การปลูกลูกเดือยและการดูแลหลังการปลูก

การปลูกลูกเดือย และการดูแลหลังการปลูก อาจทำให้ท่านผู้อ่านได้แปลกใจกับความง่ายจนอยากทดลองปลูก แต่สายพันธุ์ลูกเดือยที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีให้เลือกไม่มากนัก เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับสายพันธุ์ลูกเดือยถึงระดับรับรองสายพันธุ์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูก ส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกกันเป็นพันธุ์พื้นเมือง คือ พันธุ์วังสะพุง และ พันธุ์เลย นอกจากการปลูกเพื่อการค้าแล้ว การปลูกลูกเดือย ยังเป็นที่นิยมปลูกเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนกันมากถ้าเปรียบเทียบกับบรรดาธัญพืชต่างๆ ในขั้นทดลองปลูก ผู้เขียนแนะนำ ลูกเดือยข้าวเหนียว ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง เนื้อแป้งอ่อนนิ่ม น้ำหนักเบา ต้มแล้วลื่นและมีเมือกมาก ลักษณะเมล็ดกลมโตยาว เปลือกบางเปราะแตกง่าย เป็นที่นิยมตามท้องตลาด (ติดตามข้อมูลสายพันธุ์ลูกเดือยเพิ่มเติมได้ในบทความ ‘ลูกเดือย’) การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการหว่านหรือหยอดเมล็ด ในอัตรา เมล็ดพันธุ์ประมาณ 30 กิโลกรัม ต่อไร่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกลูกเดือย  พื้นที่ – พื้นที่ดอนหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันตั้งแต่ 3 ถึง 45 องศา – มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง – มีการคมนาคมที่สะดวก ดิน – มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร – มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี – ไม่อุ้มน้ำมาก อากาศ – มีแสงแดดจัด และมีปริมาณน้ำฝนที่พอเพียง ฤดู – ฤดูฝนตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน […]

Read more

ลูกเดือย

ลูกเดือย คือ ธัญพืชที่ผู้เขียนชอบรับประทานที่สุดในบรรดาธัญพืชทั้งหมดทั้งมวน ไม่ว่าจะใส่น้ำเต้าหู้ ลูกเดือยเปียกราดน้ำกะทิ หรือน้ำลูกเดือย อร่อยทั้งนั้นนะคะ ลูกเดือยไม่ได้มีประโยชน์ สำหรับรับประทานเท่านั้น ติดตามต่อในบทความนี้แล้วท่านผู้อ่านจะได้รู้จักสรรพคุณและประโยชน์ต่างๆ ของลูกเดือยมากขึ้น ในประเทศไทย ลูกเดือย เป็นที่รู้จักทั่วทุกภาค ถิ่นใด ภาษาใด คนไทยก็เรียก ลูกเดือย พบการปลูกลูกเดือยในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 ที่เขตนิคมสร้างตนเองของ จ.สระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา ปัจจุบันพบปลูกมากในภาคอีสาน และภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเลยที่ปลูกมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งออกต่างประเทศ เคยเห็นต้นลูกเดือยกันบ้างมั๊ยคะ? (มีภาพมาฝาก) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของลูกเดือย ลำต้น ลำต้นลูกเดือยมีลักษณะเหมือนกับหญ้าทั่วไป มีลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน ทรงกลม ตั้งตรง สูงประมาณ 1 ถึง 3.5 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้อง มีใบแตกออกบริเวณข้อ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอมเทาและมีนวลขาวปกคลุม เมื่อลำต้นมีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ขึ้นไป จะแตกลำต้นหรือเหง้าเพิ่มเป็น 4 ถึง 5 ลำต้น ใบ ลูกเดือยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเป็นแผ่นเรียวยาว สีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่า ยาวประมาณ 20 […]

Read more