การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าและเทคนิคการปลูกกล้วยแบบประหยัดต้นทุน

ขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า

การขยายพันธุ์กล้วยแต่ดั้งเดิม เคยใช้การเพาะเมล็ด เช่น กล้วยตานี ที่มีเมล็ดมาก แต่ใช้ระยะเวลาในการเพาะประมาณ 4 เดือน จึงจะมีต้นอ่อนงอกออกมา เนื่องจากเปลือกเมล็ดมีความหนา การเพาะเมล็ดจึงเสื่อมความนิยมไป สำหรับ การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าไม่มีเมล็ด จึงขยายพันธุ์ด้วยวิธี :

1. การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากหน่อ นิยมโดยทั่วไปโดยขุดหน่อที่แตกมาจากต้นแม่มาปลูก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขยายพันธ์กล้วยน้ำว้า

1.1 วิธีเลือกหน่อกล้วยน้ำว้าเพื่อขยายพันธุ์ เลือกหน่อใบแคบ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หน่อดาบ ที่เกิดจากต้นแม่ ใบยังไม่คลี่ เรียว ยาวเหมือนมีดดาบ มีความสูงประมาณ75-80 เซนติเมตร แข็งแรง สมบูรณ์เพราะจะมีอาหารสะสมอยู่มาก หน่อที่สมบูรณ์แข็งแรงนั้น ควรมีเหง้าอยู่ใต้ดินรากลึก เหมาะสำหรับแยกไปปลูกเพราะจะได้ต้นกล้วยที่แข็งแรง ให้ผลผลิตดี ไม่ควรเลือกหน่อที่โผล่อยู่บนผิวดินเพราะไม่แข็งแรงต้นแม่ ต้องไม่เป็นโรคหรือมีแมลงศัตรูกล้วย โดยเฉพาะด้วงงวง และเหง้าต้องไม่ถูกโรคและแมลงทำลาย หากเป็นหน่อกล้วยที่มาจากแหล่งอื่น ต้องเป็นกล้วยที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีโรคระบาดมาก่อน เหง้าใหญ่ ไม่ช้ำ

1.2 วิธีเตรียมหน่อกล้วย
1.2.1 ตัดยอดต้นแม่ ให้เหลือความสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ต้นแม่แต่ละต้นจะให้หน่อได้ประมาณ 5 หน่อต่อต้น
1.2.2 ขุดแยกหน่อจากต้นแม่ ทุกๆ 2 เดือน แล้วสุมดินที่โคนต้นแม่ทุกครั้ง ต้นแม่จะให้หน่อประมาณต้นละ 10 หน่อต่อปี อย่าให้ต้นแม่ได้รับความกระทบกระเทือน ไม่ควรโยกหน่อ

1.3 วิธีเพิ่มปริมาณหน่อกล้วยด้วยการใช้เหง้าจากต้นแม่ ถ้าจำนวนหน่อที่ได้ไม่เพียงพอ ใช้วิธีเพิ่มหน่อกล้วยโดยเลือกต้นแม่ที่สมบูรณ์ ยังไม่ตกเครือ ตัดลำต้นเหนือดินออก ขุดลำต้นหรือเหง้าของต้นแม่ขึ้นมาและผ่าออกเป็นชิ้นๆ โดยให้แต่ละชิ้นมีตาแตกเป็นต้นใหม่ได้ จากนั้น ฝังชิ้นส่วนเหล่านี้ในทรายผสมขี้เถ้าลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ตาจะแตกเป็นต้นใหม่ นำไปปลูกได้เมื่อมีขนาดใหญ่พอ วางส่วนที่เป็นตาไปทางเดียวกัน นอกจากการผ่าลำต้นแล้ว อาจใช้ลำต้นหรือเหง้ามาเจาะเอาส่วนของจุดเจริญออก เรียกว่า คอร์ม (Corm) หรือ บิท (bit) และนำมาชำเช่นเดียวกับต้นใหม่ที่เกิดจากตาที่อยู่ระหว่างซอกใบและสามารถแยกต้นออกไปปลูกใหม่เมื่อมีขนาดเหมาะสม

2.การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ—เพื่อเพิ่มจำนวนต้นให้ได้มากในระยะสั้น เพื่อให้ได้ต้นที่ปราศจากโรค และแมลงวิธีขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เน้นความสะอาดปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง ด้วยการนำชิ้นส่วนของพืชที่ยังมีชีวิต เช่น ลำต้นยอด ตาข้าง ก้านช่อดอก ใบ ก้านใบ อับละอองเกสร ฯลฯ มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ และชิ้นส่วนนั้นสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ มีใบ มีลำต้น และราก ที่นำไปปลูกตามธรรมชาติได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

  • ผลิตพันธุ์พืชได้จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น
  • ได้ต้นพันธุ์ที่ปลอดโรค
  • ได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์
  • ต้นพันธุ์มีขนาดสม่ำเสมอ ผลผลิตได้มาตรฐาน และเก็บเกี่ยวได้คราวละมากๆ และพร้อมกัน
  • กล้วยน้ำว้าจะตกเครือในเวลาเดียวกัน

ข้อเสียของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

  • ใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงนานกว่าวิธีธรรมชาติ
  • ต้นทุนสูง

ส่วนที่นำมาขยายพันธุ์ดีที่สุด คือ จุดเจริญ ได้แก่

  • หน่อ หรือลำต้น ที่มีตากำลังเจริญ นิยมใช้หน่อใบแคบที่แตกออกมา แต่สำหรับตาที่กำลังเจริญนั้นทำได้ยากกว่า
  • ดอกตัวผู้ หรือ หัวปลี ปกติมักจะถูกตัดทิ้ง แต่เป็นส่วนที่ขยายพันธุ์ได้ดี เพราะเป็นส่วนที่อยู่เหนือดิน ไม่ได้รับเชื้อโรคที่อยู่ในดิน
    (ดัดแปลงจาก: กล้วยน้ำว้า …สายพันธุ์ยักษ์)

วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยเป็นวิธีการที่ไม่ยากนัก แต่ต้องลงทุนมาก เพราะจะต้องมีห้องที่ปลอดเชื้อ ตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และอาหารเพาะเลี้ยงที่มีสูตรอาหารพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่ของอาหารนั้นจะเลียนแบบอาหารที่พืชได้จากการปลูกแบบธรรมชาตินั่นเอง คือ จะต้องประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) และธาตุอาหารรอง คือ แมงกานีส (Mn) โซเดียม (Na) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) เหล็ก (Fe) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B)

นอกจากนี้ยังต้องมีวิตามินปริมาณที่ใช้ตามสูตรอาหาร MS (Murashige & Skoog, 1962)  และฮอร์โมน เพื่อช่วยในการขยายพันธุ์ให้มีการแตกกอมากขึ้นคือ ฮอร์โมน BA (Benzyl Adenine) ในระดับความเข้มข้นที่เหมาะกับกล้วยประมาณ ๓ – ๕ ppm หรืออาจใช้น้ำมะพร้าวประมาณร้อยละ ๑๕ ต่อปริมาตรของอาหารก็ได้ จะช่วยให้มีการแตกหน่อเพิ่มมากขึ้น สำหรับแหล่งของธาตุคาร์บอน (C) จะได้จากน้ำตาล โดยใช้น้ำตาลร้อยละ ๒ – ๔ โดยปริมาณ เมื่อผสมอาหารทุกอย่างแล้ว ปรับความเป็นกรดด่าง (pH) ที่ ๕.๖ – ๖.๘ โดยใช้ NaOH และ HCl ที่ความเข้มข้น ๑ N หลังจากปรับแล้ว เติมวุ้น ๔.๕ – ๘.๐ กรัมต่ออาหาร ๑ ลิตร บรรจุใส่ขวด ปิดฝา นึ่งในหม้อนึ่งฆ่าเชื้อที่ความดัน ๑๕ ปอนด์ นาน  ๑๕ – ๓๐ นาที ทิ้งไว้ให้เย็น เก็บไว้ ๑ – ๒ วัน แล้วจึงนำมาใช้เลี้ยงเนื้อเยื่อได้ หน่อกล้วยที่จะนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ใช้หน่อใบแคบ แล้วลอกกาบนอกออก จนเหลือหน่อที่มีขนาดประมาณ ๑ x ๑ นิ้ว ทำการฟอกฆ่าเชื้อโรคในสารละลายคลอรอกซ์แล้วล้างในน้ำกลั่น หลังจากนั้นจึงนำชิ้นส่วนของหน่อกล้วยเข้าทำงานในตู้เพาะเลี้ยง

จากนั้นจึงลอกกาบกล้วยออกอีก จนมีขนาดประมาณ ๑ x ๑ เซนติเมตร แล้วผ่าออกเป็น ๔ ส่วน  โดยผ่าให้ผ่านจุดเจริญของกล้วย และวางลงบนวุ้นอาหาร แล้วจึงนำขวดอาหารไปวางไว้ในห้องปลอดเชื้อที่มีแสง ประมาณ ๓,๐๐๐ ลักซ์ อุณหภูมิ ๒๖ – ๓๐ องศาเซลเซียส หลังจากนั้นประมาณ ๖ – ๘ สัปดาห์ จะสังเกตเห็นว่า มีการแตกยอดอ่อนของกล้วยเกิดขึ้น ให้ทำการตัดแบ่งเนื้อเยื่อ ต่อไปทุกเดือน จนเมื่อได้จำนวนมากพอแล้ว นำมาออกรากในอาหาร MS ที่ไม่มีฮอร์โมนประมาณ ๑ เดือน ต้นอ่อนของกล้วยก็จะออกรากพอประมาณ จึงนำย้ายออกปลูกในบรรยากาศธรรมชาติได้ โดยการนำขวดต้นอ่อนนั้นมาวางในบรรยากาศปกติก่อน ๒ – ๓ วัน เพื่อให้ต้นอ่อนปรับตัวเข้ากับบรรยากาศธรรมชาติ แล้วนำออกปลูกในเครื่องปลูกที่สะอาด ประกอบด้วยทราย : ดิน : ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ๑ : ๑ : ๑ อบฆ่าเชื้อ ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนปลูก เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ ๖ – ๘ สัปดาห์ หรือมีความสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร จึงนำไปปลูกลงในแปลงได้

เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต และประหยัดต้นทุน
การใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มอาหารในดิน
สูตรน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา
วิธีทำ: หัวปลาและเศษปลา 10 กิโลกรัม
น้ำ 20 กิโลกรัม
กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม
พด.6 6 ซอง
ผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน หมักไว้ประมาณ 2 เดือน
การนำไปใช้: ผสมน้ำหมัก 1 ส่วน : น้ำเปล่า 100 ส่วน ให้ละลายเข้ากันใส่ในถัง 200 ลิตร ต่อท่อเข้าปั๊ม ให้ดูดไหลไปพร้อมกับน้ำที่รดต้นไม้

การปลูกกล้วยน้ำว้าให้ออกเครือไปทิศทางเดียวกัน

  • ง่ายต่อการตัดกล้วย โดยเฉพาะกล้วยที่ปลูกแบบยกร่อง แต่วิธีนี้ทำได้กับกล้วยที่มีวิธีปลูกโดยใช้เหง้า ให้วางเหง้าลงในหลุมทุกหลุมโดยให้รอยแผลที่ถูกตัดแยกจากต้นแม่มาหันไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อกล้วยโตจะตกเครือไปในทิศทางตรงกันข้ามกับรอยแผล

การปลูกกล้วยน้ำว้าไร้โรคตายพราย

  • ให้ใช้ใบกล้วยน้ำว้ารองก้นหลุมเพียงหลุมแรกของสวนเท่านั้น แล้วกล้วยน้ำว้าทั้งสวนจะไม่เป็นโรคตายพราย

การปลูกกล้วยน้ำว้ากลับหัว—การปลูกกล้วยให้ได้ผลผลิตเร็ว

  • เลือกหน่อพันธุ์กล้วยน้ำว้าที่สมบูรณ์ จากต้นที่ตัดเครือแล้ว ตัดใบ และลำต้นออกให้เหลือเพียงส่วนโคนสูงจากพื้น 30-40 เซนติเมตร
  • ใช้เสียมแซะหน่อจากดิน ให้รากติดไปด้วย นำไปปลูกในหลุมลึก 50 เซนติเมตร วางหน่อกล้วยน้ำว้ากลับหัวลงให้รากชี้ฟ้าแล้วกลบดิน กล้วยจะแตกหน่อเร็ว ให้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกรูปแบบเดิม ไม่ต้องใส่ปุ๋ยในช่วงแรก และต้นเตี้ยกว่าปกติ

การใส่ปุ๋ยให้กล้วยน้ำว้าได้รับสารอาหาร 100 เปอร์เซ็นต์

  • เจาะดินให้เป็นรูไม่ต้องลึก ห่างจากโคนต้นมาประมาณปลายทรงพุ่ม แล้วหยอดปุ๋ยลงไป ครึ่งช้อนโต๊ะ ต่อหลุม แล้วกลบดินทับ ทำ 4 หลุมรอบโคนต้น แต่ถ้ากล้วยสมบูรณ์ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยบ่อย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทำกล้วยน้ำว้าลูกโต

การทำให้กล้วยน้ำว้าลูกโต

  • ห้ามขุดหน่อกล้วยน้ำว้าช่วงที่กล้วยกำลังตกเครือ เพราะรากกล้วยจะถูกทำลาย ได้ผลที่ไม่สมบูรณ์
  • เมื่อกล้วยน้ำว้าออกเครือให้ตัดใบเหลือแค่ปลายยอดเพียง 4 ใบ ให้อาหารไปเลี้ยงส่วนผลกล้วยได้เต็มที่
  • เฉือนก้านเครือบางๆ ให้ยางกล้วยไหลออก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนกว่าจะได้อายุตัดเครือ ผลที่ได้จะมีผลใหญ่เสมอกันทั้งหวี
  • เมื่อกล้วยน้ำว้าออกเครือให้ปล่อยปลีกล้วยให้ยาวห่างจากกล้วยหวีสุดท้าย 15-20 เซนติเมตรแล้วตัดปลี ให้ห่างจากหวีตีนเต่าประมาณ 1 นิ้ว
  • ถ้าจะตัดหวีตีนเต่าออก ให้เหลือไว้ 1 ลูกที่ใหญ่ที่สุดเท่านั้นเพื่อให้ผลกล้วยน้ำว้ามีขนาดเท่ากันทั้งเครือ
  • ฉีดน้ำรดผลกล้วยน้ำว้า ป้องกันสัตว์, แมลง, เพลี้ยแป้ง. ราดำ มารบกวน ผลกล้วยจะใหญ่กว่าเดิม สุกช้า ไม่เน่า เพราะใช้น้ำฉีด

การเพิ่มผลผลิตกล้วยน้ำว้า

  • เน้นผลผลิตลูกสวยใหญ่ ตอนปลูก ให้วางเหง้า หรือหน่อกล้วยลึกๆ ต้นจะล้มยาก แตกหน่อยาก ตัดหน่อรอบต้นแม่ทิ้งเกือบถึงพื้นดิน หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ให้ตัดซ้ำ ไม่ให้โต เหลือหน่อที่อ้วนสูงไล่ระดับกัน ไว้ประมาณ 3 หน่อต่อ 1 กอ เพื่อไม่ให้กล้วยออกเครือพร้อมกัน เก็บเกี่ยวเรื่อยๆ และต่อเนื่อง

การเพิ่มหน่อกล้วยน้ำว้า

  • การปลูกเพื่อขยายพันธุ์ควรปลูกให้ตื้น ฝังหน่อลึกเพียงคืบเดียวเท่านั้น จะทำให้หน่อออกเยอะ ถ้าจะเร่งให้มีหน่อเร็ว เมื่อต้นกล้วยสูงประมาณ 2 เมตร ให้ตัดต้นครึ่งต้น ให้น้ำอุดมสมบูรณ์จะทำให้แตกหน่อ ต้นแม่ถ้าเหง้าไม่เสียก็จะโต มีใบปกติไม่ตาย แต่เครือ และลูกไม่สวย เล็กลงไม่สมบูรณ์ ต้นล้มง่าย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(ดัดแปลงจาก: กล้วยน้ำว้า …สายพันธุ์ยักษ์)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *