การขยายพันธุ์มะละกอ

การขยายพันธุ์มะละกอ สามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ทั้งแบบใช้เพศ ได้แก่ การเพาะเมล็ด และแบบไม่ใช้เพศ ได้แก่ การปักชำ การติดตา การตอนกิ่ง และการเพาะเนื้อเยื่อ แต่เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบใช้เพศในการปลูกมะละกอเพื่อการค้า เนื่องจากทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับผลผลิตที่จะได้รับ ส่วนขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศมักจะทำกันในกรณีที่ต้องการรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ เนื่องจากการขยายพันธุ์แบบนี้จะทำให้มะละกอไม่มีการกลายพันธุ์ และเพื่อเปลี่ยนยอดมะละกอที่มีดอกตัวผู้มีจำนวนมากเกินไป ให้เป็นต้นตัวเมียหรือต้นสมบูรณ์เพศ มือใหม่หัดปลูกมะละกอจะต้องสงสัยเรื่องเพศของมะละกออย่างแน่นอน…มีคำอธิบายค่ะ มะละกอมีปัญหาในการปลูก คือ เพศของมะละกอ โดยสังเกตได้จากดอกซึ่งสามารถแบ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ 3 เพศ 1. มะละกอต้นตัวผู้ ออกแต่ดอก ไม่ติดผล มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสายยาวประมาณ 70 ถึง 120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ การปลูกมะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง 2. มะละกอต้นตัวเมีย จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปานกลางประมาณ 5 […]

Read more