ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน หรือขมิ้น เป็นสมุนไพรคู่บ้าน คู่ครัวมาตั้งแต่ดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์ทางยา, ความงาม หรือเป็นส่วนประกอบอาหาร ขมิ้นชันก็ทำประโยชน์ได้ดีมาก สำหรับตัวผู้เขียนเอง เคยถูกมดคันไฟกัดทั้งตัวเมื่อตอนเป็นเด็ก เนื่องจากไปเหยียบรังเข้าทั้งสองเท้า เป็นแผลเต็มตัว คุณยายนำขมิ้นผงมาผสมน้ำให้อาบ และทำตัวหลังอาบน้ำ จำสูตรไม่ได้หรอกนะคะ ว่าผสมอะไรอีกหรือไม่ แต่จำได้ว่า แผลหายเร็ว ไม่เป็นแผลเป็น วิถีชีวิตของคนไทยรู้จักขมิ้นในฐานะพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร ปัจจุบันยังได้เพิ่มการแต่งสี แต่งกลิ่น เพิ่มรสชาติให้อาหารมีความน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น อาหารที่นิยมใส่ขมิ้นชัน ได้แก่ แกงเหลือง, ข้าวหมกไก่, แกงกะหรี่, แกงฮังเล, ขนมเบื้องญวน, ไก่ทอด, แกงไตปลา, มัสตาร์ด, เนย, มาการีน เป็นต้น ความนิยมรับประทานขมิ้นชัน โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคใต้นิยมใส่ขมิ้นชันลงไปในอาหารประเภทแกงเผ็ดเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้มีสีเหลือง ช่วยดับกลิ่นคาวปลา รวมทั้งช่วยไม่ให้อาหารบูดเสียง่าย เพราะในขมิ้นชันมีคุณสมบัติที่ช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนี้ การใช้ขมิ้นชันในอาหารจะช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ป้องกันการเหม็นหืนของน้ำมันและไขมันเมื่อต้องเก็บไว้เป็นเวลานานๆ นับว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบในการช่วยถนอมอาหาร และยังมีคุณค่าทางโภชนาการให้อาหารได้อีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการ ของ ขมิ้นชัน

  • ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมิน
  • ขมิ้นชันมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา
  • ขมิ้นชันยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพมากมาย เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม ทองแดง เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ไนอาซิน โปรตีน ใยอาหาร ฯลฯ

สรรพคุณของขมิ้น

  • ช่วยชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
  • ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
  • ช่วยขับน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
  • ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่มีอาการผิดปกติ ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวกให้มีอาการดีขึ้น
  • ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม
  • ช่วยลดการอักเสบ
  • ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  • ช่วยรักษาอาการแพ้และไข้หวัด บรรเทาอาการไอ
  • ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกบิลอี
  • ช่วยรักษาแผลที่ปาก
  • ช่วยบำรุงปอดให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
  • น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
  • ช่วยรักษาอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง
  • ช่วยแก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการขับลม
  • ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม และทำความสะอาดลำไส้
  • ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี
  • ช่วยขับน้ำดี
  • ช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล
  • ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยแก้อาการตกเลือด ด้วยการนำขมิ้นสดมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำปูนใสแล้วรับประทาน
  • ช่วยแก้อาการตกขาว
  • ช่วยรักษาอาการปวดหรืออักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ
  • ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
  • ช่วยแก้ผื่นคันตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้ผงขมิ้นผสมกับน้ำ นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนทุกวัน วันละ 2 ครั้ง
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนังพุพอง ตุ่มหนองให้หายเร็วยิ่งขึ้น
  • ช่วยรักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการนำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำจนละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณดังกล่าว
  • มีฤทธิ์ในการต่อต้านและฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และต่อต้านยีสต์ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ช่วยต่อต้านปรสิตหรือเชื้ออะมีบาที่เป็นต้นเหตุของโรคบิดได้
  • ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย แบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง เป็นต้น มีฤทธิ์ในการต่อต้านการกลายพันธุ์ ต้านสารก่อมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย และโรคเบาหวาน
  • ช่วยสมานแผลตามร่างกายให้หายเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการนำผงขมิ้นมาผสมกับน้ำแล้วทาลงบนบาดแผล และยังช่วยให้บาดแผลไม่ให้ติดเชื้อของกระต่ายและหนูขาวได้ และสามารถเร่งให้แผลที่ติดเชื้อหายได้
  • ช่วยในการป้องกันการงอกของขนอีกด้วย โดยผู้หญิงชาวอินเดียมักนำขมิ้นมาทาผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก
  • นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย

