การปลูกมะละกอ

การปลูกมะละกอ ง่ายเหมือนปอกกล้วย แล้วทำไมจึงต้องเรียนรู้ขั้นตอนการปลูก การดูแล และการป้องกันกำจัดโรคและแมลง? เพื่อการปลูกเชิงการค้าและมีปริมาณมาก จำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนที่พิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การเลือกพื้นที่ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตมะละกอที่มีคุณภาพตามมาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะการส่งออก ขอเน้นย้ำอีกครั้งนะคะ ว่าต้องปลอดสารเคมีในทุกขั้นตอนหากคิดจะปลูกมะละกอเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ มาดูกันนะคะ ว่าจะแบบไหนที่เหมาะสำหรับ การปลูกมะละกอ? สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมะละกอ พื้นที่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารต่างๆ ครบ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ตั้งแต่ดินเหนียวจนถึงดินทราย แต่ดินที่ดีที่สุดสำหรับมะละกอ คือดินร่วน หากพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทราย ควรมีการปรับปรุงดินให้มีความร่วยซุย มีการระบายน้ำที่ดี หน้าดินมีความลึกที่จะให้รากมะละกอเกาะยึดได้แน่นพอสมควร พื้นที่ที่มีหน้าดินและมีชั้นดินดานอยู่ด้านล่างในระดับตื้นๆ ไม่ควรปลูกมะละกอ เพราะจะทำการรากแผ่กระจายออกได้ยาก รากจะเกาะยึดดินได้ไม่แน่นทำให้โค่นล้มได้ง่าย และเมื่อฝนตก น้ำฝนนจะซึมลงในดินได้ยาก ทำให้เกิดสภาพน้ำท่วมขังได้ง่าย ในขณะที่ฤดูแล้งดินจะอุ้มน้ำได้น้อย ต้นมะละกอจะขาดน้ำ หรือมีต้นทุนในการให้น้ำสูงขึ้น ดินมีความเป็นกรดด่างประมาณ 6 ถึง 7 ไม่มีน้ำท่วมขัง มะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขัง หากถูกน้ำท่วมโคนต้นติดต่อกันนานเพียงแค่ 24 ถึง 48 ชั่วโมง อาจทำให้ต้นมะละกอตายได้ หากไม่ตายก็มีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ยากมาก เป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดจัด เพื่อให้ลำต้นมีความแข็งแรงไม่โค่นล้มง่าย และให้ผลดก เป็นพื้นที่มีอากาศถ่ายเท ช่วยเพิ่มอัตราการคายน้ำจากใบ เพื่อให้มะละกอดูดธาตุอาหารจากดินได้มากขึ้น ช่วยในการผสมเกสรได้ดี […]

Read more