จิ้งหรีดเกษตรทางเลือกสู่เกษตรเงินล้าน

จิ้งหรีดเกษตรทางเลือกสู่เกษตรเงินล้าน

จิ้งหรีดเกษตรทางเลือกสู่เกษตรเงินล้าน

ด้วยนโยบาย ‘ไทยแลนด์ 4.0’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ย่างเข้าปี 2561 คุณประโยชน์ของจิ้งหรีด ยิ่งเพิ่มมูลค่ามากขึ้น จากเดิมที่การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นเพียงเกษตรทางเลือกให้เกษตรกรได้มีรายได้เสริม แก้ไขปัญหาพิษราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะ ราคาข้าว มีเกษตรกรน้อยรายที่หันมาเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดตามการส่งเสริมและสนับสนุนของรัฐบาล แต่ที่ว่าน้อยราย กลับมีรายได้หลักล้านจากการเลี้ยงจิ้งหรีด ด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีอยู่ในตัวจิ้งหรีด และนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหาร ก่อนหน้านี้ การบริโภคจิ้งหรีดยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ส่วนใหญ่จะบริโภคในรูปแบบของ จิ้งหรีดทอด ในกลุ่มของผู้บริโภคแมลง, อาหารแปลก และผู้ที่รู้จักคุณประโยชน์ของจิ้งหรีด แต่การบริโภคจิ้งหรีดในรูปแบบเดิมๆ ก็แพร่ขยายไปได้ยาก ด้วยความเป็นรูปเป็นร่างของจิ้งหรีดที่ถูกนำมาแปรรูปเป็นอาหารยังคงอยู่ หลายคนทำใจบริโภคไม่ได้ ถึงแม้จะอร่อย มีคุณค่าก็ตาม ในสมองส่วนความจำของเรา จิ้งหรีดเป็นเพียงสัตว์ตัวเล็กๆ เสียงใส, เป็นพระเอกในนิทาน เช่น ลาโง่ กับ จิ้งหรีด เป็นต้น แม้กระทั่งตัวผู้เขียนเอง ยังไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า จิ้งหรีดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จนถึงกับจะได้เป็น Novel Food (โนเว่ล ฟู้ด) อาหารใหม่ อย่างเป็นทางการร่วมกับแมลงอีกหลายชนิดของสหภาพยุโรป ในปีพ.ศ. 2561 ซึ่งตลาดในสหภาพยุโรปทั้งหมด 28 ประเทศ จะประกาศให้นำเข้าแมลงอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีข้อกำหนดและกฎหมายหลายๆ เรื่อง ที่ต้องปฏิบัติตาม โดยเฉพาะ การจัดทำมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีดเพื่อเตรียมพร้อมส่งออกแมลงไทย ไปยังสหภาพยุโรป ภายใต้ข้อกำหนดอาหารใหม่

ที่มาของการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาหารใหม่ในประเทศไทย

จากข้อมูลการประเมินขององค์การอาหารและการเกษตร ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกจะมีมาก แต่ แหล่งอาหารและโปรตีนจะมีอย่างจำกัด อาหารหลักจะไม่เพียงพอ จึงต้องการแหล่งอาหารทดแทน ด้วยระบบนิเวศอันอุดมสมบูรณ์ ประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรอยู่แล้ว จึงเป็นเป้าหมายทางเลือกของผู้บริโภคทั่วโลก นับเป็นโอกาสทองของเกษตรกรไทย และผู้ประกอบการสามารถเพิ่มช่องทางตลาดนวัตกรรมอาหารใหม่

เริ่มสนใจการเลี้ยงจิ้งหรีดขึ้นมาบ้างหรือยังคะ…เติมความน่าสนใจกันอีกซักนิด กับ คุณประโยชน์ของจิ้งหรีด 
คุณค่าทางอาหาร จิ้งหรีด 100 กรัม ให้พลังงาน 121.5 กิโลแคลอรี่
ประกอบด้วย

  • โปรตีน 12.9 กรัม
  • ไขมัน 5.5 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 5.1 กรัม
  • เหล็ก 9.5 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 75.8 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 185.3 มิลลิกรัม
  • โพแตสเซียม 305.5 มิลลิกรัม
  • วิตามิน บี1, บี2 และไนอาซิน
    (ข้อมูลจาก กองโภชนาการกรมอนามัย 2530)

ข้อดีของการบริโภคจิ้งหรีด

  • ไม่มีฮอร์โมนและสารเร่งการเจริญเติบโตตกค้างในจิ้งหรีด ที่ส่งผลมายังผู้บริโภค
  • เป็นแหล่งโภชนาการชั้นยอด
  • ไม่มียาฆ่าแมลง เพื่อเป็นการป้องกันการเน่าเสีย จึงต้องซื้อมาแปรรูป หรือปรุงเพื่อบริโภคขณะที่จิ้งหรีดยังมีชีวิตอยู่

