การดูแลรักษากองปุ๋ยหมักและการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก และ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกัน ปุ๋ยหมักจะถูกใช้ประโยชน์ได้ดี ต้องอาศัยการดูแลรักษาที่ดี บทความนี้ ไม่ได้นำเสนอเพียง การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก และ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เท่านั้น แต่ผู้เขียนนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลังการทำกองปุ๋ยแล้ว ติดตามรายละเอียดนะคะ การดูแลรักษาปุ๋ยหมัก 1.ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่ารดโชกเกินไป การระบายอากาศในกองปุ๋ยไม่ดี จะมีกลิ่นเหม็นอับ 2.ตรวจสอบความชื้นในกองปุ๋ย โดยการใช้มือล้วงลงไปในกองปุ๋ย แล้วหยิบเศษวัสดุออกมาบีบหรือขยำว่ามีน้ำเปียกที่มือ แสดงว่ามีความชื้นมากเกินไป 3.ป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ทำลายกองปุ๋ยหมัก ปัญหานี้จะเกิดกับกองปุ๋ยหมักที่ไม่มีคอก ควรหาวัสดุสิ่งของมาวางกันกองปุ๋ยหมักไว้ 4.การพลิกกลับกองปุ๋ย สำหรับกองปุ๋ยแบบกลับกอง ต้องหมั่นพลิกให้ออกซิเจนและระบายความร้อนให้กองปุ๋ย จะได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้น สำหรับกองปุ๋ยแบบไม่กลับกอง ให้ทำช่องระบายอากาศไว้ ปุ๋ยหมักที่นำไปใช้ได้ พิจารณาลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1.ลักษณะของเศษวัสดุ—นุ่ม ยุ่ย ไม่แข็งเหมือนช่วงแรก 2.สีของเศษวัสดุ—เมื่อเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์เศษวัสดุจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำ 3.กลิ่น—ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ต้องไม่มีกลิ่นฉุนของก๊าซต่างๆ ถ้ามี แสดงว่าเศษวัสดุยังย่อยสลายไม่สมบูรณ์ กลิ่นควรคล้ายกับกลิ่นดิน 4.ความร้อน หรืออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมัก—จะลดลงเท่ากับอุณหภูมิภายนอกรอบๆ กอง แต่ควรระวังเรื่องความชื้น ถ้าน้อยหรือมากเกินไป อุณหภูมิในกองก็ลดลงได้เช่นกัน 5.หญ้าหรือเห็ดขึ้นบนกองปุ๋ยหมัก—แสดงว่าไม่เป็นอันตรายต่อพืช นำไปใช้ได้ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เรานำปุ๋ยหมักไปใช้ประโยชน์ตามชนิดของพืช เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารไม่เท่ากัน ผู้เขียนได้นำข้อมูล การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก จากหนังสือ : นวัตกรรมปุ๋ยหมัก […]

Read more