การรับประทานขมิ้นชัน ให้ถูกวิธี
มีการศึกษาพบว่า การรับประทานขมิ้นตามเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ กำลังทำงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขมิ้นให้มากขึ้น ดังนั้น ควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้ตามการรักษา
เวลา 03.00-05.00 น. ช่วงเวลาของปอด หากรับประทานช่วงเวลานี้จะช่วยในการบำรุงปอดช่วยให้ปอดแข็งแรง ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง และช่วยเรื่องภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวก
เวลา 05.00-07.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้ที่ขับถ่ายไม่เป็นเวลาหรือรับประทานยาถ่ายมานาน หากรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ให้บีบรัดตัว เพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ขับถ่ายน้อยหรือมากจนเกินไป และช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย หากรับประทานพร้อมกับโยเกิร์ต น้ำผึ้ง นมสด มะนาว หรือน้ำอุ่น จะช่วยชะล้างผนังลำไส้ให้สะอาดได้
เวลา 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง และยังช่วยแก้อาการปวดเข่า ขาตึง บำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อมได้อีกด้วย จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และยังลดอาการท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมองและป้องกันความจำเสื่อมได้
เวลา 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลบริเวณปาก บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน โรคเกาต์ การอ้วนเกินไปหรือผอมเกินไป
เวลา 11.00-13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรง
เวลา 15.00-17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้อาการตกขาว และการทำให้เหงื่อออกในช่วงเวลานี้จะช่วยทำให้ร่างกายขับสารพิษออกไปจากร่างกายได้มาก
เวลา 17.00 น. จนถึงเวลาเข้านอน การรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น เมื่อตื่นนอนจะไม่อ่อนเพลีย การขับถ่ายก็จะดีขึ้นด้วย

ผลข้างเคียงของการใช้ประโยชน์จากขมิ้นชัน
หากรับประทานขมิ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือเมื่อรักษาอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหายแล้ว ยังคงรับประทานต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ เมื่อมีอาการดังกล่าวนี้ ควรหยุดรับประทาน

ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้นชัน

  • อาจทำให้สตรีมีครรภ์ เกิดการแท้งได้ในระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์ แต่ไม่มีผลต่อการตกไข่ เพราะฉะนั้นจึงควรระวังในการใช้ขมิ้นชันกับหญิงมีครรภ์
  • การใช้ขมิ้นชันเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด งุ่นง่าน หรือตื่นกลัว เป็นต้น

การนำส่วนต่างๆ ของขมิ้นชันมาใช้ประโยชน์

  • เหง้า
    มีรสฝาดหวาน ใช้เป็นยารักษาได้ทั้งภายนอกและภายใน
  • ผงขมิ้น
    นำเหง้าแห้งมาบดเป็นผง แล้วเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด

การใช้ขมิ้นชัน ตามตำรับยาไทย
รับประทานผงขมิ้นชันในขนาด 1.5 ถึง 4 กรัม ต่อวัน แบ่งเป็นวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง ช่วงเวลาหลังอาหารและก่อนนอน

ใช้ขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานช่วงเวลาหลังอาหารและก่อนนอน ครั้งละ 3 ถึง 5 เม็ด วันละ 3 เวลา

การใช้ขมิ้นรักษาอาการท้องเสีย
ใช้ขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานช่วงเวลาหลังอาหารและก่อนนอน ครั้งละ 3 ถึง 5 เม็ด วันละ 3 เวลา

การใช้ขมิ้นรักษาแผลและแมลงกัดต่อย

  • ใช้ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2 ถึง 3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง ใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผล
  • นำขมิ้นชันมาล้างให้สะอาดแล้วตำจนละเอียด คั้นเอาน้ำที่ได้มาใส่แผล
  • ใช้ขมิ้นชันผสมกับน้ำปูนใสเล็กน้อย จากนั้นให้ผสมสารส้ม หรือดินประสิว พอกบริเวณที่เป็นแผลและแก้เคล็ดขัดยอก

การใช้ขมิ้นเพื่อรักษากลาก เกลื้อน
ผสมขมิ้นกับน้ำแล้วทาบริเวณที่เป็นกลาก เกลื้อน จำนวน 2 ครั้ง/วัน

การใช้ขมิ้นชันในการกำจัดและป้องกันศัตรูพืช
วิธีใช้
ตำขมิ้นชั้นแห้งครึ่งกิโลกรัมให้ละเอียด จากนั้นนำไปหมักในน้ำ 2 ลิตร ทิ้งไว้ค้างคืน เมื่อได้ที่แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำไปผสมน้ำเพิ่มอีก 2 ลิตร ใช้ฉีดพ่นแปลงผักจะช่วยป้องกันหนอนใยผัก หนอนกระทูผัก และหนอนผีเสื้อทั่วไป
ฝากติดตามบทความ การปลูกขมิ้นชัน และบทความ หล่อ…สวย… กับ สูตรความงาม จาก ประโยชน์ของขมิ้นชัน ด้วยนะคะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

ติดตามวิธีปลูก และการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ กันต่อ ในบทความ รวยง่ายๆ ด้วย การปลูกขมิ้นชัน นะคะ

(แหล่งข้อมูล : www.honestdocs.co.th, www.sukkaphap-d.com)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *