อรา ส่วนสารที่มีเคมีอื่นๆ ต้องรอให้หมดฤทธิ์อย่างน้อย 15 วัน
  2. ก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน ถ่ายน้ำละลายสารอาหารออกจากท่อให้หมด แล้วสูบเอาน้ำเปล่า หรือน้ำสะอาดไปเลี้ยงหรือแช่ผักไว้
  3. ควรเก็บผักไฮโดรโปนิกส์ในวันที่มีแดด และควรเป็นช่วงบ่าย เพราะไนเตรทจะต่ำลง หากเก็บผักในช่วงที่มีแดดจัด ผักจะมีการนำไนเตรทมาใช้ประโยชน์มากกว่า
  4. ดึงผักไฮโดรโปนิกส์ออกจากรางปลูกทั้งถ้วย เอาถ้วยออก ไม่ต้องตัดราก หากเป็นการปลูกบนฟองน้ำ ไม่จำเป็นต้องเอาฟองน้ำออกก็ได้ ซึ่งอาจจะมีลูกค้าบางรายระบุให้ส่งผักไฮโดรโปนิกส์ทั้งฟองน้ำ
  5. เก็บเศษหิน เศษดิน ทำความสะอาด (อาจล้างด้วยน้ำยาล้างผัก) และตัดแต่งใบที่เสียหรือแก่เกินไปออก เพื่อป้องกันการสะสมความร้อนและเชื้อจุลินทรีย์
  6. ปล่อยให้ผักไฮโดรโปนิกส์ได้คลายความร้อนก่อนได้รับการบรรจุ เก็บผักไว้ในที่ร่มเย็น
  7. คัดขนาดผักไฮโดรโปนิกส์ และทำการบรรจุ(ห่อหุ้ม)ด้วยพลาสติกหรือกระดาษ เพื่อลดการคายน้ำ ผักได้น้ำหนักและไม่เสียเร็ว จากนั้น เตรียมผักไฮโดรโปนิกส์ลงภาชนะบรรจุที่ใช้สำหรับการขนส่ง โดยบรรจุผักลงภาชนะแค่เต็มพอดี อย่าอัดจนแน่นหรือหลวมเกินไป และอย่าให้ผักถูกกดทับ หรือกระแทก
  8. ผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีการคายน้ำสูง เช่น มะเขือเทศ พริกหวาน ควรทำการเคลือบผิวด้วยสารเคลือบผิวก่อนทำการบรรจุหีบห่อเพื่อไม่ให้เหี่ยวย่น น่ารับประทาน และไม่สูญเสียน้ำหนัก
  9. เก็บผักไฮโดรโปนิกส์ไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ ช่วยลดอัตราการหายใจของผัก ให้ผักมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวขึ้น
  10. เตรียมยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง ต้องให้ห้องเก็บผักเย็นเสียก่อนจึงนำผักไฮโดรโปนิกส์ขึ้นไปจัดเรียง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

 

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *