การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา

ป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา

การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา–เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราปฏิปักษ์ของเชื้อราโรคพืช ช่วยยังยั้งการเจริญเติบโต ยับยั้งการขยายพันธุ์ ด้วยกลไก 3 ประการ คือ

  • การทำลายโดยตรง
  • การแก่งแย่งที่อยู่อาศัย และสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
  • การสร้างสารปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อเชื้อโรคชนิดอื่น

นอกจากนี้ การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มายังช่วยกระตุ้นให้ผักไฮโดรโปนิกส์สร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคพืช กระตุ้นให้รากผักเจริญเติบโตดีขึ้น ทำให้รากยาวและแข็งแรง และเมื่ออยู่ในดินจะสร้างสารที่ไปละลายธาตุอาหารในเม็ดหิน และดิน ให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อผักไฮโดรโปนิกส์ เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินทั่วไป มีหลายชนิด หลายสายพันธุ์ ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคพืช โดยมุ่งเน้นไปที่เชื้อราโรคพืชที่เกิดจากดิน พบว่าสามารถควบคุมเชื้อราโรคพืชได้ดีหลายชนิด เช่น เชื้อไฟทอบธอร่า, พิเทียม, ฟิวซาเรียม, สเครอโรเทียม, ไรช็อคโทเนีย เป็นต้น ซึ่งเชื้อราเหล่านี้เป็นสาเหตุของโรคพืชต่างๆ ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคผลเน่า โรคกล้าเน่าหรือกล้ายุบ โรคเน่าระดับดิน โรคเหี่ยวในพืชตระกูลพริก โรคถอดฝักดาบของข้าว เป็นต้น ปัจจุบันพบว่า นอกจากจะเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราโรคพืชที่อยู่ในดินแล้ว ยังสามารถใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชในส่วนต่างๆ ของพืชที่อยู่เหนือดินได้ดีเช่นกัน เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคแอนแทรกโนสในพริก เป็นต้น และมีแนวโน้มที่จะมีผลไปกระตุ้นให้ผักไฮโดรโปนิกส์มีความต้านทานต่อเชื้อไวรัสโรคพืชได้อีกด้วย จึงนับว่าเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการเกษตร

  1. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สำหรับการป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ควรใช้ในช่วงเวลาที่แดดอ่อน เหมือนกับชีวภัณฑ์ชนิดอื่นๆ สามารถนำมาใช้ทั้งในด้านป้องกันและรักษาโรค โดยมีวิธีการใช้ 3 วิธี
    • ใช้คลุกเมล็ดพืช หรือส่วนขยายพันธุ์ของพืชที่จะนำไปปลูก เช่น หัว แง่ง เหง้า กลีบ ฯลฯ โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสดที่เจริญอยู่บนเมล็ดข้าวฟ่าง หรือข้าวเปลือกในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อเมล็ด 1 กก.
    • ใส่เชื้อลงในดิน โดยการผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา กับรำละเอียด และปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายแล้วในอัตรา เชื้อสด 1 กก. (2 ถุง) รำ 5 กก. และปุ๋ยหมัก 50 กก. นำเชื้อคลุกเคล้ากับรำให้เข้ากันดีก่อน แล้วจึงผสมกับปุ๋ยหมัก หากปุ๋ยหมักแห้งเกินไป ให้พรมน้ำให้มีความชื้นพอประมาณ หลังจากผสมแล้วใช้ให้หมดภายใน 1 วัน สามารถใช้ได้กับพืชทุกระยะการเจริญเติบโต ดังนี้
      • ใช้ผสมดินเพาะกล้า อัตราส่วนผสม 1 ส่วน ต่อดินเพาะกล้า 4 ส่วน
      • ใช้หว่านลงในแปลงก่อนหรือหลังปลูก (พืชไร่ พืชผัก) ใช้ส่วนผสม 200 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
      • ใช้รองก้นหลุม (ไม้ผล หรือพืชที่ปลูกเป็นหลุม) ใช้ส่วนผสม 300-500 กรัม ต่อหลุม
      • หว่านรอบโคนต้น และภายในทรงพุ่ม (ไม้ผล) 300-500 กรัมต่อตารางเมตร หรือนับอายุไม้ผล คือ อายุ 1-5 ปี ใช้ 1-5 กก. ต่อต้น อายุเกิน 5 ปี ใช้ 5 กก. ต่อต้น