การใช้ประโยชน์จากจิ้งหรีด
อาหารทางเลือก

แบบไทยๆ เช่น จิ้งหรีดทอดกรอย, หลนจิ้งหรีด, จิ้งหรีดผัดฉ่า, น้ำพริกจิ้งหรีด, ข้าวเกรียบจิ้งหรีด, พิซซ่าหน้าจิ้งหรีด, และ จิ้งหรีดกระป๋อง แบบอินเทรนด์ เช่น ขนมขบเคี้ยวหลายรูปแบบ อาทิ ทอด คั่ว บรรจุถุง หรือกระป๋อง, ทาโก้จิ้งหรีดทอด, แป้งทอดกรอบสอดไส้จิ้งหรีด ***คุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีนที่ย่อยสลายได้สูง***
แบบแปรรูปเป็นส่วนผสมอาหาร เช่น แป้ง หรือผง ทำพาสต้า คุ้กกี้ ***การแปรรูปจิ้งหรีด ต้นทุนต่ำ มีกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อแปรรูปแล้วจำหน่ายได้ราคาที่สูงขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะส่งออกแป้งจิ้งหรีดไปยังสหภาพยุโรปได้ถึงราคากิโลกรัมละ 1,000บาท***

อาหารของสัตว์กินแมลง

เช่น กบ ตุ๊กแก ไก่ชน นกขุนทอง ปลาช่อน ปลาหมอเทศ ปลามังกร และปลาสวยงามที่กินเนื้อ เป็นต้น
***การเลี้ยงจิ้งหรีด ช่วยอนุรักษ์พันธุ์จิ้งหรีด และรักษาสมดุลทางธรรมชาติ เป็นห่วงโซ่อาหารสำหรับโลก***

หากสนใจเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด ควรรู้จักทางรวยจากจิ้งหรีด ตั้งต้นที่…
ศึกษามาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)
องค์ประกอบฟาร์ม

  • อาหารสำหรับแมลง
  • น้ำ
  • การจัดการฟาร์ม
  • สุขภาพสัตว์
  • สวัสดิภาพสัตว์
  • การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
  • การบันทึกข้อมูล

เพื่อผลิตจิ้งหรีดที่มีคุณภาพดี มีคุณภาพเหมาะสมในการนำไปใช้ผลิตเป็นอาหารที่ปลอดภัยต่อการบริโภค มากด้วยคุณค่าทางโปรตีน
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความ การเลี้ยงจิ้งหรีด ศึกษากฎหมายการผลิตและจำหน่ายอาหารใหม่ เพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
อาหารใหม่ (Novel Food) คืออะไร

  1. วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือ เป็นส่วนประกอบของอาหาร ที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการว่า มีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่าสิบห้าปี
  2. วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหาร ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบของอาหาร โครงสร้างของอาหาร หรือรูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต หรือเมแทบอลิซึม (Metabolism) หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์ (Level of undesirable substances) หรือ
  3. ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุ(1) หรือ (2) เป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร และอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม

ส่วนสำคัญที่ทำให้เป็นอาหารใหม่ คือ

ส่วนแรก คือ ประวัติการบริโภคเป็นอาหาร หมายถึง อาหารที่มีการบริโภคตามปกติของอาหารนั้นๆ โดยอ้างอิงประวัติจากข้อมูลทางวิชาการ ยกตัวอย่างเช่น โสม มีรูปแบบการบริโภคเป็นอาหาร คือ รับประทานส่วนราก หากนำส่วนอื่นๆ เช่น ใบของโสม มาบริโภค ซึ่งมีประวัติการบริโภคน้อยกว่า 15 ปี ถือว่า ใบของโสม เป็นอาหารใหม่ เป็นต้น
ส่วนที่สอง คือ กระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตทั่วไป หมายถึง กระบวนการผลิตใดๆ ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบของอาหาร หรือโครงสร้างของอาหาร หรือรูปแบบของอาหาร ซึ่งส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ หรือกระบวนการทางเคมีในร่างกายหลังจากบริโภค หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์ (เช่น สารปนเปื้ออนจากสิ่งแวดล้อม สารพิษจากเชื้อรา สารก่อภูมิแพ้ สารพิษที่เกิดจากธรรมชาติ สารยับยั้งสารอาหาร จุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย เป็นต้น) โดยเปรียบเทียบกับกระบวนการผลิตอาหารนั้นๆ ด้วยวิธีปกติ (Conventional method)
ยกตัวอย่าง กระบวนการผลิตใหม่ เช่น นาโนเทคโนโลยีที่ส่งผลให้ส่วนประกอบของอาหารมีอนุภาคเล็กกว่าการผลิตโดยวิธีดั่งเดิม หรือ กระบวนการพาสเจอร์ไรส์ โดยไม่ใช้ความร้อน (Non-thermal food pasteurization process) เป็นต้น สืบค้นข้อมูล กฎระเบียบ Novel Food ฉบับใหม่ ได้ที่ www2.thaieurope.net

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : คลิ๊กที่นี่

(แหล่งข้อมูล: www.surin108.com, www.ipyosc.com, www2.thaieurope.net, www.pharmacycouncil.org.th, www.acfs.go.th, หนังสือ คู่มือ…การเพาะเลี้ยง แมลงกินได้ สร้าง…เงินล้าน สนพ.นาคา โดย อภิชาติ ศรีสอาด และ ทองพูล วรรณโพธิ์)

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *