โรคมะเขือ

โรคมะเขือ

โรคมะเขือ สามารถเกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่ามะเขือจะเป็นพืชที่แข็งแรง ทนต่อโรคต่างๆ ได้ แต่ถ้าผู้ปลูกหรือเกษตรกรไม่ดูแล หรือไม่หมั่นสำรวจ โอกาสที่จะเกิดโรคก็มีได้มาก ปัจจัยที่เอื้ออำนวยการเกิด โรคมะเขือ ต้นพืชอ่อนแอ เติบโตช้า เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ไส้เดือนฝอย หรือธาตุอาหารบางชนิด สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การจัดการเพื่อป้องกัน โรคมะเขือ วิธีทางเขตกรรม เว้นระยะปลูกให้ห่างอย่างเหมาะสม จัดการระบายน้ำ อย่าให้ท่วมขัง โดยเฉพาะในฤดูฝน บำรุง ดูแล ให้ต้นมะเขือเจริญเติบโต แข็งแรง ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ลดการใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง รักษาความสะอาดในแปลงปลูกและบริเวณใกล้เคียง หมั่นกำจัดวัชพืช เมื่อเกิดโรค ให้เก็บส่วนที่เป็นโรค และถอนต้นที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วนำมาเผาทำลาย ปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่ปลูกมะเขือ การใช้สารเคมีกำจัดโรค ควรใช้เมื่อเกิดโรคระบาด ใช้ตามคำแนะนำในฉลากกำกับยาและคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร และติดตามผลหลังการใช้สารเคมี โรคมะเขือที่สำคัญ โรคใบด่างเหลืองของมะเขือยาว และพืชตระกูลมะเขือ เป็นโรคที่สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ทำให้คุณภาพของผลมะเขือลดลง ทำให้ผลมะเขือยาวลายด่าง ราคาตก ผลผลิตลดลง จำหน่ายไม่ได้ สาเหตุโรคและอาการ เกิดจากเชื้อไวรัส ต้นมะเขือที่เป็นแล้วรักษาไม่หาย และแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นๆ หรือแปลงมะเขืออื่นๆ มีแมลงหวี่ขาวเป็นตัวพาหะ การถ่ายทอดโรคเป็นแบบช้า แมลงใช้เวลาดูดกินต้นที่เป็นโรคนาน […]

Read more