 

หลังจากหว่านแล้วใช้วัสดุคลุมดิน (เช่น ฟางข้าว) หากไม่มีให้คราดหรือเกลี่ยดินกลบบางๆ เพื่อป้องกันแสงแดด หลังจากนั้นรดน้ำให้พอชุ่ม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา

  • วิธีผสมน้ำ ได้แก่ การนำเชื้อสดไปยีในน้ำเพื่อให้สปอร์ของเชื้อราหลุดจากเมล็ดลงไปในน้ำ กรอง

เอาเมล็ดออก แล้วนำน้ำที่ได้ไปใช้ อัตราการใช้ เชื้อสด 1 กก. (2 ถุง) ต่อน้ำ 100-200 ลิตร นำน้ำที่ได้จากการยีล้างสปอร์ไปใช้ดังนี้

  • ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช เพื่อป้องกันกำจัดโรคพืช (ที่เกิดจากเชื้อรา) ที่อยู่บนใบ ต้น กิ่ง หรือผล
  • ใส่บัวรดน้ำรดไปที่ดิน ใช้กับโรครากเน่าโคนเน่า
  • ปล่อยไปกับระบบน้ำหยด หรือสปริงเกลอร์
  1. วิธีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา วิธีการผลิตจำแนกได้ 2 วิธีใหญ่ คือ ผลิตโดยไม่นึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ และผลิตโดยการนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
    • การผลิตอย่างง่าย โดยไม่ต้องนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ วิธีนี้ได้แก่ การใช้ปลายข้าว หรือข้าวสารมาเป็นวัสดุเลี้ยงเชื้อ เป็นวิธีที่ง่าย เหมาะสำหรับการทำเชื้อใช้เองในระดับครัวเรือน แต่ไม่เหมาะที่จะทำในปริมาณมากๆ วิธีการคือ
      • หุงข้าว หรือปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในอัตรา ข้าว 3 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน (สำหรับข้าวแข็ง) หรือข้าว 5 ส่วนต่อน้ำ 3 ส่วน (สำหรับข้าวใหม่ หรือข้าวอ่อน) ซึ่งเมื่อหุงออกมาแล้วจะได้ข้าวในลักษณะกึ่งสุกกึ่งดิบ
      • เมื่อหม้อหุงข้าวดีดให้ตักใส่ถุงขณะที่ยังร้อน โดยใช้ถุงทนร้อนขนาดประมาณ 8-11 นิ้ว ใส่ถุงละประมาณ 250 กรัม (ประมาณ 3 ทัพพี) แล้วพับปากถุงทิ้งไว้ให้เย็น
      • เมื่อข้าวเย็น (เหลือความอุ่นเล็กน้อย) นำมาใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา ถุงละ 2-3 กรัม (หรือประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด 1 เมล็ด) ต่อถุง แล้วเย็บปากถุงด้วยลวดเย็บกระดาษ หรือใช้ยางวงรัดปากถุงให้แน่น จากนั้นขยำหัวเชื้อคลุกกับข้าวแล้วใช้เข็มแทงถุงเพื่อระบายอากาศ 30-40 รู การใส่หัวเชื้อควรทำในที่ที่ไม่มีลม เช่นในห้องที่ปิดมิดชิด
      • นำถุงข้าวที่ใส่เชื้อแล้วไปวางในที่ร่ม รอให้เชื้อเดิน การวางถุงให้วางราบกับพื้นและเกลี่ยข้าวให้แบนบางๆ พร้อมกับโหย่งถุงด้านบนขึ้น เพื่อให้อากาศไหลเวียน ได้ทั่วถุง วางทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เชื้อจะเดินเต็มถุง ก่อนนำไปใช้ได้
  • การผลิตโดยการนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ ใช้วิธีการเตรียมวัสดุเช่นเดียวกับการผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย วิธีนี้เหมาะสำหรับการผลิตในปริมาณมาก เช่น รวมกลุ่มช่วยกันผลิต หรือการผลิตเพื่อจำหน่าย ซึ่งจะมีความสม่ำเสมอมากกว่าวิธีแรก และเก็บรักษาได้นานกว่า มีขั้นตอน และวิธีการดังนี้
