การใช้งานจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosynthetic bacteria: PSB) เป็นแบคที่เรียที่พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม ทะเลสาบน้ำเค็ม น้ำทะเลสาบที่มีความเป็นด่าง น้ำที่มีความเป็นกรด น้ำพุร้อน น้่ำทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้ ยังพบตามแหล่งน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีความสำคัญในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ ในการตรึงไนโตรเจน และยังมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้งหอย และปู สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงยังสามารถบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือน น้ำเสียจากการทำปศุสัตว์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่น่าสนใจในกลุ่ม PURPLE มี 5 สายพันธุ์ คือ SS3, SS4, FS3, SH5 และ ES16 แต่ในจำนวน 5 สายพันธ์ุนี้ SS3 (Rhodobacter capsulatus) มีการเจริญเติบโตดีที่สุด และสามารถผลิตสารเร่งความเจริญเติบโตของพืชได้สูงถึง 2 มิลลิโมล่าร์ต่อลิตร หรือมากกว่า สายพันธุ์ SS3 ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในประเทศไทยนี้มาจากญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นประกาศใช้จุลินทรีย์ SS3 ในปี 2010 โดยมุ่งเน้น 3 แนวทาง คือ ด้านการเกษตร การปศุสัตว์ และสิ่งแวดล้อม เมื่อมีคนนำเข้ามาขยายพันธุ์ในประเทศไทย และเพาะจำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย ทำให้เกษตรกรไทยมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้อีกด้วย

อ่านเพิ่ม >>จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

ขอบคุณข้อมูลจาก :
– กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน
– สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
– oknation
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง #MCIT #ดูแลใส่ใจเกษตรไทยครบวงจร