    • เตรียมวัสดุเลี้ยงเชื้อ เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเจริญได้บนเมล็ดธัญพืชทุกชนิดเช่นเดียวกัน แต่ขนาดเมล็ดที่เหมาะสมที่จะทำให้ได้สปอร์มาก คือ ขนาดปานกลาง เช่น เมล็ดข้าวฟ่าง หรือเมล็ดข้าวเปลือก โดยเมล็ดที่นำมาใช้ต้องไม่เป็นเมล็ดที่คลุกสารเคมี หรือสารกำจัดเชื้อรา การเตรียมเมล็ดข้าวฟ่าง หรือข้าวเปลือกสำหรับเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มาทำเหมือนกับการเตรียมเมล็ดข้าวโพดเพื่อเลี้ยงเชื้อราบิวเวอเรีย คือ นำเมล็ดข้าวเปลือกหรือข้าวฟ่างมาล้างให้สะอาด
    • ทำให้เมล็ดอุ้มน้ำด้วยการแช่เมล็ดไว้ 1 คืน (หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที)
    • นำมาผึ่งให้หมาดน้ำ (ให้ผิวแห้ง)
    • นำมากรอกใส่ถุง (ถุงเพาะเห็ด : ถุงทนความร้อนชนิดขยายข้าง ขนาด 6 ½-12 นิ้ว) ถุงละประมาณ 4-5 ขีด (หรือสูงประมาณ 4 นิ้ว) สวมปากถุงด้วยคอขวด ลึกประมาณ 3 นิ้ว แล้วพับปากถุงลง อุดด้วยสำลี หรือขี้ฝ้าย แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษ รัดด้วยยางวง
    • นึ่งฆ่าเชื้อ เมื่อเตรียมถุงเมล็ดข้าวโพดเสร็จแล้วให้นำไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุง
    • ถ้าใช้หม้อนึ่งความดัน ใช้ความดัน 15 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ใช้เวลานึ่ง 30 นาที
    • กรณีใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ทำจากถังแกลลอน) ใช้เวลานึ่งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำมาวางทิ้งไว้รอให้เย็น แล้วแกะกระดาษที่หุ้มปากถุงออก
    • การเขี่ยเชื้อ ไม่จำเป็นต้องทำในตู้เขี่ยเชื้อ แต่ควรทำในที่ที่ลมสงบ และก่อนที่จะเขี่ยเชื้อให้ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อที่พื้นโต๊ะด้วยแอลกอฮอล์ 70% ที่มือและช้อนก็เช็ดแอลกอฮอล์ด้วยเช่นเดียวกัน การเขี่ยเชื้อ ทำโดยใช้ช้อนตักหัวเชื้อใส่ลงในถุงข้าวเปลือก หรือข้าวฟ่างที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ถุงละ 2-3 กรัม ปิดจุกสำลีไว้เหมือนเดิม และเขย่าถุงเล็กน้อย
    • การบ่มเชื้อ นำถุงข้าวเปลือก หรือข้าวฟ่างที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางในที่ร่มอุณหภูมิปกติประมาณ 7 วัน เชื้อจะเดินเต็มถุงพร้อมที่จะนำไปใช้ได้ การเก็บรักษาหลังจากที่เชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นจะเก็บได้นานขึ้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(ข้อมูลจาก: เว็บเพจ วิถีชีวิตเกษตรพอเพียง+ผักไฮโดรโปนิกส์ (ฉบับชาวบ้าน))
นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคในแต่ละฤดูเกิดขึ้น  เช่น

  • ฤดูหนาว         มีโอกาสที่ผักไฮโดรโปนิกส์จะล้นตลาด และมีราคาถูก
  • ฤดูฝน            ผักไฮโดรโปนิกส์ขาดตลาด, ขึ้นฉ่ายปลูกยาก (โรคและแมลงศัตรูพืชรบกวน)
  • ฤดูร้อน           ผักไฮโดรโปนิกส์ขาดตลาด, ผักแกร็น, ผักสลัดปลูกยาก

เกษตรกรควรเตรียมการจัดการรองรับ โรค และแมลงรบกวน รวมทั้งปรับเปลี่ยนแผนการเพาะปลูกให้เป็นไปตามกลไกทางการตลาด

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *